ฎีกา พรบ คอมพิวเตอร์ มาตรา 14

ทนายพงศ์รัตน์ รัตนพงศ์ น.บ.ท.64 ผู้เรียบเรียง
ทนายจำเลยต่อสู้คดีตามแนวฎีกากันอย่างไร

เรื่องที่ 9      กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา มีการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ กันมากขึ้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป Thai Law Consult เห็นว่าบางมาตราของกฎหมายนี้ มักถูกนำมากล่าวถึงในคดีดังที่ประชาชนสนใจ จึงนำมาลงไว้

หลัก  

พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

มาตรา 3          "ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

                    (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อธิบายว่า ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ traffic data ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่อยู่ของไอพี (IP Address) สำหรับข้อมูลปลายทาง ได้แก่ เลขที่อยู่ไปรษณีย์อิเลกทรอนิคส์ (e-mail address) หรือ ที่อยู่เว็บไซด์ (URL) ซึ่งผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเข้าไปสืบค้นข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อมูลจราจร ยังหมายรวมถึง ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเวลาที่มีการติดต่อสื่อสาร วันที่ จำนวนตัวเลขของผู้ที่ติดต่อสื่อสาร หรือลักษณะของการใช้บริการ หรือประเภทของการติดต่อสื่อสาร เช่น การโอนแฟ้มข้อมูล หรือการติดต่อในรูปของไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น

  • ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จะเป็นประโยชน์ในการสืบค้น สอบสวนเพื่อหาบุคคลผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพราะกฎหมายนี้ได้กำหนดบังคับให้ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลจราจรไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ

มาตรา 14        ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ(4)

มาตรา 15          ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา 14

มาตรา 16           ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล ที่ปรากฏเป็นภาพของผูู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

          ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด

          ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้

          ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา 17          ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ

(1) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ

(2) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ

          จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

มาตรา 18           ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด

(1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้

(2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

(3) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา 26 หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

(4) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่

(5) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้

(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว

(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 18 ----> (1) (2) (3) อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสืบสวนและสอบสวนที่ไม่ต้องขออนุญาตศาล

  • สอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
  • เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการ
  • สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ

มาตรา 18 ----> (4) - (8) อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสืบสวนที่ต้องขออนุญาตศาลก่อนการดำเนินการ

  • ทำสำเนาข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์
  • สั่งให้บุคคลส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์
  • ตรวจสอบ เข้าถึง ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
  • ถอดรหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์
  • ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์

มาตรา 20     อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์

-----> ปิดกั้นเว็บไซต์ บล๊อกเว็บไซต์ กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล โดยก่อนอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจาก รมต.ว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก่อน ดังนั้น มาตรา 20 การใช้อำนาจต้องผ่านการกลั่นกรองถึง 3 ชั้น คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ รัฐมนตรี และ ศาล

มาตรา 25    การรับฟังข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นพยานหลักฐาน

         "ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น"

มาตรา 26    หน้าที่ของผู้ให้บริการในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

          "ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกิน 90 วันแต่ไม่เกิน 1 ปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้"

โทษ - มาตรา 27 ความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือ คำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่

          "ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา 18 หรือมาตรา 20 หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา 21 ต้องระวางโทษปรับ  ไม่เกิน 2 แสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 5 พันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง"

ทบทวน

มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ตาม ป.อ.

----> ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตาม ป.อ. ได้แก่ ความผิดที่กำหนดไว้ใน ป.อ. ภาค 2 ลักษณะ 1 ซึ่งแยกกำหนดไว้ 4 หมวด คือ

  1. หมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ มาตรา 107 - 112 ซึ่งมีมาตราสำคัญคือ มาตรา 112 "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี
  2. หมวด 2 ความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 113 - 118
  3. หมวด 3 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐนอกราชอาณาจักร มาตรา 130 - 135

ทีมงาน Thai Law Consult นำตัวบทมาลงไว้ก่อน รอการเพิ่มเติมข้อมูลอีกครั้งครับ

(ท่านผู้อ่านที่สนใจคำอธิบาย กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ควรอ่านหนังสือของ อาจารย์มานิต จุมปา สำนักพิมพ์วิญญูชน จัดพิมพ์ปี 2553 ราคา 150 บาท ทนายความทีม Thai Law Consult หลายคนใช้หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือครับ)

ข้อเท็จจริง

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

Content for New Div Tag Goes Here

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2542/2549

ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 659 วรรคสาม

________________________________

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1181/2541

ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 563, 671

________________________________

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2205/2542

ป.พ.พ. มาตรา 420, 537, 657
ป.วิ.พ. มาตรา 224

________________________________

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3517/2525

ป.พ.พ. มาตรา 164, 226, 227, 561, 567, 657, 665, 671, 880
ป.วิ.พ. มาตรา 248

________________________________

(ฎีกาเหล่านี้ทีมทนายความ Thai Law Consult นำมาจากระบบสืบค้นคำพิพากษาศาลฎีกา 1-11-55)