คุณธรรม จริยธรรม ของพลเมืองดี


คุณธรรม จริยธรรม ของการเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก


               พลเมืองที่ดีของสังคมจะต้องมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักการใช้ชีวิตซึ่งจะช่วยไห้สังคมเป็นสังคมที่มีความสงบสุขและเจริญก้าวหน้าได้คุณธรรมและจริยธรรมที่สำคัญมีดังต่อไปนี้


1.) การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

คุณธรรม จริยธรรม ของพลเมืองดี



2.) การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

คุณธรรม จริยธรรม ของพลเมืองดี


3.) การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่

คุณธรรม จริยธรรม ของพลเมืองดี


4.) ความซื่อสัตย์สุจริต

คุณธรรม จริยธรรม ของพลเมืองดี



5.) ความกล้าหาญและเชื่อมันในตัวตนเอง

คุณธรรม จริยธรรม ของพลเมืองดี


6.) ความสามัคคี

คุณธรรม จริยธรรม ของพลเมืองดี



 7.) ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำความชั่ว

คุณธรรม จริยธรรม ของพลเมืองดี




8.) การส่งเสริมไห้คนดีปกครองบ้านเมือง

คุณธรรม จริยธรรม ของพลเมืองดี



คุณธรรม และจริยธรรม มีความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมีจริยธรรมได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีพื้นฐานทางความคิด ความรู้ ความเข้าใจ สามารถแยกแยะผิดถูก ควรไม่ควรได้จากคุณธรรมที่ถูกอบรมบ่มเพาะมาตั้งแต่บุคคลนั้นจำความได้

คุณธรรม จึงหมายถึง “สภาพคุณงามความดี” ซึ่งเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงาม ทั้งทางกาย วาจา และใจ เช่น 1) ความจริงใจ ซื่อสัตย์ พูดจริง ทำจริง 2) การฝึกฝนข่มใจ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้า ด้วยปัญญาความรู้ 3) ความอดทน มีความอดทน ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหวในจุดมุ่งหมาย 4) ความเสียสละ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ต้องมีความเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง ผู้มีน้ำใจเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทุกคนในสังคม ช่วยเหลือเท่าที่เห็นว่าสมควรจะช่วยเหลือได้ เห็นใครควรแก่การช่วยเหลือก็ช่วยเหลือตามกำลัง (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ศีลธรรม. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก :  http://www.onab.go.th (วันที่ค้นข้อมูล : 4 ธันวาคม 2561)

บุคคลจะเป็นพลเมืองดีของสังคมนั้น ต้องตระหนักถึง บทบาท หน้าที่ ที่จะต้องปฎิบัติสอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรม ประเพณี และรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ รวมทั้งบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่ เมื่อสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ย่อมเกิดความภาคภูมิใจ และเกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม การเป็นพลเมืองที่ดีเคารพกฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น มีความกระตือรื้อร้น ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลัก ในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข

คุณธรรม จริยธรรม ของพลเมืองดี

พลเมืองดี ในวิถีประชาธิปไตย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำต่างๆดังนี้

พลเมือง หมายถึงชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
วิถี หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน
ประชาธิปไตย หมายถึง รูปแบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ถือเอาเสียงข้างมาก

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลัการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฎิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคม และ ประเทศชาติ ให้เป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตามหลักประชาธิปไตย

หลักคุณธรรมและจริยธรรมของการเป็นพลเมืองดีมีอะไรบ้าง

คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี.
การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม.
การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่.
รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก.
ความซื่อสัตย์สุจริต.
ความสามัคคี.
ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว.
ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง.

จริยธรรมที่ดีมีอะไรบ้าง

ประเภทของคุณธรรม คุณธรรมจริยธรรม คุณธรรมที่เป็นปัจจัยแรงผลักดัน ๑. ความมีวินัย ๒. ความอดทนอดกลั้น ๓. ความขยันหมั่นเพียร คุณธรรมที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง ๔. ความซื่อสัตย์ซื่อตรง ๕. ความรับผิดชอบ คุณธรรมที่เป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้ง ๖. ความมีสติ ๗. ความพอเพียง

ความเป็นพลเมืองดี มีอะไรบ้าง

ลักษณะของพลเมืองที่ดี คือ ต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน คือ ต้องมีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ เห็นความสำคัญในประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าของตนเอง ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ คือ สามารถประพฤติ ปฏิบัติได้อย่างที่สังคมต้องการ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีเหตุผล

ความกล้าหาญทางจริยธรรม มีอะไรบ้าง

ความกล้าหาญทางจริยธรรม คือ ความกล้าที่จะประพฤติตน และแนะนาให้ผู้อื่นปฏิบัติตน ในทางที่ถูกต้องเหมาะสมตามคุณธรรมและจริยธรรมที่สังคมต้องการ โดยใช้เหตุผลเป็นหลัก และมุ่ง ปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม ซึ่งลักษณะของผู้มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ได้แก่ เสียสละเพื่อส่วนรวม • รู้จักแบ่งปันสิ่งของ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่