การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ข้อดี ข้อเสีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Show

ราชการส่วนภูมิภาค หมายถึงหน้าที่เดียวราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง

ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ในการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค[แก้]

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ข้อดี ข้อเสีย

จังหวัด[แก้]

จังหวัดเป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้

  1. สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
  2. ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

อำเภอ[แก้]

อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้

  1. สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
  2. ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

ความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค[แก้]

ส่วนราชการภูมิภาคสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวง/ทบวง[แก้]

โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง กับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ในจังหวัด และอำเภอ

ราชส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หมายเหตุ
ส่วนราชการระดับกระทรวง ส่วนราชการระดับกรม ส่วนราชการระดับจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ส่วนราชการระดับอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด
(อำนวยการระดับต้น)
กระทรวงกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม สำนักงานสัสดีจังหวัด สัสดีจังหวัด
(พันเอก)
หน่วยสัสดีอำเภอ สัสดีอำเภอ
กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง สำนักงานคลังจังหวัด คลังจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬา
สำนักงานปลัดกระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานปลัดกระทรวง
การพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
พัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ประมงจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
สำนักงานประมงอำเภอ ประมงอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการ)
กรมปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด
(อำนวยการระดับต้น)
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ
(ทั่วไป/อาวุโส/
วิชาการ/ชำนาญการ)
กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัด เกษตรจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
สำนักงานเกษตรอำเภอ เกษตรอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการพิเศษ)
กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สหกรณ์จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งจังหวัด ขนส่งจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
สำนักงานปลัดกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมจังหวัด
ผู้อำนวยการ
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานสถิติจังหวัด สถิติจังหวัด
(อำนวยการระดับต้น/สูง)
กระทรวงพลังงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน สำนักงานพลังงานจังหวัด พลังงานจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงานจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กรมการปกครอง ที่ทำการปกครองจังหวัด ปลัดจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
ที่ทำการปกครองอำเภอ นายอำเภอ
(อำนวยการระดับสูง)
กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด พัฒนาการจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ พัฒนาการอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการพิเศษ)
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการ)
(โครงสร้างภายใน)
กรมที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
สำนักงานที่ดินอำเภอ ที่ดินอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการ)
กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานโยธาธิการ
และผังเมืองจังหวัด
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
หัวหน้าสำนักงานป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ผู้อำนวยการ
สำนักงานยุติธรรมจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กรมคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด ผู้อำนวยการ
สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด

(อำนวยการระดับสูง)

กรมราชทัณฑ์ เรือนจำ ผู้บัญชาการเรือนจำ
(อำนวยการระดับสูง)
กรมบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัด ผู้อำนวยการ
สำนักงานบังคับคดีจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
กระทรวงแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน สำนักงานแรงงานจังหวัด แรงงานจังหวัด
(อำนวยการระดับต้น/สูง)
กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัด จัดหางานจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงานจังหวัด
สวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงานจังหวัด
(อำนวยการระดับต้น/สูง)
สำนักงานประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมจังหวัด ประกันสังคมจังหวัด
(อำนวยการระดับต้น)
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง)
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
(ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน(แพทย์))
อำนวยการ
ระดับสูง
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ
(วิชาการ/ชำนาญการพิเศษ)
(ทั่วไป/อาวุโส)
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)
ส่วนราชการไม่สังกัดกระทรวง ทบวง หรือสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ผู้อำนวยการ
สำนักงานพระพุทธศาสนา
จังหวัด
(อำนวยการระดับสูง/ต้น)

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบเฉพาะ[แก้]

ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมในส่วนภูมิภาค[แก้]

การบริหารราชการของ กระทรวงกลาโหมในส่วนภูมิภาค เป็นรูปแบบเฉพาะตามพระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551[1] ซึ่งมิได้กำหนดให้กระทรวงกลาโหมต้องจัดการระเบียบการบริหารส่วนภูมิภาค แต่การจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ได้แบ่งส่วนราชการในภูมิภาคดังนี้

  • กองบัญชาการกองทัพไทย

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา มีหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายวางแผน อำนวยการประสานงาน และดำเนินการ เกี่ยวกับการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ด้วยการพัฒนาประเทศ และสังคมจิตวิทยาของประเทศ ในท้องถิ่นทุรกันดาร ในพื้นที่กำหนดเพื่อป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ รวมทั้งการพัฒนา กำลังพล สำหรับสนับสนุน การพัฒนาประเทศ ตลอดจน ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งพื้นที่เป็น

  1. สำนักงานพัฒนาภาค 1
  2. สำนักงานพัฒนาภาค 2
  3. สำนักงานพัฒนาภาค 3
  4. สำนักงานพัฒนาภาค 4
  5. สำนักงานพัฒนาภาค 5
  • กองทัพบก

กองทัพภาค มีหน้าที่ป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ ในส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น กองพลทหารม้า กองพลพัฒนา กรมทหารปืนใหญ่ หน่วยป้องกันชายแดนและภารกิจพิเศษในพื้นที่ และหน่วยขึ้นตรง เช่น มณฑลทหารบก จังหวัดทหารบก โดยแบ่งพื้นที่เป็น

  1. กองทัพภาคที่ 1
  2. กองทัพภาคที่ 2
  3. กองทัพภาคที่ 3
  4. กองทัพภาคที่ 4
  • กองทัพเรือ

กองทัพเรือภาค มีหน้าที่ป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศทางทะเล ในส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น หมวดเรือเฉพาะกิจ หมวดบินเฉพาะกิจ และชุดปฏิบัติการพิเศษ โดยแบ่งพื้นที่เป็น

  1. กองทัพเรือภาคที่ 1
  2. กองทัพเรือภาคที่ 2
  3. กองทัพเรือภาคที่ 3
  • กองทัพอากาศ

ส่วนกำลังรบ มีหน้าที่ป้องกันอธิปไตย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศทางอากาศ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น กองบิน กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ และหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน โดยกระจายพื้นที่ทั่วประเทศ

ส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาค[แก้]

การบริหารราชการของ กระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาค เป็นรูปแบบเฉพาะตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546[2] ที่กำหนดให้การจัดระเบียบการบริหารราชการแบ่งเป็น บริหารราชการในส่วนกลาง บริหารราชการในเขตพื้นที่การศึกษา และ บริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญา ที่เป็นนิติบุคคล

บริหารราชการในเขตพื้นที่การศึกษา มีการจัดระเบียบการบริหารราชการดังนี้

  1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาระดับอนุบาล และประถมศึกษาให้สอดกับความต้องการของท้องถิ่น และนโยบายการศึกษาของประเทศ
  2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้สอดกับความต้องการของท้องถิ่น และนโยบายการศึกษาของประเทศ

แนวคิดปฏิรูป[แก้]

ปัจจุบันมีหลายพรรคที่จะใช้ระบบการกระจายอำนาจมาใช้กับระดับจังหวัดแต่มีปัญหาอยู่มากเช่น 1.อาจการเป็นการผูกขาดทางอำนาจให้แก่ผู้มีอิทธิพลสังเกตจากนายกอบจ.ส่วนมากมีหน้าซ้ำๆหรือเครือเดียวกันทั้งๆที่ประชากรส่วนมากแทบไม่รู้จักเลย 2.มีการคดโกงเกิดขึ้นบ่อยจากกรณีอบจ.ลำพูน เนื่องจากระบบบริหารท้องถิ่นมีบางส่วนที่ลูกจ้างและข้าราชการที่เป็นคนเครือเดียวกันรู้จักกันทำให้ช่วยปกปิดได้ต่างจากระบบส่วนกลางที่มีการหมุนเวียนข้าราชการให้ไปหลายๆที่และการฟ้องร้องผู้ที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่เป็นอะไรที่เสี่ยงมากๆ 3.ชาวบ้านอาจฟ้องร้องได้ยากเพราะถ้ามีปัญหากับเราผู้มีอิทธิพลอาจมีอันตรายซึ่งส่วนกลางไม่สามารถคุ้มครองได้ทันที 4.อาจมีการใช้กองกำลังท้องถิ่นในทางที่ผิดเช่น อส. ตร. แต่ระบบนี่มีข้อดี 1.ถ้าชาวบ้านได้นายกที่ดีจริงๆจะมีการช่วยเหลือที่ทันท่วงทีไม่ต้องผ่านระบบซับซ้อนของส่วนกลาง 2.จะมีการทราบปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้านเพราะเนื่องจากคนในระบบนี่ส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่(ซึ่งตอนนี้ระบบกลางก็มีการใช้อยู่เป็นการคละคนให้มีคนในพื้นที่และจากด้านนอก) 3.ชาวบ้านจะมีความกล้าในการติดต่อส่วนราชการเพราะมีคนในระบบท้องถิ่นนี่มีความเป็นกันเองกับข้าราชการเนื่องจากเป็นคนในพื้นที่จากที่แต่ก่อนชาวบ้านจะมองข้าราชการว่าเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 26 ก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 หน้า 35
  2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 62 ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2546 หน้า 1

  • การปกครองส่วนภูมิภาค เก็บถาวร 2011-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ข้อใดเป็นข้อดีของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

ซึ่งผู้ที่เห็นด้วยกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคมักจะให้เหตุผลว่ามีข้อดีคือ 1) เป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจ 2) การดำเนินงานเป็นไปด้วยความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 3) ทำให้มีการประสานงานระหว่างการบริหารราชส่วนกลางส่วนกับส่วนท้องถิ่นได้ดี ยิ่งขึ้น

การบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่ถูกต้อง คือข้อใด

การบริหารราชการส่วนภูมิภาคประกอบด้วย จังหวัดและอาเภอ จังหวัด จังหวัดเกิดจากการรวมท้องที่หลาย ๆ อ าเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยการตั้ง ยุบ และ เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ(มาตรา 52) ในปัจจุบันมีจังหวัดทั้งสิ้น 77 จังหวัด ไม่รวม กรุงเทพมหานครที่มีฐานะเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มีอะไรบ้าง

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัดและอาเภอ จังหวัดเกิดจากการรวมท้องที่หลาย ๆ อ าเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยการตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ (มาตรา 52) ในปัจจุบันมีจังหวัดทั้งสิ้น 77 จังหวัด ไม่รวมกรุงเทพมหานครที่มีฐานะเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

ปัญหาการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

6. ปัญหาในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ปัญหาการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคมีหลายประการ อันเป็นผลมาจากการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงการจัดรูปแบบการบังคับบัญชาหน่วยงานส่วนภูมิภาคกับการสังกัดกับหน่วยราชการส่วนกลาง โดยมีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานส่วนภูมิภาคบางหน่วยงานให้มาขึ้นตรงต่อหน่วยราชการส่วนกลาง ส่งผลต่อ ...