ฝุ่น pm 2.5 ผลกระทบต่อสังคม

ฝุ่นPM 2.5 ภัยร้ายใกล้ตัวเรา

ฝุ่น pm 2.5 ผลกระทบต่อสังคม

ช่วงนี้อากาศบ้านเราเต็มไปด้วยฝุ่นมลพิษ PM 2.5 โดยมีค่ามลภาวะทางอากาศสูงมากติดอันดับต้นๆ ของโลก ฝุ่น PM 2.5 หลายคนคงคุ้นชื่อ แต่ทราบหรือไม่ว่าฝุ่นมลพิษนี้ทำร้ายร่างกายเราอย่างไรบ้าง?

วันนี้หมอจะมาพูดถึงเจ้าฝุ่น PM2.5 นี้คืออะไร มีผลเสียต่อร่างกายและผิวหนังอย่างไรบ้าง และเราจะป้องกันได้อย่างไร

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?

คือฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดอนุภาคเล็กมากๆ (ขนาดเล็กกว่า2.5ไมครอน หรือไมโครเมตร)

(PM ย่อมาจาก Particulate Matters)

ด้วยขนาดที่เล็กมากๆ เราจึงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ถ้าฝุ่นนี้มีปริมาณสูงมากๆ ในอากาศ จะดูคล้ายกับมีหมอกหรือควัน

สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้จากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ การเผาขยะ เผาหญ้า เผาเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงงาน เป็นต้น

ฝุ่น PM 2.5นี้ยังสามารถรวมตัวกับสารมลพิษ เช่นสารไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนัก

และด้วยขนาดที่เล็กมากจึงสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูก ไปยังหลอดลม และลงลึกจนถึงถุงลมปอดและซึมเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย

ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

ในวันที่อากาศไม่ดี มีค่าฝุ่นมลพิษสูง หลายคนคงรู้สึกแสบตา แสบจมูก เจ็บคอ

  • ระบบที่มีผลกระทบมาก คือระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาฝุ่น PM2.5เข้าไป จะรู้สึกแสบจมูก ไม่สบาย ไอและมีเสมหะได้ ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคภูมิแพ้,โรคปอด (เช่น หอบหืด, ถุงลมโป่งพอง) ต้องระวังสุขภาพเป็นพิเศษ เนื่องจากฝุ่นนี้จะทำให้โรคกำเริบได้ง่าย
  • ในระยะยาวมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้

นอกจากนี้ยังทำลายผิวของเราได้ด้วย

ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มร่างกาย จึงหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญฝุ่นมลพิษได้ยาก

ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสีย หรืออันตรายต่อผิวอย่างไรบ้าง?

เนื่องจากฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากๆ เล็กกว่าขนาดของรูขุมขน จึงสามารถซึมผ่านเข้าผิวหนัง

  • ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ มีอาการแดงคัน ระคายเคืองผิว โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาผิวแพ้ง่าย โรคภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีผื่นกำเริบได้ง่าย
  • ผิวหน้ามันขึ้น น้ำมันบนหน้าและฝุ่นจะทำให้เกิดการอุดตันของผิว และก่อให้เกิดสิว
  • กระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระที่จะทำลายผิว ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย และจุดด่างดำ

เมื่ออากาศที่เราจำเป็นต้องสูดหายใจเข้าไปทุกวันๆนั้นเต็มไปด้วยฝุ่นมลพิษทำลายร่างกาย

เราจะป้องกัน และดูแลตนเองอย่างไรดี?

  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรอยู่ในบ้านหรือในอาคารที่มีเครื่องฟอกอากาศชนิดที่มีHEPA filter
  • เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรสวมใส่หน้ากากชนิดที่สามารถกันฝุ่นPM2.5ได้ และใส่ให้ถูกวิธี
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ5หมู่ ทานผลไม้หรือวิตามินที่สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) เช่นวิตามินซี ดื่มน้ำสะอาดเพื่อช่วยในการขับสารพิษจากร่างกาย

การดูแลปกป้องผิวหนังจากฝุ่น PM 2.5 ทำได้อย่างไร?

  • ควรทำความสะอาดผิว/ล้างหน้าให้สะอาดทันที ภายหลังจากต้องสัมผัสกับฝุ่นมลพิษ
  • ใส่เสื้อผ้าแขนยาว เพื่อปกป้องผิวไม่ให้ระคายเคือง และลดการเห่อของผื่น
  • ทาครีมบำรุงผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้นและทำให้เกราะป้องกันของผิวแข็งแรงขึ้น

หากป้องกันผิวดีแล้ว แต่ยังเกิดปัญหาผิวหนัง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ

นอกจากนี้พวกเราควรช่วยกันลดการสร้างฝุ่นมลพิษนี้

  • โดยการพยายามลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ใช้ขนส่งสาธารณะแทน หรือหากจำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว ก็พยายามเดินทางพร้อมๆ กันหลายๆคน
  • ลดการเผาขยะ/กระดาษ/หญ้า, สูบบุหรี่
  • ช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดซับฝุ่นมลพิษ

#PM 2.5 อันตรายกว่าที่คิด ใส่ใจกันสักนิด เพื่อชีวิตและผิวสวยของเรา

อย่าลืมป้องกัน และช่วยกันลดฝุ่น PM 2.5 นะคะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

ศูนย์ความงามและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 4

โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ (WMC)

ฝุ่น pm 2.5 ผลกระทบต่อสังคม

ผลกระทบจากฝุ่นพิษ PM 2.5 คำแนะนำ และการป้องกันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายเพื่อต่อต้านสารพิษต่างๆ ด้วยการตรวจค้นหาปริมาณสารอนุมูลอิสระ (Free radical) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)ที่จะช่วยในการวางแผนป้องกันโรค ชะลอความเสื่อมของร่างกายและโรคเรื้อรังต่างๆ กับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย Wellness Center โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ฝุ่นพิษ หรือ ฝุ่น PM 2.5 ที่เราๆ เริ่มคุ้นเคยกันมาบ่อยๆ ในช่วง 3-5 ปีนี้ คือ อนุภาคมลพิษทางอากาศขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน มี ส่วนประกอบสำคัญหลัก คือ คาร์บอนอินทรีย์ สาร PAHs เกลือซัลเฟต เกลือไนเตรท โลหะหนัก ซึ่งมีสัดส่วน เปลี่ยนไปบ้างตามแหล่งกำเนิดของมลพิษและฤดูกาล เนื่องจากฝุ่นละอองพิษที่มีขนาดเล็กมาก จนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ความเข้มข้นและความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 นี้จะมีมากขึ้นในฤดูแล้ง (ช่วง เดือน ธันวาคม – เมษายน ของทุกปี)

การหายใจในพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 มากก็จะทำให้มีการสูดดมเอาฝุ่นละอองเหล่านี้เข้าไปในร่างกายและแทรกซึมลึกถึงถุงลมฝอยในปอด และเข้าไปสู่ทุกเซลล์ของระบบอวัยวะในร่างกายเราได้อย่างรวดเร็ว นอกจากตัวมันเองที่เป็นอันตรายแล้ว ยังพาเพื่อนเเก๊สมลพิษอื่นๆที่อยู่ปะปนกัน ตามเข้ามาในร่างกายเราด้วย จึงทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพแทบทุกระบบอวัยวะของร่างกาย ส่วนผลกระทบจะมากหรือน้อย ขึ้นกับปัจจัยสำคัญ ดังนี้

  1. ระดับความเข้มข้นของ PM 2.5 ที่ได้รับ
  2. ระยะเวลาที่ร่างกายได้รับสะสม
  3. สัดส่วนของสารประกอบชนิดต่างๆ ในฝุ่น PM 2.5
  4. สภาวะของร่างกายขณะได้รับ PM2.5 (เช่น ทารกในครรภ์มารดาและช่วงวัยต่าง ๆ ความไวต่อมลพิษของบุคคล ความ เจ็บป่วยที่มีอยู่เดิม สุขภาพความแข็งแรงของร่างกาย)

ผลกระทบดังกล่าวอาจมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ มีอาการอักเสบแฝงในระบบอวัยวะจนเกิดอาการผิดปกติ ซึ่งเกิดได้ทั้งฉับพลันทันทีทันใด และแบบเรื้อรัง โดยผลกระทบตามระยะต่าง ๆ อาจทำให้เกิดโรคขึ้นใหม่ หรือทำให้โรคเดิมรุนแรงขึ้นทำให้เซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมจนทำให้อวัยวะทำงานเสื่อมเร็วและรุนแรงขึ้นอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง ตัวอย่างผลกระทบจาก PM2.5 ต่อระบบอวัยวะสำคัญหลักในการดำรงชีวิต ได้แก่

  • ระบบการหายใจที่พบได้เร็วและบ่อย (เช่น โพรงจมูกอักเสบทั้งแบบภูมิแพ้ และติดเชื้อหลอดคอ กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดอักเสบ) ยังทำให้เกิดการติดเชื้อ (เช่น ไวรัสไข้หวัด ไวรัสไข้หวัดใหญ่ แบคทีเรีย)ได้ง่ายและรุนแรงมากขึ้นหลายเท่า
  • ระบบหัวใจ(กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว)
  • ระบบหลอดเลือด (หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองเสื่อม โรคstrokeของหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดดำอุดตัน)
  • ระบบสมอง(สมองด้อยประสิทธิภาพ สมองเสื่อม สมาธิสั้นและระบบจิตประสาท (อารมณ์แปรปรวน ความผิดปกติทางจิตแบบซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย)
  • มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ (โดยเฉพาะมะเร็งปอด)

คำแนะนำในการป้องกันและดูแลตนเองในช่วงที่มีวิกฤตฝุ่นพิษ

  1. ติดตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณที่ตัวเองอยู่หรือจุดใกล้เคียงที่สุดเป็นระยะ ๆ หากไม่มีค่าคุณภาพอากาศในบริเวณใกล้เคียง อาจใช้เครื่องวัด 5 แบบพกพา ที่ตรวจวิเคราะห์ค่าพอจะเทียบเท่ามาตรฐานได้ นำมาใช้ในการวางแผนดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงพื้นที่นั้น หรือใช้เวลาทำกิจกรรมอยู่ในพื้นที่นั้นๆให้น้อยที่สุด
  2. ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อไม่ให้มลพิษอากาศเข้ามาสะสมในอาคาร และใช้เครื่องฟอกอากาศในอาคารที่ทำงานหรืออยู่อาศัย เช่น ห้องทำงาน ห้องนอน หรือห้องที่อยู่อาศัยเป็นเวลานาน หากปิดห้องนาน ๆ ระบบไหลเวียนอากาศไม่เพียงพอ (รู้สึกอึดอัด ปวดหรือมึนศีรษะ)ให้เปิดแง้มห้องเพื่อระบายอากาศระยะสั้น ๆ แล้วปิดตามเดิม อาจต้องทำสลับเช่นนี้จนคุณภาพอากาศลดลงมาอยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับแต่ละบุคคล
  3. ควรสวมหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ (N-95) และสวมให้ถูกวิธี จำเป็นต้องเลือกขนาดที่ใส่ได้กระชับกับรูปจมูกและใบหน้า หากเริ่มอึดอัดหรือเหนื่อยให้ถอดออกเพียงชั่วครู่ ก็จะรู้สึกสบายขึ้นแล้วรีบสวมใหม่ ทำสลับกันไปเช่นนี้จนดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยกับตนเอง
  4. ผู้ที่ที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบมากยิ่งขึ้นควรงดเว้นการออกไปในบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นมลพิษปริมาณมาก หากจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย หลังเสร็จกิจกรรมให้อาบน้ำชำระล้างทำความสะอาดผิวหนัง ทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิว ก็จะช่วยลดทอนการสัมผัสโดยตรงต่อฝุ่นมลพิษPM 2.5 ได้
  5. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคารหรือในอาคาร(โรงยิม)ที่ไม่มีระบบฟอกอากาศนาน ๆหรืออาจต้องงดออกกำลังกายขึ้นกับระดับคุณภาพอากาศในช่วงเวลานั้นและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล
  6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในอาคารที่ไม่มีระบบฟอกอากาศ
  7. ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือโรคระบบหายใจเรื้อรัง เช่นหอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรหมั่นสังเกตอาการ โรคกำเริบ ถ้ามีอาการควรใช้ยาหรือรักษาเบื้องต้นตามที่แพทย์เคยแนะนำและไปพบแพทย์โดยเร็วหากอาการไม่หายเป็นปกติ
  8. ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวหรือสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี ถ้ามีอาการผิดปกติที่รบกวนชีวิตประจำวันควรรีบพบแพทย์เช่นกัน อาการสำคัญที่ควรรีบไปพบแพทย์อย่างฉุกเฉิน ได้แก่ แน่นอกหรือเจ็บหน้าอกหรือเจ็บท้องใต้ลิ้นปี่เหมือนมีของหนักกดทับ เหนื่อยหอบผิดปกติ ปวดมึนศีรษะ ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือแขนขาซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน มุมปากตก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ออก สับสน มองไม่เห็นฉับพลัน อาการไอเป็นชุด ๆ ไอมีเสียงดังหวีด มีไข้และหอบเหนื่อย เป็นต้น
  9. สวมใส่แว่นตาขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันดวงตาจากมลพิษ ใช้น้ำเกลือมาตรฐานล้างตาหากรู้สึกระคายเคืองตา
  10. ใช้น้ำเกลือล้างจมูก เพื่อล้างฝุ่นควันลดอาการคัดจมูก หรือ กลั้วคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ
  11. หลีกเลี่ยงก่อมลพิษ เช่น ไม่เผาทุกชนิด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ใช้รถควันดำ หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถ้าพบเหตุการณ์เผาป่าหรือหญ้าข้างทาง

**** สามารถดูแลสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายเพื่อต่อต้านสารพิษต่างๆด้วยการตรวจค้นหาปริมาณสารอนุมูลอิสระ (Free radical) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)ที่จะช่วยในการวางแผนป้องกันโรค ชะลอความเสื่อมของร่างกายและโรคเรื้อรังต่างๆ กับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย Wellness center รพ.สินแพทย์ รามอินทรา****

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ สาขาใกล้บ้านคุณ

Wellness Center

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

แผนกอายุรกรรม

 โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

 4,718 total views,  11 views today

ปัญหาฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน (PM2.5) ส่งผลกระทบต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์อย่างไร

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของ เส้นผมมนุษย์สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรง ส่งผล อันตรายต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง

ฝุ่น PM 2.5 ดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบหายใจของคนเราหรือไม่อย่างไร

ระบบที่มีผลกระทบมาก คือระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาฝุ่น PM2.5เข้าไป จะรู้สึกแสบจมูก ไม่สบาย ไอและมีเสมหะได้ ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคภูมิแพ้,โรคปอด (เช่น หอบหืด, ถุงลมโป่งพอง) ต้องระวังสุขภาพเป็นพิเศษ เนื่องจากฝุ่นนี้จะทำให้โรคกำเริบได้ง่าย ในระยะยาวมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้

มลพิษ PM 2.5 ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างไร

ระบบหลอดเลือด (หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองเสื่อม โรคstrokeของหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดดำอุดตัน) ระบบสมอง(สมองด้อยประสิทธิภาพ สมองเสื่อม สมาธิสั้นและระบบจิตประสาท (อารมณ์แปรปรวน ความผิดปกติทางจิตแบบซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย) มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ (โดยเฉพาะมะเร็งปอด)

ค่า ฝุ่น PM 2.5 เท่าไรอันตราย

ขณะที่ค่า PM2.5 นั้นจะคิดจากค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตามมาตรฐานไทยหากเกินกว่า 50 มคก./ลบ.ม. ถือว่าเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ