อาหารอื่นที่รัฐมนตรี กำหนด คือ

กฎหมายการควบคุมอาหาร
 กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาหารฉบับปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีทั้ง 8 หมวด ได้แก่
     หมวดที่ 1 คณะกรรมการอาหาร
     หมวดที่ 2 การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตอาหาร
     หมวดที่ 3 หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับอาหาร
     หมวดที่ 4 การควบคุมอาหาร
     หมวดที่ 5 การขึ้นทะเบียนและการโฆษณาเกี่ยวกับอาหาร
     หมวดที่ 6 พนักงานเจ้าหน้าที่
     หมวดที่ 7 การพักใช้ในอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต
     หมวดที่ 8 บทกำหนดโทษ
        กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาหารยังมีประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข และกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ความหมายของอาหาร
        อาหารตามความหมายที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 มีใจความปรากฏดังนี้
อาหาร หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่
        1. วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้วแต่กรณี
        2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปน อาหารสี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส จะเห็นได้ว่าอาหารตามความหมายในพระราชบัญญัติอาหารได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนและมีใจความกว้างขวาง นอกจากนี้ มาตรา 4 ยังได้ให้ความหมายของคำว่าที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่ควรทราบ ดังนี้
   "อาหารควบคุมเฉพาะ" หมายถึงอาหารที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นอาหารที่อยู่ในความควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐาน
   "ตำรับอาหาร" หมายถึงรายการของวัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบอาหาร ซึ่งระบุน้ำหนักหรือปริมาณของแต่ละรายการ
    "ภาชนะบรรจุ" หมายถึงวัตถุที่บรรจุอาหารไม่ว่าด้วยการใส่หรือห่อด้วยวิธีใด ๆ
    "ฉลาก" หมายความรวมถึงรูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุ ที่หีบห่อของภาชนะที่บรรจุ
    "ผลิต" หมายถึงการทำ ผสม ปรุงแต่ง และหมายความรวมถึงแงบรรจุด้วย
    "จำหน่าย" หมายความรวมถึงการขาย จ่าย แจก หรืแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย
       ดังที่ทราบแล้วว่าอาหารจะต้องไม่เป็นพิษต่อร่างกายผู้บริโภค และเพื่อนที่จะให้ผู้ริโภคได้รับประโยชน์จากอาหารให้ได้มากที่สุด ดังนั้นมาตราที่ 25 หมวดการควบคุมอาหารจึงกำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดผลิตนำเข้า เพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายอาหารดังต่อไปนี้
     1. อาหารไม่บริสุทธิ์
     2. อาหารปลอม
     3. อาหารผิดมาตรฐาน
     4. อาหารอื่นที่รัฐมาตรีกำหนด
ลักษณะของอาหารทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้
   1. อาหารไม่บริสุทธิ์ มีลักษณะดังต่อไปนี้ (มาตราที่ 26)
       1.1 อาหารมีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย
       1.2 อาหารที่มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ในอัตราที่อาจเป็นเหตุให้คุณภาพของอาหารนั้นลดลง เว้นแต่การเจือปนเป็นการจำเป็นต่อกรรมวิธีผลิต การผลิตและรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
       1.3 อาหารที่ได้ผลิต บรรจุ หรือเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ
       1.4 อาหารที่ผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรค อาจติดต่อถึงคนได้
       1.5 อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วยวัตถุที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ
  2. อาหารปลอม มีลักษณะดังต่อไปนี้ (มาตราที่ 27)
       2.1 อาหารที่ได้สับเปลี่ยนใช้วัตถุอื่นแทนบางส่วน หรือคัดแยกวัตถุที่มีคุณค่าออกเสียทั้งหมดหรือบางส่วน และจำหน่ายเป็นอาหารแท้ชนิดนั้น หรือใช้ชื่อเป็นอาหารแท้นั้น
       2.2 วัตถุหรืออาหารที่ผลิตขึ้นเทียมและนำหน่ายแทนเป็นอาหารแท้อย่างนั้น
       2.3 อาหารที่ได้ผสมหรือปรุงแต่งด้วยวิธีใด ๆ โดยประสงค์จะปกปิดซ่อนเร้น ความชำรุดบกพร่องหรือความด้อยคุณภาพของอาหารนั้น
       2.4 อาหารที่มีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้อื่นให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น หรือในเรื่องสถานที่ และประเทศที่ผลิต
       2.5 อาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ถึงขนาดจากผลการวิเคราะห์ปรากฏว่าส่วนประกอบที่เป็นคุณค่าทางอาหารขาด หรือเกินร้อยละสามสิบจากเกณฑ์ต่ำสุด หรือสูงสุด หรือแตกต่างจากคุณภาพหรือมาตรฐานที่ระบุไว้จนทำให้เกิดโทษ หรืออันตราย

  3. อาหารผิดมาตรฐาน ตามมาตราที่ 28 ได้แก่อาหารที่ที่ถูกต้องตามคุณภาพ หรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่ไม่ถึงขนาดดังกล่าวในข้อ 2.5

  4. อาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด ตามมาตราที่ 29 ได้แก่อาหารต่อไปนี้
      4.1ไม่ปลอดภัยในการบริโภค หรือ
      4.2 มีสรรพคุณไม่เป็นที่เชื่อถือ หรือ
      4.3 มีคุณค่าหรือคุณประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่ไม่เหมาะสม

มาตรา 30 เพื่อประโยชน์แก่การควบคุมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ หรือให้ปราศจากอันตรายแก่ผู้บริโภค ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจ
   (1) ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งอาหาร ดัดแปลง แก้ไข สถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บอาหาร
   (2) สั่งให้งดผลิตหรืองดนำเข้าซึ่งอาหารที่ผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต หรืออาหารที่ปรากฏจากผลการ ตรวจพิสูจน์ว่าเป็นอาหารที่ไม่ควรแก่การบริโภค
   (3) ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหารให้ประชาชนทราบในกรณีที่ปรากฏผลจากการตรวจพิสูจน์ว่า อาหารรายใดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามมาตรา 26 หรือเป็นอาหารปลอมตามมาตรา 27 หรือเป็นอาหารผิด มาตรฐานตามมาตรา 28 หรือเป็นอาหารที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรืออนามัยของประชาชน หรือ

ภาชนะบรรจุรายใดประกอบด้วยวัตถุที่อาจเป็นอันตรายเมื่อใช้บรรจุอาหาร โดยให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ด้วย
   (ก) ในกรณีที่ปรากฏตัวผู้ผลิตโดยแน่ชัด ให้ระบุชื่อผู้ผลิตพร้อมทั้งชนิดและลักษณะของอาหารหรือ ภาชนะบรรจุนั้น และถ้าอาหารหรือภาชนะบรรจุดังกล่าวมีชื่อทางการค้าหรือลำดับครั้งที่ผลิตหรือนำเข้า ก็ให้ระบุชื่อทางการค้าและลำดับครั้งที่ผลิตหรือนำเข้านั้นด้วย แล้วแต่กรณี
   (ข) ในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวผู้ผลิตโดยแน่ชัดแต่ปรากฏตัวผู้จำหน่าย ให้ระบุชื่อผู้จำหน่ายและสถานที่ จำหน่าย พร้อมทั้งชนิดและลักษณะของอาหารหรือภาชนะบรรจุนั้น

อาหารอื่นที่รัฐมนตรี กำหนด คือ

 https://sites.google.com/site/thrayprakay/khwam-kawhna-4/3kdhmay-thiy-thi-keiyw-kab-kar-phlit-hrux-kar-khay-xahar/kdhmay-kar-khwbkhum-xahar-chbab-paccuban

อาหารอื่นที่รัฐมนตรี กำหนด คือ

อาหารชนิดใดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ

อาหารควบคุมเฉพาะ หมายความว่า อาหารที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นอาหารที่อยู่ ในความควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐาน มี7 ประเภท ได้แก่ 1. ซัยคลาเมต 2. นมดัดแปลงสาหรับทารก และ นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสาหรับทารกและเด็กเล็ก 3. วัตถุเจือปนอาหาร 4. อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสาหรับทารกและเด็กเล็ก 5. อาหารสาหรับผู้ที่ ...

อาหารมาตราอะไร

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ ( 1 ) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี

พระราชบัญญัติอาหารคืออะไร

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 นี้มีความมุ่งหมายส าคัญที่จะควบคุมคุณภาพของอาหาร โดยมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลักสาคัญ ซึ่งวิธีการในการควบคุมจะเน้นไปที่เรื่องของการขออนุญาต การตรวจสอบ การขึ้นทะเบียน รวมถึงในเรื่องของการโฆษณาเกี่ยวกับอาหารด้วย

อาหารไม่บริสุทธิ์หมายความตามข้อใด

มาตรา 26 อาหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ (1) อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย (2) อาหารที่มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ในอัตราที่อาจเป็นเหตุให้คุณภาพของ อาหารนั้นลดลง เว้นแต่การเจือปนเป็นการจ าเป็นต่อกรรมวิธีผลิต การผลิต และได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่แล้ว (3) ...