วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    2.จงอธิบายลำดับของการพัฒนาการทางการจัดการตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบัน
    - แนวคิดทางการจัดการต่างๆ มีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน คือการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยแบ่งแนวคิดทางการจัดการออกเป็น 5 ยุค
    1. แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน คือการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Management Approach) ศึกษาปัจจัยทร่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึก และความคาดหวังของคนงาน ตลอดจนเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของคน
    4. แนวคิดเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดแบบร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    (อภิษฐา เนียมศิริ 12590101)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการเริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจังในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มต้นจาก การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์เน้นการทดลองเพื่อให้ได้กระบวน การ ขั้นตอนและวิธีที่ดีที่สุดในการทํางานเพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุดหรือได้รับผลลัพธ์ดีที่สุด ในการทํางาน นักคิดและนักวิชาการยังกําหนด “แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร” ที่เสนอกฎเกณฑ์ และหลักการทางบริหารจัดการให้มีกระบวนวิธีที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจากนั้นเริ่มมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของ พนักงานจนพบว่าปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นผลผลิตของพนักงานขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยทาง การผลิต ได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งการค้นพบนี้ได้รับการพัฒนาเป็น “แนวคิดการจัดการ เชิงพฤติกรรมศาสตร์” ที่ให้ความสําคัญเกี่ยวกับคนและความรู้สึกนึกคิดของคนแนวคิดการจัดการมีพัฒนาการไปสู่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้นด้วย “แนวคิดการจัดการเชิง ปริมาณ” ที่เชื่อมั่นในการนําทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศมา ช่วยในการบริหาร “แนวคิดการจัดการร่วมสมัย” เสนอวิธีการที่หลากหลายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการ ด้วยการพิจารณาระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ ซึ่งเน้นให้ องค์กรให้ความสําคัญกับระบบต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อให้องค์กรซึ่งเป็นระบบใหญ่สามารถ ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ แนวคิดการจัดการตามสถานการณ์เสนอว่าผู้บริหารควร ใช้วิธีการบริหารงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ซึ่งจะเป็นผลให้การบริหารเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ
    แนวคิดแต่ละแบบจึงมีจุดเด่นของตนเอง ซึ่งผู้บริหารจะต้องศึกษาแนวคิดแต่ละแบบอย่าง ถ่องแท้และนํามาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ของแต่ละองค์กรเพื่อให้นํามาซึ่งประโยชน์และ ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง

    (นางสาว สรัสนันท์ บุญมี 12590080)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    การศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการจัดการในยุคปัจจุบันเพิ่งเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม นักวิชาการและนักคิดจำนวนมากจากชาติตะวันตกได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยวิธีการจัดการในลักษณะต่างๆ จากแนวคิดการศึกษาในช่วงแรกซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อมาจึงกำหนดวิธีการบริหาร จัดการให้เป็นขั้นเป็นตอน และพัฒนามาเป็นยุคที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของมนุษย์ จากนั้น การจัดการก็ให้ความสำคัญกับการจัดการเชิงปริมาณและมาถึงแนวคิดการจัดการร่วมสมัย ซึ่งเสนอแนวคิดและวิธีการจัดการในหลากหลายรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างน่าสนใจ
    โดยลำดับของการพัฒนาการทางการจัดการดังนี้
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร มีการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรม ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
    4. แนวคิดทางการจัดการเชิงปริมาณ เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดทางการจัดการร่วมสมัย เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    โดยแนวคิดทางการจัดการแต่ละแนวมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันคือ การทำงานให้ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร แต่แนวคิดต่างๆ เหล่านี้มีจุดมุ่งเน้นหรือวิธีในการจัดการเพื่อ ไปให้ถึงเป้าหมายแตกต่างกันไป
    (นางสาว ณัฐฐา จินตกวีพันธุ์ 12590020)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    William G. Scott ได้แบ่งวิวัฒนาการทางการจัดการ ตั้งแต่เริ่มแรกหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบันอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค คือ
    ยุคที่ 1 ยุคการจัดการสมัยเดิม (Classic) (ค.ศ. 1880 – 1930)
    1. การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
    2. การจัดการตามระบบราชการ
    3. การจัดการตามหลักการบริหาร

    ยุคที่ 2 ยุคการจัดการสมัยใหม่ (Neo-classic) (ค.ศ. 1930-1950)
    1. การบริหารแนวมนุษยสัมพันธ์

    ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน (Modern) (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน)
    1. ทฤษฎีระบบ
    2. ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์
    (นายนภนต์ เจียรนัย 12590040)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    -แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม(ช่วงประมาณ1890-1940) โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน กล่าวคือ มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองตามกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำอีกจนได้วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
    -แนวคิดการจัดการเชิงบริหารเกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการคือ อองรี ฟาโยล์ เป็นบิดาแห่งทฤษฎีการจัดการแนวใหม่ โดยมีการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่หลักทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    -แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และเชิงบริหาร เป็นการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกองค์กร ความรู้สึกและความคาดหวังของคนงานตลอดจนเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของคนงาน
    -แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ ตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    -แนวคิดการจัดการร่วมสมัย เกิดขึ้นช่วงประมาณ 1960-2000 เป็นแนวคิดองค์กรที่เป็นระบบใหญ่ที่นำแนวคิดมาประยุกต์ใช้ เช่น แนวคิดเรื่องระบบ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การบริหารทรัพยากรบุคคล การประเมินผล การจ่างค่าตอบแทน การควบคุม ตลอดจนการเงินและการผลิต
    (นางสาวอัมรินทร์ เกมอ 12590105)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    - แนวคิดทางการจัดการเริ่มในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มต้นจาก “การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์” แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์เน้นการทดลองเพื่อให้ได้กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีที่ดีที่สุดในการทำงานเพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุดในการทำงาน
    - ต่อมานักคิดและนักวิชาการได้กำหนด “แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร” ที่เสนอกฎเกณฑ์และหลักการทางบริหารจัดการให้มีกระบวนการที่ชัดเจนมากขึ้น
    - จากนั้นเริ่มมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของพนักงาน คือ ปัจจัยด้านพฤติกรรมมนุษย์ ได้รับการพัฒนาเป็น “แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์” ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคนและความรู้สึกของคน
    - แนวคิดการจัดการมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจนเป็น “แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ” ที่เชื่อมั่นในการนำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหารอีกด้วย
    - จนถึงปัจจุบันมี “แนวคิดการจัดการร่วมสมัย” เสนอวิธีการที่หลากหลายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เป็นการพิจารณาระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ ซึ่งเน้นให้องค์กรให้ความสำคัญกับระบบต่างๆและเพื่อให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในองค์กร
    แนวคิดทางการจัดการแต่ละแนวมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน คือ การทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร แต่แนวคิดต่างๆ เหล่านี้มีจุดเน้นหรือวิธีในการจัดการเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้บริหารควรศึกษาให้เข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้าสถานการณ์เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
    (นางสาวปรมาพร สิงขรรัตน์ 12590046)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการ แบ่งเป็น 5 แนวทาง
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคดั้งเดิม ทำให้เกิดมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมจากที่เกิดจากนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง และวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ซึ่งคล้ายกับหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ แนวความคิดนี้หลักในด้านนี้เกิดจาก แนวคิดและทฤษฎี Frederick Winslow Taylor (1856) โดยในยุคนี้ได้มีผู้สนับสนุนแนวคิดที่สำคัญคือ แนวคิดและทฤษฎี Frank and Lillian Gilberth และแนวคิดและทฤษฎี Henry Gantt
    2. แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง โดยนักทฤษฎีกลุ่มนี้จะมีสมมติฐานว่าความสำเร็จของงานนั้นขึ้นอยู่กับการทำงานของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารเสียมากกว่า
    3.ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานทฤษฎีนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมน ๆ ควรเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือพิจารณาในรูปของการทดลองและการวัดได้
    4.ทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นวิธีการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานและการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เชิงปริมาณสถิติตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณเป็นวิธีการที่ปรากฏในปัจจุบันประกอบด้วยหลายสาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์การจัดการ (Management Scence) การจัดการเชิงปฏิบัติการ (Operation Management) และระบบสารสนเทศทางการจัดการ (Management Information System)
    5.ทฤษฎีการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) แนวคิดการจัดการร่วมสมัยเป็นการพัฒนาหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์การอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันมีแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้
    (ชนกนาฎ สหทรัพย์เจริญ 12590012)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน โดยอาศัยวิธีที่ได้จากการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์
    แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นหลักการบริหารที่ชัดเจน คือ กิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์และแนวคิดการจัดการเชิงบริหาร ซึ่งนักวิชาการและนักคิดมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคนงาน โดยมองถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึกและความคาดหวังของคนงานด้วย ตลอดจนแรงจูงใจในการทำงานของคนงาน
    แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพสหรัฐอเมริกานำมาใช้บริหารจัดการและช่วยในการตัดสินใจ คำนวณหาปริมาณการจัดสรรและใช้ทรัพยากรเพื่อการสงคราม ซึ่งแตกแขนงสาขาออกไปเป็น วิทยาศาสตร์การจัดการ การจัดการการดำเนินงาน และระบบสารสนเทศทางการจัดการ
    แนวคิดการจัดการร่วมสมัย เป็นการพัฒนาวิธีการต่างๆมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น และนำวิธีหลายประการมาประยุกต์ใช้ เช่น แนวคิดระบบ เป็นการมองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ จึงต้องใส่ใจกับระบบย่อยต่างๆให้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะระบบย่อยเหล่านี้จะมีผลกระทบซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา
    (นางสาวณัฐนรี สีทองสุก 12590022)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการสามารถแบ่งได้เป็น 5 แนวทาง ดังนี้
    1.แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน การกำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆทำการทดลองตามกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำอีกจนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
    2.แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้น กำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ อองรี ฟาโยล์ “บิดาแห่งทฤษฎีการจัดการแนวใหม่” การริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการและหลักการจัดการ
    3.แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์และแนวคิดการจัดการเชิงบริหาร คือ แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์เกิดขึ้นจากการที่นักวิชาการและนักคิดยังคงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานด้วยการค้นคว้าทดลองเชิงวิทยาศาสตร์
    4.แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพสหรัฐอเมริกา เริ่มนำการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในบริหารจัดการ ตลอดจนช่วยในการตัดสินใจต่างๆ ทางการรบ โดยเฉพาะการคำนวณหาปริมาณการจัดสรรและใช้ทรัพยากรเพื่อการสงคราม การจัดการเชิงปริมาณจึงเป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ ตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5.แนวคิดการจัดการร่วมสมัย นักวิชาการและนักคิดยังพัฒนาหาวิธีการต่างๆ มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันจะพบแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้ คือ แนวคิดนอกระบบ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ เช่น การวางแผน การบริหารทรัพยากรบุคคล การประเมินผล การจ่ายค่าตอบแทน การควบคุม ตลอดจนการเงินและการผลิต
    (นางสาวกรกนก จันทร์พันธุ์ 12590003)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    โดยลำดับของการพัฒนาการทางการจัดการดังนี้
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) มีการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความรู้สึก และความคาดหวังของคนงาน
    4. แนวคิดทางการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดทางการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    โดยแนวคิดทางการจัดการแต่ละแนวมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันคือ การทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

    (สุรีรัตน์ สระเกตุ 12590098)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการเริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจังในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มจากการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ มีการตั้งสมมติฐานกำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลอง ทดลองตามกระบวนการซ้ำ จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งคืนพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน นักคิดและนักวิชาการยังกำหนดแนวคิดการจัดการเชิงบริหาร เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน คือ การริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการคุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการจากนั้นเริ่มศึกษาปัจจัยต่างๆแนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึกและความหวังของคนงานตลอดจนเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของคนงานแนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ ตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการแนวคิดการจัดการร่วมสมัย มองว่าทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลกระทบซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา แนวคิดแต่ละแบบมีจุดเด่นของตนเอง
    (อารียา ปานทอง 12590109 )

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการแบ่งเป็น 5 แนวคิดหลักได้แก่
    - แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เริ่มเกิดขึ้นในช่วงต้นของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เริ่มเปลี่ยนจากแรงงานคนมาเป็นแรงงานจากเครื่องจักร ทฤษฎีในยุคนี้จะมุ่งเน้นไปยังเป้าหมาย ผลสำเร็จ ที่มาจากการจัดการทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    - แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง โดยนักทฤษฎีกลุ่มนี้จะมีสมมติฐานว่าความสำเร็จของงานนั้นขึ้นอยู่กับการทำงานของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารเสียมากกว่า
    - แนวคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรม เกิดขึ้นจากการที่นักวิชาการมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานด้วยการค้นคว้าทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ ให้ความสำคัญกับมนุษย์มองว่ามนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นทรัพยากรที่มีความรู้สึกนึกคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้แก่ แนวคิดจิตวิทยาอุตสาหกรรม พฤติกรรมมนุษย์ เป็นต้น
    - แนวคิดทางการจัดการเชิงปริมาณ เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพสหรัฐอเมริกา เริ่มมีการนำการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการบริหารจัดการ ตลอดจนช่วยในการตัดสินใจต่างๆทางการรบ โดยเฉพาะการคำนวณหาปริมาณการจัดสรรและใช้ทรัพยากรเพื่อการสงคราม
    -แนวคิดทางการจัดการแบบร่วมสมัย เน้นการสร้างระบบการจัดการทำงานโดยนำความรู้ในทางคณิตศาสตร์ สถิติ วิศวกรรม การบัญชี เข้ามาช่วยในการจัดการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แนวคิดวิทยาการจัดการการบริหารศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ แนวคิดเชิงสถานการณ์ และแนวคิดเชิงระบบ
    (ปิยาภรณ์ ชินวงค์พรหม 12590051)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1.แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานโดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ คือ มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง วัดผล ทำซ้ำ จนค้นพบวิธีการที่มีประสิทธิภาพ
    2.แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร อองรี ฟาโยล์ ได้รับขนานนามว่า บิดาแห่งทฤษฎีการจัดการแนวใหม่ แนวคิดนนี้เกิดจากความพยายามของนักคิด นักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจนคือการเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กร หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3.แนวคิดการจัดการเชิงพฤริกรรมศาสตร์ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม มนุษย์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึกและความคาดหวังของคนงานตลอดจนเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของคนงาน
    4.แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดช่วงสงครามโลกที่2 กองทัพusa เริ่มนำมาใช้บริหารจัดการช่วยในการตัดสินใจทางการรบ การจัดการเชิงปริมาณจึงนำหลักคณิต สถิติ คอมฯ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผล
    5.แนวคิดการจัดการร่วมสมัย เสนอวิธีการที่หลากหลาย ด้วยการพิจารณาระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ เน้นให้องค์กรให้ความสำคัญระบบต่างๆภานในองค์กร เพื่อให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ
    น.ส.วราภรณ์ ขันสมบัติ 12590069

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการ แบ่งเป็น 5 แนวทาง
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคดั้งเดิม ทำให้เกิดมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมจากที่เกิดจากนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง และวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ซึ่งคล้ายกับหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
    2. แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง
    3.ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานทฤษฎีนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมน ๆ ควรเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือพิจารณาในรูปของการทดลองและการวัดได้
    4.ทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นวิธีการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานและการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เชิงปริมาณสถิติตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณเป็นวิธีการที่ปรากฏในปัจจุบันประกอบด้วยหลายสาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์การจัดการ (Management Scence) การจัดการเชิงปฏิบัติการ (Operation Management) และระบบสารสนเทศทางการจัดการ (Management Information System)
    5.ทฤษฎีการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) แนวคิดการจัดการร่วมสมัยเป็นการพัฒนาหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์การอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันมีแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้
    น.ส.อภัสสร ปูชนียกุล 12590100

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด


    ยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 จากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจากเดิมที่ใช้แรงงานมนุษย์มาเป็นเครื่องจักรกล ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการผลิต ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ การปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ เป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ต่อเนื่องมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้น 2 ครั้ง ดังนี้
    - ครั้งที่ 1 ระหว่าง ค.ศ.1760-1860 ในประเทศอังกฤษ
    - ครั้งที่ 2 ระหว่าง ค.ศ.1860 เป็นต้นไป มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ
    การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 มีสาเหตุมาจากการขยายตัวทางการค้าซึ่งเกิดจากการสำรวจดินแดน และการล่าอาณานิคม ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การยกเลิกการค้าแบบผูกขาดทำให้เกิดการพัฒนาทางการค้า การปฏิรูปเกษตรกรรมทำให้มีการค้นคว้าประดิษฐ์เครื่องมือทางการเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แรงงานในชนบทเข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
    การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ทำให้เกิดนักประดิษฐ์จำนวนมาก และได้คิดค้นเครื่องจักรกลช่วยในการทอผ้า ดังนี้
    - จอห์น เคย์ ประดิษฐ์ที่กระตุกช่วยให้การทอผ้าเร็วขึ้นเป็น 2 เท่า
    - เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายให้ชื่อว่า “สปินนิงเจนนี” เป็นเครื่องปั่นด้ายมีแกน 8 อัน
    - ริชาร์ด อาร์กไรต์ ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายโดยใช้พลังน้ำมีชื่อว่า “วอเตอร์เฟรม”
    - จอร์จ สตีเฟนสัน ประดิษฐ์หัวรถจักรไอน้ำ “ร็อกเก็ต” ทำให้มีการเปิดเส้นทางรถไฟสายแรกของโลกระหว่างเมืองริเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ในประเทศอังกฤษ
    - รอเบิร์ต ฟุลตัน นำพลังงานไอน้ำมาใช้กับเรือ
    - แซมมวล คูนาร์ด สามารถเดินเรือกลไฟข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้
    - เจมส์ วัตต์ สามารถนำพลังงานไอน้ำ โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักมาใช้กับเครื่องกล และได้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลทำให้วงการอุตสาหกรรมอื่นๆ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ต่อมาเจมส์วัตต์ได้ปรับปรุงเครื่องจักรให้สามารถใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าได้สำเร็จ จากนั้นวิทยาการเกี่ยวกับการทอผ้าก็ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    เนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ใช้พลังงานไอน้ำเป็นหลัก จึงเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า สมัยแห่งพลังงานไอน้ำ
    การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 สืบเนื่องมาจากการนำวิธีการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาใช้กับวงการอุตสาหกรรม มีการนำพลังงานใหม่ๆ มาใช้ เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน พลังงานไฟฟ้าและการทำเหล็กให้เป็นเหล็กกล้า นับตั้งแต่ เซอร์เฮนรี เบสซิเมอร์ ค้นพบวิธีแยกแร่อื่นๆ ออกจากเหล็กโดยทำให้เหล็กมีคุณสมบัติดีขึ้นเป็นเหล็กกล้า หลังจากนั้นมาเหล็กกล้าได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมและการคมนาคมทุกประเภท ทำให้มีการเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า ยุคเหล็กกล้า เช่น อะเล็กซานเดอร์ กุสตาฟ ไอเฟล สร้างหอคอยไอเฟลด้วยเหล็กล้วน นอกจากนั้นยังมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง ทำให้เกิดการจัดระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรมแบบใหม่เป็นการจัดแบ่งงานกัน แต่ละคนรับผิดชอบงานของตน ทำให้ผลิตได้ครั้งละมากๆ เรียกว่า การผลิตจำนวนมาก
    (สุรีรัตน์ ศักดิ์ภิรมย์ 12590954)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
    •       การจัดการแบบวิทยาศาสตร์นั้นหมายถึงการจัดการงานที่มีระบบโดยศึกษาเหตุและผลเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุดจากการทำงานนั้น  โดยอาศัยการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์หาวิธีการที่ดีที่สุด
    •       ทั้งนี้เป็นการสร้างกระบวนการทำงานที่อยู่บนการตัดสินใจจากข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ ต่างจากอดีตที่อาศัยประสบการณ์หรือRule of Thumb

    การจัดการตามหลักการบริหาร โดยในขณะที่การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพที่งานของคนงานแต่ละคนนั้น การจัดการตามหลักการบริหาร มุ่งเน้นที่การจัดการองค์การในภาพรวมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยการจัดการตามหลักการบริหาร มองว่าผู้จัดการและผู้บริหารมีความรับผิดชอบในการประสานกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่ม และส่วนงานต่างๆ ในองค์การ นักคิดสำคัญของการจัดการตามหลักการบริหาร ได้แก่ อองรี ฟาโย (Henri Fayol ค.ศ.1841-1925) และเชสเตอร์ เบอร์นาร์ด (Chester Barnard ค.ศ.1886-1961)

    แนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นในการศึกษาค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาทฤษฏีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การที่จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารสำหรับผู้จัดการในการดูแลบริหารพนักงานต่อไป แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่พยายามค้นคว้าศึกษาถึงหลักการธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ พฤติกรรมมนุษย์เมื่อทำงานร่วมกันกับผู้อื่น รวมทั้งสิ่งที่จะสามารถใช้จูงใจมนุษย์ในการทำงาน และพัฒนาออกมาเป็นทฤษฏีต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารใช้เป็นแนวทางในการจัดการ

    แนวคิดเชิงปริมาณ คือมุมมองการจัดการโดยใช้ตัวเลข เป็นความพยายามที่จะนำคณิตศาสตร์ และตัวเลขมาใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจทางการจัดการ โดยพื้นฐานของการตัดสินใจทางด้านการจัดการโดยใช้ตัวเลขนี้มาจากข้อสมมุติฐานที่ว่า เทคนิคทางด้านคณิตศาสตร์สามารถที่จะใช้แก้ปัญหาได้ดีกว่าการที่ไม่ได้ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งในมุมมองนี้สามารถที่จะแบ่งออกมาได้เป็น 2 แขนงด้วยกัน ได้แก่
    * การจัดการเชิงปริมาณ
    * การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน

    หลักการจัดการร่วมสมัย
    หลักการจัดการร่วมสมัย คือหลักการบริหารที่นำเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ ดังนี้
    รายละเอียดคุณสมบัติ
    วิธีการรักษา
    วิธีการศึกษาเชิงประจักษ์หรือใช้กรณีศึกษา ( Empirical or case approach)
    ศึกษาจากประสบการณ์ผ่านกรณีศึกษาโดยเชื่อว่า การเรียนรู้ความสำเร็จและความผิดพลาด รวมทั้งความพยายามของผู้บริหารในการแก้ไขปัญหาเฉพาะในแต่ละกรณีศึกษา จะทำให้มีความรู้ในการจัดการอย่างมีประสิทธิผล เมื่อพบกับปัญหาภายใต้สถานการณ์เดียวกัน
    สุภัทษา สนธิช่วย 12590096

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1.แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์นั้นหมายถึงการจัดการการทำงานแบบมีระบบ โดยอาศัยเทคนิคหรือวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งก็คือ “กฎระเบียบ” นำมาใช้กับการปฎิบัติงาน มีการศึกษาเหตุและผล เก็บข้อมูล ตลอดจนวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุดในการทำงานั้นๆ เริ่มเกิดขึ้นในช่วงต้นของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เริ่มเปลี่ยนจากแรงงานคนมาเป็นแรงงานจากเครื่องจักร ทฤษฎีในยุคนี้จะมุ่งเน้นไปยังเป้าหมาย ผลสำเร็จ ที่มาจากการจัดการทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    2.แนวความคิดการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง โดยนักทฤษฎีกลุ่มนี้จะมีสมมติฐานว่าความสำเร็จของงานนั้นขึ้นอยู่กับการทำงานของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารเสียมากกว่า
    3.แนวความคิดการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavior Management Approach)ตามหลักของทฤษฎีเน้นหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนรอบข้างกับสังคมที่เขาทำงานร่วมกันซึ่งแนวคิดนี้มุ่งเน้นที่คนเป็นหลัก ในยุคนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรมคือ Hugo Minstberg แนวความคิดของ Minstberg เขาให้ความสำคัญกับคนงาน เป้าหมายในการศึกษาของเขาคือสภาพจิตใจของคนงานกับตำแหน่งงานที่เขาทำเหมาะสมหรือไม่ และจะทำอย่างไรให้คนงานเกิดความพึงพอใจมากที่สุด ประการสุดท้าย คือธุรกิจจะมีอิทธิพลต่อคนงานในแง่ที่ว่าสามารถช่วยให้คนงานบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ดังนั้น Hugo Minstberg จึงเริ่มทาการศึกษาและทดลองการศึกษาที่ฮอว์ททอร์น (The Hawthrone Studies)
    4.แนวความคิดการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach)คือมุมมองการจัดการโดยใช้ตัวเลข เป็นความพยายามที่จะนำคณิตศาสตร์ และตัวเลขมาใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจทางการจัดการ โดยพื้นฐานของการตัดสินใจทางด้านการจัดการโดยใช้ตัวเลขนี้มาจากข้อสมมุติฐานที่ว่า เทคนิคทางด้านคณิตศาสตร์สามารถที่จะใช้แก้ปัญหาได้ดีกว่าการที่ไม่ได้ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งในมุมมองนี้สามารถที่จะแบ่งออกมาได้เป็น 2 แขนงด้วยกัน ได้แก่ การจัดการเชิงปริมาณ การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน
    5.แนวความคิดการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach)แนวคิดใหม่ของนักวิชาการและนักบริหารคือ ความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การบริหารจะประสบความสำเร็จได้ คนในองค์การต้องร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน การทำงานต้องเป็นทีม(Team) และการบริหารต้องจัดเป็นระบบ (System) ขั้นตอนการทำงานต้องสัมพันธ์กัน
    นางสาวสิริรัตน์ ศิริพรทุม 12590086

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการ แบ่งออกเป็น 5 ยุค
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคดั้งเดิม ทำให้เกิดมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมจากที่เกิดจากนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง และวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ซึ่งคล้ายกับหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์

    2. แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง

    3.ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานทฤษฎีนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมน ๆ ควรเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือพิจารณาในรูปของการทดลองและการวัดได้

    4.ทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นวิธีการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานและการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เชิงปริมาณสถิติตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณเป็นวิธีการที่ปรากฏในปัจจุบันประกอบด้วยหลายสาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์การจัดการ (Management Scence) การจัดการเชิงปฏิบัติการ (Operation Management) และระบบสารสนเทศทางการจัดการ (Management Information System)

    5.ทฤษฎีการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) แนวคิดการจัดการร่วมสมัยเป็นการพัฒนาหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์การอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันมีแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้

    (ณัฐชัญญา ปรินจิตต์ 12590896)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    William G. Scott ได้แบ่งวิวัฒนาการทางการจัดการ ตั้งแต่เริ่มแรกหลังการปฏิวัตอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบันอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค คือ
    ยุคที่ 1 ยุคการจัดการสมัยเดิม
    1. การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์Frederick W.Taylor ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
    หลักของ Taylor คือ “Principles of Scientific Management”
    -ใช้หลักวิทยาศาสตร์
    -ยอมรับความกลมกลืนในกิจกรรมกลุ่ม
    -ทำงานเพื่อผลผลิตสูงสุด
    -พัฒนาคนงานทุกคนให้ใช้ความสามารถสูงสุดและสร้างความมั่นคงสูงสุดให้องค์การ
    2. การจัดการตามระบบราชการ
    ในยุคการจัดการสมัยเดิม มีแนวคิดที่สำคัญอีกแนวคิดหนึ่งก็คือ ทฤษฎีการบริหารงานระบบราชการ โดย Max Weber นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันเชื่อว่า แนวคิดนี้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน ซึ่งพอจะสรุปหลักการได้ดังนี้
    - มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้านตามความถนัดอย่างเหมาะสมอย่างชัดเจน
    -มีการจัดลำดับชั้นของอำนาจหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน และลดลั่นกันลงมา
    -เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นทางการ ไม่เป็นส่วนตัว
    3. การจัดการตามหลักการบริหารHenri Fayol ถือว่าเป็น บิดาของทฤษฎีการจัดการตามหลักการบริหารหลักทั่วไปของการจัดการ เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้จัดการ
    -การแบ่งงานกันทำ
    -ความมีระเบียบวินัย
    -การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
    -การมีเป้าหมายเดียวกัน
    -ผลประโยชน์ส่วนตัวมีความสำคัญน้อยกว่าผลประโยชน์ขององค์การ
    -ค่าตอบแทนและวิธีการจ่ายค่าตอบแทนควรจะยุติธรรม
    ยุคที่ 2 ยุคการจัดการสมัยใหม่
    1. การบริหารแนวมนุษยสัมพันธ์
    เปลี่ยนแปลงแนวความคิดจากที่ว่า “คนเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ และไม่มีความสำคัญ ต่อสายการผลิต” มาเป็น “คนเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ และเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง”
    การจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์
    จากการค้นพบแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์ จึงทำให้มีการตื่นตัว และมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น กำหนดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ เช่น
    Abraham Maslow ได้ศึกษาทฤษฎีความต้องการ
    Frederick Herzberg ได้ศึกษารูปแบบการจูงใจ
    การจัดการตามทฤษฎี Human Relation ได้มุ่งเน้นถึงความสำคัญของคน และ มีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ซึงเป็นการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นนั้น ปัจจัยที่เป็นตัวเงินนั้นยังไม่เพียงพอ แนวความคิดในยุคนี้จะมุ่งเน้นโดยให้ความสำคัญไปที่คน มากว่างาน
    ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน
    1. ทฤษฎีระบบ
    มององค์การเป็นระบบตามหน้าที่ ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และมององค์การในลักษณะ ระบบเปิด คือมีปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างจากทฤษฎีองค์การในยุคดั้งเดิม ซึ่งมององค์การเป็นระบบปิด คือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
    2. ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์
    มุ่งที่การปรับปรุงพฤติกรรมการจัดการตามสถานการณ์ เช่น เมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสิ่งแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลง เมื่อบุคคล/กลยุทธ์ขององค์การเปลี่ยนแปลง (ศุภิสรา นรินยา 12590717)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1.แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เกิดขึ้นในยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม จากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานโดยอาศัยวิธีการที่ได้จากการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองตากระบวนการซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งสามารถค้นพบวิธีที่ดีที่สุด
    2.แนวความคิดการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) แนวคิดนี้กิดจากความพยายามของนักคิดและนัวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ัดเจน คือการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3.แนวความคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Management Approach)แนวคิดนี้เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์และแนวคิดการจัดการเชิงบริหาร เกิดขึ้นจากการี่นักวิชาการและนักคิดยังคงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานด้วยการค้นคว้าทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ เป้นการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฟติกรรม "มนุษย์"ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึกและความคาดหวังของคนงาน ตลอดจนเป้าหมายและแรงจุงใจในการทำงานของคนงาน การค้นพบดังกล่าว เป็นเครื่องกระตุ้นให้นักวิชาการและักคิดให้ความสำคัญกับการศึกษาพฤติกรรมของมนัษย์มากขึ้น
    4.แนวความคิดการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่กองทัพสหรัฐอเมริกาเริ่มนำการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการบรหารจัดการ ตลอดจนช่วยในการตัดสินใจต่างๆ ทางการรบ การจัดการเชิงปริมาณจึงเป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ ตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ ในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาวิธีการและระบบต่างๆตามแนวคิดนี้อย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบที่ใช้งานกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน อาทิ ระบบสนับสนุนเพื่อการตัดสินใจ และ ระบบสนับสนุนเพื่อผู้บริหาร เป็นต้น
    5.แนวความคิดการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach)แนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆอาทิ การวางแผน การบริหารทรัพยากรบุคคล การประเมินผล การจ่ายค่าตอบแทน การควบคุม คลอดจนการเงินและการผลิตที่มีผลกระทบซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา การบริหารจัดการให้ระบบใหญ่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องคำนึงถึงการทำให้ระบบย่อยต่างๆทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
    (น.ส.ศศิพิมพ์ ชัยกุลพัฒนา 1259OO76)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการเริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจังในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มต้นจาก การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์เน้นการทดลองเพื่อให้ได้กระบวน การ ขั้นตอนและวิธีที่ดีที่สุดในการทํางานเพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุดหรือได้รับผลลัพธ์ดีที่สุด ในการทํางาน นักคิดและนักวิชาการยังกําหนด “แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร” ที่เสนอกฎเกณฑ์ และหลักการทางบริหารจัดการให้มีกระบวนวิธีที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจากนั้นเริ่มมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของ พนักงานจนพบว่าปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นผลผลิตของพนักงานขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยทาง การผลิต ได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งการค้นพบนี้ได้รับการพัฒนาเป็น “แนวคิดการจัดการ เชิงพฤติกรรมศาสตร์” ที่ให้ความสําคัญเกี่ยวกับคนและความรู้สึกนึกคิดของคนแนวคิดการจัดการมีพัฒนาการไปสู่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้นด้วย “แนวคิดการจัดการเชิง ปริมาณ” ที่เชื่อมั่นในการนําทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศมา ช่วยในการบริหาร “แนวคิดการจัดการร่วมสมัย” เสนอวิธีการที่หลากหลายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการ ด้วยการพิจารณาระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ ซึ่งเน้นให้ องค์กรให้ความสําคัญกับระบบต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อให้องค์กรซึ่งเป็นระบบใหญ่สามารถ ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ แนวคิดการจัดการตามสถานการณ์เสนอว่าผู้บริหารควร ใช้วิธีการบริหารงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ซึ่งจะเป็นผลให้การบริหารเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ
    แนวคิดแต่ละแบบจึงมีจุดเด่นของตนเอง ซึ่งผู้บริหารจะต้องศึกษาแนวคิดแต่ละแบบอย่าง ถ่องแท้และนํามาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ของแต่ละองค์กรเพื่อให้นํามาซึ่งประโยชน์และ ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง
    (นาย​สุก​ั​ลย์​ จันทร์​ตรี​12590087)​

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    วิวัฒนาการทางการจัดการ
    แนวคิดด้านการจัดการแบ่งออกได้ 4 แนวคิด
    1. หลักการเชิงประสิทธิภาพของงาน
    - การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เฟรดเดอริก วินสโลว์ เทย์เลอร์ (บิดาแห่งการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์) อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้วิธีที่ดีที่สุด (One Best Way) คือ จากการทดลองเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการทำงาน หลักการจัดการ 4 ประการ ได้แก่ 1.คิดค้นและกำหนด “วิธีที่ดีที่สุด” สำหรับงานนั้น 2.จัดหมวดหมู่งาน และ แบ่งความรับผิดชอบให้เหมาะสม คือ งานที่เหมือนกันควรอยู่ในหมวดเดียวกันเพราะจะได้ใช้คนที่มีความรู้ความสามารถที่เฉพาะทางจริงๆ 3.คัดเลือกคนงานที่เหมาะสมแล้วฝึกอบรมและพัฒนาตามวิธีการที่กำหนด 4.ฝ่ายบริหารประสานงานทำความเข้าใจกับคนงานอย่างใกล้ชิด
    - การจัดการเชิงบริหาร อองรี ฟาโยล์ (บิดาแห่งทฤษฎีการจัดการแนวใหม่) กิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ (Business Activities) หน้าที่ทางการจัดการ (Management Functions) คุณลักษณะของผู้นำที่ดี และหลักการจัดการ (Principles of Management)
    2. หลักการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (The behavior approach to management) ตามหลักของทฤษฎีเน้นหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนรอบข้างกับสังคมที่เขาทำงานร่วมกันซึ่งแนวคิดนี้มุ่งเน้นที่คนเป็นหลัก
    - การปรากฏตัวของจิตวิทยาอุตสาหกรรม
    - การศึกษาที่ฮอว์ทจริน
    - ทฤษฎีระบบสังคม
    - พฤติกรรมองค์กร
    3. หลักการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) หลักการวิทยาศาสตร์ + การจัดการ เป็นวิธีการจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์ ช่วยในการตัดสินใจ และวิธีการเชิงระบบเทคนิคของการบริหารศาสตร์
    - บริหารศาสตร์
    - การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
    4. หลักการจัดการร่วมสมัย เริ่มให้ความสำคัญกับบุคคลมากขึ้น และนำระบบหลายๆแนวความคิดมาประยุคใช้
    - การจัดการเชิงระบบ (System Approach)
    - การจัดการตามสถานการณ์
    (ณัฐฌา ปักกัง 12590019)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    2.จงอธิบายลำดับการพัฒนาทางการจัดการตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบัน
    ตอบ : แนวคิดทางการจัดการเริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจังในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มต้นจากการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ “แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์” เน้นการทดลองเพื่อให้ได้กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีที่ดีที่สุดในการทำงานเพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุดหรือได้รับผลลัพธ์ดีที่สุดในการทำงาน นักคิดและนักวิชาการยังกำหนด “แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร” ที่เสนอกฎเกณฑ์และหลักการทางบริหารจัดการให้มีกระบวนการวิธีที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และพัฒนามาเป็นยุคที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ได้รับการพัฒนามาเป็น “แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์”
    แนวคิดการจัดการมีพัฒนาการไปสู่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้นด้วย “แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ” ที่เชื่อมั่นในการนำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหาร และมาถึง”แนวคิดการจัดการร่วมสมัย” ซึ่งเสนอแนวคิดและวิธีการจัดการในหลากหลายรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างน่าสนใจ
    นางสาวสุดารัตน์ สุขสาม (รหัส 12590090)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ลำดับของการพัฒนาการทางการจัดการเริ่มต้นดังนี้
    เริ่มจากการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์โดยเน้นการทดลองเพื่อให้ได้กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีที่ดีที่สุดในการทำงานเพื่อลดการสูญเสียให้มากมี่สุดหรือได้รับผลดีที่สุดในการทำงาน
    จากนั้นเริ่มมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของพนักงานจนพบว่าปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นผลผลิตของพนักงานขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆที่ไม่ใช่ปัจจัยทางการผลิต ได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งการค้นพบนี้ได้รับการพัฒนาเป็น แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคนและความรู้สึกนึกคิดของคน
    ต่อมาได้มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นด้วย แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ ที่เชื่อมั่นในการนำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหาร
    แนวคิดการจัดการร่วมสมัย เสนอวิธีการที่หลากหลายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ด้วยการพิจารณาระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เน้นให้องค์กรให้ความสำคัญกับระบบต่างๆภายในองค์กร

    นางสาวกุลปริยา แย้มเกษร 12590005

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ลำดับของการพัฒนาการทางการจัดการตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบัน
    - แนวคิดทางการจัดการต่างๆ มีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน คือการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยแบ่งแนวคิดทางการจัดการออกเป็น 5 ยุค
    1. แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน คือการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Management Approach) ศึกษาปัจจัยทร่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึก และความคาดหวังของคนงาน ตลอดจนเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของคน
    4. แนวคิดเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดแบบร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    (น.ส.ดารารัตน์ ดาสาลี 12590030)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    วิวัฒนาการทางการจัดการ
    หลักการจัดการเชิงประสิทธิภาพของงาน
    - มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงาน
    - เน้นเรื่องผลผลิต
    - การจูงใจคนให้ทำงานต้องคำนึงถึงความต้องการของเขา
    - พยายามค้นศาสตร์ทางการจัดการ

    1)การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
    Frederick W. Taylor ได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาแห่งการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์”(วิทยา, 2546 : 47) Taylor ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทำงานของคนงานแล้วพบว่าแต่ละคนทำงานตามแบบที่ตัวเองอยากทำโดยขาดแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน จากปัญหานี้ Taylor เชื่อว่าสามารถแก้ไขโดยให้หัวหน้าคนงานสอนวิธีการทำงานที่ถูกต้องให้กับพนักงานทุกคน นอกจากนี้ Taylor ยังศึกษาเวลากับการเคลื่อนไหว (Time and Motion Study) ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์เวลากับความเคลื่อนไหวในการทำงานเพราะ Taylor ต้องการที่จะพัฒนาหรือหาวิธีการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่งจากการศึกษาในเรื่อง Time and motion study
    Taylor ได้วิเคราะห์เวลาทั้งหมดที่ต้องการให้งานเสร็จแล้วต้องค้นหาเวลาที่เหมาะสมกับ
    งานแต่ละชิ้นเพื่อนำมาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานเพื่อให้คนงานถือปฏิบัติซึ่งข้อสรุปนี้คือต้องแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ แล้วให้คนงานทำงานในแต่ละส่วนของตนเอง ส่วนในเรื่องการจูงใจให้คนทำงานนั้น Taylor ใช้วิธีการจ่ายค่าตอบแทนตามจำนวนผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างว่า “ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย” ซึ่ง Taylor เชื่อว่าเป็นระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล

    2)การจัดการเชิงบริหาร ( Administrative Management)
    การจัดการเชิงบริหารจะเน้นและให้ความสำคัญกับผู้บริหารเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีความเชื่อว่าหลักการจัดการอันเป็นสากลสามารถทำให้องค์การประสบความสำเร็จ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้ ได้แก่
    1. Henri Fayol
    ตามแนวความคิด Fayol เชื่อว่าการบริหารเป็นสิ่งที่สามารถสอนกันได้ดังนั้น Fayol จึงพยายามสร้างหลักการต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้บริหารหลักการบริหารหรือหน้าที่ทางการตามหลัก Fayol คือ
    1. การวางแผน
    2. การจัดองค์การ
    3. การสั่งการ
    4. การประสานงาน
    5. การควบคุม

    3)หลักการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (The behavior approach to management) ตามหลักของทฤษฎีเน้นหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนรอบข้างกับสังคมที่เขาทำงานร่วมกันซึ่งแนวคิดนี้มุ่งเน้นที่คนเป็นหลัก
    ในยุคนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรมคือ Hugo Minstberg แนวความคิดของ Minstberg เขาให้ความสำคัญกับคนงาน เป้าหมายในการศึกษาของเขาคือสภาพจิตใจของคนงานกับตำแหน่งงานที่เขาทำเหมาะสมหรือไม่ และจะทำอย่างไรให้คนงานเกิดความพึงพอใจมากที่สุด ประการสุดท้าย คือธุรกิจจะมีอิทธิพลต่อคนงานในแง่ที่ว่าสามารถช่วยให้คนงานบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ดังนั้น Hugo Minstberg จึงเริ่มทาการศึกษาและทดลองการศึกษาที่
    ฮอว์ททอร์น (The Hawthrone Studies)                                                    
    1. ระยะแรก – ศึกษาผลกระทบของสภาวะแวดล้อมของการทำงานที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของคนงาน โดยทำการทดลองปรับเปลี่ยนสภาพแสงสว่างในการทำงาน ผลที่ได้ คือ แสงสว่างไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตที่คนงานผลิตได้
    2. ระยะที่ 2 – พยายามทดสอบผลกระทบของตัวแปรอื่น ๆ เช่น การจัด ปรับช่วงเวลาพักผ่อนให้ สั้น / ยาว และวิธีการจ่ายค่าตอบแทน ผลที่ได้คือ ไม่เปลี่ยนแปลง
    3. ระยะที่ 3 – เป็นการพูดคุยและสัมภาษณ์คนงาน พบว่าตัวแปรที่เกี่ยวกับบุคคลและสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในการปฏิบัติงาน
    4. ระยะสุดท้าย – ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต่าง ๆ แต่งานที่ให้ทำมีทั้งงานที่ทำส่วนบุคคลและกลุ่ม ผลที่ได้พบว่ามาตรการทางสังคม (ใครทำได้ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดให้ในแต่ละวันถือว่าไร้สมรรถภาพแต่ถ้าทำได้สูงกว่าถือว่าอยากดัง)

    4)หลักการจัดการเชิงปริมาณ
    หลักการจัดการเชิงปริมาณ หรือการจัดการบริหารศาสตร์ เป็นวิธีการจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์ ช่วยในการตัดสินใจ และวิธีการเชิงระบบเทคนิคของการบริหารศาสตร์
    1. ไม่ได้เน้นถึงปัจจัยบุคคลอย่างเพียงพอ เพราะบุคคลเป็นพฤติกรรมจึงยากที่จะเขียนออกมาในลักษณะคณิตศาสตร์
    2. การบริหารศาสตร์เป็นเรื่องของการพิจารณาปัญหา หรือกระบวนการบริหารโดยส่วนรวม
    3. การอธิบายและแก้ปัญหาอาจจะนำเสนอในรูปของสูตร และแบบจำลอง โดยไม่คำนึงถึงพฤติกรรม
    4. การนำเอารูปแบบทางการบริหารมาใช้เป็นเรื่องต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง

     นางสาว ศิฌาวี เรือนปัญจะ (12590078)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    William G. Scott ได้แบ่งวิวัฒนาการทางการจัดการ ตั้งแต่เริ่มแรกหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบันอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค คือ
    ยุคที่ 1 ยุคการจัดการสมัยเดิม (Classic) (ค.ศ. 1880 – 1930)
    1. การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
    Frederick W.Taylor ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
    หลักของ Taylor คือ “Principles of Scientific Management”
    1) ใช้หลักวิทยาศาสตร์
    2) ยอมรับความกลมกลืนในกิจกรรมกลุ่ม
    3) มุ่งสู่ความร่วมมือของมนุษย์
    4) ทำงานเพื่อผลผลิตสูงสุด
    5) พัฒนาคนงานทุกคนให้ใช้ความสามารถสูงสุดและสร้างความมั่นคงสูงสุดให้องค์การ
    2. การจัดการตามระบบราชการ
    ในยุคการจัดการสมัยเดิม มีแนวคิดที่สำคัญอีกแนวคิดหนึ่งก็คือ ทฤษฎีการบริหารงานระบบราชการ โดย Max Weber นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1900 ซึ่ง Weber เชื่อว่า แนวคิดนี้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน ซึ่งพอจะสรุปหลักการได้ดังนี้
    1) มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้านตามความถนัดอย่างเหมาะสมอย่างชัดเจนและสัมพันธ์กัน
    2) มีการจัดลำดับชั้นของอำนาจหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน และลดลั่นกันลงมา
    3) ใช้ระบบของกฎเป็นหลักประกันของการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และขจัดความไม่แน่นอนในการปฏิบัติงาน
    4) เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นทางการ ไม่เป็นส่วนตัว (impersonal)
    5) การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งจะพิจารณาบนพื้นฐานของความมีอาวุโสและความสำเร็จ
    6) มุ่งเน้นการเก็บบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานในอนาคต
    3. การจัดการตามหลักการบริหาร
    Henri Fayol ถือว่าเป็น บิดาของทฤษฎีการจัดการตามหลักการบริหาร
    หลักทั่วไปของการจัดการ เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้จัดการ มี 14 ข้อ
    1) การแบ่งงานกันทำ
    2) อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
    3) ความมีระเบียบวินัย
    4) การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
    5) การมีเป้าหมายเดียวกัน
    6) ผลประโยชน์ส่วนตัวมีความสำคัญน้อยกว่าผลประโยชน์ขององค์การ
    7) ค่าตอบแทนและวิธีการจ่ายค่าตอบแทนควรจะยุติธรรม
    8) การรวมอำนาจ ต้องกำหนดระดับการรวมอำนาจและการกระจายอำนาจที่เหมาะสม
    9) มีสายการบังคับบัญชา
    10) คำสั่ง องค์การจะกำหนดตำแหน่งหน้าที่สำหรับทุกคน
    11) หลักความเสมอภาค ความเมตตา และความยุติธรรม
    12) ความมั่นคงในงาน
    13) ความคิดริเริ่ม
    14) ความสามัคคี
    ยุคที่ 2 ยุคการจัดการสมัยใหม่ (Neo-classic) (ค.ศ. 1930-1950)
    1. การบริหารแนวมนุษยสัมพันธ์
    เปลี่ยนแปลงแนวความคิดจากที่ว่า “คนเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ และไม่มีความสำคัญ ต่อสายการผลิต” มาเป็น “คนเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ และเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง”
    การจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Approach)
    จากการค้นพบแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์ จึงทำให้มีการตื่นตัว และมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษา และกำหนดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ เช่น
    Abraham Maslow ได้ศึกษาทฤษฎีความต้องการ
    Frederick Herzberg ได้ศึกษารูปแบบการจูงใจ
    Ralph M. Stogdill ได้ศึกษาผู้นำในองค์การ
    Kurt Lewin และเพื่อน ได้ศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของกลุ่ม
    Chester Barnard ได้ศึกษาทฤษฎีอำนาจหน้าที่ที่เกิดจากการยอมรับ
    การจัดการตามทฤษฎี Human Relation ได้มุ่งเน้นถึงความสำคัญของคน และ มีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ซึงเป็นการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นนั้น ปัจจัยที่เป็นตัวเงินนั้นยังไม่เพียงพอ แนวความคิดในยุคนี้จะมุ่งเน้นโดยให้ความสำคัญไปที่คน มากว่างาน ถือว่าคน เป็นหัวใจของการบริการที่จะต้องคำนึกถึงเป็นอันดับแรก จะต้องพยายามปรับวิธีการทำงานที่ให้คนพึงพอใจมีอิสระที่จะคิดริเริ่มเพื่อสร้างสรรค์ในทางต่าง ๆ
    ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน (Modern) (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน)
    1. ทฤษฎีระบบ
    มององค์การเป็นระบบตามหน้าที่ ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และมององค์การในลักษณะ ระบบเปิด คือมีปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างจากทฤษฎีองค์การในยุคดั้งเดิม ซึ่งมององค์การเป็นระบบปิด คือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
    2. ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์
    มุ่งที่การปรับปรุงพฤติกรรมการจัดการตามสถานการณ์ เช่น
    เมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสิ่งแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลง เมื่อบุคคล / กลยุทธ์ขององค์การเปลี่ยนแปลง เป็นการประสมประสาน 3 ทัศนะ คือ
    1) หลักวิทยาศาสตร์หรือเหตุผล
    2) พฤติกรรมศาสตร์
    3) เชิงปริมาณ
    (นางสาวภัทรานิษฐ์ กุญแจทอง 12590059)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    การพัฒนาการทางแนวคิดในแต่ละยุค
    เริ่มจากแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ 1890เฟรดเดอริก วินสโลว์ เทย์เลอร์ (บิดาแห่งการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์) อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้วิธีที่ดีที่สุด (One Best Way) คือ จากการทดลองเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการทำงาน Ex.วิธีทำไข่เขียว ทำอย่างไรให้อร่อยที่สุด
    หลักการจัดการ 4 ประการ
    - คิดค้นและกำหนด “วิธีที่ดีที่สุด” สำหรับงานนั้น
    - จัดหมวดหมู่งาน และ แบ่งความรับผิดชอบให้เหมาะสม
    คือ งานที่เหมือนกันควรอยู่ในหมวดเดียวกันเพราะจะได้ใช้คนที่
    มีความรู้ความสามารถที่เฉพาะทางจริงๆ
    -คัดเลือกคนงานที่เหมาะสมแล้วฝึกอบรมและพัฒนาตามวิธีการที่
    กำหนด
    -ฝ่ายบริหารประสานงานทำความเข้าใจกับคนงานอย่างใกล้ชิด
    แฟรงค์ และ ลิเลียน กิลเบอร์ต
    -เป็นต้นแบบในการพัฒนาศาสตร์ เออกอนอมิกส์ (Ergonomics)
    คือ การพัฒนาวิธีการงานให้มันล้อกับการยศาสตร์
    การลดการเครื่องไหวในการทำงาน
    เฮนรี่ แกนท์
    -เป็นผู้คิดค้น Gantt Chart(เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผน)

    แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร 1910
    Administrative Management Approach อองรี ฟาโยล์ (บิดาแห่งทฤษฎีการจัดการแนวใหม่)
    -กิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ (Business Activities)
    กิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ 6 ประการ
    1.เทคนิคและการผลิต (Technical and Production)
    2.การพาณิชย์ (Comerical)
    3.การเงิน (Financial)
    4.ความมั่งคั่ง (Security)
    5.การบัญชี (Accounting)
    6.การจัดการ (Management)
    -หน้าที่ทางการจัดการ (Management Functions)
    1.การวางแผน (planning)
    2.การจัดองค์กร (organizing)
    3.การบังคับบัญชา (commanding)
    4.การประสานงาน (coordinating)
    5.การควบคุม (controlling)
    -คุณลักษณะของผู้นำที่ดี
    1. มีร่างกายแข็งแรง (ไม่จำเป็นต้องครบ 32)
    2. มีสติปัญญา
    3. มีความรู้
    4. มีความสามารถ
    5. มีประสบการณ์
    -หลักการจัดการ (Principles of Management)
    1.การแบ่งงานกันทำ (Division of Work)
    2.อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
    (Authority and Responsibilities)
    3.ระเบียบวินัย (Discipline)
    4.เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
    5.เอกภาพในแนวทาง (Unity of Direction)
    6.ประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองประโยชน์ส่วนรวม
    (Subordination of Individual to General Interest)
    7.ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)
    8.การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)
    9.การจัดสายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)
    10.ลำดับขั้นในการบังคับบัญชา (Order)
    11.ความเสมอภาค (Equity)
    12.ความมั่นคงในการจ้างงาน (Stability of Tenure)
    13.ความคิดริเริ่ม (Initiative)
    14.ความสามัคคี (Esprit de Corps)

    แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์
    Behavioral Management Approach ได้มาจากการวิจัย จอร์จ อี. เมโย (George E. Mayo)
    ศึกษาที่ฮอว์ ธอร์น (Hawthorne Studies) วัตถุประสงค์ : หาความสัมพันธ์ของระดับแสงสว่างกับผลผลิต ระยะเวลาการศึกษา : ค.ศ.1924 – 1927
    **สมมติฐาน : แสงสว่างลดลง ผลผลิตลดลง
    **ผลการทดสอบ : แสงสว่างลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น
    สรุปผลการทดลอง
    -การแบ่งกลุ่มขนาด เล็ก ช่วยทำให้ผลผลิตมีเพิ่มขึ้น
    -มีการควบคุมโดยหัวหน้างาน โดยเหมาะสม
    -พนักงานรู้สึกแปลกใหม่ต่อสถานการณ์
    -พนักงานให้ความสนใจกับการทดลอง
    -มีปัจจัยอื่นนอกจากแสงสว่างซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิต
    **มีการศึกษาต่อมาอีกหลายระยะ
    พบว่า พฤติกรรมที่มีผลต่อผลผลิต เช่น การสื่อสารระหว่างหัวหน้างานและคนงาน เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนงานปัจจัยจูงใจที่มีผลกระทบต่อผลผลิต เช่น ค่าตอบแทน (โบนัส) อารมณ์ (โมโห บริการแย่) และความสัมพันธ์ของกลุ่ม

    แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ
    Quantitative Management Approach เป็น หลักการวิทยาศาสตร์ + การจัดการ

    แนวคิดการจัดการร่วมสมัย (เริ่มให้ความสำคัญกับบุคคลมากขึ้น)
    Contemporary Management Approach การนำระบบหลายๆแนวความคิดมาประยุคใช้)
    แนวคิดเรื่องระบบ (System Approach)
    - การวางแผน
    - การบริหารทรัพยากรบุคคล
    - การประเมินผล
    - การจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน เพื่อให้เกิดความเหมาะสม
    - การควบคุมการดำเนินงาน
    รัญชริดา มะนุ่น 12590067

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งส่งผลกระทบในเกือบทุกแง่มุมของชีวิตประจำวันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือการที่รายได้และจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยเริ่มที่จะขยายตัวอย่างยั่งยืนในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้สองร้อยปีหลังจาก ค.ศ. 1800 ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวของโลกขยายตัวมากกว่าสิบเท่า ในขณะที่จำนวนประชากรขยายตัวมากกว่าหกเท่า

    กระบวนการเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ด้วยการเปลี่ยนผ่านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาแรงงานคนและสัตว์เป็นหลักไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเครื่องจักรเป็นหลักของสหราชอาณาจักร โดยเริ่มในอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมแรก อันเป็นผลมาจากการพัฒนากรรมวิธีการหลอมเหล็กและความนิยมในการใช้ถ่านหินโค้กที่แพร่หลายขึ้น การขยายตัวของการค้าขายเป็นผลมาจากการพัฒนาคลอง ถนน และทางรถไฟ ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเกษตรกรรมไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิต ทำให้เกิดการไหลบ่าของประชากรจากชนบทเข้าสู่เมืองขนานใหญ่ และก่อให้เกิดการขยายตัวของจำนวนประชากร
    (นางสาวณัฎฐา กลมศิลป์ 12590018)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1.ทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Theory)
    1.1 แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
    1.2 แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management)
    2.ทฤษฎีและแนวความคิดดั้งเดิมแบบสมัยใหม่ (Neo – Classical Theory of Organization)
    2.1 แนวความคิดการจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)
    3.ทฤษฎีและแนวความคิดแบบสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization)
    นาย ดนุสรณ์ เลิศเศรษฐี 12590028

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด


    แนวคิดทางการจัดการ แบ่งเป็น 5 แนวทาง
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคดั้งเดิม ทำให้เกิดมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมจากที่เกิดจากนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง และวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ซึ่งคล้ายกับหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
    2. แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง
    3.ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานทฤษฎีนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมน ๆ ควรเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือพิจารณาในรูปของการทดลองและการวัดได้
    4.ทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นวิธีการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานและการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เชิงปริมาณสถิติตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณเป็นวิธีการที่ปรากฏในปัจจุบันประกอบด้วยหลายสาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์การจัดการ (Management Scence) การจัดการเชิงปฏิบัติการ (Operation Management) และระบบสารสนเทศทางการจัดการ (Management Information System)
    5.ทฤษฎีการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) แนวคิดการจัดการร่วมสมัยเป็นการพัฒนาหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์การอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันมีแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้ (อังคณา พิทักษ์สุข 12590104)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แบ่งออกเป็น 5 แนวทาง ดังนี้
    1. แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ แนวคิดนี้เริ่มในช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือประมาณปี ค.ศ 188 เป็นต้นมาจนถึงปี 1930 ในยุคนี้ได้ใช้หลักวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาช่วยในการบริหารการจัดการ ทาให้ระบบบริหารการจัดการแบบโบราณได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้รับการยอกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์หรือบิดาของวิธีการจัดการที่มีหลักเกณฑ์
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน คือการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. การจัดการเชิงพฤติกรรม ตามหลักของทฤษฎีเน้นหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนรอบข้างกับสังคมที่เขาทำงานร่วมกันซึ่งแนวคิดนี้มุ่งเน้นที่คนเป็นหลัก
    4. แนวคิดเชิงปริมาณ คือมุมมองการจัดการโดยใช้ตัวเลข เป็นความพยายามที่จะนำคณิตศาสตร์ และตัวเลขมาใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจทางการจัดการ โดยพื้นฐานของการตัดสินใจทางด้านการจัดการโดยใช้ตัวเลขนี้มาจากข้อสมมุติฐานที่ว่า เทคนิคทางด้านคณิตศาสตร์สามารถที่จะใช้แก้ปัญหาได้ดีกว่าการที่ไม่ได้ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย
    5. แนวคิดการจัดการร่วมสมัยซึ่งในขณะนี้เศรษฐกิจ และธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วความสลับซับซ้อนในการบริหารการจัดการก็มากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดการสมัยใหม่ จึงต้องใช้หลักทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจ ตลอดจนการจัดการเชิงระบบมาช่วย
    (อรณิชา ศรีสมัย 12590102)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    2. การพัฒนาการทางการจัดการเริ่มต้นศึกษาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มจาก
    1.แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เน้นการทดลองเพื่อให้ได้กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2.แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร นักคิดและนักวิชาการกำหนดแนวคิดนี้ขึ้นมาเพื่อเสนอกฎเกณฑ์และหลักการทางบริหารจัดการให้มีกระบวนวิธีที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
    3.แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ คือ การให้ความสำคัญเกี่ยวกับคนและความรู้สึกนึกของคน
    4.แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ คือ การนำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหาร
    5.แนวคิดการจัดการร่วมสมัย จะเสนอวิธีการที่หลากหลายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ด้วยการพิจารณาระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ ซึ่งเน้นให้องค์กรให้ความสำคัญกับระบบต่างๆ ภายในองค์กร
    (นางสาวอรวี ศรีวิโน 12590103)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1. แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จะใช้วิธีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้ววัดผลการทดลอง ทำกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้ได้วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง จนค้นพบวิธีที่ดีที่สุด One Best Way
    2. แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร ได้มีการริเริ่มกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ จะเกี่ยวข้องกับคนและความรู้สึกนึกคิด
    4. แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์สถิติ ตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดการจัดการร่วมสมัย เป็นการเสนอวิธีการที่หลากหลายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ
    (นางสาวกชกร เดชกำแหง 12590001)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด


    แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน โดยอาศัยวิธีที่ได้จากการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์
    แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นหลักการบริหารที่ชัดเจน คือ กิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์และแนวคิดการจัดการเชิงบริหาร ซึ่งนักวิชาการและนักคิดมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคนงาน โดยมองถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึกและความคาดหวังของคนงานด้วย ตลอดจนแรงจูงใจในการทำงานของคนงาน
    แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพสหรัฐอเมริกานำมาใช้บริหารจัดการและช่วยในการตัดสินใจ คำนวณหาปริมาณการจัดสรรและใช้ทรัพยากรเพื่อการสงคราม ซึ่งแตกแขนงสาขาออกไปเป็น วิทยาศาสตร์การจัดการ การจัดการการดำเนินงาน และระบบสารสนเทศทางการจัดการ
    แนวคิดการจัดการร่วมสมัย เป็นการพัฒนาวิธีการต่างๆมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น และนำวิธีหลายประการมาประยุกต์ใช้ เช่น แนวคิดระบบ เป็นการมองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ จึงต้องใส่ใจกับระบบย่อยต่างๆให้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะระบบย่อยเหล่านี้จะมีผลกระทบซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา
    (วริศ เอี๊ยวชัยพร 070)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคดั้งเดิม ทำให้เกิดมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมจากที่เกิดจากนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง และวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ซึ่งคล้ายกับหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์

    2. แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง

    3.ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานทฤษฎีนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมน ๆ ควรเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือพิจารณาในรูปของการทดลองและการวัดได้

    4.ทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นวิธีการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานและการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เชิงปริมาณสถิติตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณเป็นวิธีการที่ปรากฏในปัจจุบันประกอบด้วยหลายสาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์การจัดการ (Management Scence) การจัดการเชิงปฏิบัติการ (Operation Management) และระบบสารสนเทศทางการจัดการ (Management Information System)

    5.ทฤษฎีการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) แนวคิดการจัดการร่วมสมัยเป็นการพัฒนาหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์การอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันมีแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้
    (น.ส.สุชานรี เวียนมานะ 12590089)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการแต่ละแนวมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน คือ การทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยแบ่งแนวคิดทางการจัดการได้ออกเป็น 5 ยุค ดังนี้
    1.แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientic Management Approach) เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุสาหกรรม โดยมีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่าง ๆ ทำการทดลองตามกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำอีกจนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิสูงขึ้น จนกระทั่งสามารถค้นพบวิธีที่ดีที่สุด
    2.แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร(Adminiistrative Management Approach) เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน คือ การริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3.แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral Management Approach) เกิดขึ้นจากนักวิชาการและนักคิดยังคงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานด้วยการค้นคว้า เป็นการศึกษาที่มีอิทธิพลและวางรากฐานการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเวลาต่อมา โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพียงเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับของแสงสว่างในสถานที่ทำงานกับผลผลิตของคนงาน
    4.แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ(Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ ตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ ระบบพัฒนาการตัดสินใจ และระบบสนับสนุนเพื่อผู้บริหาร
    5.แนวคิดการจัดการร่วมสมัย(Contemporary Management Approach) ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรอย่างต่อเนื่อง เช่น แนวคิดเรื่องระบบ เป็นการมององค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ โดยบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
    (นางสาวศศิประภา ผาดศรี 12590075)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการบริหารการจัดการได้วิวัฒนาการเรื่อยมาเป็นลาดับ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

    1. แนวคิดก่อนยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Pre– Scientific Management ) ในยุคนี้เป็นยุคก่อนปี ค.ศ. 1880 ซึ่งการบริหารในยุคนี้อาศัยอำนาจหรือการบังคับให้คนงานทางานซึ่งวิธีการบังคับอาจใช้การลงโทษ การใช้แส้ การทางานในยุคนี้เปรียบเสมือนทาส คนในยุคนี้จึงต้องทางานเพราะกลัวการลงโทษ

    2. แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Scientific Management ) แนวคิดนี้เริ่มในช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือประมาณปี ค.ศ 188 เป็นต้นมาจนถึงปี 1930 ในยุคนี้ได้ใช้หลักวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาช่วยในการบริหารการจัดการ ทาให้ระบบบริหารการจัดการแบบโบราณได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้รับการยอกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์หรือบิดาของวิธีการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ โดยได้ศึกษาหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมโดย Taylor ได้เข้าทางานครั้งแรกในโรงงานที่เพนซิลวาเนีย เมื่อปี ค.ศ.1878 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำมากการบริหารงานขาดประสิทธิภาพ ไม่มีมาตรฐานในการประเมินผลงานของคนงาน การแบ่งงานไม่เหมาะสม การตัดสินใจขาดหลักการและเหตุผลสาหรับการศึกษาที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ ( The Scientific Approach ) มีส่วนประกอบสำคัญ 3ลักษณะคือ

    1. มีแนวคิดที่ชัดเจน ( Clear Concept ) แนวความคิดต้องชัดเจนแน่นอนในสิ่งที่จะวิเคราะห์

    2. วิธีทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific ) สาขาพิจารณาข้อเท็จจริงได้ทางวิทยาศาสตร์หรือสังเกตได้ แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาทาการทดสอบความถูกต้อง ถ้าเป็นจริงก็คือหลักเกณฑ์(Principles)

    3.ทฤษฎี ( Theory ) หมายถึง การจัดระบบความคิดและหลักเกณฑ์มารวมกันเพื่อได้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

    3. แนวคิดการจัดการยุคมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation )แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ที่เน้นประสิทธิภาพของการทางาน และมองข้ามความสำคัญของคน เห็นว่ามนุษย์ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีความต้องการมากนัก มีพฤติกรรมที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดยอาศัยโครงสร้างขององค์การมาเป็นตัวกำหนด และควบคุม ให้มนุษย์ทางานให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งยุคมนุษย์สัมพันธ์นั้นเป็นแนวคิดที่อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ 1930 – 1950 เนื่องจากเล็งเห็นว่า การจัดการใด ๆ จะบรรลุผลสำเร็จได้นั้นจะต้องอาศัยคนเป็นหลัก ดังนั้นแนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ จึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จึงทาให้เรื่องราวของมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation ) กลับมามีบทบาทสำคัญมากขึ้นนักวิชาการสำคัญที่ให้การสนับสนุนและศึกษาแนวคิดซึ่งจุดประสงค์ก็คือต้องการเข้าใจพฤติกรรมของคนในหน้าที่งานที่จัดไว้ให้ ปรากฏว่าคนทางานมิใช่ทางานเพื่อหวังผลตอบแทนด้วยตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่คนทางานต้องการด้านสังคมภายในกลุ่มที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ที่เป็นเรื่องของจิตใจ ตลอดจนความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนงานด้วยกัน

    การศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาทดลองออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

    1. การศึกษาทดลองภายในห้อง (Room Studies) ได้ทาการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างภายในห้องทางาน เพื่อสังเกตประสิทธิของการทางานว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

    2. การศึกษาโดยการสัมภาษณ์ ( Interviewing Studies ) การทดลองนี้ก็เพื่อค้นหาความเปลี่ยนแปลงในการทางานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของการทางานและการบังคับบัญชา

    3. การศึกษาโดยการสังเกต ( Observation Studies ) เป็นการสังเกตการทางานของคนและปัจจัย

    อื่นๆจากการทดลองนี้ได้ประโยชน์หลายประการ

    4. แนวคิดการจัดการยุคการบริหารสมัยใหม่ ( Modern Management )ซึ่งในขณะนี้เศรษฐกิจ และธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วความสลับซับซ้อนในการบริหารการจัดการก็มากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดการสมัยใหม่ จึงต้องใช้หลักทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจ ตลอดจนการจัดการเชิงระบบมาช่วย แต่อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างเช่น คนเป็นระบบ เพราะในร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วย อวัยวะ ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างอัตโนมัติ ระบบจึงถือเป็น Grand Theory เป็นทฤษฎีขนาดใหญ่ เพราะมีระบบย่อยหรือสิ่งต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การไม่ว่าภายในหรือภายนอก ล้วนแต่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้นการบริหารการจัดการจึงต้องปรับตัวให้มีความสมดุลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าว จึงจะทาให้องค์การเติบโต อยู่รอด และสัมฤทธิผลตามเป้าหมาย
    (นางสาวณัฐพร ทองปลิว 12590024)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ⭐️แนวคิดทางการจัดการ เริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจังในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มต้นจากการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์
    ⭐️แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เน้นการทดลอวเพื่อให้ได้กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีที่ดีที่สุดในการทำงานเพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุดหรือได้รับผลลัพธ์ดีที่สุดในการทำงาน
    ⭐️แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร ที่เสนอกฑฝฎเกณฑ์และหลักการทางบริหารจัดกานให้มีกระบวนวิธีที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เนิ่มมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของพนักงานจนพบว่าปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นผลผลิตของพนักงานขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยทางการผลิต จึงค้นพบแนวคิดใหม่
    ⭐️แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคนและความรู้สึกนึกคิดของคน
    ⭐️แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ ที่เชื่อมั่นในการนำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหาร
    ⭐️แนวคิดการจัดการร่วมสมัย เสนอวิธีที่หลากหลานในการบริหารจัดการ ด้วยการพิจารณาระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ ซึ่งเน้นให้องค์กรให้ความสำคัญกับระบบต่างๆภายในองค์กร เพื่อให้องค์กรซึ่งเป็นระบบใหญ่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ⭐️สุดท้ายนี้ แนวคิดแต่ละแบบมีจุดเด่นของตนเอง ซึ่งผู้บริหารจะต้องศึกษาแนวคิดแต่ละแบบอย่างถ่องแท้ และนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ของแต่ละองค์กรเพื่อให้นำมาซึ่งประโยชน์และประสิทธิภาพในการบริหารจัดกสรอย่างแท้จริง
    #นางสาววชิราพร คำกอง 12590068

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    โดยลำดับของการพัฒนาการทางการจัดการดังนี้
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) มีการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความรู้สึก และความคาดหวังของคนงาน
    4. แนวคิดทางการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดทางการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    โดยแนวคิดทางการจัดการแต่ละแนวมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันคือ การทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

    (นางสาวจุฬาลักษณ์ สกุลวงวาร 12590010)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    William G. Scott ได้แบ่งวิวัฒนาการทางการจัดการ ตั้งแต่เริ่มแรกหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบันอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค คือ
    ยุคที่ 1 ยุคการจัดการสมัยเดิม (Classic) (ค.ศ. 1880 – 1930)
    1. การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
    1) ใช้หลักวิทยาศาสตร์
    2) ยอมรับความกลมกลืนในกิจกรรมกลุ่ม
    ยุคที่ 2 ยุคการจัดการสมัยใหม่ (Neo-classic) (ค.ศ. 1930-1950)
    1. การบริหารแนวมนุษยสัมพันธ์
    เปลี่ยนแปลงแนวความคิดจากที่ว่า “คนเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ และไม่มีความสำคัญ ต่อสายการผลิต” มาเป็น “คนเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ และเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง”
    การจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Approach)
    จากการค้นพบแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์ จึงทำให้มีการตื่นตัว และมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษา และกำหนดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ
    ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน (Modern) (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน)
    1. ทฤษฎีระบบ
    มององค์การเป็นระบบตามหน้าที่ ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และมององค์การในลักษณะ ระบบเปิด คือมีปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างจากทฤษฎีองค์การในยุคดั้งเดิม ซึ่งมององค์การเป็นระบบปิด คือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
    2. ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์
    มุ่งที่การปรับปรุงพฤติกรรมการจัดการตามสถานการณ์ เช่น
    เมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสิ่งแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลง เมื่อบุคคล / กลยุทธ์ขององค์การเปลี่ยนแปลง เป็นการประสมประสาน 3 ทัศนะ คือ
    1) หลักวิทยาศาสตร์หรือเหตุผล
    2) พฤติกรรมศาสตร์
    3) เชิงปริมาณ
    (นางสาวบุญธิดา กะตะศิลา 12590043)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1.ทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Theory)
    1.1 แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
    1.2 แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management)
    2.ทฤษฎีและแนวความคิดดั้งเดิมแบบสมัยใหม่ (Neo – Classical Theory of Organization)
    2.1 แนวความคิดการจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)
    3.ทฤษฎีและแนวความคิดแบบสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization)
    (นายธีรภัทร์ จำปาเรือง 12590039)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการต่างๆ มีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน คือการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยแบ่งแนวคิดทางการจัดการออกเป็น 5 ยุค
    1.แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2.แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน คือการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3.แนวคิดเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Management Approach) ศึกษาปัจจัยทร่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึก และความคาดหวังของคนงาน ตลอดจนเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของคน
    4.แนวคิดเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5.แนวคิดแบบร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    (นายสจัจจะ ปฎิบัติดี 12590081)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    โดยลำดับของการพัฒนาการทางการจัดการดังนี้
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) มีการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความรู้สึก และความคาดหวังของคนงาน
    4. แนวคิดทางการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดทางการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    โดยแนวคิดทางการจัดการแต่ละแนวมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันคือ การทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

    (นายวัชระ จริยสุขสกุล 12590071)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ทฤษฎีการบริหารจัดการนั้นเริ่มต้นขึ้นในช่วงที่เริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี ค.ศ.1760 เรื่อยมา ซึ่งยุคนี้เริ่มเปลี่ยนจากแรงงานคนมาเป็นแรงงานจากเครื่องจักร ทำให้มีการขยายอัตราการผลิตแบบก้าวกระโดด และเกิดระบบโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมากมาย จนเกิดการจัดการบริหารการทำงานให้เป็นระบบมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ดีทฤษฎีการบริหารจัดการนี้ก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาตามยุคตามสมัย แตกแขนงแนวทางการบริหารจัดการออกไปมากมาย ซึ่งแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ นั้นแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ ตามแต่ละยุคดังนี้
    ทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Theory)
    ทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิมนี้ได้เริ่มต้นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงที่โลกเริ่มปรับตัวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม ทฤษฎีดั้งเดิมในยุคเริ่มต้นนี้จะมีลักษณะมุ่งเน้นไปยังผลผลิตที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effective and Efficient Productivity) เป็นหลัก มากกว่าการใส่ใจบุคคล ระบบการบริหารงานจึงเน้นการมีแบบแผน กฎเกณฑ์ โครงสร้างชัดเจนแน่นอน มีรูปแบบตายตัว ลักษณะเป็นองค์กรที่มีรูปแบบ (Formal Organization) โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลผลิตสูงที่สุด ยุคนี้มนุษย์ที่ใช้แรงงานจะถูกมองเป็นเสมือนเครื่องจักรกล ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพมนุษย์ให้ทำงานได้ดีขึ้นเท่าไรก็ยิ่งสร้างผลผลิตได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยทฤษฎีและแนวความคิดในกลุ่มนี้อาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้
    ทฤษฎีและแนวความคิดดั้งเดิมแบบสมัยใหม่ (Neo – Classical Theory ofOrganization)
    ทฤษฎีและแนวความคิดนี้พัฒนามาจากทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Theory) โดยพัฒนามาพร้อมกับวิชาการด้านสังคมวิทยาและจิตวิทยา ทฤษฎีนี้เริ่มพัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเริ่มมีการศึกษาด้านปัจจัยมนุษย์เพิ่มขึ้น มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของบุคคลากร ตลอดจนการบริหารงานบุคคลในเชิงมนุษยสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังเริ่มเกิดการศึกษากลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Group) ซึ่งแฝงเข้ามาในองค์กรที่มีรูปแบบมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนให้ความสนใจในด้านความต้องการของมนุษย์ที่สามารถส่งผลต่อกระบวนการทำงานและพัฒนาตนเอง สำหรับแนวคิดที่โดดเด่นในยุคนี้ก็ได้แก่
    ทฤษฎีและแนวความคิดแบบสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization)
    ในยุคที่สภาพสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไว ธุรกิจต่างๆ มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เน้นการปฎิบัติงานที่ถูกต้องและผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการองค์กรจึงมีการผสมผสานหลากหลายรายละเอียดเข้ามา โดยเฉพาะการนำเอาหลักคณิตศาสตร์เข้ามาใช้ในกระบบการคำนวณต่างๆ เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ไปจนถึงการบริหารงานบุคคลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงการสร้างกลยุทธ์ต่างๆ ในการบริหารจัดการออกมาหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด สำหรับในยุคการบริหารสมัยใหม่นี้มีนักทฤษฎียุคใหม่เกิดขึ้นมากมาย และสม่ำเสมอ มีการค้นคิดวิธีการบริหารจัดการหลากหลายรูปแบบออกมาไม่ต่างจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์
    (นางสาวสิตานัน หรุ่นทอง 12590082)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    วิวัฒนาการทางการบริหาร
    การบริหารงานขององค์กรในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนหลักทฤษฎีการบริหารมาตามลำดับ ดังนี้
    · ยุคก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Adam Smith จัดแบ่งโครงสร้างหน้าที่การแบ่งงานกันทำและปรัชญา Big is Beautiful มีองค์กรและการผลิตขนาดใหญ่ ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดตลาดสินค้าและบริการ
    · ยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Kai Zen
    Demming Philosophy QC Circle ปรัชญาทางการบริหารมุ่งสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การควบคุมคุณภาพสินค้าและการบริการ ตลอดจนการตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงาน
    · ยุคหลังปี ค.ศ. 1980 ทฤษฎีการบริหารงานที่นำมาใช้ คือ Total Quality
    Management ISO 9000 Business Process Reengineering ปรัชญาการทำงานมุ่งไปสู่การสร้างสรรค์ประสิทธิภาพการทำงานทุกขั้นตอน การควบคุมคุณภาพ สินค้าและบริการตามมาตรฐานที่กำหนด การผลิตที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการรื้อปรับระบบการทำงานใหม่ของระบบธุรกิจเอกชน
    (ปวีณา เหตุแย้ม 12590047)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    การศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการจัดการในยุคปัจจุบันเพิ่งเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม นักวิชาการและนักคิดจำนวนมากจากชาติตะวันตกได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยวิธีการจัดการในลักษณะต่างๆ จากแนวคิดการศึกษาในช่วงแรกซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อมาจึงกำหนดวิธีการบริหาร จัดการให้เป็นขั้นเป็นตอน และพัฒนามาเป็นยุคที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของมนุษย์ จากนั้น การจัดการก็ให้ความสำคัญกับการจัดการเชิงปริมาณและมาถึงแนวคิดการจัดการร่วมสมัย ซึ่งเสนอแนวคิดและวิธีการจัดการในหลากหลายรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างน่าสนใจ
    แนวคิดด้านการจัดการแบ่งออกได้ 4 ประเภทดังนี้
    1. หลักการเชิงประสิทธิภาพของงาน
    - การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
    - การจัดการเชิงบริหาร
    2. หลักการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์
    - การปรากฏตัวของจิตวิทยาอุตสาหกรรม
    - การศึกษาที่ฮอว์ทจริน
    - ทฤษฎีระบบสังคม
    - พฤติกรรมองค์กร
    3. หลักการจัดการเชิงปริมาณ
    - บริหารศาสตร์
    - การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
    4. หลักการจัดการร่วมสมัย
    - การจัดการเชิงระบบ
    - การจัดการตามสถานการณ์
    (ภิตติมาตุ์ เอื้ออรุณชัย 12590062)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน โดยอาศัยวิธีที่ได้จากการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์
    แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นหลักการบริหารที่ชัดเจน คือ กิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์และแนวคิดการจัดการเชิงบริหาร ซึ่งนักวิชาการและนักคิดมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคนงาน โดยมองถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึกและความคาดหวังของคนงานด้วย ตลอดจนแรงจูงใจในการทำงานของคนงาน
    แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพสหรัฐอเมริกานำมาใช้บริหารจัดการและช่วยในการตัดสินใจ คำนวณหาปริมาณการจัดสรรและใช้ทรัพยากรเพื่อการสงคราม ซึ่งแตกแขนงสาขาออกไปเป็น วิทยาศาสตร์การจัดการ การจัดการการดำเนินงาน และระบบสารสนเทศทางการจัดการ
    แนวคิดการจัดการร่วมสมัย เป็นการพัฒนาวิธีการต่างๆมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น และนำวิธีหลายประการมาประยุกต์ใช้ เช่น แนวคิดระบบ เป็นการมองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ จึงต้องใส่ใจกับระบบย่อยต่างๆให้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะระบบย่อยเหล่านี้จะมีผลกระทบซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา
    (ปาลิตา มนัสปัญญากุล 12590049)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    การศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการจัดการในยุคปัจจุบันเพิ่งเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม นักวิชาการและนักคิดจำนวนมากจากชาติตะวันตกได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยวิธีการจัดการในลักษณะต่างๆ จากแนวคิดการศึกษาในช่วงแรกซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อมาจึงกำหนดวิธีการบริหาร จัดการให้เป็นขั้นเป็นตอน และพัฒนามาเป็นยุคที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของมนุษย์ จากนั้น การจัดการก็ให้ความสำคัญกับการจัดการเชิงปริมาณและมาถึงแนวคิดการจัดการร่วมสมัย ซึ่งเสนอแนวคิดและวิธีการจัดการในหลากหลายรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างน่าสนใจ
    โดยลำดับของการพัฒนาการทางการจัดการดังนี้
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร มีการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรม ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
    4. แนวคิดทางการจัดการเชิงปริมาณ เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดทางการจัดการร่วมสมัย เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    โดยแนวคิดทางการจัดการแต่ละแนวมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันคือ การทำงานให้ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร แต่แนวคิดต่างๆ เหล่านี้มีจุดมุ่งเน้นหรือวิธีในการจัดการเพื่อ ไปให้ถึงเป้าหมายแตกต่างกันไป

    (นางสาวสิริกร ราชมณี 12590084)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการต่างๆมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน คือการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยแบ่งแนวคิดทางการจัดการออกเป็น5ยุค
    1.แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน คือการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Management Approach) ศึกษาปัจจัยทร่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึก และความคาดหวังของคนงาน ตลอดจนเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของคน
    4. แนวคิดเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดแบบร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    (นางสาวเอเซีย พิทยาพละ 12590112)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1.ทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Theory)
    1.1 แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
    1.2 แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management)
    2.ทฤษฎีและแนวความคิดดั้งเดิมแบบสมัยใหม่ (Neo – Classical Theory of Organization)
    2.1 แนวความคิดการจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)
    3.ทฤษฎีและแนวความคิดแบบสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization)
    (นางสาวชุติกาญจน์ ปานดารา 12590016)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด


    1.ทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Theory)
    1.1 แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
    1.2 แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management)
    2.ทฤษฎีและแนวความคิดดั้งเดิมแบบสมัยใหม่ (Neo – Classical Theory of Organization)
    2.1 แนวความคิดการจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)
    3.ทฤษฎีและแนวความคิดแบบสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization)
    (นางสาวพัชรา จูเอี่ยม 12590054)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ยุคที่ 1 ยุคการจัดการสมัยเดิม (ค.ศ. 1880 – 1930)
    1. การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
    Frederick W.Taylor ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
    หลักของ Taylor คือ “Principles of Scientific Management”
    ยุคที่ 2 ยุคการจัดการสมัยใหม่ (ค.ศ. 1930-1950)
    การจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์
    จากการค้นพบแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์ จึงทำให้มีการตื่นตัว และมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษา และกำหนดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ
    ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน (Modern) (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน)
    1. ทฤษฎีระบบ
    มององค์การเป็นระบบตามหน้าที่ ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และมององค์การในลักษณะ ระบบเปิด คือมีปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างจากทฤษฎีองค์การในยุคดั้งเดิม ซึ่งมององค์การเป็นระบบปิด คือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
    2. ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์
    มุ่งที่การปรับปรุงพฤติกรรมการจัดการตามสถานการณ์ เช่น
    เมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสิ่งแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลง เมื่อบุคคล / กลยุทธ์ขององค์การเปลี่ยนแปลง
    (เบญญาภา กรีรถ 12590044)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1.แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานโดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ คือ มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง วัดผล ทำซ้ำ จนค้นพบวิธีการที่มีประสิทธิภาพ
    2.แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร อองรี ฟาโยล์ ได้รับขนานนามว่า บิดาแห่งทฤษฎีการจัดการแนวใหม่ แนวคิดนนี้เกิดจากความพยายามของนักคิด นักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจนคือการเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กร หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3.แนวคิดการจัดการเชิงพฤริกรรมศาสตร์ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม มนุษย์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึกและความคาดหวังของคนงานตลอดจนเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของคนงาน
    4.แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดช่วงสงครามโลกที่2 กองทัพusa เริ่มนำมาใช้บริหารจัดการช่วยในการตัดสินใจทางการรบ การจัดการเชิงปริมาณจึงนำหลักคณิต สถิติ คอมฯ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผล
    5.แนวคิดการจัดการร่วมสมัย เสนอวิธีการที่หลากหลาย ด้วยการพิจารณาระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ เน้นให้องค์กรให้ความสำคัญระบบต่างๆภานในองค์กร เพื่อให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ
    (นายธนสิทธิ์ อาจอ่อนศรี 12590036)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    ยุคแรก กลุ่มทฤษฏีลักษณะผู้นำ (ค.ศ. 1950-1960)

    ทฤษฎีลักษณะผู้นำ (Leadership Traits) เริ่มขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อนักจิตวิทยาในกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาหาวิธีคัดเลือกนายทหาร การศึกษาดังกล่าวได้จุดประกายให้เกิดความกระตือรือร้น สนใจในการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ภายหลังสงคราม นักวิจัยจึงได้เริ่มศึกษาเพื่อระบุลักษณะที่สำคัญ ๆ ของบุคคลซึ่งใช้แยกระหว่างบุคคลที่มีความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ (Effective Leaders) ออกจากบุคคลที่ไม่ใช่ผู้นำ
    ยุคที่ 2 กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นำ (ค.ศ. 1960-1970)

    นักวิชาการที่เห็นด้วยกับในแนวคิดนี้ มีความเชื่อว่า ความสำเร็จของผู้นำในการปฏิบัติงานมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสิ่งที่เขาทำมากกว่า กล่าวคือ เชื่อว่า ความสำเร็จของผู้นำ มาจากสิ่งที่เขาทำมากกว่าลักษณะที่เขาเป็น และเชื่อว่า ลักษณะเด่นเป็นสิ่งที่ติดตัวมา เปลี่ยนแปลงได้ยากในทางตรงกันข้ามเป็นไปได้ง่ายกว่าที่เราจะเรียนรู้พฤติกรรมที่ทำให้ผู้นำเหล่านั้นประสบความสำเร็จ งานวิจัยในระยะที่ 2 จึงมุ่งเน้นการศึกษาพฤติกรรมผู้นำ คำถามสำคัญในกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมดี ๆ สำหรับผู้นำนั้นมีอะไรบ้าง

    นักวิจัยที่ทำการศึกษา พฤติกรรมความสำเร็จของผู้นำ ปรากฏอย่างเด่นชัด 4 กลุ่ม คือ มหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa) มหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไอโอ (Ohio State University) รวมทั้งกลุ่มนักวิจัยอิสระ อาทิ Robert Tannembaum กับ Waren H. Schmidt และRobert Blake กับ Srygley Mouton เป็นต้น
    ยุคที่ 3 กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (คศ. 1980-1990)

    ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์มีแนวความคิดว่าผู้นำจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีระบบจากสถานการณ์หนึ่งไปยังอีกสถานการณ์หนึ่งเพื่อความเหมาะสมทั้งสถานที่และเวลา ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ และทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำที่อธิบายว่าลักษณะของผู้นำมีรูปแบบที่คงที่ตายตัว ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ ทำให้เชื่อว่าการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้นำจำเป็นต้องปรับแบบภาวะผู้นำของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น ภาวะผู้นำในกลุ่มนี้ ได้แก่

    1) ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพของ Fiedler (Fiedler’ Contingency Theory of Leadership Effectiveness)

    2) ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ของ Hersey – Blanchard

    3) ทฤษฎีเส้นทางสู่เป้าหมาย ( Path Goal Theory ) ของ Robert House

    4) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ ของ Vroom –Yetton – Jago

    5) ทฤษฎีผู้นำ 3 มิติของ Reddin เป็นต้น

    ยุคที่ 4 กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นำบูรณาการ

    ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1970-1979 ได้มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำ โดยได้มีการศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำแบบบูรณาการ โดยได้นำเอาทฤษฎีคุณลักษณะ ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ และทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้รูปแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสงสุด ทั้งนี้ ทฤษฎีภาวะผู้นำตามกระบวนทัศน์นี้ มีดังนี้

    1) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงบารมี (Charismatic Leadership)

    2) ทฤษฎีภาวะผู้นำแปลงสแปลงสภาพ (Transformational Leadership)

    3) ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership)

    4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership) เป็นต้น
    (นายอัษฎาวุธ เขตเจริญ 12590106)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด


    แนวคิดทางการจัดการ แบ่งเป็น 5 แนวทาง
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคดั้งเดิม ทำให้เกิดมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมจากที่เกิดจากนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง และวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ซึ่งคล้ายกับหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ แนวความคิดนี้หลักในด้านนี้เกิดจาก แนวคิดและทฤษฎี Frederick Winslow Taylor (1856) โดยในยุคนี้ได้มีผู้สนับสนุนแนวคิดที่สำคัญคือ แนวคิดและทฤษฎี Frank and Lillian Gilberth และแนวคิดและทฤษฎี Henry Gantt
    2. แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง โดยนักทฤษฎีกลุ่มนี้จะมีสมมติฐานว่าความสำเร็จของงานนั้นขึ้นอยู่กับการทำงานของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารเสียมากกว่า
    3.ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานทฤษฎีนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมน ๆ ควรเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือพิจารณาในรูปของการทดลองและการวัดได้
    4.ทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นวิธีการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานและการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เชิงปริมาณสถิติตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณเป็นวิธีการที่ปรากฏในปัจจุบันประกอบด้วยหลายสาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์การจัดการ (Management Scence) การจัดการเชิงปฏิบัติการ (Operation Management) และระบบสารสนเทศทางการจัดการ (Management Information System)
    5.ทฤษฎีการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) แนวคิดการจัดการร่วมสมัยเป็นการพัฒนาหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์การอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันมีแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้
    (วิลาสินี เกตุแก้ว12590073)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    2.จงอธิบายลำดับของการพัฒนาการทางการจัดการตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบัน
    : แนวคิดทางการจัดการต่างๆ มีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน คือการทำงานให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายขององค์กร โดยแบ่งแนวคิดทางการจัดการออกเป็น 5 ยุค ดังนี้
    1. ยุคที่ 1 ยุคการจัดการสมัยเดิม (ค.ศ. 1880 – 1930)
    1.1การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
    Frederick W.Taylor ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
    หลักของ Taylor คือ “Principles of Scientific Management”
    2. ยุคที่ 2 ยุคการจัดการสมัยใหม่ (ค.ศ. 1930-1950)
    การจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ จากการค้นพบแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์ จึงทำให้มีการตื่นตัว และมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษา และกำหนดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ
    3. ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน (Modern) (ค.ศ. 1950-ปัจุบัน
    โดยการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาทดลองออกเป็น 3 ประเภทคือ
    1. การศึกษาทดลองภายในห้อง (Room Studies) ได้ทาการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างภายในห้องทางาน เพื่อสังเกตประสิทธิของการทางานว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
    2. การศึกษาโดยการสัมภาษณ์ ( Interviewing Studies ) การทดลองนี้ก็เพื่อค้นหาความเปลี่ยนแปลงในการทางานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของการทางานและการบังคับบัญชา
    3. การศึกษาโดยการสังเกต ( Observation Studies ) เป็นการสังเกตการทางานของคนและปัจจัย
    4. แนวคิดการจัดการยุคการบริหารสมัยใหม่ ( Modern Management )

    (ศศิมา ปานชงค์ 12590077 )

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด


    1.แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์นั้นหมายถึงการจัดการการทำงานแบบมีระบบ โดยอาศัยเทคนิคหรือวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งก็คือ “กฎระเบียบ” นำมาใช้กับการปฎิบัติงาน มีการศึกษาเหตุและผล เก็บข้อมูล ตลอดจนวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุดในการทำงานั้นๆ เริ่มเกิดขึ้นในช่วงต้นของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เริ่มเปลี่ยนจากแรงงานคนมาเป็นแรงงานจากเครื่องจักร ทฤษฎีในยุคนี้จะมุ่งเน้นไปยังเป้าหมาย ผลสำเร็จ ที่มาจากการจัดการทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    2.แนวความคิดการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง โดยนักทฤษฎีกลุ่มนี้จะมีสมมติฐานว่าความสำเร็จของงานนั้นขึ้นอยู่กับการทำงานของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารเสียมากกว่า
    3.แนวความคิดการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavior Management Approach)ตามหลักของทฤษฎีเน้นหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนรอบข้างกับสังคมที่เขาทำงานร่วมกันซึ่งแนวคิดนี้มุ่งเน้นที่คนเป็นหลัก ในยุคนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรมคือ Hugo Minstberg แนวความคิดของ Minstberg เขาให้ความสำคัญกับคนงาน เป้าหมายในการศึกษาของเขาคือสภาพจิตใจของคนงานกับตำแหน่งงานที่เขาทำเหมาะสมหรือไม่ และจะทำอย่างไรให้คนงานเกิดความพึงพอใจมากที่สุด ประการสุดท้าย คือธุรกิจจะมีอิทธิพลต่อคนงานในแง่ที่ว่าสามารถช่วยให้คนงานบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ดังนั้น Hugo Minstberg จึงเริ่มทาการศึกษาและทดลองการศึกษาที่ฮอว์ททอร์น (The Hawthrone Studies)
    4.แนวความคิดการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach)คือมุมมองการจัดการโดยใช้ตัวเลข เป็นความพยายามที่จะนำคณิตศาสตร์ และตัวเลขมาใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจทางการจัดการ โดยพื้นฐานของการตัดสินใจทางด้านการจัดการโดยใช้ตัวเลขนี้มาจากข้อสมมุติฐานที่ว่า เทคนิคทางด้านคณิตศาสตร์สามารถที่จะใช้แก้ปัญหาได้ดีกว่าการที่ไม่ได้ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งในมุมมองนี้สามารถที่จะแบ่งออกมาได้เป็น 2 แขนงด้วยกัน ได้แก่ การจัดการเชิงปริมาณ การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน
    5.แนวความคิดการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach)แนวคิดใหม่ของนักวิชาการและนักบริหารคือ ความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การบริหารจะประสบความสำเร็จได้ คนในองค์การต้องร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน การทำงานต้องเป็นทีม(Team) และการบริหารต้องจัดเป็นระบบ (System) ขั้นตอนการทำงานต้องสัมพันธ์กัน
    (นางสาวชนาวาส บัววงค์ 12590013)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1.แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จะใช้วิธีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้ววัดผลการทดลอง ทำกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้ได้วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง จนค้นพบวิธีที่ดีที่สุด One Best Way
    2. แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร ได้มีการริเริ่มกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ จะเกี่ยวข้องกับคนและความรู้สึกนึกคิด
    4. แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์สถิติ ตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดการจัดการร่วมสมัย เป็นการเสนอวิธีการที่หลากหลายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ
    นายธรรศธรรม จำปาทอง 12590790

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการสามารถแบ่งได้เป็น 5 แนวทาง ดังนี้
    1.แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน การกำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆทำการทดลองตามกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำอีกจนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
    2.แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้น กำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ อองรี ฟาโยล์ “บิดาแห่งทฤษฎีการจัดการแนวใหม่” การริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการและหลักการจัดการ
    3.แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์และแนวคิดการจัดการเชิงบริหาร คือ แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์เกิดขึ้นจากการที่นักวิชาการและนักคิดยังคงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานด้วยการค้นคว้าทดลองเชิงวิทยาศาสตร์
    4.แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพสหรัฐอเมริกา เริ่มนำการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในบริหารจัดการ ตลอดจนช่วยในการตัดสินใจต่างๆ ทางการรบ โดยเฉพาะการคำนวณหาปริมาณการจัดสรรและใช้ทรัพยากรเพื่อการสงคราม การจัดการเชิงปริมาณจึงเป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ ตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5.แนวคิดการจัดการร่วมสมัย นักวิชาการและนักคิดยังพัฒนาหาวิธีการต่างๆ มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันจะพบแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้ คือ แนวคิดนอกระบบ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ เช่น การวางแผน การบริหารทรัพยากรบุคคล การประเมินผล การจ่ายค่าตอบแทน การควบคุม ตลอดจนการเงินและการผลิต (ชัชญาณ์ณัฐ ภูวิศภัทรนนท์ 12590110)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    พัฒนาการทางแนวคิดการจัดการในแต่ละยุค
    1.แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ 1890
    เฟรดเดอริก วินสโลว์ เทย์เลอร์
    หลักการจัดการ 4 ประการ
    - คิดค้นและกำหนด “วิธีที่ดีที่สุด” สำหรับงานนั้น
    - จัดหมวดหมู่งาน และ แบ่งความรับผิดชอบให้เหมาะสม
    คือ งานที่เหมือนกันควรอยู่ในหมวดเดียวกันเพราะจะได้ใช้คนที่
    มีความรู้ความสามารถที่เฉพาะทางจริงๆ
    -คัดเลือกคนงานที่เหมาะสมแล้วฝึกอบรมและพัฒนาตามวิธีการที่
    กำหนด
    -ฝ่ายบริหารประสานงานทำความเข้าใจกับคนงานอย่างใกล้ชิด
    แฟรงค์ และ ลิเลียน กิลเบอร์ต
    -เป็นต้นแบบในการพัฒนาศาสตร์ เออกอนอมิกส์ (Ergonomics)
    คือ การพัฒนาวิธีการงานให้มันล้อกับการยศาสตร์
    การลดการเครื่องไหวในการทำงาน
    เฮนรี่ แกนท์
    -เป็นผู้คิดค้น Gantt Chart(เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผน)
    2.แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร 1910
    (Administrative Management Approach)
    อองรี ฟาโยล์
    (บิดาแห่งทฤษฎีการจัดการแนวใหม่)
    -กิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ (Business Activities)
    กิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ 6 ประการ
    1.เทคนิคและการผลิต (Technical and Production)
    2.การพาณิชย์ (Comerical)
    3.การเงิน (Financial)
    4.ความมั่งคั่ง (Security)
    5.การบัญชี (Accounting)
    6.การจัดการ (Management)
    -หน้าที่ทางการจัดการ (Management Functions)
    1.การวางแผน (planning)
    2.การจัดองค์กร (organizing)
    3.การบังคับบัญชา (commanding)
    4.การประสานงาน (coordinating)
    5.การควบคุม (controlling)
    -คุณลักษณะของผู้นำที่ดี
    1. มีร่างกายแข็งแรง (ไม่จำเป็นต้องครบ 32)
    2. มีสติปัญญา
    3. มีความรู้
    4. มีความสามารถ
    5. มีประสบการณ์
    -หลักการจัดการ (Principles of Management)
    1.การแบ่งงานกันทำ (Division of Work)
    2.อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
    (Authority and Responsibilities)
    3.ระเบียบวินัย (Discipline)
    4.เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
    5.เอกภาพในแนวทาง (Unity of Direction)
    6.ประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองประโยชน์ส่วนรวม
    (Subordination of Individual to General Interest)
    7.ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)
    8.การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)
    9.การจัดสายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)
    10.ลำดับขั้นในการบังคับบัญชา (Order)
    11.ความเสมอภาค (Equity)
    12.ความมั่นคงในการจ้างงาน (Stability of Tenure)
    13.ความคิดริเริ่ม (Initiative)
    14.ความสามัคคี (Esprit de Corps)
    3.แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์
    (Behavioral Management Approach) (ได้มาจากการวิจัย)
    จอร์จ อี. เมโย (George E. Mayo)
    ศึกษาที่ฮอว์ ธอร์น (Hawthorne Studies)
    วัตถุประสงค์ : หาความสัมพันธ์ของระดับแสงสว่างกับผลผลิต
    ระยะเวลาการศึกษา : ค.ศ.1924 – 1927
    สมมติฐาน : แสงสว่างลดลง ผลผลิตลดลง
    ผลการทดสอบ : แสงสว่างลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น
    สรุปผลการทดลอง
    -การแบ่งกลุ่มขนาด เล็ก ช่วยทำให้ผลผลิตมีเพิ่มขึ้น
    -มีการควบคุมโดยหัวหน้างาน โดยเหมาะสม
    -พนักงานรู้สึกแปลกใหม่ต่อสถานการณ์
    -พนักงานให้ความสนใจกับการทดลอง
    -มีปัจจัยอื่นนอกจากแสงสว่างซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิต
    มีการศึกษาต่อมาอีกหลายระยะ
    พบว่า
    พฤติกรรมที่มีผลต่อผลผลิต
    เช่น การสื่อสารระหว่างหัวหน้างานและคนงาน
    เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนงาน
    ปัจจัยจูงใจที่มีผลกระทบต่อผลผลิต
    เช่น ค่าตอบแทน (โบนัส)
    อารมณ์ (โมโห บริการแย่) และความสัมพันธ์ของกลุ่ม
    4.แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ
    (Quantitative Management Approach)
    ( หลักการวิทยาศาสตร์ + การจัดการ )
    5.แนวคิดการจัดการร่วมสมัย (เริ่มให้ความสำคัญกับบุคคลมากขึ้น)
    (Contemporary Management Approach)
    (การนำระบบหลายๆแนวความคิดมาประยุคใช้)
    (ใช้ในยุคปัจจุบัน)
    น.ส.หมายขวัญ นวลอุไร12590099

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    การปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 จากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจากเดิมที่ใช้แรงงานมนุษย์มาเป็นเครื่องจักรกล ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการผลิต ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
    การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 มีสาเหตุมาจากการขยายตัวทางการค้าซึ่งเกิดจากการสำรวจดินแดน และการล่าอาณานิคม ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การยกเลิกการค้าแบบผูกขาดทำให้เกิดการพัฒนาทางการค้า การปฏิรูปเกษตรกรรมทำให้มีการค้นคว้าประดิษฐ์เครื่องมือทางการเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ มีแรงงานในชนบทเข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น
    ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดการอพยพจากชนบทมาสู่เมือง เมืองอุตสาหกรรมต่างๆ กลายเป็นเมืองแออัดที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุข เกิดปัญหาสังคมตามมามากมายพร้อมๆ กับความเจริญด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ที่สำคัญการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองและการปกครอง ความคิดด้านเสรีนิยมขยายตัวมากขึ้น
    และเกิดการแตกแยกด้านความคิดเป็นกลุ่มลัทธิทุนนิยมกับลัทธิสังคมนิยมอย่างชัดเจน
    (พัชมน 053)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    นวคิดทางการจัดการสามารถแบ่งได้เป็น 5 แนวทาง ดังนี้
    1.แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน การกำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆทำการทดลองตามกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำอีกจนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
    2.แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้น กำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ อองรี ฟาโยล์ “บิดาแห่งทฤษฎีการจัดการแนวใหม่” การริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการและหลักการจัดการ
    3.แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์และแนวคิดการจัดการเชิงบริหาร คือ แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์เกิดขึ้นจากการที่นักวิชาการและนักคิดยังคงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานด้วยการค้นคว้าทดลองเชิงวิทยาศาสตร์
    4.แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพสหรัฐอเมริกา เริ่มนำการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในบริหารจัดการ ตลอดจนช่วยในการตัดสินใจต่างๆ ทางการรบ โดยเฉพาะการคำนวณหาปริมาณการจัดสรรและใช้ทรัพยากรเพื่อการสงคราม การจัดการเชิงปริมาณจึงเป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ ตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5.แนวคิดการจัดการร่วมสมัย นักวิชาการและนักคิดยังพัฒนาหาวิธีการต่างๆ มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันจะพบแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้ คือ แนวคิดนอกระบบ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ เช่น การวางแผน การบริหารทรัพยากรบุคคล การประเมินผล การจ่ายค่าตอบแทน การควบคุม ตลอดจนการเงินและการผลิต
    นางสาวภัทราพร ผังรักษ์ 12590061

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด


    - แนวคิดทางการจัดการเริ่มในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มต้นจาก “การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์” แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์เน้นการทดลองเพื่อให้ได้กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีที่ดีที่สุดในการทำงานเพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุดในการทำงาน
    - ต่อมานักคิดและนักวิชาการได้กำหนด “แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร” ที่เสนอกฎเกณฑ์และหลักการทางบริหารจัดการให้มีกระบวนการที่ชัดเจนมากขึ้น
    - จากนั้นเริ่มมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของพนักงาน คือ ปัจจัยด้านพฤติกรรมมนุษย์ ได้รับการพัฒนาเป็น “แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์” ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคนและความรู้สึกของคน
    - แนวคิดการจัดการมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจนเป็น “แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ” ที่เชื่อมั่นในการนำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหารอีกด้วย
    - จนถึงปัจจุบันมี “แนวคิดการจัดการร่วมสมัย” เสนอวิธีการที่หลากหลายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เป็นการพิจารณาระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ ซึ่งเน้นให้องค์กรให้ความสำคัญกับระบบต่างๆและเพื่อให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในองค์กร
    แนวคิดทางการจัดการแต่ละแนวมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน คือ การทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร แต่แนวคิดต่างๆ เหล่านี้มีจุดเน้นหรือวิธีในการจัดการเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้บริหารควรศึกษาให้เข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้าสถานการณ์เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
    (น.ส.ณัฐรี เต่าแก้ว 12590026)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการเริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจังในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มต้นจาก การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์เน้นการทดลองเพื่อให้ได้กระบวน การ ขั้นตอนและวิธีที่ดีที่สุดในการทํางานเพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุดหรือได้รับผลลัพธ์ดีที่สุด ในการทํางาน นักคิดและนักวิชาการยังกําหนด “แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร” ที่เสนอกฎเกณฑ์ และหลักการทางบริหารจัดการให้มีกระบวนวิธีที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจากนั้นเริ่มมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของ พนักงานจนพบว่าปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นผลผลิตของพนักงานขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยทาง การผลิต ได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งการค้นพบนี้ได้รับการพัฒนาเป็น “แนวคิดการจัดการ เชิงพฤติกรรมศาสตร์” ที่ให้ความสําคัญเกี่ยวกับคนและความรู้สึกนึกคิดของคนแนวคิดการจัดการมีพัฒนาการไปสู่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้นด้วย “แนวคิดการจัดการเชิง ปริมาณ” ที่เชื่อมั่นในการนําทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศมา ช่วยในการบริหาร “แนวคิดการจัดการร่วมสมัย” เสนอวิธีการที่หลากหลายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการ ด้วยการพิจารณาระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ได้แก่ แนวคิดเรื่องระบบ ซึ่งเน้นให้ องค์กรให้ความสําคัญกับระบบต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อให้องค์กรซึ่งเป็นระบบใหญ่สามารถ ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ แนวคิดการจัดการตามสถานการณ์เสนอว่าผู้บริหารควร ใช้วิธีการบริหารงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ซึ่งจะเป็นผลให้การบริหารเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ
    แนวคิดแต่ละแบบจึงมีจุดเด่นของตนเอง ซึ่งผู้บริหารจะต้องศึกษาแนวคิดแต่ละแบบอย่าง ถ่องแท้และนํามาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ของแต่ละองค์กรเพื่อให้นํามาซึ่งประโยชน์และ ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง
    นางสาว ดวงหทัย โฉมมา 12590029

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวความคิดการทางการจัดการที่เป็นหลักเกณฑ์และมนุษย์สัมพันธ์เปรียบเทียบ

    สำหรับแนวคิดทางการบริหารการจัดการได้วิวัฒนาการเรื่อยมาเป็นลาดับ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

    1.แนวคิดก่อนยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Pre– Scientific Management ) ในยุคนี้เป็นยุคก่อนปี ค.ศ. 1880 ซึ่งการบริหารในยุคนี้อาศัยอำนาจหรือการบังคับให้คนงานทางานซึ่งวิธีการบังคับอาจใช้การลงโทษ การใช้แส้ การทางานในยุคนี้เปรียบเสมือนทาส คนในยุคนี้จึงต้องทางานเพราะกลัวการลงโทษ

    2.แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Scientific Management ) แนวคิดนี้เริ่มในช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือประมาณปี ค.ศ 188 เป็นต้นมาจนถึงปี 1930 ในยุคนี้ได้ใช้หลักวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาช่วยในการบริหารการจัดการ ทาให้ระบบบริหารการจัดการแบบโบราณได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้รับการยอกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์หรือบิดาของวิธีการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ โดยได้ศึกษาหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมโดย Taylor ได้เข้าทางานครั้งแรกในโรงงานที่เพนซิลวาเนีย เมื่อปี ค.ศ.1878 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำมากการบริหารงานขาดประสิทธิภาพ ไม่มีมาตรฐานในการประเมินผลงานของคนงาน การแบ่งงานไม่เหมาะสม การตัดสินใจขาดหลักการและเหตุผลสาหรับการศึกษาที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ ( The Scientific Approach ) มีส่วนประกอบสำคัญ 3ลักษณะคือ

    1.มีแนวคิดที่ชัดเจน ( Clear Concept ) แนวความคิดต้องชัดเจนแน่นอนในสิ่งที่จะวิเคราะห์

    2.วิธีทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific ) สาขาพิจารณาข้อเท็จจริงได้ทางวิทยาศาสตร์หรือสังเกตได้ แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาทาการทดสอบความถูกต้อง ถ้าเป็นจริงก็คือหลักเกณฑ์(Principles)

    REPORT THIS AD

    ทฤษฎี ( Theory ) หมายถึง การจัดระบบความคิดและหลักเกณฑ์มารวมกันเพื่อได้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

    3. แนวคิดการจัดการยุคมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation ) แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ที่เน้นประสิทธิภาพของการทางาน และมองข้ามความสำคัญของคน เห็นว่ามนุษย์ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีความต้องการมากนัก มีพฤติกรรมที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดยอาศัยโครงสร้างขององค์การมาเป็นตัวกำหนด และควบคุม ให้มนุษย์ทางานให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งยุคมนุษย์สัมพันธ์นั้นเป็นแนวคิดที่อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ 1930 – 1950 เนื่องจากเล็งเห็นว่า การจัดการใด ๆ จะบรรลุผลสำเร็จได้นั้นจะต้องอาศัยคนเป็นหลัก ดังนั้นแนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ จึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จึงทาให้เรื่องราวของมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation ) กลับมามีบทบาทสำคัญมากขึ้นนักวิชาการสำคัญที่ให้การสนับสนุนและศึกษาแนวคิดซึ่งจุดประสงค์ก็คือต้องการเข้าใจพฤติกรรมของคนในหน้าที่งานที่จัดไว้ให้ ปรากฏว่าคนทางานมิใช่ทางานเพื่อหวังผลตอบแทนด้วยตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่คนทางานต้องการด้านสังคมภายในกลุ่มที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ที่เป็นเรื่องของจิตใจ ตลอดจนความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนงานด้วยกัน
    (นายชินวัตร พิพัฒน์พงศานนท์ 12590015)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    1. แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน(เฟรดเดอริกิวินสโลว์ เทย์เลอร์) มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) เกิดจากการพยายามคิดค้นกำหนดหลักการบริหารที่ชัดเจน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาแนวคิดการจัดการเชิงบริหารคือ อองรี ฟาโยล์ โดยอธิบายว่า การเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษระของผู้จัดการ หลักการจัดการ
    3. แนวคิดเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Management Approach) ศึกษาความสัมพันธ์ระดับของแสงสว่างในสถานที่ทำงานกับผลผลิต โดยแบ่งคนงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม
    4. แนวคิดเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ การจัดการการดำเนินงาน สารสนเทศทางการจัดการ วิทยาศาสตร์ทางการจัดการ
    5. แนวคิดแบบร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา แนวคิดการจัดการตามสถานการณ์ โดยเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับสถานการนั้นๆ
    (ณัฐนพิน ชินวัฒนา 12590021)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการต่างๆ มีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน คือการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยแบ่งแนวคิดทางการจัดการออกเป็น 5 ยุค
    1.แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2.แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน คือการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3.แนวคิดเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Management Approach) ศึกษาปัจจัยทร่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึก และความคาดหวังของคนงาน ตลอดจนเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของคน
    4.แนวคิดเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5.แนวคิดแบบร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
    (สิทธิชัย พ่อค้าเรือ 12590083)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งส่งผลกระทบในเกือบทุกแง่มุมของชีวิตประจำวันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือการที่รายได้และจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยเริ่มที่จะขยายตัวอย่างยั่งยืนในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้สองร้อยปีหลังจาก ค.ศ. 1800 ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวของโลกขยายตัวมากกว่าสิบเท่า ในขณะที่จำนวนประชากรขยายตัวมากกว่าหกเท่า

    กระบวนการเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ด้วยการเปลี่ยนผ่านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาแรงงานคนและสัตว์เป็นหลักไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเครื่องจักรเป็นหลักของสหราชอาณาจักร โดยเริ่มในอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมแรก อันเป็นผลมาจากการพัฒนากรรมวิธีการหลอมเหล็กและความนิยมในการใช้ถ่านหินโค้กที่แพร่หลายขึ้น การขยายตัวของการค้าขายเป็นผลมาจากการพัฒนาคลอง ถนน และทางรถไฟ ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเกษตรกรรมไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิต ทำให้เกิดการไหลบ่าของประชากรจากชนบทเข้าสู่เมืองขนานใหญ่ และก่อให้เกิดการขยายตัวของจำนวนประชากร
    (พงศธร ศิริสมบูรณ์ 12590052)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการ แบ่งเป็น 5 แนวทาง
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคดั้งเดิม ทำให้เกิดมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมจากที่เกิดจากนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง และวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ซึ่งคล้ายกับหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
    2. แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง
    3.ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานทฤษฎีนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมน ๆ ควรเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือพิจารณาในรูปของการทดลองและการวัดได้
    4.ทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นวิธีการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานและการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เชิงปริมาณสถิติตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณเป็นวิธีการที่ปรากฏในปัจจุบันประกอบด้วยหลายสาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์การจัดการ (Management Scence) การจัดการเชิงปฏิบัติการ (Operation Management) และระบบสารสนเทศทางการจัดการ (Management Information System)
    5.ทฤษฎีการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) แนวคิดการจัดการร่วมสมัยเป็นการพัฒนาหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์การอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันมีแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้
    (ธนพล โชครัตน์ประภา 12590033)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการ แบ่งเป็น 5 ยุค ได้แก่
    1. แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคดั้งเดิม ทำให้เกิดมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมจากที่เกิดจากนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง และวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ซึ่งคล้ายกับหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ แนวความคิดนี้หลักในด้านนี้เกิดจาก แนวคิดและทฤษฎี Frederick Winslow Taylor (1856)
    2. แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง โดยนักทฤษฎีกลุ่มนี้จะมีสมมติฐานว่าความสำเร็จของงานนั้นขึ้นอยู่กับการทำงานของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารเสียมากกว่า
    3. ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรม (Behavioral Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานทฤษฎีนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมน ๆ ควรเป็นพฤติกรรมที่มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือพิจารณาในรูปของการทดลองและการวัดได้
    4. ทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นวิธีการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานและการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เชิงปริมาณสถิติตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ (Management Information System)
    5. ทฤษฎีการจัดการร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) แนวคิดการจัดการร่วมสมัยเป็นการพัฒนาหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์การอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันมีแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้
    (คณภัทร์ ศิริโยธิน 12590108)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการต่างๆ มีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน คือการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยแบ่งแนวคิดทางการจัดการออกเป็น 5 ยุค
    1. แนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach) เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน มีการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆ ทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทั่งค้นพบวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน
    2. แนวคิดทางการจัดการเชิงบริหาร (Administrative Management Approach) เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้นกำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน คือการริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการ และหลักการจัดการ
    3. แนวคิดเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Management Approach) ศึกษาปัจจัยทร่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกขององค์กร ความรู้สึก และความคาดหวังของคนงาน ตลอดจนเป้าหมายและแรงจูงใจในการทำงานของคน
    4. แนวคิดเชิงปริมาณ (Quantitative Management Approach) เป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5. แนวคิดแบบร่วมสมัย (Contemporary Management Approach) เป็นแนวคิดเรื่องระบบ มองว่าองค์กรทุกองค์กรเป็นระบบใหญ่ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่มีผลซึ่งกันและกันตลอดเวลา

    (ธนกฤติ สาสนทาญาติ)

    ตอบลบ

  • วิทยาการ จัดการ สมัยใหม่ มี การ พัฒนาการ มา จาก แนว ความ คิด ด้ั ง เดิม แบบ ใด

    แนวคิดทางการจัดการสามารถแบ่งได้เป็น 5 แนวทาง ดังนี้
    1.แนวคิดทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์และนักคิดในยุคนั้น ที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน โดยมีการตั้งสมมุติฐาน การกำหนดตัวแปร ทดลอง แล้วจึงวัดผลการทดลองในกรณีต่างๆทำการทดลองตามกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำอีกจนค้นพบวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
    2.แนวคิดการจัดการเชิงบริหาร เกิดจากความพยายามของนักคิดและนักวิชาการที่คิดค้น กำหนดหลักการบริหารให้ชัดเจน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ อองรี ฟาโยล์ “บิดาแห่งทฤษฎีการจัดการแนวใหม่” การริเริ่มกำหนดกิจกรรมหลักในองค์กรธุรกิจ หน้าที่ทางการจัดการ คุณลักษณะของผู้จัดการและหลักการจัดการ
    3.แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์และแนวคิดการจัดการเชิงบริหาร คือ แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์เกิดขึ้นจากการที่นักวิชาการและนักคิดยังคงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานด้วยการค้นคว้าทดลองเชิงวิทยาศาสตร์
    4.แนวคิดการจัดการเชิงปริมาณ เกิดขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพสหรัฐอเมริกา เริ่มนำการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในบริหารจัดการ ตลอดจนช่วยในการตัดสินใจต่างๆ ทางการรบ โดยเฉพาะการคำนวณหาปริมาณการจัดสรรและใช้ทรัพยากรเพื่อการสงคราม การจัดการเชิงปริมาณจึงเป็นการนำหลักคณิตศาสตร์ สถิติ ตลอดจนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประมวลผลเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ
    5.แนวคิดการจัดการร่วมสมัย นักวิชาการและนักคิดยังพัฒนาหาวิธีการต่างๆ มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันจะพบแนวคิดและวิธีการหลายประการที่นำมาศึกษาและประยุกต์ใช้ คือ แนวคิดนอกระบบ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ
    (สมภพ ขุนทรง 12590079)

    ตอบลบ

  • วิทยาการจัดการสมัยใหม่มีการพัฒนาการมาจากแนวความคิดแบบใด

    สำหรับยุคของการจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) ซึ่งเป็นยุคในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาแนวคิดการจัดการต่าง ๆ ขึ้นมาอย่างมาก ได้แก่ ทฤษฎีการจัดการตามสถานการณ์ (Contingency Theory) แนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) ภารกิจหรือพันธกิจ (mission) การประเมินสภาพ ...

    แนวคิดทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่เน้นในเรื่องใด

    ทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ หมายถึง ทฤษฎีองค์การและการจัดการทุกองค์การไม่ว่าจะมี ขนาด ประเภท หรือสถานที่ตั้งอย่างไร จ าเป็นต้องมีการจัดการที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีเป็นจุดเริ่มต้น ของการด าเนินงานขององค์การ การเติบโตและการด ารงอยู่ต่อไปขององค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์การในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งต้องเผชิญกับ ปัจจัยแวดล้อมที่มี ...

    การจัดการองค์การสมัยใหม่ คืออะไร

    องค์การสมัยใหม่ (Modern organization) การจัดการเกิดขึ้นในองค์การ และในมุมมองด้านการจัดการ องค์การหมายถึง การที่มีคนมาทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งองค์การมีลักษณะร่วมกันอยู่ 3 ประการ ได้แก่ ทุกองค์การต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของตนเอง ทุกองค์การต้องมีคนร่วมกันทำงาน

    ทฤษฎีองค์การยุคใหม่เกิดขึ้น จากเหตุใด

    ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Organization Theory) เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากทฤษฎี องค์การสมัยดั้งเดิม พัฒนามาพร้อมวิชาการสังคมวิทยา จิตวิทยา ทฤษฎีนี้สนใจโครงสร้างตามแบบแผนและการ คิดตามหลักเหตุผล และยังศึกษาเพิ่มเติมว่าทำาอย่างไร จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้เร็วขึ้น จึงหันมาสนใจคนมาก ขึ้น ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่คำานึงผลที่ ...