การพยาบาล ไม่สุขสบายเนื่องจากปวด

การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งที่มีความปวด

Authors

  • กาญจนา เพียรบัญญัติ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความปวด, การพยาบาล, ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็ง, pain, nursing care, older persons with cancer

Abstract

ความปวดเป็นความรู้สึกที่ไม่สุขสบายทั้งทางด้านร่างกาย ความรู้สึกและอารมณ์ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมากและเป็นอาการที่พบบ่อย ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมาน กระทบต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน จำกัดวิถีชีวิตในสังคม มีปัญหาการนอนหลับ มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ อารมณ์และจิตวิญญาณทั้งของผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งและบุคคลในครอบครัว ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต  โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดที่พบบ่อยที่สุด คือ ความปวดที่เกิดจากก้อนมะเร็ง รองลงมา คือ ความปวดจากการรักษาโรคมะเร็ง โดยการบรรเทาความปวดเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาลที่สามารถปฏิบัติได้ทั้งในบทบาทอิสระและ/หรือบทบาทที่ไม่เป็นอิสระ ในที่นี้กล่าวถึงการจัดการความปวดโดยวิธีการไม่ใช้ยา รวมทั้งการบริหารการจัดการความปวดตามมาตรฐานของ WHO  ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาลในการบรรเทาความปวดที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยรวมถึงครอบครัว บทความนี้จะกล่าวถึง แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความปวด กลไกความปวด  สาเหตุและปัจจัยเสริมความปวดในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็ง ผลกระทบของความปวด การประเมินความปวด และการพยาบาลเพื่อจัดการความปวดในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็ง 

Pain and nursing care in older persons with cancer

Pain is a feeling of discomfort in the body. Feelings and emotions are major problems and common symptoms with the patient suffering. The impact on their ability to do daily activities, be in public, develop sleep problems, affect mental state as well as the emotional and spiritual health of elderly patients with cancer in addition to the adverse effects on their family members, including stress, anxiety and depression. Over the long run, it will affect the quality of life. The most common cause of the pain is caused by the tumor, followed by the pain linked to cancer treatment. Easing the pain is a critical role of nurses in practice both in the independent and/or dependent roles, herein referred to as pain management by way of not using drugs. This includes the management of pain, according to the WHO. The important role of nurses in alleviating the pain will enhance the patient’s ability to do daily activities and the quality of life for patients and their families.   This article discusses the concepts related to pain mechanisms, the causes and factors of pain in elderly patients with cancer, the impact of pain, pain assessment and the nurses to manage pain in elderly patients with cancer. 

Downloads

Download data is not yet available.

การพยาบาล ไม่สุขสบายเนื่องจากปวด

Issue

Section

Academic Articles

License

เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลไม่สุขสบายเนื่องจากมีอาการปวด

ไม่สุขสบายเนื่องจากมีอาการปวดสาเหตุจาก

£ เนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บบริเวณ……………...........................

£ อักเสบจาก..................................

บริเวณ……………...........................

£ เจ็บปวดจากจิตใจ

£ อื่นๆ…………...........................

ข้อมูลสนับสนุน

S : £ ผู้ป่วยบอกว่าปวด

O : £ กระสับกระส่าย/นอนไม่ได้

      £ ร้องคราง/สีหน้าเจ็บปวด

      £ นอนนิ่ง/เคลื่อนไหวน้อย

      £ เหงื่อออก/ตัวเย็น/หน้าซีด

      £ Pain Score…...…...คะแนน

      £ ชีพจรเต้นเร็ว/หายใจเร็ว

      £ SBP สูง

      £ ขอยาแก้ปวด

วัตถุประสงค์

£ บรรเทาอาการปวด

£ สามารถนอนหลับพักผ่อนได้

เกณฑ์การประเมิน

£ pain score ลดลง/ไม่เกิน 3 คะแนน

£ สามารถทำกิจกรรมประจำได้ปกติ

£ พักผ่อนได้ / หลับได้

£ V/S ปกติ

กิจกรรมการพยาบาล

£ ประเมินภาวะปวดโดยใช้ pain scale ทุกเวร

£ ขออนุญาตผู้ป่วย/ให้เหตุผลก่อนให้การพยาบาล

£ ตรวจวัดสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง                             £ ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล                                  £ บันทึกลักษณะ  อาการ ปวด ความรุนแรง และความถี่ของการปวด        

£ จัดท่า นอนศีรษะสูง/ท่านอนให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย                          

£ รายงานแพทย์ กรณีอาการปวดไม่ทุเลา          

£ สอนการ Relaxation Technique เพื่อบรรเทาอาการ เช่น การหายใจช้าๆ เป็นจังหวะ ,การทำ

Therapeutic Technique, การทำสมาธิ เพื่อ

ส่งเสริมการผ่อนคลาย , ลดสิ่งเร้าทางอารมณ์ เบี่ยงเบนความสนใจ

£ ดูแลให้ยาแก้ปวด......................................ตามแผน

£ จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ สงบ

£ จัดกิจกรรมการพยาบาลให้อยู่ช่วงเวลาเดียวกัน/ไม่รบกวนผู้ป่วยขณะพักผ่อน / นอนหลับ

£  ไม่เคลื่อนไหวบริเวณที่เจ็บปวด      

£ ประเมินภาวะปวดหลังให้การพยาบาลพร้อมบันทึกทุกเวร พบว่า    ดีขึ้น/คงเดิม/ไม่ดีขึ้น  ได้ให้การพยาบาลต่อเนื่องโดย.......................................................................................

.......................................................................................

.......................................................................................

.......................................................................................