เกษตรกรรม ภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ

เกษตรกรรม ภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ
โทรศัพท์ 0 2142 3901
โทรสาร 0 2143 7608
อีเมล

เกี่ยวกับองค์กร

»  ประวัติองค์กร
»  อำนาจหน้าที่
»  วิสัยทัศน์
»  โครงสร้างขององค์กร
»  สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ
»  คณะกรรมการ
»  ผู้บริหาร
»  ติดต่อเรา

ข่าวสารและกิจกรรม

»  ข่าวประชาสัมพันธ์
»  ข่าวกิจกรรม
»  ประกาศรับสมัครงาน
»  ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

ผลการดำเนินงาน

»  ยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรแห่งชาติ
»  แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม
»  รายงานประจำปี
»  ข้อเสนอและผลงานคณะกรรมการฯ
»  แผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบลสู่เกษตรอุตสาหกรรม
»  งบการเงิน

ข้อมูลเผยแพร่

»  สื่อมัลติมีเดีย
»  สื่อวิดีโอ
»  สื่อเสียง
»  สื่อสิ่งพิมพ์
»  ดาวน์โหลดเอกสาร

เว็บลิงก์

»  สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด
»  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สถิติผู้ใช้งานเว็บไซต์

»  Total : 149663
»  Today : 195

 
120 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
© 2560 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 โดย สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 
 


  • เกษตรกรรม ภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ

  • เกษตรกรรม ภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ

  • เกษตรกรรม ภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ

  • เกษตรกรรม ภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ

“นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ควรเน้นที่สูตรสำเร็จสูตรใดสูตรหนึ่งเท่านั้น แต่นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำเสนอทางเลือกต่างๆ หรือมีบุฟเฟต์เทคโนโลยี แล้วให้เกษตรกรเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเขาเองว่ากิจกรรมอะไร เทคโนโลยีไหนเหมาะสมกับครอบครัวเขา ความเข้าใจโลกของเกษตรกรอีสานและวิธีคิดของพวกเขาเท่านั้น จึงจะช่วยให้เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาภาคเกษตรของอิสานได้”

เกษตรกรรม ภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ
เมื่อกล่าวถึงภาคอีสานคนส่วนใหญ่คงนึกภาพถึงความแห้งแลัง เกษตรกรยากจน การศึกษาต่ำ แต่ในมุมมองของนักวิชาการด้านมนุษยวิทยาชาวอเมริกันที่มีประสบการณ์ในประเทศไทยหลายสิบปี และหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เสนอมุมมองต่อเกษตรกรภาคอีสานไว้ในการบรรยายพิเศษของการสัมมนาประจำปีด้านการเกษตรของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาอย่างน่าสนใจ ผู้เขียนจึงอยากนำมาถ่ายทอดต่อเพื่อให้เป็นเสียงสะท้อนจากภาคอีสานสู่รัฐบาล และผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ต่อไป 

ศาสตราจารย์เทอร์รี แรมโบ กล่าวถึงการพัฒนาการเกษตรโดยภาพรวมทั้งโลกว่า เป็นการพยายามเปลี่ยนเกษตรกรรายย่อยที่ทำการเกษตรแบบพอเพียง ให้เป็นเกษตรกรทันสมัย มุ่งผลิตเพื่อรายได้และผลกำไร เปลี่ยนจากการทำเกษตรผสมผสานไปสู่การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยวในแปลงหรือฟาร์มขนาดใหญ่ แทบทุกประเทศจะมีนโยบายการพัฒนาการเกษตรไปในแนวนี้ แต่นักวิชาการท่านนี้มองว่าสำหรับเกษตรกรในภาคอีสานที่ท่านได้ติดตามดูการเปลี่ยนแปลงมามากกว่า 40 ปีพบว่ายังมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นอยู่ กล่าวคือ แปลงขนาดเล็กของครอบครัวเกษตรกรอีสานยังมีมากกว่าแปลงใหญ่ พืชที่เกษตรกรภาคอีสานปลูกยังเน้นที่การเก็บไว้ส่วนหนึ่งเพื่อการบริโภคและการขาย แปลงเกษตรกรในภาคอีสานยังมีลักษณะผสมผสานมีพืชหลายชนิด ถึงแม้ว่าเกษตรกรอีสานจะมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แต่เกษตรกรอีสานยังคงไม่ละทิ้งความหลากหลายของแหล่งรายได้ ซึ่งผู้เขียนมองว่าลักษณะดังกล่าวคือกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรภาคอีสานที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และสามารถพาเกษตรกรอีสานรอดพ้นวิกฤตต่างๆ ได้เสมอมา

               ศาสตราจารย์แรมโบได้อธิบายเพิ่มเติมว่า เกษตรกรอีสานจับปลาหลายมือ หรือยึดถือแนวทางที่สุภาษิตฝรั่งกล่าวว่า “Don’t put all your eggs in one baskets” ซึ่งท่านมองว่าเป็นแนวทางที่ดีสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมผกผัน เผชิญกับสถานการณ์ที่คาดการณ์ได้ยาก เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม ผลผลิตราคาตกต่ำ ท่านแบ่งและมองการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรอีสานเป็นสี่ช่วงคือ

ช่วงแรกตั้งแต่ปี 2463 ถึง 2503 เกษตรกรอีสานสมัยนั้นปลูกข้าว ฝ้ายและยาสูบเพื่อการบริโภคและขาย เลี้ยงสัตว์เพื่อใช้งาน เช่น วัว ควาย เก็บผลิตภัณฑ์จากป่าซึ่งครอบคลุมประมาณ 90% ของพื้นที่อีสาน และมีการขายแรงงานบ้าง เช่น การไปรับจ้างเกี่ยวข้าวที่ภาคกลาง เกษตรกรอีสานยุคนั้นส่วนใหญ่จะพออยู่พอกิน เกษตรกรในอีสานใช้วิธีการเก็บกักน้ำทำนาด้วยทำนบ (หรือเขื่อนดินขนาดเล็กๆ) ซึ่งในปัจจุบันไม่มีเหลืออยู่ เรื่องของทำนบก็ได้รับความสนใจจากนักวิชาการญี่ปุ่นชื่อ ศาสตราจารย์ฟูกุย ที่มีศึกษาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องยาวนาน 

ช่วงที่สองปี 2503 ถึง 2523 ช่วงนี้เป็นยุคของการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว พื้นที่นาขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลง เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บข้าวไว้บริโภค มีเหลือขายเพียงเล็กน้อย พื้นที่ป่าลดลงอย่างรวดเร็วจากการหักร้างถางพงเพื่อปลูกพืช เช่น ปอแก้วและมันสำปะหลัง สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย ก็มีจำนวนลดลง เนื่องจากขาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์ มีการอพยพตามฤดูกาลเพื่อไปขายแรงงานในกรุงเทพฯ หรือภาคอื่นๆ มากขึ้น

ช่วงที่สาม 2523 ถึง 2543 เกษตรกรอีสานเริ่มมีการใช้พืชพันธุ์ดี มีการลงทุนนำใช้เครื่องมือทุ่นแรงขนาดเล็ก เช่น รถไถเดินตาม การใส่ปุ๋ยเคมี การขุดสระหรือแหล่งน้ำ ข้าวเริ่มกลายเป็นพืชที่ทำรายได้สำคัญอีกครั้ง อ้อยเริ่มเข้ามาแทนที่ปอแก้ว หรือแม้กระทั่งมันสำปะหลัง เริ่มมีการปลูกยางพาราในหลายพื้นที่ในภาคอีสาน แรงงานภาคอีสานไม่ได้ไปแค่ภาคอื่นๆ ในประเทศ แต่มีการไปขายแรงงานในต่างประเทศมากขึ้นด้วย 

ช่วงที่สี่ 2543 ถึงปัจจุบัน ข้าวอ้อยและยางพารายังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคอีสาน เกษตรกรส่วนหนึ่งมีการปลูกพืชมูลค่าสูงสำหรับตลาดเฉพาะ เช่น ผักอินทรีย์ แคนตาลูป มะม่วง ส้มโอ การปลูกมะเขือเทศแบบพันธสัญญากับบริษัทเมล็ดพันธุ์ เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเพื่อการส่งออก รวมทั้งการทำการเกษตรเชิงท่องเที่ยวก็เริ่มเกิดขึ้น เช่น มีร้านกาแฟ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การเปลี่ยนแปลงอีกส่วนหนึ่งของสังคมเกษตรกรอีสานคือ การส่งลูกหลานไปเรียนและทำงานในภาครัฐ การทำงานในโรงงานประเภทต่างๆ ที่เริ่มเข้ามาสู่ภาคอีสาน การสมรสกับชาวต่างประเทศ การพัฒนาท้องถิ่นไปสู่สังคมเมืองก็นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง เช่น การทำธุรกิจขนาดเล็กในหมู่บ้านอีสานปัจจุบันจะพบเห็นกิจการร้านมินิมาร์ท ร้านซักผ้าหยอดเหรียญอยู่ทั่วไป

การเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรในพื้นที่ภาคอีสานในศตวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนกิจกรรม เช่น พืชที่ปลูกหรือกิจกรรมการเกษตรต่างๆ แต่ยังคงรูปแบบของการจัดการที่ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ มุ่งเพื่อขยายโอกาสและลดความเสี่ยงของครอบครัวอยู่เหมือนเดิม

ดังนั้นการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ภาคอีสาน ศาสตราจารย์เทอรี แรมโบ เน้นว่า นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ควรเน้นที่สูตรสำเร็จสูตรใดสูตรหนึ่งเท่านั้น แต่นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำเสนอทางเลือกต่างๆ หรือมีบุฟเฟต์เทคโนโลยี แล้วให้เกษตรกรเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเขาเองว่ากิจกรรมอะไร เทคโนโลยีไหนเหมาะสมกับครอบครัวเขา ความเข้าใจโลกของเกษตรกรอีสานและวิธีคิดของพวกเขาเท่านั้น จึงจะช่วยให้เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาภาคเกษตรของอีสานได้.

รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์

กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

การเกษตรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอะไรบ้าง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
พืชไร่ ข้าว ข้าว ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1. ... .
ไม้ผลไม้ยืนต้น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ชา ลองกอง พริกไทย มังคุด ... .
พืชผัก กระเทียม มันฝรั่ง มันฝรั่ง มันฝรั่งโรงงาน หอมหัวใหญ่ หอมแดง.
ไม้ดอก กล้วยไม้.
ปศุสัตว์ สุกร ไก่ ไก่ ไก่ไข่ ไก่เนื้อ โค โค.

การทำเกษตรกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะอย่างไร

ในภาคอีสานมีลักษณะทำการเกษตรแบบยังชีพ (subsistence) เป็นส่วนมา คือทำการเกษตรเพื่อที่จะนำผลิตผลมาบริโภคในครัว เรือนของตน เช่น ปลุกข้าวไว้กิน, ปลูกฝ้ายไว้ทอผ้า เลี้ยงไหมไว้ ทอผ้า เป็นต้น การเกษตรส่วนใหญ่จะเน้นที่ การทำนา เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการทำนายังคงใช้แรงงานจากคนและสัตว์อยู่ บริเวณปลูกข้าวที่ สำคัญคือที่รายลุ่มแม่น้ำ ...

อุตสาหกรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอะไรบ้าง

ด้านการอุตสาหกรรม เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ในอดีตอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงสีข้าว โรงงานมันสำปะหลัง และโรงงานปออัดเบลเป็นหลัก ปัจจุบันได้มีโรงงานอุตสาหกรรมประเภทใช้แรงงานมาก อุตสาหกรรมต่อเนื่องและอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตที่กระจายจากกรุงเทพฯ และพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ...

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกอะไรมากที่สุด

1. การเพาะปลูก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำการเพาะปลูกมากที่สุด แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำสุด เนื่องจากดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น การปลูกข้าว พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ปอ ฝ้าย