นาง ขุ ช ชุ ต ตรา ได้รับการยกย่องจาก พระพุทธเจ้า ว่าเป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในด้าน ใด

ขุชชุตตรา

คำนำหน้าชื่ออัครอุปัฏฺฐิกาอุบาสิกา
ส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
ศาสนาศาสนาพุทธ
อาชีพนางรับใช้ของพระนางสามาวตี
ตำแหน่งชั้นสูง
ครูพระโคตมพุทธเจ้า

ขุชชุตตรา เป็นอัครอุบาสิกาในพระโคตมพุทธเจ้า ในอรรถกถาของพระบาลีปิฎกระบุว่าพระนางขุชชุตตราเป็นนางรับใช้ในพระนางสามาวตี หนึ่งพระสนมของกษัตริย์อุเทนะแห่งโกสัมพี เนื่องจากพระนางสามาวดีไม่สามารถเดินทางไปเข้าเฝ้าเพื่อสดับฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าได้ พระนางได้มอบหมายให้นางขุชชุตตราเข้ารับฟังและนำกลับมาถ่ายทอดต่อให้กับพระนางและสตรีอีก 500 นางในราชสำนัก เนื่องจากนางขุชชุตตราเป็นผู้มีสติปัญญาดี จากการฟังธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์นั้นทำให้นางขุชชุตตรา พระนางสามาวตี และนางรับใช้อีก 500 คนในราชสำนัก เข้าถึงมรรคผลบรรลุโสดาบัน[1] ในอังคุตตรนิกาย 1.14 วรรค 260[2] ระบุว่าพระพุทธเจ้าทรงประกาศให้นางขุชชุตตราเป็นอุบาสิกาผู้มีปัญญาเลิศที่สุด

ในขุททกนิกาย มีคัมภีร์เล่มอิติวุตตกะ เป็นเนื้อหารวมคำสอนอย่างสั้น 112 บทที่ระบุว่ามาจากการจดจำของนางขุชชุตตรา[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 Ireland (1999); Thanissaro (2001).
  2. AN 1.14 (trans. by Sister Upalavanna, retrieved 9 December 2008 from "Metta Net" at http://www.metta.lk/tipitaka/2Sutta-Pitaka/4Anguttara-Nikaya/Anguttara1/1-ekanipata/014-Etadaggapali-e.html เก็บถาวร 18 มิถุนายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).

บรรณานุกรม[แก้]

  • ภิกษุโพธิ (แปล.) (2000). The Connected Discourses of the Buddha: A Translation of the Samyutta Nikaya. Boston:Wisdom Publications. ISBN 0-86171-331-1.
  • Ireland, John (trans. & intro.) (1999). Itivuttaka: The Buddha's Sayings (excerpts). Article's "Introduction" is available on-line at http://www.accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.intro.irel.html#intro.
  • ฐานิสโรภิกษุ (แปล. & คำนำ.) (2001). Itivuttaka: This Was Said by the Buddha. "Translator's Introduction" is available on-line at http://www.accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.intro.than.html#intro.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "Relatives and Disciples of the Buddha: Royal Patrons," by Radhika Abeysekera.

นางขุชชุตตรา หญิงค่อมผู้เรืองปัญญา – “มีปัญญาอยู่กับตัวไม่ต้องกลัวอะไร” เป็นความจริงที่ใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หรือมีรูปลักษณ์เช่นใด เพราะปัญญาย่อมนำมาซึ่งความสุข ความเจริญ และความสำเร็จในชีวิต

ธรรมเนียมหนึ่งในการขนานนามของชาวอินเดีย มักจะถือเอาจากรูปลักษณ์บุคคลนั้นเป็นสำคัญ กรณีของ นางขุชชุตตรา หญิงรับใช้ของ พระนางสามาวดี พระอัครมเหสีแห่งนครโกสัมพี ก็เช่นกัน แม้นางจะมีชื่อเดิมว่า อุตตรา แต่ด้วยความพิการหลังค่อมที่มีมาแต่กำเนิด ชาวบ้านจึงนิยมเรียกนางว่า ขุชชุตตรา เพราะเพิ่มคำว่า ขุชชา ที่แปลว่า ค่อม ลงไปหน้านาม

นอกจากถวายการรับใช้พระนางสามาวดีแล้ว นางขุชชุตตรายังมีหน้าที่พิเศษคือเป็นผู้ซื้อดอกไม้ประจำตำหนัก ทว่าด้วยความละโมบ อยากได้อยากมี นางขุชชุตตราจึงแอบยักยอกเงินค่าดอกไม้เก็บไว้เองเสียครึ่งหนึ่งทุก ๆ วัน การณ์เป็นเช่นนี้เรื่อยมาโดยที่ไม่มีใครระแคะระคายแต่อย่างใด จนกระทั่งวันหนึ่ง…

นางขุชชุตตราออกจากตำหนักแต่เช้าตรู่เพื่อไปซื้อดอกไม้จากบ้าน นายสุมนมาลาการ เจ้าของสวนดอกไม้ตามปกติ แต่ในวันนั้นนายสุมนกำลังง่วนอยู่กับการเตรียมภัตตาหารถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงไม่มีเวลาปลีกตัวมาจัดดอกไม้ให้นางขุชชุตตราเช่นเคย ยิ่งไปกว่านั้นนายสุมนยังต้องร้องขอให้นางขุชชุตตราช่วยงานอีกแรงด้วย

เมื่อเห็นความชุลมุนวุ่นวายภายในบ้านนายสุมน นางขุชชุตตราจึงไม่อิดออดใด ๆ รีบช่วยเหลืออย่างเต็มใจ และแม้เวลาจะล่วงเลยไปหลายชั่วโมง นางขุชชุตตราก็ไม่เร่งเร้าเรื่องดอกไม้กับนายสุมน

หากนางกลับตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาในเรื่อง อนุปุพพิกถา อันหมายถึง ข้อธรรมห้าประการเพื่อเตรียมจิตให้หมดจด ได้แก่ ทานกถา (การให้) สีลกถา (ความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม) สัคคกถา (ความสุข ความเจริญ) กามาทีนวกถา (โทษแห่งกาม) และ เนกขัมมานิสังสกถา (ผลดีของการไม่หมกมุ่นในกาม)

ระหว่างที่ฟังพระธรรมเทศนานั้น นางขุชชุตตราพบว่า ยิ่งได้ฟังข้อธรรมมากเท่าไร นางก็ยิ่งศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นเท่านั้น

ครั้นจบอนุปุพพิกถา พระพุทธองค์จึงตรัสแสดงอริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ ซึ่งเมื่อพระธรรมเทศนาจบลง นางขุชชุตตราก็ได้บรรลุโสดาบัน

ในวันนั้นนางขุชชุตตรารู้สึกอิ่มเอิบใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยไม่มีเหตุจากทรัพย์หรือจากชัยชนะในการโกหกมาเกี่ยวข้องเช่นทุก ๆ วัน และได้ดอกไม้กลับตำหนักไปด้วยเงินเต็มจำนวน

เมื่อถึงตำหนัก พระนางสามาวดีสังเกตเห็นจำนวนดอกไม้ที่เพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว จึงไต่ถามด้วยความสงสัย นางขุชชุตตราจึงเล่าความจริงทั้งหมดให้พระนางฟังโดยไม่ปิดบังใด ๆ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในจิตใจของนางโดยฉับพลัน…เพียงแค่ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ในวันนี้

พระนางสามาวดีแม้จะโกรธนางขุชชุตตราอยู่บ้าง ใจหนึ่งคิดจะต่อว่า ลงโทษให้หลาบขำ แต่ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่มีมากกว่า พระนางจึงขอให้นางขุชชุตตราแสดงธรรมที่ได้ฟังมาในวันนี้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้พระนางและหญิงบริวารทั้งหมดในตำหนักได้ฟังบ้าง

นางขุชชุตตราไม่ขัดข้องแต่อย่างใด ร้องขอกลับไปเพียงว่า “ขอให้ข้าพเจ้าได้ชำระล้างร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเสียใหม่ก่อน” พร้อมกับขอให้พระนางสามาวดีช่วยอนุเคราะห์จัดที่นั่งเพื่อใช้ในการแสดงธรรม

ด้วยความสามารถของนางขุชชุตตราในการจดจำพระธรรมคำสอนได้แม่นยำและตีความได้ลึกซึ้ง เมื่อนางแสดงพระธรรมจบลง…พระนางสามาวดีและหญิงบริวารทั้งหมดก็บรรลุโสดาบันพร้อมกัน

อนึ่ง เรื่องราวผลกรรมแต่อดีตชาติของนางขุชชุตตรานั้นมีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะผลกรรมที่นางก่อไว้ได้ส่งผลมายังชาตินี้ ทั้ง ความพิการหลังค่อม ซึ่งเป็นผลจากการล้อเลียนความพิการของพระปัจเจกพุทธะพระองค์หนึ่งต่อหน้าเพื่อน ๆ การเกิดเป็นหญิงรับใช้ ซึ่งเป็นผลจากการที่นางเคยเอ่ยปากขอให้พระเถรีหยิบกระเช้าเครื่องประดับส่งให้ ส่วน การมีสติปัญญาล้ำเลิศ เป็นผลจากการที่นางได้ถอดกำไลข้อมืองาช้างถึง 8 วงถวายพระปัจเจกพุทธะเพื่อรองก้นบาตรที่ร้อนระอุ มิให้ความร้อนสัมผัสมือของท่านโดยตรง

นับแต่วันนั้นมา นางขุชชุตตรา หญิงค่อมผู้เรืองปัญญาก็ได้รับยกย่องสูงสุดในฐานะมารดาและพระอาจารย์ มีหน้าที่ตั้งปัญหาธรรมเพื่อไปขอคำสั่งสอนต่าง ๆ จากพระพุทธองค์ แล้วจึงนำกลับมาถ่ายทอดให้พระนางสามาวดีและหญิงบริวารทั้งหลายฟังอีกครั้งหนึ่ง

ด้วยความขยัน ฝักใฝ่ในพระธรรมอย่างแท้จริง ในไม่ช้า นางขุชชุตตราจึงเป็นผู้หนึ่งที่มีความแตกฉานในพระไตรปิฏก อีกทั้งยังเพียบพร้อมด้วยความสามารถในการแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟังด้วย…นางจึงได้รับยกย่องให้เป็น เอตทัคคะฝ่ายอุบาสิกา ผู้เป็นเลิศในทางสดับตรับฟัง

ที่มา : นิตยสาร Secret

เรื่อง : วรลักษณ์ ผ่องสุขสวัสดิ์

Secret Magazine (Thailand)

นางขุชชุตตราได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าในด้านใด

เพราะความที่นางขุชชุตตราเป็นผู้มีปัญญามา สามารถแสดงธรรมได้อย่างไรไพเราะลึก ซึ้งดีกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องนางในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า อุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้แสดงธรรม

เหตุใดนางขุชชุตตราจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีธรรมกถึก

1. เป็นผู้มีความเพียรพยายาม นางขุชชุตตราถือเป็นคนต้นแบบของการมีความเพียรพยายามและการที่นางมีร่างกายที่ไม่สมประกอบทำให้นางต้องมีความขยันพยายามเพิ่มขึ้นอีกเป็นสองเท่า แต่นางก็หาได้ย่อท้อหรือท้อแท้หมดหวังไม่ กลับสู้จนประสบความสำเร็จในชีวิต

นางขุชชุตตราเดิมมีชื่อว่าอะไร *

ธรรมเนียมหนึ่งในการขนานนามของชาวอินเดีย มักจะถือเอาจากรูปลักษณ์บุคคลนั้นเป็นสำคัญ กรณีของ นางขุชชุตตรา หญิงรับใช้ของ พระนางสามาวดี พระอัครมเหสีแห่งนครโกสัมพี ก็เช่นกัน แม้นางจะมีชื่อเดิมว่า อุตตรา แต่ด้วยความพิการหลังค่อมที่มีมาแต่กำเนิด ชาวบ้านจึงนิยมเรียกนางว่า ขุชชุตตรา เพราะเพิ่มคำว่า ขุชชา ที่แปลว่า ค่อม ลงไปหน้า ...

ผลจากการศึกษาประวัติของนางขุชชุตตราได้แง่คิดอะไรบ้าง

1. มีความเพียรช่วยเหลือตนเอง แม้ร่างกายจะพิการ คือ หลังค่อม แต่ก็ไม่ยอมแพ้ต่อชีวิต ประกอบการงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง 2. เป็นฝึกฝนตนเอง ถึงแม้ว่านางขุชชุตตราจะยักยอกค่าดอกไม้เป็นประจำทุกวันก็ตาม แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว กลับมีความสำนึกผิด ละเว้นในสิ่งไม่ดีที่ได้กระทำและตั้งมั่นอยู่ในความดีได้ในที่สุด