แรงจูงใจในการเล่นกีฬาฟุตบอล

แรงจูงใจในการเล่นกีฬาฟุตบอล
           

คนส่วนใหญ่เล่นกีฬาไปทำไมครับ เล่นเพราะสนุก หรือเล่นเพราะมีรางวัล?

คำตอบที่แท้จริง เป็นได้ทั้งสองข้อครับ ขึ้นอยู่กับจิตใจของคนๆ นั้น  การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในการเล่นกีฬา การฝึกซ้อม ประสบการณ์การแข่งขัน และสิ่งแวดล้อม

ทฤษฎีจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมเกิดจาก “แรงจูงใจ” การเล่นกีฬาก็เช่นเดียวกัน  ในเด็กที่ยังไม่มีประสบการณ์กีฬามาก่อน แรงจูงใจให้เล่นกีฬาใดอาจเกิดจากความประทับใจที่ได้เห็นการแข่งขันกีฬานั้น มีความสนุกสนาน ตื่นเต้น  ท้าทาย การเล่นกีฬาในระยะแรกอาจเป็นเพราะความรู้สึกดีๆ การได้พิสูจน์ตนเองว่ามีความสามารถ  และเมื่อได้ลองเล่นแล้วเกิดความสุข ความพึงพอใจจากประสบการณ์แรกจะเสริมแรงจูงใจทางบวกให้เล่นกีฬานั้นอีก

เมื่อเริ่มเล่นกีฬาใหม่ๆ แรงจูงใจในการเล่นกีฬามักเกิดจากผลงาน ความสนุก ความเพลิดเพลิน หรือการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน  แต่ถ้าเล่นได้ดี  มีฝีมือมากขึ้น  กลายเป็นนักกีฬา แรงจูงใจที่เกิดจากผลการแข่งขันที่ตามมา เช่น การได้รับชัยชนะ ความสำเร็จจากการแข่งขัน และรางวัล  สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงเสริมทางบวก  ทำให้มีความพยายามฝึกซ้อมมากขึ้น  แม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อย  แต่เพื่อให้ได้ชัยชนะนักกีฬาจะอดทน ยอมรับความลำบาก เหน็ดเหนื่อย  อ่อนเพลีย  หรือแม้แต่ความเบื่อหน่ายที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราวเวลาซ้อมหนักๆ   ทำให้พัฒนาฝีมือขึ้นเรื่อยๆจนเป็นนักกีฬาที่เก่ง และเป็นแช้มเปี้ยนได้

แรงจูงใจในการเล่นกีฬาฟุตบอล

แรงจูงใจที่เกิดจากความรู้สึกดีๆเมื่อเล่นกีฬา  เป็นแรงจูงใจจากภายใน (intrinsic motivation)

แรงจูงใจที่เกิดจาก การยอมรับจากพ่อแม่ โค้ช เพื่อน  เสียงเชียร์ของผู้ชม  และเงินรางวัล เป็นแรงจูงใจภายนอก (extrinsic motivation) 

แรงจูงใจทั้งสองประเภทนี้ มีพลังแตกต่างกัน

นักกีฬาแต่ละคนจะได้รับอิทธิพลจากแรงจูงใจสองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน

นักกีฬาบางคนเริ่มต้นจากการมีแรงจูงใจจากภายในมาก่อน  แต่ต่อมาเมื่อได้รับแรงจูงใจจากภายนอกมากๆ เช่นได้รับรางวัล ได้เงิน ได้ตำแหน่ง หรือได้เสียงเชียร์มากๆ  อาจติดยึดกับแรงจูงใจประเภทนี้มาก  จนเครียดกับผลการแข่งขัน ขาดความสนุกสนานกับกีฬานั้นเหมือนเมื่อก่อน   และถ้าเงินรางวัลสูงมากๆ จะทำให้แรงจูงใจจากภายในลดลง จนอาจไม่เหลือเลยก็ได้  แบบนี้พบได้บ่อยๆ นะครับ  ทำให้นักกีฬาขาดความสุขในการแข่งขัน กลายเป็นเหมือนการทำงานในหน้าที่  คาดหวังผลการแข่งขันสูง และถ้าแพ้ไม่ได้เงินจะไม่มีความสุข

นักกีฬาที่ดี  ถ้าเข้าใจเรื่องแรงจูงใจนี้  จะสามารถสร้างแรงจูงใจของตนเองทั้งสองประเภทพร้อมๆ กัน การแข่งขันจึงกลายเป็นความสนุก ผ่อนคลาย ไม่กลายเป็นเรื่องเคร่งเครียด  เมื่อจิตใจไม่เครียดเกินไป ผลการแข่งขันมักจะออกมาดี

นักกีฬาที่ดี ยังสามารถสร้างเป็นแรงจูงใจภายในให้เพิ่มขึ้น โดยอาศัยแรงจูงใจจากภายนอก   เช่น  เมื่อได้ชัยชนะ หรือเป็นที่ยอมรับจากคนอื่นแล้ว  ไม่ยึดติดว่าจะต้องมีคนชื่นชมตลอดเวลา  หันมาชื่นชมตนเอง เปลี่ยนแรงจูงใจจากภายนอกมาเป็นภายใน

แรงจูงใจในการเล่นกีฬาฟุตบอล

ดังนั้นเมื่อนักกีฬาทำสำเร็จ  เขาจะไม่ต้องรอให้คนชื่นชม  เพราะสามารถชมตัวเองได้ เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่สำคัญ โดยไม่ต้องรอจากภายนอก

เทคนิคการชื่นชมตนเองได้นี้ ใช้ได้ผลดีในกรณีที่นักกีฬาไปแข่งขันในที่ไม่ค่อยมีคนเชียร์  เช่น การไปแข่งขันในต่างแดนกับทีมเจ้าบ้าน  กองเชียร์เจ้าบ้านคงจะไม่เชียร์ทีมเยือนอย่างแน่นอน   การให้กำลังใจตนเองจึงช่วยได้มาก ยิ่งการแข่งขันประเภททีม นักกีฬาควรได้รับการฝึกให้ชื่นชมกันเอง เพื่อให้จิตใจฮึกเหิม สู้ร่วมกันอย่างมีพลัง

การชื่นชมตนเอง  จะสร้างความรู้สึกมีคุณค่าและคิดดี คิดว่าตนเองมีความสามารถ ทำได้สำเร็จ มีความมั่นใจ  รวมเป็นความรู้สึกดีต่อตนเอง

โค้ชที่ดีจึงควรรู้วิธีทำให้นักกีฬาเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ทั้งในระหว่างการแข่งขันและการฝึกซ้อม เพื่อให้นักกีฬามีจิตใจดี มองตนเองดี  แม้ในระยะแรกๆ โค้ชจะต้องชม  แต่ในเวลาต่อมาควรฝึกให้นักกีฬาชมตนเองได้ด้วย จะได้ไม่ต้องพึ่งโค้ชตลอดเวลา

ในขณะเดียวกัน ไม่ควรทำลายความรู้สึกที่ดีต่อตนเองของนักกีฬา เช่น  การตำหนิ การลงโทษรุนแรง การประจาน ประณาม ดูถูก ดูหมิ่น  เพราะจะทำให้เสียความรู้สึกที่มีคุณค่าตนเอง  นักกีฬาจะขาดกำลังใจ  และคอยพึ่งการยอมรับจากภายนอกอย่างเดียว

สำหรับคนที่เล่นกีฬาเพื่อความสนุก  ไม่ได้มุ่งหวังไปแข่งขันเป็นอาชีพ  แรงจูงใจที่สำคัญในการเล่นกีฬา คือการได้ประสบการณ์ที่ดีจากกีฬา เช่น  การได้รู้จักคนอื่น   ความสนุกจากเกม  การรู้แพ้รู้ชนะ ชื่นชมคนอื่นได้  ความมีน้ำใจนักกีฬาทำให้เกิดความสุขได้ การเล่นกีฬาบางอย่างเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้เกิดความสุขด้วยตัวเอง  เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ไม่ได้เน้นเรื่องแพ้ชนะ แบบนี้ทำให้กีฬาเป็นกิจกรรมที่สร้างความสุขในชีวิตนะครับ

นพ.พนม เกตุมาน

หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล

แรงจูงใจในการเล่นกีฬาฟุตบอล
แรงจูงในเล่นฟุตบอล

หลายๆคนมักจะมีกีฬาที่ชื่นชอบ ไม่ว่าจะชอบเป็นผู้ชมและเชียร์หรือชอบเล่นเองก็ตาม และผู้ชายมักจะชอบเล่นฟุตบอลกันส่วนใหญ่ เพราะกฎกติกาหลักๆของกีฬาฟุตบอลนั้นไม่ยากเพียงแค่แตะบอลให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้ามก็พอ แต่ถ้าหากจะเล่นอย่างจริงจังก็ยังมีกติกาที่ลึกๆและควรรับอีกมากมายครับ การเล่นกีฬาฟุตบอลที่ดีนั้นย่อมนำไปสู่ผลสำเร็จได้เช่นกัน แต่การที่จะเล่นฟุตบอลนั้นเกิดความสุขในระหว่างการเล่นกีฬาฟุตบอล หรือมีแรงในการเล่นมากยิ่งขึ้นจำเป็นจะต้องอาศัยแรงจูงใจขององค์ประกอบหลายๆด้าน เช่นโค้ชนักกีฬาฟุตบอลนั้นย่อมมีการสร้างแรงจูงใจให้กับยักกีฬาอยู่แล้ว เช่น การสร้างแรงจูงใจในการเล่นเป็นระบบทีม การสร้างแรงจูงใจเมื่อทีมเป็นรองผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม

และนี่ก็จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในขณะฝึกซ้อมหรือเป็นกาแข่งขันอยู่ การที่เราจะไปสู่ผลสำเร็จมากขึ้นในการเล่นกีฬาฟุตบอลนั้นย่อมมีปัจจัยด้านแรงจูงใจเข้ามาช่วยด้วย ก่อนที่จะมีการสร้างแรงจูงใจของนักกีฬานั้นตัวโค้ชเองจะต้องมีการฝึกฝนหรือเป็นการเรียนรู้วิธีต่างๆในการสร้างแรงใจที่เกิดขึ้น ดังนั้นแรงจูงใจนั้นจะมีความหมายว่ากระบวนการทำให้จิตใจคนอื่นๆให้มีความเชื่อมั่นในตนเองมากยิ่งขึ้นหรือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น ลักษณะในการสร้างแรงจูงใจต่างๆของนักกีฬาฟุตบอลมีดังต่อไปนี้

  • พลังงาน หมายถึงเมื่อนักกีฬาที่แรงในการแข่งขันเหลืออยู่มากเท่าไรแล้วโค้ชทำการสร้างแรงจูงใจเข้าไปแล้วนักกีฬาเกิดมีแรงมากเพิ่มยิ่งขึ้นจากเดิม
  • ทิศทาง หมายถึง เมื่อมีการสร้างแรงจูงใจให้กับนักกีฬาเกิดขึ้นนั้น โค้ชจะต้องหาวิธีการโน้มน้าวจิตใจของนักกีฬานั้นให้มีการทำให้บรรลุเป้าหมายที่โค้ชได้มีการกำหนดไว้ล่วงหน้า แล้วทำให้เกิดผลสำเร็จ
  • ความรู้สึกคงอยู่กับความสำเร็จ หมายถึง เมื่อนักกีฬามีสภาพทางจิตใจในระหว่างทำการแข่งขันนั้นมีพลังโค้ชจะทำอย่างไรเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับนักกีฬามีพลังเท่าเดิมอยู่ตลอดจนการแข่งขัน ให้ความรู้สึกต่างๆคงทนไว้ เช่น การที่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้าม หาจังหวะในการทำประตูมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น สำหรับคนเป็นผู้ฝึกสอนที่ดีควรให้ความสนใจและศึกษารายละเอียดต่างๆของแรงจูงใจที่มีผลกระทบต่อความสามารถของนักกีฬา แรงจูงใจไม่ได้มีบทบาทสำคัญเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้นแต่ยังมีบทบาทสำคัญในกลุ่มของเยาวชน ที่จะช่วยส่งเสริมให้ได้พัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อเตรียมพรอมเป็นนักกีฬาสร้างชื่อให้ประเทศชาติได้ในอนาคต

ช่องทางการศึกษาเพิ่มเติมข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ : ฟุตบอล

  • บทความคำศัพท์กีฬา86)
  • บทความนักกีฬา(69)
  • กติกา - กีฬาต่างๆ(54)
  • การนับคะแนนของกีฬาแต่ละประเภท (58)
  • บทความนักกีฬา(236)
  • พูดคุย-แลกเปลี่ยน(456)