กรรมสิทธิ์สิ่ง ปลูก สร้าง บน ที่ดิน

 ปลูกสร้างโดยมีสิทธิ โรงเรือน อาคาร ไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน แต่ถ้าไม่มีสิทธิปลูกสร้าง ก็ตกเป็น ส่วนควบ

-รั้วกำแพง รอบหมู่บ้านจัดสรร มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์แก่การคมนาคมและการจราจร แต่มีไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้ซื้อบ้านในโครงการอันเป็นสาธารณูปโภค ทำให้รั้วกำแพงรอบหมู่บ้านรวมทั้งรั้วกำแพงพิพาทตกเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อบ้านในโครงการทั้งหมด ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน ที่รั้วกำแพงตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 146 รั้วกำแพงไม่เป็นส่วนหนึ่งของทางสาธารณะประโยชน์ แม้จำเลยเป็นเจ้าของ ผู้พักอาศัยในโครงการมีสิทธิ์ใช้รั้วกำแพงรอบหมู่บ้านอันเป็นภารยทรัพย์แต่จำเลยไม่มีสิทธิ์ทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้น ฎีกาที่ 1612/2562

 -โรงงานและบ้านพักอาศัยที่ปลูกสร้างบนที่ดิน โดยผู้ปลูกสร้างได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานเป็นผู้ยื่นคำขอ อนุญาตปลูกสร้างอาคารโรงงาน บนที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ์จะทำได้ โรงงานจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ส่วนบ้านพักอาศัยที่ปลูกสร้างบนที่ดิน ทายาทเจ้ามรดกให้จำเลยเป็นตัวแทนในการขอใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานนำสืบสนับสนุน และจำเลยและครอบครัวก็พักอาศัยอยู่ที่บ้านดังกล่าวตลอดมาโดยที่โจทก์ไม่เคยโต้แย้งหรือเรียกร้องสิทธิ์จึงฟังว่าบ้านดังกล่าวเป็นบ้านของจำเลยไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน ฎีกาที่ 5418/2560

 -ที่ดินพิพาทได้รับจัดสรรให้เข้าอยู่อาศัยตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ. ศ. 2511 นายวา  เป็นเจ้าของสิทธิ์ และเป็นผู้ปลูกสร้างบ้านและปลูกโกดังเก็บสินค้า ขณะที่นายวา ถึงแก่ความตายยังไม่ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์จากอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์อันจะนำไปขอออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ. ศ. 2511 มาตรา 11 จำเลยนำตรวจสอบและพิสูจน์ที่ดินดังกล่าวว่าได้ทำประโยชน์ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ. ศ. 2511 ตามสำเนาหนังสือแสดงการทำประโยชน์ แล้วนำไปขอออกโฉนดที่ดินเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดให้แก่จำเลยแต่ห้ามโอน ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ 2511 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าจำเลยไม่ใช่บุตรหรือทายาทผู้มีสิทธิ์รับมรดกของนายวา ที่ดินพิพาท อยู่ในเขตนิคมสหกรณ์หนองบัว ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ. ศ. 2511 ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังที่กฎหมายบัญญัติ หากกระทำผิดเงื่อนไขรัฐจะเอาคืนเสียเมื่อใดก็ได้ดังนี้ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นที่ดินของรัฐอยู่ที่ดินพิพาทไม่ใช่มรดกของนายวา ส่วนบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินนั้น นายว่าเป็นผู้ปลูกสร้างโดยได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่และทำประโยชน์จากรัฐตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ. ศ. 2511 บ้านจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 146 บ้านเป็นกรรมสิทธิ์ของนายวา เมื่อถึงแก่ความตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นของรัฐแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่านายวาได้รับอนุญาตให้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเข้าไปปลูกบ้านและโกดังเก็บสินค้า นายวา จึงมีสิทธิ์ครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367 ที่สามารถใช้ยันกับราษฎรหรือประชาชนทั่วไปได้คงไม่สามารถใช้งานต่อรัฐได้เท่านั้นหากมีการทำผิด และนายวาอาจได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหากปฏิบัติครบถ้วนตามพระราชบัญญัติที่ดินเพื่อการครองชีพพ. ศ. 2511 มาตรา 11 สิทธิ์ที่เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมีลักษณะทำนองเดียวกับสิทธิเหนือพื้นดินซึ่งสามารถโอนและรับมรดกกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1410 และมาตรา 1411 สิทธิ์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นกองมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 ตกแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1599 ฎีกาที่ 2864/2559

-เมื่อฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวแล้วสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินโจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยการที่โจทก์เป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินโดยให้จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนเป็นการกระทำที่ขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 86 ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดการได้มาซึ่งที่ดินของโจทก์จึงไม่เสียเปล่า แต่ยังคงมีผลตามกฎหมายอยู่และการบังคับให้จำหน่ายหมายความเฉพาะที่ดินพิพาทเท่านั้นไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วยเพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างแต่อย่างใด  ฎีกาที่ 173964/2558

-การปลูกสร้างโรงเรือนหรือการปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธิ์นั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นย่อมไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 146 บ้านทรงบังกะโลซึ่งโจทก์ต่อเติมขึ้นภายหลังย่อมไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท ซึ่งได้รับโอนมาโดยพินัยกรรมฎีกาที่ 784/ 2550

 -ทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมการศาสนาโดยมีข้อตกลงให้โจทก์สร้างอาคารห้างสรรพสินค้าบนที่ดินเช่าด้วยทุนทรัพย์และสัมภาระของโจทก์และให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาทันทีที่ลงมือปลูกสร้างแล้วโจทก์มีสิทธิ์เช่าอาคารดังกล่าวมีกำหนดเวลา 30 ปีนับแต่วันที่กรมการศาสนาได้รับมอบอาคารนั้นถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาเช่าใช้สิทธิ์ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินที่เช่าอาคารที่สร้างขึ้นจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามป.พ. พ. มาตรา 146 ประกอบมาตรา 144 วรรค 2 กรมการศาสนาจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารดังกล่าวแต่อย่างใด ฎีกาที่ 3134/ 2549

-การที่ผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่ปลูกต้นยางพาราลงในที่ดินซึ่งอยู่ในเขตเหมืองแร่ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติเป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือประทานบัตรตามพรบ.เหมืองแร่มาตรา 73 ไม่ทำให้ต้นยางพาราที่ปลูกไว้เป็นส่วนควบของที่ดินตามป.พ.พ. มาตรา 146 ยางพารายังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ผู้ถือประธานบัตรการที่จำเลยกรีดเอาน้ำยางพาราจากต้นยางพาราของโจทก์ไปจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ฎีกาที่ 7193/2554 

-การที่ผู้ร้องและจำเลยเป็นผู้มีสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวทำสัญญาเพื่อให้มีผลเป็นการโอนสิทธิ์ในที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดเวลาห้ามโอนนั้นแม้จะเรียกว่าสัญญาจะซื้อจะขายและระบุในสัญญาว่าจะมีการโอนทางทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตามการทำสัญญาเช่านี้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายสัญญาจึงตกเป็นโมฆะจำเลยยังคงเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองในที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ส่โดยผู้ร้องมิใช่ผู้มีสิทธิ์ในที่ดินสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงตกเป็นส่วนควบกับที่ดินและเป็นทรัพย์ของจำเลยไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดฎีกาที่ 2882/2536

 -ปลุกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่มีสิทธิ์อันใดในที่ดินนั้นโรงเรียนที่ปลูกขึ้นย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 107 (เดิม)และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน ฎีกาที่ 892/2490