คณะกรรมการพนักงานเทศบาล ตัวย่อ

สรุปสาระสำคัญกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โดย นายสุรศักดิ์  เกษงาม   ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

          เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษา  หาความรู้เพิ่มเติม

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

1.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๒๐ ก/หน้า ๑/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒

2.ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  (มาตรา2)

3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หมายความว่า  (1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (2) เทศบาล  (3)องค์การบริหารส่วนตำบล  (4) กรุงเทพมหานคร   (5) เมืองพัทยา  และ (6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง   (มาตรา3 ว.1)

4.พนักงานส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด   พนักงานเทศบาล   พนักงานส่วนตำบล   ข้าราชการกรุงเทพมหานคร   พนักงานเมืองพัทยา    และข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  (มาตรา3 ว.2)

5.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการ  (มาตรา ๔)

6.มีทั้งหมด 7 หมวด  และ 1 บทเฉพาะกาล

7.คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด  (มาตรา 5) (12 คน) ประกอบด้วย

1.ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

2.หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด                  จำนวน 3 คน

3.ผู้แทน อบจ.(ผวจ.ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือก) วาระ 4 ปี จำนวน 4 คน

3.1นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

3.2สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด  1 คน

3.3ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด(เป็นเลขานุการ  ก.จ.)

3.4ผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด  1 คน

4.ผู้ทรงคุณวุฒิ(มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี)  (เสนอชื่อโดย 1 และ 2 จำนวน 6 คน  และ 3  จำนวน 6 คน รวม12 คน เลือกกันเองเหลือ 4 คน) วาระ 4 ปี            จำนวน  4 คน

ด้านการบริหารงานท้องถิ่น  ด้านการบริหารงานบุคคล  ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

8.อำนาจหน้าที่ ของ ก.จ. (มาตรา 13)

๑.กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีความจำเป็นเฉพาะสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น

๒.กำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่ง อัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

๓.กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้งการย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์

๔.กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

๕.กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจง ส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

9.อำนาจนายก อบจ. (มาตรา 15) (ตาม ก.จ. กำหนด)

          การออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง(เห็นชอบจาก ก.จ.) การย้าย การโอนการรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ(เห็นชอบจาก ก.จ.) การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล

          นายก อบจ. อาจมอบอำนาจให้ข้าราชการใดใน อบจ.ก็ได้

10.คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด (ก.ท.จ.) (มาตรา 23) (18 คน) ประกอบด้วย

1.ผู้ว่าราชการจังหวัด                         เป็นประธาน

2.หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด        จำนวน   5   คน  

3. ผู้แทนเทศบาล                             จำนวน  6 คน

3.1ประธานสภาเทศบาล  จำนวน  2 คน

3.2นายกเทศมนตรี        จำนวน  2 คน

3.3ผู้แทนพนักงานเทศบาล (ปลัดเทศบาล)   จำนวน   2 คน

4ผู้ทรงคุณวุฒิ              จำนวน   6   คน  

4.1ด้านการบริหารงานท้องถิ่น

4.2ด้านการบริหารงานบุคคล

4.3ด้านระบบราชการ

4.4ด้านการบริหาร

4.5ด้านการจัดการ

4.6ด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเทศบาล

11.คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (มาตรา 24) (18 คน) ประกอบด้วย

          1.รมว.มท. หรือ รมช.มท  ซึ่งได้รับมอบหมาย         เป็นประธาน

2.ปลัดกระทรวงมหาดไทย

3.เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

4.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

5.อธิบดีกรมบัญชีกลาง

6.อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น*

7.ผู้แทนเทศบาล(เลือกจากนายกเทศมนตรี)           จำนวน   3  คน

8.ผู้แทนเทศบาล(เลือกจากปลัดเทศบาล)              จำนวน   3  คน

9.ผู้ทรงคุณวุฒิ             จำนวน  6 คน (ด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้าน

การบริหารและการจัดการ หรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเทศบาล)

12.คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (มาตรา 25) (28 คน)ประกอบด้วย

1.ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมาย   เป็นประธาน

2.นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น       จำนวน 8 คน

3.ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล                              จำนวน 9 คน

3.1ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล                     จำนวน 3 คน

3.2ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล        จำนวน 3 คน

3.3ผู้แทนพนักงานส่วนตำบล (ปลัด อบต.)                     จำนวน 3 คน

4.ผู้ทรงคุณวุฒิ   จำนวน  9 คน

ด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล

13.คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลคณะหนึ่ง (มาตรา26) (18 คน)     ประกอบด้วย

1.รมว.มท. หรือ รมช.มท.ซึ่งได้รับมอบหมาย                    เป็นประธาน

2.ปลัดกระทรวงมหาดไทย

3.เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

4.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

5.อธิบดีกรมบัญชีกลาง

6.อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น*

7.ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล (นายกฯ) จำนวน 3 คน

8.ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล (ปลัดฯ)   จำนวน 3 คน

9.ผู้ทรงคุณวุฒิ   จำนวน 6 คน

ด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหาร

และการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล

14.คณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยา(มาตรา 28)  (12   คน) ประกอบด้วย

1.ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี         เป็นประธาน

2.นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดชลบุรี         จำนวน  3 คน

3.ผู้แทนเมืองพัทยา                                              จำนวน  4 คน

3.1นายกเมืองพัทยา

3.2สมาชิกสภา 1 คน

3.3ปลัดเมืองพัทยา(เลขานุการ ก.เมืองพัทยา)

3.4ผู้แทนพนักงานเมือง 1  คน

4.ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  4  คน  

ด้านการบริหารงานท้องถิ่น     ด้านการบริหารงานบุคคล     ด้านระบบราชการ   ด้านการบริหารและการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเมืองพัทยา

15.คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น  (มาตรา 30  ) (18 คน) ประกอบด้วย

          1.บุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกตามมาตรา ๓๑          เป็นประธาน

2.กรรมการโดยตำแหน่ง                               จำนวน  6 คน

2.1เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

2.2เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2.3ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

2.4ปลัดกระทรวงการคลัง

2.5ปลัดกระทรวงมหาดไทย

2.6อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

3.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง)        จำนวน  5 คน

4.ผู้แทนคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด     จำนวน 1 คน

5.ผู้แทนคณะกรรมการกลางพนักเทศบาล             จำนวน  1 คน

6.ผู้แทนคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล      จำนวน  1 คน

7.ผู้แทนคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร   จำนวน  1 คน

8.ผู้แทนคณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยา           จำนวน  1 คน

9.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น(ถ้ามี)                จำนวน  1 คน

10หัวหน้าสำนักงาน  ก.ถ.                             เป็นเลขานุการ ก.ถ.

16.อำนาจหน้าที่ คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น : ก.ถ. (มาตรา ๓๓)

1.กำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางในการรักษาระบบคุณธรรมเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่งของพนักงานส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๓๓  (1))

2.กำหนดโครงสร้างอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น (มาตรา ๓๓  (1))

3.การกำหนดมาตรฐานกลางและแนวทาง        จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลโดยเฉพาะเจาะจง  ที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถบริหารงานบุคคลตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้  (มาตรา ๓๓  (1))