โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง แก้ปัญหาอะไร

“...การทำเขื่อนหรือประตูบังคับนํ้า ห่างจากอำเภอปากพนังประมาณ 3 – 5 กิโลเมตรนี้ จะต้องทำอาคารบังคับนํ้าขนาดใหญ่ 1 ตัว และขนาดเล็ก 2 ตัว รวมทั้งขุดคลองเชื่อมและทำคลองนํ้าแบ่งเหมือนโครงการบางนรา ถ้าทำแล้วนากุ้งจะอยู่ส่วนนากุ้ง นาข้าวจะอยู่ส่วนนาข้าว...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 11 ตุลาคม 2535 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

Show

“...การทำเขื่อนหรือประตูบังคับนํ้า ห่างจากอำเภอปากพนังประมาณ 3 – 5 กิโลเมตรนี้ จะต้องทำอาคารบังคับนํ้าขนาดใหญ่ 1 ตัว และขนาดเล็ก 2 ตัว รวมทั้งขุดคลองเชื่อมและทำคลองนํ้าแบ่งเหมือนโครงการบางนรา ถ้าทำแล้วนากุ้งจะอยู่ส่วนนากุ้ง นาข้าวจะอยู่ส่วนนาข้าว...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 11 ตุลาคม 2535 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ในเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ให้พ้นจากวิกฤตความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา 4 น้ำ (น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็ม น้ำเสีย) 3 รส (เปรี้ยว เค็ม จืด)

แรกเริ่มโครงการได้มีการก่อสร้าง "ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ" เพื่อกั้นระหว่างน้ำทะเลและแม่น้ำปากพนังเพื่อไม่ให้น้ำทะเลรุกล้ำเข้ามายังน้ำจืด และกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง มีการขุดลอกคูคลองต่างๆให้น้ำไหลเวียนสะดวก เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสีย มีการสร้างประตูระบายน้ำฉุกเฉิน ใช้งานร่วมกับการบริหารจัดการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และมีการแบ่งพื้นที่เกษตรกรรมตามลักษณะของน้ำ โดยมีภาครัฐคอยให้คำแนะนำ

ผลจากการดำเนินการเหล่านี้ ทำให้ปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง น้ำท่วมในฤดูฝน ปัญหาการรุกล้ำของน้ำทะเล ปัญหาน้ำกร่อย ปัญหาน้ำเสียที่เกิดจากการทำนากุ้ง รวมถึงความขัดแย้งจากการใช้ที่ดินของเกษตรกรคลี่คลายลง ปริมาณผลผลิตในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับคืนมา

The Royal-initiated Pak Phanang River Basin Development Project

His Majesty King Bhumibol Adulyadej launched this project to resolve the deterioration of the naturally fertile Pak Phanang River basin. The "Uthokvibhajaprasid" barrage was constructed to solve the problem of salinity intrusion, wastewater, fresh water shortage, and flooding. Government agencies work together to support local people, helping them use more effective agricultural resources, maximizing economic gain and reducing harmful environmental practices.

ประโยชน์ที่ได้รับ

    จากการดำเนินการแก้ไขในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง โดยยึดหลักแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่พระราชทานให้ไว้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง  ให้มีความกินดีอยู่ดี  มีแหล่งน้ำจืดเพื่อบรรเทาความขาดแคลนน้ำ สำหรับการอุปโภคบริโภค การเกษตรและอื่นๆ ในเขตพื้นที่โครงการและช่วยบรรเทาอุทกภัยทั้งในพื้นที่การเกษตรและในบริเวณชุมชนเมืองโดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดทำให้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกิดผลประโยชน์กับราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำดังนี้

        1) ป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปทำลายพื้นที่การเกษตรในพื้นที่น้ำจืด
        2) คลองระบายน้ำช่วยลดพื้นที่ที่เคยเกิดอุทกภัย เนื่องจากสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น การขุดลอกคลองธรรมชาติ และการกำจัดผักตบชวาในเขตน้ำจืด ทำให้การไหลเวียนของน้ำดีขึ้นประกอบกับการบริหารประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ และประตูระบายน้ำฉุกเฉิน ทำให้สามารถระบายน้ำส่วนเกินในพื้นที่ออกสู่ทะเลได้รวดเร็วขึ้น ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่เกษตรกรรมทั้ง 3 อำเภอ คือ ปากพนัง เชียรใหญ่ และหัวไทร
        3) มีแหล่งน้ำจืดประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นประโยชน์กับพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนประมาณ 521,500 ไร่ ในฤดูแล้งประมาณ 240,000 ไร่
        4) การเก็บน้ำจืดในคลองปากพนังด้านเหนือน้ำของประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบ สำหรับทำน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค ในเขตอำเภอปากพนัง ซึ่งเคยมีปัญหาน้ำประปามีรสกร่อยและมีกลิ่นในฤดูแล้ง นอกจากนี้ยังสามารถรองรับการขยายตัวของระบบประปาในเขตอำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอหัวไทรในอนาคต จากบริการน้ำประปา 6,300 ครัวเรือน ในปี 2542 เป็น 7,500 ครัวเรือน ในปี 2546
        5) แม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขา เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืด
        6) ขจัดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรนากุ้งและเกษตรกรที่ใช้น้ำจืดทำการเกษตร มีการ แบ่งเขตการใช้ที่ดินอย่างชัดเจน
        7) การทำนากุ้งในเขตน้ำเค็มมีการขยายตัว เนื่องมาจากการขุดลอกคลองธรรมชาติในพื้นที่น้ำเค็ม ทำให้ราษฎรมีน้ำเค็มคุณภาพดี สำหรับใช้ในการเลี้ยงกุ้ง และมีการขยายพื้นที่การทำนากุ้งในเขตน้ำเค็มเพิ่มขึ้น ซึ่งในปีงบประมาณ 2546 - 2547 ได้ทำการขุดลอกคลองธรรมชาติส่วนที่เหลือทั้งหมดแล้ว และจะได้ดำเนินการตามแผนงานด้านส่งเสริมและพัฒนาการประมงต่อไป
        8) ยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของราษฎร
        9) เพิ่มพูนผลผลิตการเกษตรหลากหลายและครบวงจร ทั้งทางด้านการเพาะปลูก การประมง ปศุสัตว์ ฯลฯ ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรม
        10) ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานไปทำกินในถิ่นอื่น
        11) ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศน์ในลุ่มน้ำปากพนังให้กลับคืนเข้าสู่สภาพเดิมในอดีต ราษฎรสามารถทำมาหากินในท้องถิ่นของตนเองอย่างยั่งยืน เนื่องมาจากการบริหารจัดการปิด-เปิด ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ และการรักษาระดับน้ำในแม่น้ำปากพนัง ในระดับที่เหมาะสม ทำให้คุณภาพน้ำด้านเหนือน้ำมีคุณภาพดีขึ้น จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่องของกรมประมง พบว่าทุกดัชนีชี้ว่าคุณภาพน้ำในแม่น้ำปากพนังเป็นน้ำจืดที่เหมาะสมแก่การเกษตรกรรม
        12) ลดปัญหาการเกิดน้ำเปรี้ยวและดินเปรี้ยว น้ำเปรี้ยวในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเกิดขึ้นบ่อยที่บริเวณป่าพรุกุมแป เนื่องจากระดับน้ำในคลองฆ้อง ซึ่งเป็นคลองสาขาของคลองปากพนังลดลง ทำให้ดินในป่าพรุทำปฏิกิริยากับอากาศ ทำให้เกิดน้ำเปรี้ยว แต่การควบคุมระดับน้ำในคลองปากพนัง และคลองฆ้องมิให้มีระดับลดลงไปมากจนถึงระดับที่จะทำให้เกิดความเป็นกรด และการก่อสร้างทำนบดินควบคุมระดับน้ำในพื้นที่พรุ ทำให้การเกิดน้ำเปรี้ยวลดลง

                                        

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง แก้ปัญหาอะไร
      
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง แก้ปัญหาอะไร
  

                                                               ที่มาข้อมูล :  https://www.manager.co.th/

                        :   http://www.rid.go.th/royaproject/index.php?option=com

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ําปากพนัง แก้ปัญหาอะไร

การพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ ให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการเกษตร การอุปโภค-บริโภค และกิจกรรมอื่นๆ อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมถึงเพื่อจัดการการใช้ที่ดินอย่างเป็นระบบ

ประโยชน์ที่ราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำจะได้รับจากโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริคือข้อใด

ประโยชน์ของโครงการ 1) ป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปทำลายพื้นที่การเกษตร 2) เก็บกักน้ำจืดไว้ในลำน้ำปากพนังและลำน้ำสาขาได้ประมาณ 70 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเพาะปลูกบริเวณสองฝั่งลำน้ำ ประมาณ 521,500 ไร่ในฤดูฝน และประมาณ 240,700 ไร่ในฤดูแล้ง

ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำในข้อใด

ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ ตั้งอยู่ในบ้านบางปี้ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนา พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อช่วยเหลือบรรเทา ความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และพื้นที่ใกล้เคียง ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม ...

สาเหตุของปัญหามลพิษทางน้ำของแม่น้ำปากพนังเกิดจากสาเหตุใด

ปัจจุบันแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังที่มีการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน พื้นที่ เกษตรกรรม (นากุ้ง) และตลาดกุ้งกุลาดำ เป็นปัญหาหลักที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อคุณภาพน้ำ และสิ่งมีชีวิต ในน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำปากพนัง และคลองหัวไทร