หลักธรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีแนวพระราชดำริเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง (Self - Subficiency Economy) ซึ่งมีฐานมาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่สอนในเรื่องการพึ่งตน อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน เศรษฐกิจพอเพียงสอนเรื่องการพึ่งตนเอง สภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันเป็นเพราะไม่รู้จักพอเพียง

พุทธธรรมกับเศรษฐกิจพอเพียง

พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจัดเป็นภูมิปัญญาตะวันออก ตอนนี้โลกตะวันตกกำลังสับสน เกิดความอับจนในเรื่องภูมิปัญญา มีปัญหาเศรษฐกิจ เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกากำลังชะลอตัว เศรษฐกิจของโลกก็ซบเซาตามที่เป็นเช่นนี้ เพราะคิดแบบวัตถุนิยม หรือบริโภคนิยม แต่ละประเทศผลิตสินค้าเพื่อกระตุ้นตัณหา ไม่มีคำว่าพอเพียงในระบบทุนเศรษฐกิจนิยม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีแนวพระราชดำริเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง (Self - Subficiency Economy) ซึ่งมีฐานมาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่สอนในเรื่องการพึ่งตน อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน เศรษฐกิจพอเพียงสอนเรื่องการพึ่งตนเอง สภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันเป็นเพราะไม่รู้จักพอเพียง คือ

- ไม่รู้จักพึ่งตนเอง ไปกู้เงินต่างประเทศมากเกินไป

- ไม่รู้จักคำว่าพอใจตามมี ยินดีตามได้ คือไม่สันโดษ ตามหลักพระพุทธศาสนา

- ไม่รู้จักคำว่าพอดี คือ มัตตัญญุตา หรือทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานมาจากภูมิปัญญา ทางพุทธศาสนาคือ

- เรื่อง อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ การพึ่งตนเอง พยายามใช้ทรัพยากรในประเทศของเราเอง

- รู้จักคำว่าพอเพียง คือ พอใจตามมี ยินดีตามได้ ตามหลักสันโดษ

- รู้จักคำว่าพอดี มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง โดยให้มีความสุขกาย และสุขใจไปด้วยกัน

หลักธรรมดังกล่าวนี้มีอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียง ชาวพุทธต้องช่วยขยายแนวพระราชดำรินี้ไปทั่วโลก ให้เป็นภูมิปัญญาของโลก สามารถส่งออกทางความคิด เป็นทรัพย์สินทางปัญญาไปช่วยชาวโลกได้

เมื่อไปดูภูมิปัญญาชาวตะวันตก ไอสไตน์ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าจะมีศาสนาของโลกที่สอดคล้องกับจิตวิญญาณทางวิทยาศาสตร์ ไม่พูดเรื่องพระเจ้าให้นักวิทยาศาสตร์เสียความรู้สึก พูดถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และพัฒนาการทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ถ้ามีศาสนาเช่นนั้น นักวิทยาศาสตร์จะยอมรับได้ทั่วโลกและถูกใจนักวิทยาศาสตร์ ไอสไตน์พิจารณาเห็นว่าศาสนาที่ว่านั้นคือพระพุทธศาสนา

หลักธรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง

“ทิฏฐธัมมิกัตถะ” เป็นข้อปฎิบัติสำคัญที่ทำให้เกิดผล คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้มีทรัพย์สินเงินทองพึ่งตนเองได้ เรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน บางที่เรียกว่า

“หัวใจเศรษฐี”โดยมีคำย่อคือ “อุ” “อา” “กะ” “สะ”

๑.อุ = อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
๒.อา = อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา
๓.กะ = กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
๔.สะ = สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้

โภคอาทิยะ ๕ เมื่อมีทรัพย์สินควรนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

๑.ใช้จ่ายทรัพย์นั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงดูครอบครัว มารดา บิดา ให้เป็นสุข

๒.ใช้ทรัพย์นั้นบำรุงเลี้ยงมิตรสหาย ผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข

๓.ใช้ป้องกันภยันตรายต่างๆ

๔.ทำพลี คือ การสละบำรุงสงเคราะห์ ๕ อย่าง

ทำพลี คือ การสละบำรุงสงเคราะห์ ๕ อย่างได้แก่

๑.อติถิพลี ใช้ต้อนรับแขก คนที่ไปมาหาสู่ เป็นเรื่องของการปฏิสันถาร

๒.ญาติพลี ใช้สงเคราะห์ญาติ

๓.ราชพลี ใช้บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากรเป็นต้น

๔.เทวตาพลี บำรุงเทวดา คือ สิ่งที่เคารพนับถือตามลัทธิความเชื่อหรือตามขนบธรรมเนียมของสังคม

๕.ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้แก่บุพพการี ท่านที่ล่วงลับไปแล้วเป็นการแสดงการกตัญญูรู้คุณ

โภคอาทิยะ ๕ เมื่อมีทรัพย์สินควรนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

๑.ใช้จ่ายทรัพย์นั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงดูครอบครัว มารดาบิดา ให้เป็นสุข

๒.ใช้ทรัพย์นั้นบำรุงเลี้ยงมิตรสหาย ผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข

๓.ใช้ป้องกันภยันตรายต่างๆ

๔.ทำพลี คือ การสละบำรุงสงเคราะห์ ๕ อย่าง

๕.บำรุงสมณพรามณ์ คือ พระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ผู้ฝึกฝนพัฒนาตนเอง ไม่ประมาทมัวเมา ผู้ที่จะดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้อย่างรู้เท่าทัน และนำไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย

หลักการที่นำมาใช้  คือ  ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนการทำงาน  และใช้หลักการมีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักและร่วมกันแก้ไขปัญหา

 หลักธรรมที่นำมาใช้  คือ สัปปุริสธรรม ๗ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

  ๑) สัปปุริสธรรม ๗  คือ  ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี

ได้แก่ รู้เหตุ  รู้ผล  รู้ตน  รู้ประมาณ  รู้กาล  รู้ชุมชน  รู้บุคคล 

-  รู้เหตุ  คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์  รู้จักพิจารณาหาต้นตอของสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง  เพื่อลงมือแก้ไขให้ถูกตามเหตุนั้น  เช่น  ปัญหาห้องน้ำของร.ร.มีกลิ่นรบกวน  เกิดจากสาเหตุหลักคือ  สภาพของบ่อเกรอะที่ใช้งานมานาน  การไม่ช่วยกันรักษาความสะอาดหลังการใช้ห้องน้ำ เป็นต้น

-  รู้ผล คือ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำ  จึงต้องเลือกวิธีการปฏิบัติให้เกิดผลของการเปลี่ยนแปลง  เช่น การรณรงค์ให้เพื่อนนักเรียนในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดห้องน้ำหลังการใช้  การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ราดและล้างห้องน้ำเพื่อดับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์

 -  รู้ตน คือ รู้ภาวะ  รู้ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรมแล้วประพฤติให้เหมาะสมและรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป  ใช้หลักธรรมนี้สอนให้นักเรียนเตือนตนเองในสิ่งที่จะกระทำ  ว่าเรามีความรู้เพียงพอหรือไม่กับสิ่งที่จะทำ  ถ้ายังรู้ไม่พอ  จะหาความรู้เพิ่มเติมได้จากใคร  อย่างไร  และการจะทำงานให้สำเร็จนั้นต้องอาศัยคุณธรรมอะไรบ้าง 

-  รู้ประมาณ คือ ความพอดี  เป็นการรู้จักประมาณในการใช้สิ่งต่าง ๆ เช่น การใช้เวลาสำหรับการเรียนและการทำกิจกรรม   การใช้เงินงบประมาณที่ได้รับมาให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด  โดยคำนึงถึงหลักเหตุผลในการตัดสินใจ 

-  รู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา ใช้หลักธรรมนี้เตือนนักเรียนให้กลับบ้านตรงเวลา  เล่นให้เหมาะสมกับเวลา   ทำงานให้ทันเวลา

-  รู้ชุมชน คือ รู้ที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยา  จะต้องช่วยเหลืออย่างไร  ใช้หลักธรรมข้อนี้กระตุ้นนักเรียนให้รู้ว่าควรช่วยเหลืองานอะไรในชุมชนบ้าง

-  รู้บุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม  และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี รู้ว่าควรเมื่อจะต้องประสานงานกับใคร  ขอความร่วมมือจากใคร  ต้องใช้คำพูดและวิธีการอย่างไร  จึงได้ได้การมีส่วนร่วมของบุคคลหลายๆ ฝ่าย  เพื่อให้งานสำเร็จ

  ๒) แนวพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

หลักปรัชญาความพอเพียงเป็นหลักคิด และหลักปฏิบัติ ในการดำเนินชีวิต เพื่อนำไปสู่ความ

พอเพียง  เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ของคนไทย  สังคมไทย  เพื่อให้ก้าวทันยุคโลกาภิวัตน์  ซึ่งประกอบด้วยหลัก  ๓  ห่วง  และ  ๒ เงื่อนไข ได้แก่
  (๑)  หลักความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  ความพอประมาณด้านการใช้เวลา  ใช้หลักธรรมนี้เตือนใจนักเรียนให้รู้จัก  แบ่งเวลาในการเล่น  การเรียน  การทำงานในหน้าที่ 

(๒) หลักความมีเหตุผล  หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไป

อย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ  เช่น การตัดสินใจเลือกใช้วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อดับกลิ่นรบกวนของห้องน้ำ  ต้องให้หลักเหตุผลตามหลักวิชา  ในการเลือกสูตรการทำน้ำหมักให้เหมาะกับคุณสมบัติเรื่องการดับกลิ่นห้องน้ำและคราบสกปรกต่างๆ ในห้องน้ำ  จึงใช้มะกรูด มะนาว และมะปรี๊ด เป็นส่วนประกอบสำคัญ

  (๓) หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง ความมีสติ  ไม่ประมาท  การใช้ปัญญาในการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยน แปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น  ใช้หลักธรรมนี้เตือนใจนักเรียนให้รู้จักสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองในการวางแผนการทำงาน  เช่น  การเลือกบริเวณที่ตั้งถังน้ำหมักชีวภาพในบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง  เนื่องจากเราใช้ถังน้ำหมักขนาด ๒๐๐ ลิตร  จำนวน ๒ ถัง  ซึ่งเคลื่อนย้ายลำบาก  จึงต้องเลือกตั้งไว้ในบริเวณที่สูง  เพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นได้  เนื่องจากพื้นที่ของโรงเรียนเป็นที่ราบลุ่มต่ำ  การสร้างทีมเยาวชนจิตอาสาชีวภาพดับกลิ่นให้ประกอบด้วยนักเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย  เพื่อการดำเนินงานต่อไปในอนาคต  จะได้มีการส่งต่องานระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง  เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงาน

  (๔) เงื่อนไขความรู้  คือ ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 

ใช้เงื่อนไขความรู้เป็นตัวนำในการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา  ว่าควรใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรใดจึงจะเหมาะสมกับเวลาและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุด 
  (๕) เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม  มีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต  ใช้เงื่อนไขนี้เตือนนักเรียนให้อดทนเพียรพยายามทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ  รู้จักใช้สติปัญญาในการคิดก่อนตัดสินใจก่อนทำกิจกรรมต่าง ๆ 

๔.๔ ประเมินผลการดำเนินงาน

  ผลการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงงาน  ดังนี้

๑.  ห้องน้ำไม่มีกลิ่นรบกวน

๒.  นักเรียนแกนนำจิตอาสาและครูที่ปรึกษามีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ

๓.  นักเรียนโรงเรียนลาซาลจันทบุรี (มารดาพิทักษ์) เกิดจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาดของห้องน้ำภายในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น

๔.  สามารถพัฒนา “การทำน้ำหมักชีวภาพ”  เป็นฐานการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อให้ความรู้แก่คณะผู้มาศึกษาดูงานการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา

๔.๕  การประเมินตนเอง

ความคิดเห็นและความรู้สึกของประธานกลุ่มเยาวชนผู้รับผิดชอบโครงงาน

ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจในตนเองที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหากลิ่นของห้องน้ำที่ส่งกลิ่นรบกวนได้  สามารถนำทีมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำของเพื่อน ๆ และน้องๆ ให้ดีขึ้นได้  และตั้งใจจะดำเนินโครงงานต่อไปเรื่อยๆ อย่างดีที่สุด”จากการที่ได้ทำโครงงานในครั้งนี้ได้เรียนรู้กระบวนการในการแก้ปัญหาต่างๆ และได้รู้จักการทำงานที่เป็นจิตอาสาโดยแท้จริง