โครงการ ปลูกพืชสมุนไพรใน โรงเรียน doc

โครงการ ปลูกพืชสมุนไพรใน โรงเรียน doc

กิจกรรมสิ่งแวดล้อมพอเพียง ส่งเสริมให้นักเรียนปลูกพืชสมุนไพรและผักสวนครัวในโรงเรียน

         นางวราภรณ์ ทังดิน หัวหน้างานโครงการสถานศึกษาพอเพียง ร่วมกับครู นักเรียน นำกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนปลูกพืชสมุนไพรและผักสวนครัวในโรงเรียน เนื่องจากปัจจุบันสมุนไพรมีความจำเป็นในวงการแพทย์และสามารถใช้รักษาโรคต่างๆได้ โดยสมุนไพรนั้นมีความปลอดภัยจากสารเคมีและสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งเราสามารถใช้ส่วนต่างๆ ของสมุนไพร เช่น ส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล หรือพืชบางชนิดสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน

        ดังนั้น  สถานศึกษาจึงเล็งเห็นประโยชน์และเห็นคุณค่าของสมุนไพรจึงเกิด แนวคิดที่จะทำสวนสมุนไพรภายในโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ศึกษาและทราบถึงประโยชน์ของสมุนไพร นอกเหนือจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปลูกฝังให้ลูกหลานได้เห็นคุณค่าของสมุนไพร รวมไปถึงรู้จักใช้เวลานอกเหนือจากการเรียนให้เกิดประโยชน์และทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะต่อไป

——————–
เศรษฐชาติ แหงมงาม ประชาสัมพันธ์สถานศึกษา

โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของสถานศึกษาศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสวนสมุนไพรไทย

โรงเรียน : บางหลวงวิทยา สพม.1  (กทม.1)

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 4.69

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : วรนุช จิตรมณี จำนวนผู้เข้าชม 1626 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของสถานศึกษาศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสวนสมุนไพรไทย
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา “ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนท้องที่สามารถทำการเกษตรได้และค้าขายได้” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในวันฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี นั้น ทรงเน้นให้ประชาชน มีความรู้และอนามัยที่แข็งแรงภายใต้การดำเนินชีวิต“อยู่อย่างพอเพียง” ซึ่งแนวทางการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีการส่งเสริมหลายรูปแบบ ได้แก่ การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน การปลูกพืชผักสวนครัวลดค่าใช่จ่าย การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้เป็นปัจจัยการผลิตปุ๋ย การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และ การปลูกพืชสมุนไพร ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย เป็นต้น
               การปลูกพืชสมุนไพร โดยเฉพาะสมุนไพรไทย เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนแล้วยังสามารถใช้เป็นส่วนประกอบของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์  ตลอดจนการรักษาทางจิตใจ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการดำรงชีวิตในยุคสมัยปัจจุบันมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้  อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณี  และวิถีชีวิต ฯลฯ  มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้
                                จากประโยชน์ของสุมนไพรไทยที่เหลือคณานับที่กล่าวมาข้างต้น โรงเรียนบางหลวงวิทยาในฐานะเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม  ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทย จึงมีแนวคิดริเริ่มจัดทำโครงการ เพื่อให้ฐานการเรียนรู้ และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนและประชาชนในตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เห็นคุณค่าและความสำคัญของสุมไพรไทย  จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสวนสมุนไพรไทยขึ้นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาสู่ฐานการเรียนรู้ที่ดูแลสุขภาพของคนในชุมชนอย่างยั่งยืนขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ฐานการเรียนรู้สมุนไพรไทย กลายเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้  การสร้างกระบวนการเรียนรู้ การอนุรักษ์ การสืบทอด การฟื้นฟู และการพัฒนาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่สำคัญให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจแล้วยังสามารถพัฒนาต่อยอดนำสมุนไพรไทยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สามารถสร้างรายได้ กลายเป็นอาชีพได้อีกด้วย   ซึ่งส่งผลให้นักเรียนและประชาชนผู้สนใจร่วมโครงการเป็นบุคคลที่มีคุณภาพกาย คุณภาพจิต และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนภายใต้ “วิถีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง”  
 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านนำมาจัดทำสวนสมุนไพรไทย
2. เพื่อพัฒนาฐานการเรียนรู้แบบมีชีวิตสำหรับใช้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ ตลอดจนให้บริการองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรแก่ประชาชนที่สนใจ
3. เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนนำสมุนไพรไทยพื้นบ้านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริงผ่านการจัดทำโครงงาน
4. เพื่อพัฒนาสมุนไพรไทย โดยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มรายได้
 
เป้าหมาย เชิงปริมาณ
1. มีสวนสมุนไพรไทยในโรงเรียนบางหลวงวิทยา ที่เป็นฐานการเรียนรู้แบบมีชีวิตสำหรับใช้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ ตลอดจนให้บริการองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรแก่ประชาชนที่สนใจ
2. มีผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปสมุนไพรไทยสามารถจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ จากการทำโครงงานอาชีพ แปรรูปสมุนไพรไทย
3. ผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนเชิงคุณภาพ
- นักเรียน ประชาชน และผู้สนใจได้รับความรู้จากฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพรไทยภายในโรงเรียนบางหลวงวิทยา
 
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนบางหลวงวิทยา ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ตัวชี้วัด 1. มีสวนสมุนไพรไทยในโรงเรียนบางหลวงวิทยา
ที่เป็นฐานการเรียนรู้แบบมีชีวิตสำหรับใช้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ ตลอดจนให้บริการองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรแก่ประชาชนที่สนใจ
2. มีผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปสมุนไพรไทยสามารถจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ จากการทำโครงงานอาชีพ แปรรูปสมุนไพรไทย
3. ผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการของโรงเรียน
4. นักเรียน ประชาชน และผู้สนใจร้อยละ 80ได้รับความรู้จากฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพรไทยภายในโรงเรียนบางหลวงวิทยา
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ด้านผลผลิต (output)
             1. ได้สวนสมุนไพร จำนวน ๑ แปลง
             2. ได้ฐานการเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนและเป็นฐานการเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ
             3. ได้โครงงานการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในชีวิตประจำวัน
             4. ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพสำหรับจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย แชมพูสมุนไพร สบู่เหลวสมุนไพร โลชั่นบำรุงผิว
             5. ได้เอกสารสรุปผลการดำเนินงานจำนวน 3 เล่ม
             6. ได้บทความวิชาการที่ถอดองค์ความรู้มาจากการดำเนินโครงการเพื่อการเผยแพร่
          ด้านผลลัพธ์ (outcome)
             1. ผู้เข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมเกิดความใส่ใจ ตระหนัก เห็นความสำคัญ และร่วมมือกันอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรให้คงอยู่ไปจนรุ่นลูกหลาน
           2. เกิดฐานการเรียนรู้และคลังภูมิปัญญาทางด้านสมุนไพรที่เยาวชน และประชาชนที่สนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้ พัฒนา และต่อยอดองค์ความรู้ได้
           3. เกิดการอนุรักษ์พันธุ์ไม้สมุนไพรหายากให้คงอยู่ เพื่อคนรุ่นหลังจะได้ไปศึกษาเรียนรู้ต่อไป
สรุปคะแนนประเมิน 4.69
ไฟล์ประกอบ ภาคผนวก
รายงานผลการดำเนินงานบทที่
รายงานผลการดำเนินงานบทที่
รายงานผลการดำเนินงานบทที่
ภาคผนวก
ขั้นเตรียมการ 1.การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา
- สำรวจข้อมูลสภาพปัจจุบัน
- รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
- รายงานผลการสำรวจข้อมูล
- แต่งตั้งคณะทำงาน
2.การวางแผน (Plan)
- ประชุมชี้แจงคณะทำงาน
- วางแผนขั้นตอนการดำเนินงาน
- จัดทำปฏิทินการดำเนินงาน
ขั้นดำเนินการ 3.การปฏิบัติตามแผน (Do)
 - กิจกรรม “พัฒนาสวนสมุนไพรไทย”
 - กิจกรรม “ต่อยอดโครงงานอาชีพจากสมุนไพรไทย”
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 4.การตรวจสอบประเมินผล(Check)
- ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการและปฏิทินการปฏิบัติงาน
-สรุปผลและรายงานโครงการ
ขั้นสรุปและรายงาน 5.การแก้ไข ปรับปรุง (Action)
- วิเคราะห์ผลการดำเนินโครงการเทียบกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
- รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนการปฏิบัติงานในปีต่อไป
 
งบประมาณ จำนวนเงิน 100,000 บาท
การบรรลุตัวชี้วัด 1. มีสวนสมุนไพรไทยในโรงเรียน
บางหลวงวิทยา ที่เป็นฐานการเรียนรู้แบบมีชีวิตสำหรับใช้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ ตลอดจนให้บริการองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรแก่ประชาชนที่สนใจ
2. มีผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปสมุนไพรไทยสามารถจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ จากการทำโครงงานอาชีพ แปรรูปสมุนไพรไทย
- สบู่จากฟักข้าว
- สบู่จากขมิ้น
- สบู่จากวานหางจระเข้
3.ผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 90.94 มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการของโรงเรียน
4.นักเรียน ประชาชน และผู้สนใจร้อยละ 74.00ได้รับความรู้จากฐานการเรียนรู้สวนสมุนไพรไทยภายในโรงเรียนบางหลวงวิทยา
 
ความพึงพอใจ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ คิดเป็นร้อยละ 89.82
ปัญหาและอุปสรรค -
ข้อเสนอแนะ 1) สามารถพัฒนาสวนสมุนไพรไทยนี้ให้เป็นฐานการเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจในท้องถิ่นได้
2)สามารถผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพสำหรับจำหน่ายในเชิงพาณิชย์เพิ่มเติม คือนอกจากสบู่ แล้วสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น  แชมพูสมุนไพร โลชั่นบำรุงผิว เป็นต้น
 
รูปภาพประกอบ
โครงการ ปลูกพืชสมุนไพรใน โรงเรียน doc

โครงการ ปลูกพืชสมุนไพรใน โรงเรียน doc

โครงการ ปลูกพืชสมุนไพรใน โรงเรียน doc

โครงการ ปลูกพืชสมุนไพรใน โรงเรียน doc

โครงการ ปลูกพืชสมุนไพรใน โรงเรียน doc