โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

“โครงสร้างองค์กร (Organizational Structure)” ปัจจัยสำคัญที่สามารถช่วยให้ทีมทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว !

โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างองค์กร ส่วนใหญ่จะดูเหมือนพีระมิด โดยมีผู้บริหารระดับ C-level จะอยู่ด้านบนสุด ตามมาด้วยผู้บริหารระดับกลาง และปิดท้ายด้วยพนักงาน แต่ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทที่มีโครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้นจะทำงานได้ดีที่สุด

Predictive เชื่อว่าการที่เราจะเลือกโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม เราต้องวิเคราะห์จากล่างขึ้นบน (Bottom-Up) เริ่มต้นจากพนักงานไล่ขึ้นไปยังผู้บริหารแทน ปรับเปลี่ยนสไตล์ให้เข้ากับยุคสมัย และลักษณะของพนักงานส่วนมากที่ร่วมงานอยู่ด้วย ณ ช่วงเวลานั้น

มารู้จักกับโครงสร้างองค์กรทั้ง 7 นี้ไปด้วยกัน เพื่อดูว่าองค์กรเราเหมาะกับโครงสร้างการทำงานแบบไหนมากที่สุด

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

  • 1. โครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure)
    • ข้อดี    
    • ข้อเสีย
  • 2. โครงสร้างองค์กรตามหน้าที่ (Functional Structure)
    • ข้อดี
    • ข้อเสีย
  • 3. โครงสร้างองค์กรแนวนอนหรือแบน (Horizontal / Flat Structure)
    • ข้อดี    
    • ข้อเสีย
  • 4. โครงสร้างองค์กรตามหน่วยงาน (Divisional Structure)
    • ข้อดี
    • ข้อเสีย
  • 5. โครงสร้างองค์กรแบบแมททริกซ์ (Matrix Structure)
    • ข้อดี
    • ข้อเสีย
  • 6. โครงสร้างองค์กรแบบทีมงาน (Team-based Structure)
    • ข้อดี
    • ข้อเสีย
  • 7. โครงสร้างองค์กรแบบเครือข่าย (Network Structure)
    • ข้อดี
    • ข้อเสีย

1. โครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure)

โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก

โครงสร้างองค์กรที่พบบ่อยที่สุด เรียงลำดับการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง เริ่มจาก CEO หรือผู้จัดการ แล้วต่อด้วยพนักงานระดับเริ่มต้นและระดับล่าง ซึ่งพนักงานแต่ละคนจะมีหัวหน้าที่คอยควบคุมดูแลอีกที

ข้อดี    

  • กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบได้ชัดเจน
  • ระบุได้ว่าแต่ละคนต้องรายงานต่อบุคคลไหน หรือ โปรเจ็คไหนควรคุยกับใคร
  • สร้างแรงจูงใจให้พนักงานมีเส้นทางอาชีพที่ชัดเจน และมีโอกาสได้รับการเลื่อนตำแหน่ง   
  • ให้พนักงานแต่ละคนมีความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน  
  • สร้างความสนิทสนมระหว่างพนักงานภายในแผนกเดียวกัน

ข้อเสีย

  • สามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ หรือ การใช้นวัตกรรมใหม่ๆ
  • พนักงานอาจทำงานเพื่อผลประโยชน์ของแผนกไม่ใช่บริษัทโดยรวม
  • พนักงานระดับล่างอาจรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบริษัทได้

2. โครงสร้างองค์กรตามหน้าที่ (Functional Structure)

โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก

คล้ายกับโครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น โครงสร้างองค์กรที่ทำงานเริ่มต้นด้วยตำแหน่งที่มีระดับความรับผิดชอบสูงสุดที่ด้านบนลงไป แม้ว่าในเบื้องต้นพนักงานจะได้รับการจัดระเบียบตามทักษะหน้าที่ แต่ละแผนกก็จะมีระบบการจัดการอย่างอิสระ

ข้อดี

  • พนักงานให้ความสำคัญกับหน้าที่ของตัวเอง
  • ส่งเสริมความชำนาญพิเศษ
  • ช่วยให้ทีมและแผนกต่างๆรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง
  • โครงสร้างปรับขนาดได้ง่ายกับบริษัททุกขนาด

ข้อเสีย

  • สามารถสร้างไซโลภายในองค์กรได้ 

(ไซโล คือ ระบบที่แยกประเภทพนักงานต่างๆตามแผนก ทำให้ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ยากขึ้น) 

  • ขัดขวางการสื่อสารระหว่างแผนก
  • ปิดบังกลยุทธ์ที่ใช้สำหรับตลาดหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆในบริษัท

3. โครงสร้างองค์กรแนวนอนหรือแบน (Horizontal / Flat Structure)

โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก

เหมาะกับองค์กรที่มีระดับผู้บริหารระดับสูงและพนักงานระดับพนักงานเพียงไม่กี่ระดับ ก่อนที่ธุรกิจจะเติบโตพอที่จะสร้างแผนกต่างๆได้ ในระยะเริ่มต้นมักเลือกใช้โครงสร้างองค์กรแนวนอน 

ข้อดี    

  • ทำให้พนักงานมีความรับผิดชอบมากขึ้น
  • ส่งเสริมการสื่อสารที่เปิดกว้างมากขึ้น
  • ปรับปรุงการประสานงาน และความรวดเร็วในการนำแนวคิดใหม่ไปใช้ 

ข้อเสีย

  • สามารถสร้างความสับสนได้ เนื่องจากพนักงานไม่มีผู้บังคับบัญชาที่ชัดเจน
  • อาจผลิตพนักงานที่มีทักษะความรู้ระดับทั่วไปมากขึ้น
  • ดูแลรักษาได้ยากเมื่อบริษัทเติบโตเกินกว่าระยะเริ่มต้น

4. โครงสร้างองค์กรตามหน่วยงาน (Divisional Structure)

โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก

โครงสร้างนี้ใช้ได้ดีสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ช่วยให้แผนกต่างๆ สามารถตัดสินใจได้โดยที่ทุกคนไม่ต้องรายงานต่อผู้บริหารเพียงไม่กี่คน ทุกแผนกจะสามารถควบคุมทรัพยากรของตนเองได้ โดยจะดำเนินงานเหมือนกับเป็นบริษัทลูกภายใต้บริษัทแม่ แต่ละแผนกจะมีทีมการตลาด ทีมขาย ทีมไอที เป็นของตัวเอง โครงสร้างนี้อาจแบ่งตามผลิตภัณฑ์ แบ่งตามพื้นที่ แบ่งตามลูกค้า หรือแบ่งตามกระบวนการผลิต

ข้อดี

  • ช่วยให้บริษัทขนาดใหญ่คงความยืดหยุ่น
  • ช่วยให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมหรือความต้องการของลูกค้าได้เร็วขึ้น
  • ส่งเสริมความเป็นอิสระ และแนวทางที่กำหนดเอง

ข้อเสีย

  • สามารถนำไปสู่ทรัพยากรที่ซ้ำซ้อนได้
  • การสื่อสารที่ยุ่งเหยิงหรือไม่เพียงพอระหว่างสำนักงานใหญ่และแต่ละแผนก
  • ส่งผลให้บริษัทแข่งขันกันเองได้

5. โครงสร้างองค์กรแบบแมททริกซ์ (Matrix Structure)

โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก

โครงสร้างองค์กรที่ระดมบุคลากรจากหลายฝ่ายหลายแผนกมาร่วมทำงานในโครงการพิเศษ ในขณะที่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่เดิมไปด้วย ตัวอย่างเช่น วิศวกรอาจอยู่ในแผนกวิศวกรรม (นำโดยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม) แต่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในโครงการพิเศษชั่วคราว (นำโดยผู้จัดการโครงการ) 

ข้อดี

  • ช่วยให้ผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกบุคคลได้ง่ายตามความต้องการของโครงการ
  • ให้มุมมองในองค์กรแบบไดนามิกมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้พนักงานใช้ทักษะความสามารถต่างๆ นอกเหนือจากหน้าที่เดิม

ข้อเสีย

  • แสดงให้เห็นถึงข้อขัดแย้งระหว่างผู้จัดการแผนกและผู้จัดการโครงการ
  • มีการเปลี่ยนแปลงได้บ่อยกว่าแผนผังองค์กรประเภทอื่นๆ

6. โครงสร้างองค์กรแบบทีมงาน (Team-based Structure)

โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก

โครงสร้างนี้มีขึ้นเพื่อทำลายโครงสร้างลำดับชั้นแบบเดิมๆ โดยมุ่งเน้นที่การแก้ปัญหา ความร่วมมือ และให้อำนาจการควบคุมกับพนักงานมากขึ้น องค์กรจะไม่มีสายการบังคับบัญชา พนักงานทุกคนจะได้รับมอบอำนาจเต็มที่ เมื่อได้รับมอบงาน ทีมงานจะมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานในแนวทางของตน

ข้อดี

  • เพิ่มผลผลิต ประสิทธิภาพ และความโปร่งใสโดยการทำลายกรอบไซโล
  • ส่งเสริมระบบความคิดที่เติบโต
  • เปลี่ยนโมเดลอาชีพแบบดั้งเดิม โดยให้บุคคลย้ายจากตำแหน่งหนึ่งไปอีกตำแหน่งโดยมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในด้านเงินเดือน ชื่อตำแหน่ง หรือระดับงาน
  • ให้คุณค่ากับประสบการณ์มากกว่าความอาวุโส
  • ไม่ต้องได้รับการจัดการมาก
  • เข้ากับองค์กรที่มีแนวคิดวางแผนการทำงานแบบกำหนดเป้าระยะสั้น (Agile) โดยมีวิธีการทำงานแบบ ‘ทีมที่ช่วยกันรุมงาน (Scrum)’

ข้อเสีย

  • ขัดกับแนวโน้มตามธรรมชาติของหลายๆบริษัทที่มีโครงสร้างแบบลำดับขั้น
  • อาจทำให้เส้นทางเลื่อนขั้นตำแหน่งงานไม่ชัดเจน

7. โครงสร้างองค์กรแบบเครือข่าย (Network Structure)

โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก

โครงสร้างองค์กรที่มีความสมเหตุสมผลในการกระจายทรัพยากร โดยที่สำนักงานใหญ่จะทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลาง (Hub) ในการประสานหน้าที่สำคัญท่ีกระจายอยู่ในบริษัทในเครืออื่นๆ หรือหน้าที่บางอย่างอาจทำโดยบริษัทอื่นที่ไม่ใช่บริษัทในเครือก็ได้ (Subcontract) นอกจากนี้โครงสร้างเครือข่ายยังเน้นการสื่อสารและความสัมพันธ์แบบเปิดมากกว่าลำดับชั้น

ข้อดี

  • แสดงให้เห็นถึงโครงข่ายที่ซับซ้อนของความสัมพันธ์ในบริษัททั้งในและนอกสถานที่
  • ช่วยให้บริษัทมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น
  • ให้อำนาจพนักงานทุกคนในการทำงานร่วมกัน มีความคิดริเริ่ม และตัดสินใจมากขึ้น
  • ช่วยให้พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจ Workflow และกระบวนการต่างๆ

ข้อเสีย

  • สามารถเกิดความซับซ้อนอย่างรวดเร็วเมื่อต้องรับมือกับกระบวนการนอกสถานที่จำนวนมาก
  • ทำให้พนักงานรู้ว่าใครมีสิทธิ์ตัดสินใจเป็นคนสุดท้ายได้ยากขึ้น

หลังจากที่เราได้เห็นทั้งข้อดีและข้อเสียของโครงสร้างองค์กรแต่ละแบบแล้ว การตัดสินใจเลือกโครงสร้างที่เหมาะกับทีมเราก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากเพื่อนๆคนไหนสนใจอยากเติบโตไปพร้อมกับองค์กรที่ปรับโครงสร้างให้เหมาะสมกับทีมอยู่ตลอดเวลา Predictive ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เพื่อนๆอาจกำลังมองหาอยู่

โครงสร้างขององค์การมีอะไรบ้าง

โครงสร้างองค์การ (Organizational Structure) • ผังองค์การ (organization chart) • สายการบังคับบัญชา (chain of command) • อ านาจหน้าที่ (authority) • หลักการมีผู้บังคับบัญชาคนเดียว (unity of command) • จ านวนผู้ใต้บังคับบัญชา (span of control) • ความรับผิดชอบ (responsibility) • การมอบหมายอ านาจและความรับผิดชอบ (delegation ...

โครงสร้างองค์การตามหน้าที่มีลักษณะอย่างไร

โครงสร้างองค์การตามหน้าที่การงาน หมายถึง โครงสร้างที่จัดตั้งขึ้นโดยแบ่งไปตามประเภท หรือหน้าที่การงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าในแต่ละแผนกนั้นมีหน้าที่ต้องกระทําอะไรบ้าง ซึ่งผลดีก่อให้เกิดการ ได้คนมีความสามารถทํางานในแผนกนั้น ๆ ทั้งยังฝึกบุคคลในแผนกนั้น ๆ ให้มีความเชี่ยวชาญกับหน้าที่ของ งานนั้นอย่างลึกซึ้ง สําหรับฝ่ายบริหาร ...

การจัดโครงสร้างขององค์การคืออะไร

การจัดโครงสร้างขององค์กร (ธุรกิจ)ก็คือการจัดรูปแบบการทำงานของกิจการหรือธุรกิจนั้นนั่นเอง เป็นการกำหนดงานที่แต่ละคนต้องทำ งานที่หน่วยงานแต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ กำหนดสายการบังคับบัญชาว่าใครจะขึ้นตรงกับหัวหน้าคนไหนเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำงานของธุรกิจนั้นๆ กิจการขนาดใหญ่ทุกแห่งจะมีการจัดโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนโดยออกมา ...

หลักการจัดองค์การที่ดีตามหลัก 9 ประกอบด้วยอะไรบ้าง

หลักการจัดองค์การ.
นโยบายที่ชัดเจน.
มีการแบ่งงาน.
กำหนดลักษณะของงานให้ชัด.
มีสายการบังคับบัญชา.
มีเอกภาพในการบังคับบัญชา หรือมีผู้บังคับบัญชาเพียงคน.
ช่วงของการควบคุม.
การประสานงาน.
การยืดหยุ่น.