โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว

ปัจจุบันนี้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งเกิดจากการใช้ถุงพลาสติกใช้สารเคมีต่างๆโดยการใช้นั้นมีมากเกินไปจึงเกิดผลกระทบต่างๆเช่นการใช้พลาสติกที่มากเกินความจำเป็นเป็นที่มาของการที่มีการทิ้งขยะจำพวกพลาสติกและทำให้สัตว์ทะเลกินหรือไปติดทำให้พวกมันเสียชีวิตอย่างทรมานดังนั้นทางคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ถึงได้คิดโครงงานที่สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกลงโดยลงความเห็นว่าจะใช้ตะกร้าในการลดถุงพลาสติกเพราะตะกร้านั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานทั้งยังสามารถใช้วัสดุท้องถิ่นเช่นไม้ไผ่ในการลดต้นทุนการผลิตทั้งยังสามารถประกอบเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่ท้องถิ่น

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว

บ้านหนองแหนอำเภอสากเหล็กจังหวัดพิจิตรเป็นอีกหนึ่งชุมชนหนึ่งที่มีการจักสานตะกร้าแบบดั้งเดิมและคนในชุมชนได้มีการใช้ตะกร้าแทนถุงพลาสติกมาช้านานแม้ในปัจจุบันจะมีการใช้ถุงพลาสติกตามตลาดนัดก็ตามแต่ก็ยังมีการอนุรักษ์สืบสานการใช้ตะกร้าแทนถุงพลาสติกต่อไปของคนรุ่นหลังรวมทั้งได้สร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง

ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงจัดทำโครงงานการพัฒนาตะกร้าสู่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเนื่องมาจากการทำตะกร้าถือเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแก้ไข้ปัญญาเศรษฐกิจและยังสามารถช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญญาที่แก้ไขได้ยากของโลก

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1.    เพื่อศึกษาวิธีการสานตะกร้า

2.    เพื่อสืบทอดให้คนรุ่นหลังที่สนใจได้สืบค้นข้อมูลการสานตะกร้า

3.    เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าที่ได้ศึกษาโครงงาน





ชุมชนบ้านหนองแหน

                    ความเป็นมาของชุมชน

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว
                                        ชุมชนบ้านหนองแหนเป็นชุมชนที่ตระกูลทับทิมส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่เรียกว่าหนองแหนเนื่องจากภายบ้านหนองแหนสมัยก่อนมีหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่แล้วบริเวรเดียวกันก็มีต้นแหนขึ้นอยู่มากมายถึงเป็นที่มาของบ้านหนองแหนผู้คนในบ้านหนองแหนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักแล้วมีการสานตะกร้าเป็นอีกหนึ่งอาชีพในช่วงเวลาที่รอเกี่ยวข้าวจึงทำให้มีรายได้เสริมในช่วงเวลาว่างจากการทำนา

                    สภาพเศรษฐกิจ

                                        สภาพเศรษฐกิจในชุมชนบ้านนองแหนอยู่ในระดับที่ปานกลางเนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่มีรายได้จากการทำนาและการสานตะกร้า

อาชีพสานตะกร้า

                    อาชีพของตะกร้าเป็นอาชีพเสริมจากการทำนาโดยนางมณี ทับทิม เป็นผู้เริ่มสานตะกร้าเป็นคนแรกของชุมชนบ้านหนองแหน โดยสิ่งของที่ใช้สานตะกร้าสามารถหาได้ตามท้องถิ่น

ตะกร้า

                    ความหมายของตะกร้า

                                        หมายความว่าเป็นงานฝีมืออย่างหนึ่งที่มีมาแต่โบราณเป็นกรรมวิธีการสานตะกร้าโดยใช้ไม้ไผ่วัสดุจากธรรมมาชาติมาสานให้เป็นตะกร้าไว้สำหรับใส่สิ่งของต่างๆ

วิธีการสานตะกร้า

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว

                                        ตัดไม้ไผ่แก่มาผ่าซีกและผ่าแบ่งเป็นเสี้ยวเล็กๆขนาดประมาณ 1เซนติเมตร และอีกส่วนหนึ่งผ่าประมาณ1นิ้วเพื่อใช้ทำขอบปากตะกร้าและมือจับ

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว
                                       


                                        นำแต่ละชิ้นที่ผ่าไว้ลอกใช้แต่ส่วนเปลือกโดยใช้มีดคมๆเหลาหรือขูดเนื้อไม้ออกและเหลือแต่ส่วนเปลือกบางๆและเหนียว

                                       

                                       

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว
                    เริ่มต้นสานตะกร้าโดยเริ่มที่ก้นก่อนโดยใช้ส่วนที่แข็งกว่าและหนากว่าสานที่ก้นความยาวของไม้ตามขนาดของตะกร้าเส้นที่แข็งกว่าสานขึ้นตามแนวตั้งความห่างเท่าๆกันส่วนเส้นไม้ไผ่ที่บางนิ่มสานตามขวางชั้นมาเรื่อยๆแน่นมีลักษณะเป็นวงกลมแต่ปากตะกร้าจะกว้างกว่าก้นตะกร้าพอได้ขนาดตามต้องการใช้ไม้ไผ่ขนาด 1 นิ้วทำให้เป็นวงกลมและวางไว้ที่ขอบปากตะกร้าใช้ไม่ไผ่ส่วนที่ตั้งขึ้นพันหรือบิดลงไปด้านล่างสานลงไปประมาณ 1 นิ้วจนแน่นไม่หลุดตัดเศษที่เหลือทิ้งตกแต่งให้สวยงาม

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว
โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว


                                        ใส่หูหรือที่หิ้วซึ่งทำจากไม้ไผ่และโค้งงอได้ใช้เชือกหรือหวายพันให้แน่นหรือใช้เชือกที่เป็นสีพันที่มือจับจนมิดนำไปใช้งานหรือขายได้           



รูปสำเร็จ

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว


ประเภทของตะกร้า

                    ประเภทของตะกร้านั้นจะแบ่งไปตามวัสดุที่ใช้สานเช่นตะกร้าไม้ไผ่ก็จะนำไม้

ไผ่มาสานหรือหวายที่นำมาสานตะกร้าก็จะเรียกว่าตะกร้าหวายโดยส่วนมากวัสดุที่นำมาใช้ในการสานนั้นมรดังนี้

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว
                    1.ไม้ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า (วงศ์ Poaceae; เดิมคือวงศ์ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน(Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดรหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้

ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile )

ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa)

ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta)

ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus)

ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus)

ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus)

ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus )

ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe)

ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii)

ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans)

ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii)

ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda)

ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha)

ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica)

ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos)

ไผ่เป๊าะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus giganteus)

ไผ่ผาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa densa)

ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla)

ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis)

ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri)

ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata)

ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar)

ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex)

ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.)

ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana)

ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii)

ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis)

ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha)

ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris)

ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum)

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว

                                        2.หวาย (อังกฤษ: Rattan palm;) เป็นพืชที่อยู่ในเผ่าหวาย (Calameae) พบทั่วไปในเขตร้อนของทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสตราเลเชีย ทั่วโลกมีหวายเกือบ 600 ชนิด เฉพาะในประเทศไทย มีหวายเกือบ 60 ชนิด เช่น หวายโคก หวายดง หวายน้ำผึ้ง เป็นต้น

ลักษณะโดยทั่วไปของหวายเป็นพันธ์ไม้เลื้อยหรือไม้รอเลื้อยตระกูลปาล์ม ลำเถาชอบพันเกาะต้นไม้ใหญ่ มีกาบหุ้มต้นและมีหนามแหลม มีความเหนียว ใบเป็นรูปขนนกเล็กๆ ใบย่อยนั้นเรียวยาว มีสีเขียวสด ก้านใบหนึ่งๆ มีใบย่อยราว 60-80 คู่ ออกดอกเป็นช่อ สีขาวปนเหลือง ผลค่อนข้างกลม เปลือกเป็นเกล็ด ลูกอ่อนเปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ผลแก่เปลือกสีเหลือง เปลือกล่อน เนื้อแข็ง รสเปรี้ยวอมฝาด


โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว

                                        3.ใบตาลและใบลานตาล หรือ ตาลโตนด หรือ โหนด ในภาษาใต้[1] เป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มขนาดใหญ่ สกุล Borassus ในวงศ์ปาล์ม (Arecaceae) เป็นปาล์มที่แข็งแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ต้นสูงถึง 40 เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก แต่ไส้กลางลำต้นอ่อน บริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเหมือนพัดขนาดใหญ่ กว้าง 1 – 1.5 เมตร มีก้านเป็นทางยาว 1 – 2 เมตร ขอบของทางของก้านทั้งสองข้าง มีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็ง ๆ และคมมาก โคนก้านแยกออกจากกันคล้ายคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเพศผู้ใหญ่ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือ เรียกว่านิ้วตาลแต่ละนิ้วยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และโตวัดผ่า กลางประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร โคนกลุ่มช่อจะมีก้าน ช่อรวมและมีกาบแข็ง ๆ หลายกาบหุ้มโคนก้านช่ออีกทีหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียก็คล้าย ๆ กัน แต่นิ้วจะเป็นปุ่มปม ปุ่มปมคือดอกที่ติดนิ้วตาล ดอกหนึ่ง ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 2 เซนติเมตร และมีกาบแข็ง ๆ หุ้ม แต่ละดอก กาบนี้จะเติบโตไปเป็นหัวจุกลูกตาลอีกทีหนึ่ง ผลกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 15 เซนติเมตร ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมัน มักมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมันหุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 – 3 เมล็ด





                                        ลาน ชื่อวิทยาศาสตร์: Corypha lecomtei เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ปาล์ม ใบเดี่ยว ใบใหญ่คล้ายพัด ช่อดอกขนาดใหญ่ทรงกรวย ดอกสีเหลืองอ่อน ผลแก่เต็มที่สีเหลืองกลมรี มีเปลือกหุ้ม สีเขียว เนื้อในสีขาว รสหวาน ผลแก่ เปลือกแข็ง สีดำ ตรงกลางผลกลวง มีน้ำอยู่ข้างใน ออกผลครั้งเดียวในชีวิต จากนั้นจะตาย ใบลานใช้ทำเครื่องจักสาน มุงหลังคา ลำต้นทำครก ผลกินสดหรือเชื่อม ในทางยา เปลือกลานใช้เป็นยาระบาย ใบลานเผาไฟใช้เป็นยาดับพิษ แก้อักเสบ รากใช้ฝนแก้ร้อน ขับเหงื่อ

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว
                    4.ก้านมะพร้าวมะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลมะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าวซึ่งน้ำมะพร้าวเกิดจากเอนโดสเปิร์มของมะพร้าวซึ่งจะมีเอนโดสเปิร์มทั้งของแข็งและของเหลว คือ เอนโดสเปิร์มของแข็งจะเป็นเนื้อมะพร้าว และเอนโดสเปิร์มทั้งของเหลวจะเป็นน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น

ประเภทของมะพร้าว

·         มะพร้าวไฟ

·         มะพร้าวน้ำหอม

·         มะพร้าวทะเล

·         มะพร้าวซอ

·         มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย

·         มะพร้าวพวงร้อย

·         มะพร้าวกะทิ

·         มะพร้าวพวงทอง

·         มะพร้าวสีสุก


 มะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง


น้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้ยังมี


คุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้ น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำ วุ้นมะพร้าว ได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว


เนื้อมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก


กากมะพร้าว ที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้


ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า สลัดเจ้าสัว“ (millionaire's salad)ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตรน้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วยกะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ


ก้านใบ หรือ ทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว


จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล



โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว
5.ย่านลิเภาหรือ ลิเภา เป็นเฟิร์นเถาชนิดหนึ่งในสกุล Lygodium เช่น 


Lygodium flexuosum (ลิเภาใหญ่) และ Lygodium circinatum (ลิเภาหางไก่) เป็นต้น พบได้มากทางภาคใต้ของไทยย่านลิเภาเป็นวัสดุสำคัญสำหรับงานสาน เช่น กระเป๋าย่านลิเภา




  

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว

                  6.กระจูดหรือ จูด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepironia articalata) เป็นพันธุ์ไม้จำพวก "กก" (Sedge) ลักษณะลำต้นกลมสีเขียวอ่อน ดินสอดำ สูงประมาณ 1 - 2 เมตร ออกดอกเป็นกระจุกแน่นคล้ายดอกกระเทียมที่ข้างลำต้นใกล้ยอดกระจุกหนึ่ง แต่มีช่อดอกปลายลำต้นอีกหนึ่งช่อซึ่งมีใบเล็กประกอบช่อด้วย กระจูดชอบขึ้นในพื้นที่น้ำขังซึ่งเรียกว่าโพระหรือพรุ มีถิ่นกำเนิดจากทางเกาะมาดากัสการ์ มอริเซียส ลังกา สุมาตรา แหลมมาลายู และหมู่เกาะต่าง ๆ ในแหลมมาลายู อินโดจีนตอนริมฝั่งทะเล ฮ่องกง บอร์เนียว ตลอดถึงออสเตรเลีย ริมฝั่งตะวันออก

ประโยชน์ของกระจูด ต้นกระจูด นำไปฝึ่งแดดให้แห้งสนิท สามารถนำมาผลิตงานจักสานเป็น เสื่อปูรองนั่งที่เรียกกันว่า 'เสื่อกระจูด' หรือ 'สาดกระจูด' โดยการสานเสื่อกระจูดโดยทั่วไปนิยมสานลวดลาย มาตรฐาน คือ ลายขัดสอง หรือลายขัดสาม และมีการพัฒนาดัดแปลงลวดลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจัทนทร์ ลายก้านต่อดอก ลายโคม ลายแก้วเนื่อง ลายแก้วบ้านดอน ลายตัวหนังสือ เป็นต้น และมีการทำผลิตภัณฑ์เช่น สายกระเป๋าเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด



แหล่งผลิตที่สำคัญ อยู่ที่หมู่บ้านทะเลน้อยจังหวัดพัทลุง หมู่บ้านบ่อกรัง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านสะกอม จังหวัดสงขลา หมู่บ้านทอนทอน จังหวัดนราธิวาส ปัจจุปันมีการผลิตจำหน่ายมาก ใน ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

                                 




โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว

 7.เตยทะเลชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus tectoriusหรือ Pandanus odoratissimus ชื่ออื่นๆคือลำเจียก ปะหนัน ปะแนะ เตยเล Hala (ภาษาฮาวาย), Bacua (ภาษาสเปน), และ Vacquois (ภาษาฝรั่งเศส) เป็นพืชท้องถิ่นในไทย มาเลเซีย ออสเตรเลียตะวันออก และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-8 เมตรมีหนามสั้นๆทู่ๆ ที่ผิวของลำต้น ที่โคนต้นมีรากค้ำจุน ใบเดี่ยว ผิวใบเรียบเป็นมัน ดอกเป็นดอกช่อ แยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้เป็นช่อดอกยาว 30 - 60 ซม. มีใบประดับที่ช่อดอกย่อย สีขาว กลิ่นหอม ดอกตัวเมียเป็นช่อออกที่ปลาย เกาะกันคล้ายผล เกือบกลม

ผลเตยทะเลหนามที่ใบของเตยทะเล

ผลเตยทะเลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยยึดกันแน่นจนมองเหมือนผลเดี่ยว คล้ายผลสับปะรด[1] พบตามบริเวณชายหาดหรือป่าชายเลน ใบใช้ทำเครื่องจักสาน โดยเฉพาะชนพื้นเมืองในมหาสมุทรแปซิฟิกรากเป็นยา แก้ไข้ ขับปัสสาวะ รากอากาศเป็นยาแก้หนองในและนิ่ว สารสกัดหยาบจากลำต้นใต้ดินสามารถยับยั้งการเจริญของไมยราบยักษ์ ถั่วผี ถั่วเขียวผิวดำ ผักกาดหอมได้

โครงงาน การสาน ตะกร้า จาก ทางมะพร้าว

                    8.พลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติบางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่างๆ


 เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) หรือเรซิน เป็นพลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อย มาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน มีสมบัติพิเศษคือ เมื่อหลอมแล้วสามารถนำมาขึ้นรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ ชนิดของพลาสติกใน ตระกูลเทอร์โมพลาสติก ได้แก่

·         พอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE) เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย แต่อากาศผ่านเข้าออกได้ มีลักษณะขุ่นและทนความร้อนได้พอควร เป็นพลาสติกที่นำมาใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรม เช่น ท่อน้ำ ถัง ถุง ขวด แท่นรองรับสินค้า

·         พอลิโพรพิลีน (Polypropylene: PP) เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย แข็งกว่าพอลิเอทิลีนทนต่อสารไขมันและความร้อนสูงใช้ทำแผ่นพลาสติถุงพลาสติกบรรจุอาหารที่ทนร้อน หลอดดูดพลาสติก เป็นต้น

·         พอลิสไตรีน (Polystyrene: PS) มีลักษณะโปร่งใส เปราะ ทนต่อกรดและด่าง ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร ใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น

·         SAN (styrene-acrylonitrile) เป็นพลาสติกโปร่งใส ใช้ผลิตชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น

·         ABS (acrylonitrile-butadiene-styrene) สมบัติคล้ายพอลิสไตรีน แต่ทนสารเคมีดีกว่า เหนียวกว่า โปร่งแสง ใช้ผลิตถ้วย ถาด เป็นต้น

·         พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride: PVC) ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร และป้องกันไขมันได้ดีมีลักษณะใส ใช้ทำขวดบรรจุน้ำมันและไขมันปรุงอาหาร ขวดบรรจุเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ ใช้ทำแผ่นพลาสติก ห่อเนยแข็ง ทำแผ่นแลมิเนตชั้นในของถุงพลาสติก

·         ไนลอน (Nylon) เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวมาก คงทนต่อการเพิ่มอุณหภูมิ ทำแผ่นแลมิเนตสำหรับทำถุงพลาสติกบรรจุอาหารแบบสุญญากาศ

·         พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate: PET) เหนียวมากโปร่งใส ราคาแพง ใช้ทำแผ่นฟิล์มบาง ๆ บรรจุอาหาร

·         พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate: PC) มีลักษณะโปร่งใส แข็ง ทนแรงยึดและแรงกระแทกได้ดี ทนความร้อนสูง ทนกรด แต่ไม่ทนด่าง เป็นรอยหรือคราบอาหาร จับยาก ใช้ทำถ้วย จาน ชาม ขวดนมเด็ก และขวดบรรจุอาหารเด็ก

เทอร์โมเซตติงพลาสติก


เทอร์โมเซตติงพลาสติก (Thermosetting plastic) เป็นพลาสติกที่มีสมบัติพิเศษ คือทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนได้ยาก คงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ กล่าวคือ เกิดการเชื่อมต่อข้ามไปมาระหว่างสายโซ่ของโมเลกุลของพอลิเมอร์ (cross linking among polymer chains) เหตุนี้หลังจาก พลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้ว จะไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อน หากแต่จะสลายตัวทันทีที่อุณหภูมิสูงถึงระดับการทำพลาสติกชนิดนี้ให้เป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ต้องใช้ความร้อนสูง และโดยมากต้องการแรงอัดด้วย เทอร์โมเซตติงพลาสติก ได้แก่

·         เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (melamine formaldehyde) มีสมบัติทางเคมีทนแรงดันได้ 7,000-135,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทนแรงอัดได้ 25,000-50,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทนแรงกระแทกได้ 0.25-0.35 ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ทนความร้อนได้ถึง 140 องศาเซลเซียส และทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนยาก เมลามีนใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารหลายชนิด และนิยมใช้กันมาก มีทั้งที่เป็นสีเรียบและลวดลายสวยงาม ข้อเสียคือ น้ำส้มสายชูจะซึมเข้าเนื้อพลาสติกได้ง่าย ทำให้เกิดรอยด่าง แต่ไม่มีพิษภัยเพราะไม่มีปฏิกิริยากับพลาสติก

·         ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ (phenol-formaldehyde) มีความต้านทานต่อตัวทำละลายสารละลายเกลือและน้ำมัน แต่พลาสติกอาจพองบวมได้เนื่องจากน้ำหรือแอลกอฮอล์พลาสติกชนิดนี้ใช้ทำฝาจุกขวดและหม้อ

·         อีพ็อกซี (epoxy) ใช้เคลือบผิวของอุปกรณ์ภายในบ้านเรือน และท่อเก็บก๊าซ ใช้ในการเชื่อมส่วนประกอบโลหะ แก้ว และเซรามิก ใช้ในการหล่ออุปกรณ์ที่ทำจากโลหะและเคลือบผิวอุปกรณ์ ใช้ใส่ในส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า เส้นใยของท่อ และท่อความดัน ใช้เคลือบผิวของพื้นและผนัง ใช้เป็นวัสดุของแผ่นกำบังนิวตรอน ซีเมนต์ และปูนขาว ใช้เคลือบผิวถนน เพื่อกันลื่น ใช้ทำโฟมแข็ง ใช้เป็นสารในการทำสีของแก้ว

·         พอลิเอสเตอร์ (polyester) กลุ่มของพอลิเมอร์ที่มีหมู่เอสเทอร์ (-O•CO-) ในหน่วยซ้ำเป็นพอลิเมอร์ที่นำมาใช้งานได้หลากหลาย เช่น ใช้ทำพลาสติกสำหรับเคลือบผิว ขวดน้ำ เส้นใย ฟิล์มและยาง เป็นต้น ตัวอย่างพอลิเมอร์ในกลุ่มนี้ เช่น พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิบิวทิลีนเทเรฟทาเลต และพอลิเมอร์ผลึกเหลวบางชนิด