การทดลอง การ เจริญ เติบโต ของพืช

การทดลอง การ เจริญ เติบโต ของพืช

จุดประสงค์

ออกแบบการทดลอง ทดลอง และอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเจริญ

เติบโตของพืช

เวลาที่ใช้ (โดยประมาณ)

60

นาที

การเตรียมล่วงหน้า

ครูอาจกำ�หนดชนิดพืชที่จะให้นักเรียนศึกษาเองและเตรียมต้นพืชดังกล่าวที่เจริญเติบโต

มาระยะหนึ่งให้นักเรียนนำ�ไปศึกษา หรือครูอาจให้นักเรียนเริ่มต้นปลูกพืชไว้ล่วงหน้าโดยเลือก

พืชที่สามารถเจริญเติบโตได้เร็ว เช่น ถั่วเขียว ผักบุ้ง หอมแดง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น จากนั้นให้

นักเรียนเริ่มปลูกก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือตั้งแต่เริ่มเรียนในบทนี้ โดยให้ได้รับ

สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เหมือนกัน ทั้งนี้ครูอาจปลูกพืชสำ�รองไว้ด้วยเช่นกัน

แนวการจัดกิจกรรม

1. ครูแบ่งนักเรียนทำ�การทดลองแต่ละปัจจัย ปัจจัยละ 2 กลุ่ม โดยให้ทำ�การทดลองกับพืช

ชนิดเดียวกัน

หมายเหตุ

หากต้องการศึกษาปัจจัยอื่นเพิ่มเติม เช่น ธาตุอาหาร อาจแบ่งนักเรียนเป็น

6 กลุ่มเพื่อให้ศึกษาปัจจัยละ 2 กลุ่ม และนำ�ผลมาอภิปรายร่วมกัน

2. หลังจากนั้นครูทบทวนแนวทางในการทำ�การศึกษาและการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ เช่น

หากต้องการศึกษาปริมาณน้ำ�ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด จำ�เป็นต้อง

ควบคุมปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่พืชได้รับให้เหมือนกัน เช่น แสง ธาตุอาหาร ปริมาณดิน

ภาชนะปลูก เป็นต้น

3. ครูให้นักเรียนช่วยกันออกแบบวิธีการศึกษา โดยเขียนเป็นผังงาน รวมถึงออกแบบตาราง

บันทึกผลการศึกษา และนำ�เสนอวิธีการดังกล่าวต่อครูก่อนเริ่มปฏิบัติการ

4. นักเรียนทำ�การทดลองตามผังงาน จากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอผลที่ได้และ

อภิปรายร่วมกัน

กิจกรรม 3.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | การดำ�รงชีวิตของพืช

84

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

การทดลอง เกี่ยวกับแสงและการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งทำการสังเกตการตอบสนองของพืชทีมีต่อแสง

-> การเติบโตของถั่วเขียวตัวอ้วน

อุปกรณ์การทดลอง

  1. เมล็ดถั่วเขียว
  2. กระถางต้นไม้
  3. กระดาษลัง
  4. ดินปลูก
  5. เทปกาว

ตัวแปรต้น : ตำแหน่งที่ได้รับแสงของอุปกรณ์ทดลอง

ตัวแปรตาม : ทิศทางการเจริญเติบโตของพืช

ตัวแปรควบคุม : ชนิดของพืช , ชนิดและขนาดของกล่องลัง , ดินปลูก , ปริมาณและเวลาในการรดน้ำ , สภาพแวดล้อม

ขั้นตอนการทดลอง

1.      เตรียมต้นกล้า (เลือกพืชชนิดที่โตเร็ว) สำหรับนำไปปลูกที่กระถางที่เตรียมไว้

2.      จัดทำอุปกรณ์รับแสง โดยอุปกรณ์นี้ทำจากกระดาษ แสดงดังภาพ

3.      นำต้นกล้าที่ได้ใสลงไปในกระถางที่เตรียมดินไว้ จำนวน 3 กระถาง

4.      นำอุปกรณ์รับแสง ที่จัดเตรียมไว้ มาครอบไว้บนกระถางต้นไม้ที่เตรียมจากขั้นตอนที่ 3 จัดเตรียมอุปกรณ์ แสดงดังภาพ

กระถางที่ 1 : กระถางต้นไม้ที่ไม่คลุมอุปกรณ์รับแสง

กระถางที่ 2 : กระถางต้นไม้ที่คลุมอุปกรณ์รับแสงที่ปิดทึบข้างบน บริเวณ หมายเลข 2 ส่วน หมายเลข 1 เปิดโล่ง

กระถางที่ 3 : กระถางต้นไม้ที่คลุมอุปกรณ์รับแสงที่เปิดข้างบนทั้งหมายเลข 1 และ 2

5.      นำชุดอุปกรณ์ทั้งหมดวางไว้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน และนำการรดน้ำในระยะเวลาเดียวกัน ระยะเวลาการทดลองประมาณ 1-2 สัปดาห์

6.      สังเกตและบันทึกผล (สังเกตการเจริญเติบโตของต้นถั่วเขียว ว่าเจริญเติบโตอย่างไร เมื่อนำอุปกรณ์รับแสงคลุมทั้ง 2 แบบ คลุมกระถางต้นถั่วเขียว)

ผลการทดลอง

จากการทดลองการทดลอง การเติบโตของต้นถั่วเขียว ซึ่งทำการสังเกตการตอบสนองของต้นถั่วเขียวที่มีต่อแสง โดยจัดการทดลอง มีลักษณะ 3 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 กระถางต้นถั่วเขียวไม่มีอุปกรณ์รับแสงคลุม แบบที่ 2 กระถางต้นไม้ที่คลุมอุปกรณ์รับแสงที่ปิดทึบข้างบน บริเวณ หมายเลข 2 ส่วน หมายเลข 1 เปิดโล่ง แบบที่ 3 กระถางต้นไม้ที่คลุมอุปกรณ์รับแสงที่เปิดข้างบนทั้งหมายเลข 1 และ 2 ผลการทดลอง พบว่า เมื่อผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ แบบที่ 1 ต้นถั่วเขียวเจริญเติบโตสูงขึ้น ลำต้นตั้งตรง แบบที่ 2 ต้นถั่วเขียวเจริญเติบโตสูงขึ้น ลำต้นสูงขึ้นออกมาบริเวณช่อง หมายเลข 1 ที่เปิดโล่ง แบบที่ 3 ต้นถั่วเขียวเจริญเติบโตสูงขึ้น ลำต้นสูงขึ้นออกมาบริเวณช่องที่เปิดโล่งทั้ง 2 ช่อง

ผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่า การเจริญเติบโตของต้นเขียว อาศัยปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ แสงแดด ดิน น้ำหรือความชื้น อากาศและอุณหภูมิ โดยการทดลองข้างต้นเน้นสังเกตปัจจัยเกี่ยวกับแสง ต้นถั่วเขียวพยายามที่เจริญเติบโดออกมาจากอุปกรณ์รับแสงโดยโตออกมาบริเวณช่องที่เปิดโล่ง

การนำไปใช้

ในการปลูกต้นไม้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ แสงแดด ดิน น้ำหรืออุณหภูมิ ควรได้รับให้พอเหมาะกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด

การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

สามารถให้นักเรียนทำการทดลองปลูกต้นไม้ โดยออกแบบการทดลองเพื่อสังเกตปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในเรื่องแสงด้วยตนเอง แล้วนำผลการทดลองของนักเรียนแต่ละคนมาอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน