ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ Pantip

ข้อกำหนดและเงื่อนไข

1. รถยนต์ต้องได้รับการจดทะเบียนรถยนต์ และต่อภาษี ประจำปีจนถึงปีปัจจุบัน
2. มีการผ่อนชำระค่างวดมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 งวด
3. ระยะเวลาขั้นต่ำที่สามารถขยายได้ คือ 48 งวด และสูงสุด โดยรวมกับสัญญาเดิมไม่เกิน 96 งวด
4. อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่ต้องการขยาย ตามที่บริษัทฯ กำหนด
5. ต้องชำระค่างวดค้างและค่าเบี้ยปรับ รวมถึงค่าใช้จ่ายคงค้าง อื่นๆ ก่อนทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
6. มีผู้ค้ำประกันทุกกรณี
7. แนบสำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (อายุกรมธรรม์คงเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน)
8. นำรถมาถ่ายรูปตัวรถ ถ่ายรูปหมายเลขเครื่อง-หมายเลขตัวถัง

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ Pantip

ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ Pantip

ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท (ชำระ ณ วันยื่นคำขอฯ) (บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิในการไม่คืนค่าธรรมเนียมทุกกรณี) เมื่อผ่านการอนุมัติสินเชื่อชำระค่าใช้จ่าย ดังนี้ ค่าภาษี (กรณีภาษีหมดอายุ หรือจะครบกำหนดการชำระภาษี ประจำปีภายใน 3 เดือน), ค่าภาษีรถยนต์เพิ่มนิติบุคคล ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นๆ (ถ้ามี)

เอกสารประกอบการพิจารณา

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ Pantip

เมื่อเกิดเหตุที่ทำให้รายรับลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น หรือทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน แม้จะลองลดค่าใช้จ่ายแล้ว แต่ก็มีแววว่าจะเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว จะหาเงินก้อนมาปิดทันทีก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าคุณกำลังเจอปัญหานี้ สิ่งแรกที่ต้องรีบดำเนินการคือ รีบติดต่อกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้ที่มีอยู่

          การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากู้เงินที่เคยทำไว้กับเจ้าหนี้ได้อีกต่อไปได้  ด้วยการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับรายรับที่ลดลงหรือความสามารถในการชำระหนี้ที่เปลี่ยนไป โดยที่ไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสีย (Non-Performing Loan : NPL) เพราะหากปล่อยปัญหาหนี้ไว้นานเกินไปอาจส่งผลเลวร้ายกว่าที่คิด เช่น ถูกฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ และหาทางออกได้ยากยิ่งขึ้น

          ก่อนจะเริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เราควรเริ่มต้นจากการศึกษาทางเลือกในการปรับโครงสร้างหนี้และลองคิดไว้ล่วงหน้าว่าแบบไหนที่เหมาะกับความสามารถในการผ่อนชำระของเรามากที่สุด ตัวอย่างรูปแบบของการปรับโครงสร้างหนี้มีดังนี้

1. ขอขยายเวลาชำระหนี้ หรือการยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปซึ่งจะทำให้ค่างวดลดลง เช่น สัญญาฉบับเดิมมีระยะเวลาการกู้อยู่ที่ 10 ปี ค่างวดอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ผ่อนชำระมาแล้ว 7 ปี เหลือระยะเวลาผ่อนอยู่ 3 ปี แต่เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหว จึงขอเจรจาขยายเวลาชำระหนี้กับเจ้าหนี้ออกไปจาก 3 ปีเป็น 5 ปี เพื่อให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนลดลงต่ำกว่า 10,000 บาท เพื่อลดภาระในการจ่ายค่างวดแต่ละเดือนให้แก่ลูกหนี้ได้ 

2. รีไฟแนนซ์ (refinance) คือ "การเปลี่ยนเจ้าหนี้"หรือการ "ปิดหนี้" จากเจ้าหนี้รายเดิมมาเป็นเจ้าหนี้รายใหม่หรือทำสัญญาใหม่กับเจ้าหนี้เดิมที่เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง แล้วนำเงินที่ได้มาปิดหนี้ก้อนเดิมที่มีอยู่  แต่ก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์ ควรคำนึงถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าจดจำนอง ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ ค่าประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ การทำสัญญาใหม่ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้กับเจ้าหนี้

           รู้หรือไม่ ปัจจุบัน ธปท.  มีโครงการ "คลินิกแก้หนี้" เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน โดยรวมหนี้เสียจากเจ้าหนี้หลายเจ้ามาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และเหลือผ่อนชำระกับเจ้าหนี้รายเดียวคือ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางเชื่อมโยงระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ทุกราย โดยสามารถผ่อนชำระนานสูงสุดถึง 10 ปี ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงมาก ควบคู่กับการให้ความรู้ทางการเงิน  สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.debtclinicbysam.com/

3. ขอลดอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ค่างวดที่เราจ่ายในแต่ละเดือนสามารถนำไปตัดเงินต้นได้มากขึ้น หมดหนี้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ เจ้าหนี้อาจมีเงื่อนไขการพิจารณาอนุมัติปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่แตกต่างกัน เช่น พิจารณาจากอายุของลูกหนี้ ประวัติการผ่อนชำระ และความสามารถในการชำระหนี้หลังปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 

          นอกจากที่กล่าวมา การปรับโครงสร้างหนี้หรือเงื่อนไขการชำระหนี้ยังมีอีกหลายรูปแบบ โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  https://www.bot.or.th/covid19/Pages/content/retail/restructuring/default.aspx

          หากไม่รู้ว่าจะเริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้อย่างไรดี เริ่มจากติดต่อสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้ของเราเสียก่อน เพื่อสอบถามแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ร่วมกัน จากนั้น ลองศึกษาวิธีการหรือเงื่อนไขในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รูปแบบต่าง ๆ จัดเตรียมเอกสารหรือข้อมูลตามที่กำหนดก่อนเข้าสู่กระบวนการขอเจรจาปรับโครงสร้างหนี้  ที่สำคัญที่สุดคือ ควรประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของเราให้ดีเสียก่อน และไม่รับเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ทำไม่ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการผ่อนชำระหนี้ไม่ไหวตามมาอีก ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ต้องไม่ลืมตรวจสอบสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้แก่ จำนวนเงินต้น อัตราดอกเบี้ย หรือระยะเวลา ว่าเป็นไปตามที่เจรจาตกลงไว้หรือไม่และในอนาคต หากปรับโครงสร้างหนี้แล้วแต่สถานการณ์ยังแย่ลงอีก ก็สามารถติดต่อเจรจาเจ้าหนี้ได้อีกครั้งเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ Pantip