บริหารรัฐกิจ เรียนเกี่ยวกับอะไร

คณะรัฐศาสตร์ เปิดสอนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ กล่าวคือ ต้องอาศัยศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้ามาประกอบการศึกษา อธิบายภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ที่เกิดขึ้นได้

สัญลักษณ์

ชาวรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ไทยจะมีสำนึกจารีตในการใช้สัญลักษณ์ สิงห์ หรือ ราชสีห์ เป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชา เนื่องจากความหมายที่ว่าสิงห์เป็น "ราชาแห่งสัตว์ป่า" รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ และกำลัง จึงถูกนำไปเปรียบเทียบกับผู้มีอำนาจ ซึ่งก็คือ นักปกครองแบบนักรัฐศาสตร์ และนักบริหารแบบนักรัฐประศาสตรนศาสตร์ และการที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นกระทรวงที่ชาวรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ใฝ่ฝันที่จะเข้ารับราชการเป็นส่วนใหญ่ได้ใช้ตรารูปราชสีห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำกระทรวงด้วย ดังนั้น จึงมีจารีตนำเอารูปสัญลักษณ์สิงห์ หรือ ราชสีห์ มาเป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ จะมีชื่อเรียก "สิงห์" ที่แตกต่างกัน

โดยมหาวิทยาลัยต่างๆ จะแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ สาขาการเมืองการปกครอง สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ แต่ในบางมหาวิทยาลัยในปัจจุบันจะมีเพิ่มสาขาวิชาแตกออกไป

สาขาที่เปิดสอน

สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

การศึกษาในสาขานี้ มุ่งทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมที่แวดล้อมตัวเรา โดยจะเรียนเกี่ยวกับปรัชญาและความคิดทางการเมืองเช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้งและปัญหาทางการเมือง และสังคมที่สำคัญๆ เช่น ธุรกิจกับการเมือง ทหารกับการเมือง การเมืองของผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ฯลฯ

สาขาการระหว่างประเทศ

เป็นสาขาที่มุ่งทำความเข้าใจกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ มีความสำคัญทั้งต่อภาครัฐบาลและภาคเอกชน เพราะแต่ละประเทศไม่ได้อยู่กันอย่างโดดเดี่ยว ความกินดีอยู่ดีของประชาชนในแต่ละประเทศ ความสำเร็จในธุรกิจการค้าต้องอาศัยความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศการค้าระหว่างประเทศ

สาขาบริหารรัฐกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์

การศึกษาในสาขานี้จะศึกษาเรื่องการบริหารและการจัดการในหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ภายใต้ภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงการศึกษาในสาขานี้จะเกี่ยวกับระบบราชการ และหน่วยงานของรัฐ ประเภทต่าง ๆ การบริหารบุคคล การคลัง งบประมาณ และการวางแผนจัดทำโครงการ เทคโนโลยีการบริหาร และการศึกษาในสาขานี้จะเกี่ยวกับระบบราชการ และหน่วยงานของรัฐ ประเภทต่าง ๆ โดยเป็นปัญหาที่สำคัญ ๆ ที่ได้รับการสนใจและมีผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรม ในฐานะที่เป็นสิ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้โครงสร้างและการจัดระเบียบ แต่ละสังคมที่แตกต่างกันตามลักษณะวัฒนธรรม และศึกษาการประยุกต์หลักการประยุกต์หลักวิชาเพื่อการปฏิบัติตามลักษณะวัฒนธรรม และศึกษาการประยุกต์หลักวิชาเพื่อการปฏิบัติงาน และการพัฒนาสังคม

สาขางานยุติธรรมและความปลอดภัย

ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานในระบบงานยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และคุมประพฤติ วิชาที่เรียนเน้นหนักไปในเรื่องหลักและทฤษฎีการบริหาร กระบวนการและการบริหารคดี หลักการสืบสวนสอบสวน ทฤษฎีทางอาญาวิทยา การบังคับใช้กฎหมาย การป้องกันอาชญากรรมและปัญหาสังคม หลักยุติธรรมชุมชน และการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดในสังคม ตลอดทั้งการบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในองค์การ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - คณะรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - คณะรัฐศาสตร์
  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ - คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง - คณะรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - คณะสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ - คณะวิทยาการจัดการ
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี - คณะรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช - สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ - คณะสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยบูรพา - คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร - คณะสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม - วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
  • มหาวิทยาลัยพะเยา - คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย - คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - คณะรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตเชียงใหม่ - วิทยาลัยบริหารศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่เฉลิมพระเกียรติ - สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยทักษิณ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร - คณะวิทยาการจัดการ
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร - สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น - วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ - สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง - สำนักวิชานวัตกรรมสังคม
  • มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว - คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย - คณะสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยทักษิณ - วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา
  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย - คณะสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ - คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - โรงเรียนกฎหมายและการเมือง
  • มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ - คณะวิทยาการจัดการ
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร - คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
  • มหาวิทยาลัยมหิดล - คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย - คณะสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด - วิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ - คณะรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ - วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี - ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเอกชน

  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี - คณะรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเกริก - คณะรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ - คณะรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยปทุมธานี - คณะรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยรังสิต - วิทยาลัยรัฐกิจ
  • มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ - คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น - วิทยาลัยการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
  • มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ - คณะศิลปศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ - คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยโยนก - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น - คณะบริหารรัฐกิจ
  • มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย - คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ - คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา - คณะรัฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
  • วิทยาลัยทองสุข - คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • วิทยาลัยพิชญบัณฑิต - คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  • วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา - คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  • วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง - คณะรัฐศาสตร์

ใช้คะแนนอะไรบ้าง

วิชา GAT/PATที่ต้องสอบ : GAT (บางมหาวิทยาลัยใช้ PAT1 , PAT7)

วิชาสามัญที่ต้องสอบ : ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ / สังคม / คณิตศาสตร์ 1

แนวทางการประกอบอาชีพ

สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน โดยเฉพาะงานทางด้านบริหารจัดการข้อมูล และวิจัย สามารถทำงานราชการในตำแหน่งงานที่ ก.พ.กำหนด ทำงานด้านการทูต งานด้านวิเทศสัมพันธ์ หรือกิจการต่างประเทศ งานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และการวางแผนในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน

รัฐกิจ เรียนอะไรบ้าง

1.) รัฐศาสตรบัณฑิต ( ร.บ.) วิชาเอก 1.1 การเมืองการปกครอง 1.2 รัฐประศาสนศาสตร์หรือบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ 1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ไม่น้อยกว่า) ... .
หมวดวิชาเฉพาะด้าน (ไม่น้อยกว่า) - กลุ่มวิชาแกน ... .
หมวดวิชาเลือกเสรี - ... .
หมวดวิชาเลือกเสรี (ไม่น้อยกว่า).

บริหารรัฐกิจ ทํางานอะไร

งานราชการหรือบางคนจะเรียกว่า “รัฐกิจ” คือการบริหารงานให้กับกิจการของรัฐ งานที่สามารถสมัครได้ เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เลขานุการบริหาร นักวิชาการศึกษา นายอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่ด้านการปกครองอื่น ๆ หน่วยงานที่เปิดรับ คือ กระทรวง ทบวง กรม ...

รปศ เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับ 1. แนวคิดหลักรัฐประศาสนศาสตร์ ระบบการบริหารราชการไทย 2. วิชาหลักทางด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ได้แก่ นโยบายสาธารณะ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารการเงินและการคลัง การบริหารท้องถิ่น องค์การและการบริหารแนวใหม่ 3. การฝึกงานและการทำโครงงานทางรัฐประศาสนศาสตร์

รัฐศาสตร์ เอกบริหารรัฐกิจ ทําอะไร

สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ภาคเอกชน ในตำแหน่ง นักปกครอง นักบริหาร และพนักงาน ทั้งในสังกัดเทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์กรอิสระต่าง ๆ รวมทั้งข้าราชการพลเรือนในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่ ...