กล่องพลาสติก ใส่ อาหาร ทำ จาก

กล่องพลาสติก ใส่ อาหาร ทำ จาก

พลาสติก Food Grade คือ พลาสติกที่มีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้บรรจุ หรือสัมผัสกับอาหาร ไม่ทิ้งสารตกค้างเมื่อสัมผัสกับอาหาร ซึ่งการสังเกตว่าพลาสติกชนิดไหนเป็น พลาสติก Food Grade นั้น สามารถดูได้จากตราสัญลักษณ์ Food Safe หรือลักษณะของพลาสติกเองได้ โดย Packingdd ได้รวบรวมพลาสติกสำหรับใช้บรรจุอาหารมาฝากกันค่ะ

1.พลาสติกเบอร์ 1 PET หรือ  PETE (Polyethylene Terephthalate)

เป็นพลาสติกที่ใช้ในการผลิตขวดน้ำต่างๆที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ มีคุณสมบัติคือใส สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างในได้ เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำมันเป็นต้น

2.พลาสติกเบอร์ 2 HDPE (พลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง)

เป็นพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง ยืดหยุ่น ทนทานต่อการ แตก หัก หรือ งอได้ดี ทนสารเคมี และป้องกันความชื้นได้ ทนความร้อนได้เล็กน้อย ควรบรรจุด้วยวิธีบรรจุแบบอุ่น (80-100 องศาเซลเซียส) สามารถทนความเย็นต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ เหมาะกับการบรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง

กล่องพลาสติก ใส่ อาหาร ทำ จาก

3.พลาสติกเบอร์ 4 LDPE (พลาสติกชนิดความหนาแน่นต่ำ)

เป็นพลาสติกสายอ่อนนิ่ม ยืดหยุ่นได้ดี มีคุณสมบัตินิ่มและใส ทนต่อการทิ่มทะลุ และการฉีกขาด เหนียว ไม่กรอบแตกง่าย แต่ความแข็งและทนทานน้อยกว่า HDPE ชื่อสามัญเรียกว่าถุงเย็น เพราะไม่ทนต่อความร้อนนิ่ม ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี ทนต่อกรดและด่างได้ดี ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี ออกซิเจนและอากาศซึมผ่านได้ ไขมันซึมผ่านได้ พลาสติก LDPE ได้รับความนิยมในการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารเช่น ถุงเย็นต่างๆ ฟิล์มหดและฟิล์มยืด ฝาขวด ขวดน้ำ

4.พลาสติกเบอร์ 5 PP (Polypropylene)

พลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร เพราะมีความหนาแน่นต่ำ แต่มีจุดหลอมเหลวสูง ทนต่อความร้อนและสารเคมีได้ดี มีความใส ไม่ทนต่อความเย็น มักใช้ในการผลิตถุงทนร้อน ที่เรามักคุ้นหูกันว่า “ถุงร้อนชนิดใส” สามารถบรรจุอาหารขณะที่ร้อนได้ (100- 121 องศาเซลเซียส) แต่ไม่เหมาะกับการบรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง

กล่องพลาสติก ใส่ อาหาร ทำ จาก

5.พลาสติก PE (Polyethylene)

พลาสติก PE เป็นพลาสติกที่มีการนิยมใช้มากที่สุดในการบรรจุ เนื่องจาก PE มีจุดหลอมเหลวต่ำ เมื่อเทียบกับพลาสติกชนิดอื่น ๆ ทำให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำ นิยมใช้ผลิตเป็นถุงร้อน (HDPE) และถุงเย็น (LDPE) / ถุงบรรจุขนมปัง PE ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดีจึงช่วยป้องกันไม่ให้ขนมปังแห้ง /ถุงบรรจุผักและผลไม้สด เพราะยอมให้ก๊าซซึมผ่านได้ดี ทำให้มีก๊าซออกซิเจนซึมผ่านเข้ามาเพียงพอให้พืชหายใจ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชคายออกมาก็สามารถซึมผ่านออกไปได้ง่าย และ พลาสติก PE ไม่นิยมใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนย ถั่วทอด ขนมขบเคี้ยว

กล่องพลาสติก ใส่ อาหาร ทำ จาก

6.พลาสติก IPP (Inject polypropylene)

พลาสิตก IPP มีลักษณะ PP แต่มีความใส เนื้อหนา แข็งแรง และ เงากว่า นิยมนำมาขึ้นเป็นถุง ที่มีจีบด้านข้าง เพื่อมาบรรจุขนม คุกกี่ และเบเกอรี่ต่างๆ วางขายไว้หน้าร้านให้เป็นรูปทรง ดูน่าทาน เนื้อฟิลม์สามารถพิมพ์ลายโลโก้ได้สวยงาม นับว่าการใช้ถุง IPP ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่คนนิยมเนื่องจากสามารถประหยัดต้นทุนในแง่ของ บรรจุภัณฑ์ เพราะเมื่อเปรียบเทียบ กับบรรจุภัณฑ์สำหรับเบเกอรี่ทั่วไปในท้องตลาดแล้ว ถุง IPP ยังมีราคาถูกกว่า บรรจุภัณฑ์อีก หลายๆชนิด

7.พลาสติก OPP (Oriented polypropylene)

พลาสติก OPP มีจุดหลอมเหลวสูง ทำให้สามารถใช้บรรจุอาหารในขณะร้อนได้ดี หรือ บรรจุอาหารที่ผ่านความร้อนในการฆ่าเชื้อได้ดี ป้องกันความชื้นได้ดี ป้องกันการซึมผ่านของน้ำมันได้ดี นิยมใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์มีหลายชนิด เช่น ซองไอศกรีม ฉลาก ถุงร้อนของอาหารต่างๆ กล่องอาหาร ถาดพลาสติก เพราะลักษณะใส และเงา สามารถซีลได้ด้วยความร้อน

กล่องพลาสติก ใส่ อาหาร ทำ จาก
 

สนใจสั่งซื้อสินค้า หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี้ >>> www.packingdd.com

ติดตามข่าวสาร หรือ โปรโมชั่นเพิ่มเติมที่นี้ Facebook : PackingDD

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร


ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กล่องพลาสติก ใส่ อาหาร ทำ จาก

กล่องพลาสติก ใส่ อาหาร ทำ จาก

อ่านแล้ว 289,746 ครั้ง  

ตั้งแต่วันที่ 08/01/2555

อ่านล่าสุด 8 นาทีที่แล้ว


Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/y93ot46l

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์พลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะในรูปแบบของใช้ในบ้าน เครื่องนุ่งห่ม วัสดุทางการแพทย์ วัสดุอาคาร รวมไปถึงการใช้เพื่อบรรจุอาหาร เนื่องด้วยความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่ท่านทราบถึงความแตกต่างขององค์ประกอบ วิธีการใช้งานที่เหมาะสม และอันตรายของผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากน้อยเพียงใด

ผลิตภัณฑ์พลาสติกสามารถแบ่งตามชนิดของพลาสติกได้เป็น 7 ชนิด มีการแสดงไว้บนผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในเรื่องการคัดแยกพลาสติกสำหรับการรีไซเคิล ลักษณะสัญลักษณ์คือ ลูกศรวิ่งวนเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีเลขกำกับอยู่ภายใน และมีตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ฐานของสามเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า “รหัสพลาสติก” กำหนดโดย NA Society of the Plastics Industry ในปี ค.ศ. 1988 ดังตารางนี้

กล่องพลาสติก ใส่ อาหาร ทำ จาก

รายละเอียดของผลิตภัณฑ์พลาสติกแต่ละชนิด

  1. พลาสติกโพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท (Polyethylene terephthalate) หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า เพท (PET) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเนื้อใส (A-PET) และกลุ่มที่เป็นผลึกสีขาว (C-PET) ตัวอย่างการนำไปใช้: ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำมันสำหรับปรุงอาหาร ถุงขนมขบเคี้ยวข้อควรระวัง:
    • ขวดบรรจุน้ำดื่มเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อใช้เพียงครั้งเดียว ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้นำมาทำความสะอาดใหม่โดยใช้ความร้อนสูงหรือขัดถูแล้วนำมาใช้ซ้ำ ขวดที่ใช้แล้วควรนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่มากกว่าการนำกลับมาใช้ซ้ำ แม้ว่าการใช้ซ้ำนั้นอาจจะไม่มีอันตรายจากสารที่หลุดออกมา แต่ผู้บริโภคอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์เนื่องจากการทำความสะอาดที่ไม่ดีพอ
    • สารอะซิทัลดีไฮด์สามารถแพร่ออกจากผลิตภัณฑ์เข้าไปปนเปื้อนของที่บรรจุอยู่ในภาชนะได้ ซึ่งอะซีทัลดีไฮด์เป็นสารที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริการะบุว่า เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในคน รวมทั้งอาจส่งผลลบต่อพัฒนาการทางสมอง
  2. พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High density polyethylene, HDPE) ตัวอย่างการนำไปใช้: เนื่องจากเป็นพลาสติกที่ทนทานต่อสารทำละลายต่างๆ ทำให้มีการนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นภาชนะบรรจุต่างๆ เช่น ทัปเปอร์แวร์ ขวดน้ำยาซักผ้า ขวดนม ถังน้ำมันสำหรับยานพาหนะ โต๊ะและเก้าอี้แบบพับได้ ถุงพลาสติก ข้อควรระวัง: การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสีควรระมัดระวังอันตรายจากเม็ดสีที่เติมเข้าไป ซึ่งมีส่วนผสมของตะกั่วและแคดเมียม สารทั้งสองตัวนี้สามารถแพร่ออกมาจากพลาสติกได้
  3. พลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride) หรือที่เรียกกันว่า พีวีซี (PVC) ตัวอย่างการนำไปใช้: พลาสติกห่ออาหาร ถุงหูหิ้ว (ขนาดเล็กนิยมบรรจุอาหารประเภททอด เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขก) ขวดบรรจุชนิดบีบ (เช่น น้ำมันพืช) กล่องอุปกรณ์ต่างๆ ภาชนะบรรจุเครื่องดื่มอาหาร ตะแกรงคว่ำจานข้อควรระวัง: สารเติมแต่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพพีวีซี อาทิเช่น สารพลาสติกไซเซอร์และสารอื่น ๆ ได้แก่ พาทาเลท สารแต่งสีซึ่งมีตะกั่วและแคดเมียม สารทำให้คงตัว (stabilizers) เช่น แบเรียม สามารถแพร่กระจายออกมาได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการห่ออาหารขณะร้อนด้วยพลาสติกอุ่นอาหารโดยมีพลาสติกที่ห่ออาหารอยู่ และการใส่อาหารร้อนในถุงหูหิ้วโดยตรง
  4. 4. พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene, LDPE) ตัวอย่างการนำไปใช้: ถุงหูหิ้ว ขวดพลาสติกบางชนิด และที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร ข้อควรระวัง:
    • การใช้ถุงพลาสติกที่เป็นสีควรระมัดระวังอันตรายจากเม็ดสีที่เติมเข้าไป ซึ่งมีส่วนผสมของตะกั่วและแคดเมียม สารทั้งสองตัวนี้สามารถแพร่ออกมาจากพลาสติกได้
    • ถุงเย็น มีลักษณะขุ่นและยืดหยุ่นได้ดีกว่าถุงร้อน ทนความเย็นได้ถึง -70 องศาเซลเซียส แต่ทนความร้อนได้ไม่มากนัก
  5. พลาสติกโพลีโพรพิลีน (Polypropylene, PP)ตัวอย่างการนำไปใช้: ถุงร้อนสำหรับบรรจุอาหาร ขวดใส่เครื่องดื่ม ซองขนม ภาชนะบรรจุโยเกิร์ต หลอดดูด ขวดนมเด็กข้อควรระวัง:
    • สามารถติดไฟได้ง่าย จึงต้องมีการเติมสารหน่วงไฟเพื่อป้องกันการติดไฟในกระบวนการผลิต ซึ่งสารหน่วงไฟที่เติมจะเป็นพวกโบรมิเนเตตและคลอริเนเตต สารกลุ่มนี้ถ้าไหม้ไฟแล้วจะให้สารไดออกซิน (dioxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
    • สารเม็ดสีที่มีตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งผสมลงไปเพื่อทำให้พลาสติกมีสีต่าง ๆ ตะกั่วและแคดเมียมสามารถแพร่กระจายออกมาจากพลาสติกได้
    • ถุงร้อน มีลักษณะใสกว่าถุงเย็นและไม่มีความยืดหยุ่น สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 100 องศาเซลเซียส (จุดเดือดของน้ำ) และทนไขมันได้ดี แต่สามารถบรรจุอาหารเย็นได้เพียง 0 องศาเซลเซียส
  6. พลาสติกโพลีสไตรีน (Polystyrene, PS) หรือที่เรียกกันว่า โฟมตัวอย่างการนำไปใช้: บรรจุรองรับการกระแทก กล่องสำหรับบรรจุอาหาร พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง (เช่น ถ้วย ช้อน ส้อม มีด) ข้อควรระวัง:
    • การใช้ภาชนะโฟมใส่อาหารที่ร้อนหรือนำไปเข้าไมโครเวฟ สามารถทำให้สไตรีนโมโนเมอร์ในโฟมละลายออกมาผสมในอาหารได้ ซึ่งมีผลต่อสมอง ระบบประสาท เม็ดเลือดแดง ตับ ไต และอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกับผิวหนัง ตา ระบบทางเดินหายใจ ซึมเศร้า อ่อนเพลีย หรือทำให้สภาพการทำงานของตับลดลง
    • การเผาโฟมทำให้เกิดก๊าซพิษสไตรีนออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของของมะเร็ง
    • การรีไซเคิลโฟมมีปัญหาสำคัญในเรื่องไม่คุ้มทุน
  7. พลาสติกชนิดอื่นๆ เช่น โพลีคาร์บอนเนต (Polycarbonate, PC) ตัวอย่างการนำไปใช้: เนื่องจากโพลีคาร์บอเนตเป็นพลาสติกที่มีลักษณะใส แข็ง และทนความร้อนจึงนำมาทำเป็นภาชนะบรรจุอาหารที่สามารถเก็บในตู้เย็นและนำเข้าไมโครเวฟได้ด้วย เช่น เหยือกน้ำ ขวดน้ำขนาดบรรจุ 5 ลิตร ขวดน้ำนักกีฬา ขวดนม รวมทั้งจำพวกถ้วย ช้อนส้อม มีดชนิดใส ข้อควรระวัง: มีการศึกษาพบว่าขวดน้ำดื่มจะแพร่สารบิสฟีนอล เอ (Bisphenol A, BPA) ออกมามากกว่าปกติถึง 55 เท่าเมื่อใช้บรรจุน้ำร้อน ไม่ว่าจะเป็นขวดเก่าหรือขวดใหม่ก็ตาม ซึ่งสารนี้มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ของเพศหญิง ส่งผลกระทบทำให้สเปริม์ลดลง เปลี่ยนพฤติกรรมเพศ นอกจากนี้ยังพบว่าเหนี่ยวนำให้เกิดการต้านทานอินซูลิน (insulin) และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมอีกด้วย ในเด็กทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน และไฮเปอร์แอคทีฟ

พลาสติกเกือบทุกชนิดก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระบวนการผลิตมีการปล่อยสารพิษเข้าไปในอากาศและน้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษ และต้องอาศัยพลังงานสูงกว่าการผลิตแก้ว นอกจากนี้พลาสติกที่ได้จากการรีไซเคิลจะมีคุณภาพด้อยลงจากผลิตภัณฑ์ก่อนการรีไซเคิล ดังนั้นจึงไม่สามารถนำกลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เดิมได้ ต้องทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพลงไป ตัวอย่างเช่น โฟมบรรจุอาหารรีไซเคิลเป็นโฟมกันกระแทก (ไม่สามารถกลับมาใส่อาหารได้อีก) ซึ่งในกระบวนการรีไซเคิลนี้ต้องมีการเพิ่มวัตถุดิบหรือต้นทุนด้านอื่นๆอีกด้วย ในขณะที่หากนำไปย่อยสลายจะทำได้ยากด้วยวิธีฝังกลบ ส่วนการเผาขยะพลาสติกชนิดพีวีซี จะเป็นตัวก่อให้เกิดสารไดออกซิน ยกเว้นต้องใช้เตาเผาอุณหภูมิสูงถึง 1300 องศาเซลเซียสี้

ถุงพลาสติกอีกประเภทหนึ่งคือ ถุงพลาสติกชีวภาพ หรือพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยและคิดค้นถุงพลาสติกที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตได้จากแป้งมันสำปะหลังและข้าวโพด พลาสติกชนิดนี้เมื่อถูกฝังกลบในสภาวะที่เหมาะสมจะถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์และแบคทีเรียในธรรมชาติ เมื่อย่อยสลายหมดแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำ มวลชีวภาพ ก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตและดำรงชีวิตของพืช

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า การใช้พลาสติกควรเลือกให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของพลาสติกชนิดนั้นๆ เพื่อลดอันตายที่อาจเกิดขึ้นได้ และที่สำคัญคือควรใช้เท่าที่จำเป็น เลือกใช้วัสดุอื่นที่สามารถทดแทนได้ ตัวอย่างเช่น แก้ว หรือ ถุงพลาสติกชีวภาพ เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมของเราด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. วลัยพร มุขสุวรรณ. รหัสชนิดพลาสติก. หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย [Online]; 2008. Available form: http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=18 [Accessed 2011 Sep 5]
  2. วลัยพร มุขสุวรรณ. พลาสติกในชีวิตประจำวัน: ตอนที่ 3 โพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท. หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย [Online]; 2008. Available form: http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=13 [Accessed 2011 Sep 5]
  3. วลัยพร มุขสุวรรณ. พลาสติกในชีวิตประจำวัน: ตอนที่ 2 โพลีไวนิลคลอไรด์. หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย [Online]; 2008. Available form: http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=12 [Accessed 2011 Sep 5]
  4. วลัยพร มุขสุวรรณ. พลาสติกในชีวิตประจำวัน: ตอนที่ 4 โพลีเอทิลีน. หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย [Online]; 2008. Available form: http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=14 [Accessed 2011 Sep 5]
  5. วลัยพร มุขสุวรรณ. พลาสติกในชีวิตประจำวัน: ตอนที่ 7 โพลีโพรพิลีน. หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย [Online]; 2008. Available form: http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=17 [Accessed 2011 Sep 5]
  6. วลัยพร มุขสุวรรณ. พลาสติกในชีวิตประจำวัน: ตอนที่ 1 โพลีสไตรีน. หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย [Online]; 2008. Available form: http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=11 [Accessed 2011 Sep 5]
  7. วลัยพร มุขสุวรรณ. พลาสติกในชีวิตประจำวัน: ตอนที่ 5 โพลีคาร์บอเนต. หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย [Online]; 2008. Available form: http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=15 [Accessed 2011 Sep 5]
  8. ประศักดิ์ ถาวรยุติการต์. อันตรายจากการใช้พลาสติกเป็นภาชนะบรรจุอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม. วารสารเชียงใหม่ปริทัศน์. ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ [Online]; 2006. Available form: http://www.udif.or.th/envoroment9.htm [Accessed 2011 Sep 7]
  9. Sira Sujjinanont. "ถุงพลาสติกชีวภาพ" ย่อยสลายได้ไม่เป็นอันตรายต่อโลก [Online]; 2009. Available form: http://fukduk.com/blog/ถุงพลาสติกชีวภาพ-ย่อยสลายได้ไม่เป็นอันตรายต่อโลก [Accessed 2011 Sep 7]
  10. Anonymous. Bisphenol A (BPA) has been linked to damage in developing brain tissue. News-Medical.Net [Online]; 2005. Available form: http://www.news-medical.net/news/2005/12/02/14790.aspx [Accessed 2011 Sep 9]
  11. Anonymous. พลาสติกบรรจุอาหาร. Gourmetthai [Online]; 2007. Available form: http://www.gourmetthai.com/newsite/nutrition/nutrition_detail.php?content_code=CONT040 [Accessed 2011 Sep 9]

กล่องพลาสติก ใส่ อาหาร ทำ จาก




ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:

บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้