ความพอประมาณ ในชีวิตประจําวัน

คำสั้นๆได้ใจความ...คำว่า “หนี้” ได้ยินเพียงเบาๆ ก็สะเทือนใจ หลายคนคงอยากจะหนีให้ห่างไกลกับคำนี้ และเมื่อเป็นหนี้แล้วคงไม่มีใครที่อยากกลับไปเป็นหนี้อีกแน่นอน เพราะกว่าที่จะปลดหนี้ได้ ต้องใช้ทั้งกำลังใจ และความพยายามอย่างมาก

ปลดหนี้ว่ายากแล้ว แต่ที่ยากกว่าก็คือ ทำอย่างไร ไม่ให้กลับไปเป็นหนี้อีก วันนี้เราขอแนะนำวิธีการที่ไม่ให้กลับไปเป็นหนี้ โดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร ?

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวคิดปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ชี้ถึงแนวทางในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตอยู่ในทางสายกลางและความพอเพียง ซึ่ง “ความพอเพียง” ในมุมมองของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักสำคัญซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วง ได้แก่ :

ห่วงที่ 1 ความพอประมาณ

ความพอประมาณในความหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หลักการนี้สามารถนำมาใช้กับการใช้เงินของคุณได้ครับ ถ้าไม่อยากกลับไปเป็นหนี้ก็ควรใช้จ่ายให้พอดีกับความต้องการ เช่น ซื้อรถที่พอดีกับการใช้งาน กินแต่พอดี

หรืออาจนำมาใช้ในเรื่องการออมเงินก็ได้ โดยตามหลักการนี้คุณควรที่จะออมพอดี หรือออมแบบทางสายกลาง ไม่มากไป ไม่น้อยไป เพราะถ้าคุณออมน้อยไป เมื่อคุณต้องการใช้เงิน แล้วคุณไม่มีเงินออม คุณก็อาจกลับไปเป็นหนี้อีก หรือถ้าออมมากเกินไป คุณก็จะมีเงินไม่พอใช้ และไม่มีความสุข เพราะฉะนั้นออมแบบพอดีๆ จะช่วยให้คุณมีเงินเหลือกินเหลือใช้และเหลือเก็บนั่นเอง

ห่วงที่ 2 มีเหตุผล

การตัดสินใจในเรื่องการเงินนั้นต้องตั้งอยู่บนความพอดี และความพอดีนั้นต้องมีเหตุผลด้วย โดยก่อนจะทำอะไรควรมองปัจจัยต่างๆให้รอบด้าน และลองคิดดูว่าการกระทำนั้นจะส่งผลอะไรบ้างในอนาคต เช่น ก่อนตัดสินใจเป็นหนี้ ควรหยุดคิดก่อนว่า เราเป็นหนี้เพราะอะไร มันจำเป็นจริงเหรอ และหนี้จะส่งผลอย่างไรกับเราในอนาคต หรือถ้าเป็นเรื่องการลงทุน ก่อนลงทุนก็ควรวิเคราะห์ให้รอบด้าน ไม่ควรรีบร้อน เพราะทุกการลงทุนมักมีความเสี่ยง

ดังนั้นแนะนำว่า ก่อนที่จะทำอะไรที่เกี่ยวกับเงินๆทองๆ อยากให้ใจเย็นๆก่อนนะครับ ลองนั่งคิดทบทวนเหตุผลให้ดีๆ ว่าจะส่งผลยังไงในอนาคต เพราะถ้าคุณมีเหตุผลในการใช้เงินแล้ว โอกาสที่คุณจะกลับไปเป็นหนี้ก็จะไม่มีอีกเลย..

ห่วงที่ 3 ภูมิคุ้มกัน

การมีภูมิคุ้มกัน หมายถึงการเตรียมพร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลง โดยคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการมีภูมิคุ้มกันนั้นจะเป็นเกราะป้องกัน ที่จะทำให้คุณไม่กลับไปเป็นหนี้อีก โดยภูมิคุ้มกันในที่นี้ก็คือ ภูมิคุ้มกันด้านการเงิน ซึ่งได้แก่ :
 

ความพอประมาณ ในชีวิตประจําวัน
ความพอประมาณ ในชีวิตประจําวัน

นอกจากหลักสำคัญ 3 ห่วงที่กล่าวไปแล้ว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังมี เงื่อนไข ที่ช่วยให้การตัดสินใจ และให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับที่พอเพียง โดยเงื่อนไขมี 2 ประการดังนี้ :

เงื่อนไข ความรู้

ก่อนที่จะทำอะไร ควรมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นให้รอบด้านเสียก่อน เพราะการตัดสินใจด้วย เงื่อนไขความรู้ จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

เรื่องการเงินก็เช่นกัน การมีความรู้เรื่องเงินๆทองๆ จะช่วยให้คุณตัดสินใจในเรื่องการเงินไม่ผิดพลาด และไม่โดนคนอื่นมาเอาเปรียบ นอกจากนี้เงื่อนไขความรู้ยังรวมถึงการพัฒนาความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพอีกด้วย เพราะความรู้จะช่วยให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้น และเลี้ยงตัวเองได้

เงื่อนไข คุณธรรม

เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่จะต้องเสริมสร้าง โดยจะประกอบด้วย การมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รวมถึงอดออมอยู่เสมอ และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือ การแบ่งปัน และช่วยเหลือผู้อื่น การมีเงื่อนไขข้อนี้จะทำให้คุณใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข หลังจากที่ไม่มีหนี้

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยคุณไม่ให้กลับไปเป็นหนี้ได้ แต่สุดท้ายก็อยู่ที่ว่าคุณได้นำไปปรับใช้หรือเปล่า และไม่ใช่แค่เรื่องหนี้กับเรื่องการเงินเท่านั้น คุณสามารถนำหลักการนี้ไปใช้กับเรื่องอื่นๆในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

หลังจากที่คุณปลดหนี้ได้แล้ว ลองใช้ชีวิตแบบพอเพียงดู แล้วคุณจะพบกับความสุขที่แท้จริง..

ตัวอย่างการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ทรงให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า ๓๐ คือ ใช้จ่าย ๓ ส่วน และเก็บออม ๑ ส่วน ฉันและครอบครัวได้นำมาปฏิบัติทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ครอบครัวของฉันอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ดังนี้
.พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน ๒-๓ ต้น พอที่จะมีไว้กิน เองในครัวเรือน แบ่งให้เพื่อนบ้านบ้าง เหลือจึงขายไป

ความพอประมาณ ในชีวิตประจําวัน
                                                           

ขอขอบคุณ thipaksorn13.wordpress.com

.พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) คุณพ่อของฉันและฉันมักเน้นเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าและน้ำประปา ท่านให้พวกเราช่วยกันประหยัด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน ก็ควรปิดน้ำ ปิดไฟ เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง

ความพอประมาณ ในชีวิตประจําวัน
ขอขอบคุณ www.kwcd-cincinnati.com/                                                         

.พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ชีวิต โดยจะอยู่ในกิจกรรม “ออมวันนี้ เป็นเศรษฐีวันหน้า

ความพอประมาณ ในชีวิตประจําวัน

ขอขอบคุณ www.childanddevelopment.com/สอนลูกให้รู้ค่าของเงิน/

.เมื่อมีรายได้แต่ละเดือน จะแบ่งไว้ใช้จ่าย ๓ ส่วน เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าจิปาถะ ที่ใช้ในครัวเรือน รวมทั้งค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้บางอย่างที่ชำรุด เป็นต้น

ความพอประมาณ ในชีวิตประจําวัน
                                    ขอขอบคุณ infographic.in.th/infographic/ฝากเงินที่ไหนดี

.ฉันจะยึดความประหยัด ตัดทอนรายจ่ายในทุกๆ วันที่ไม่จำเป็น ลดละความฟุ่มเฟือย
การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ “ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง”
ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต “ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ”

ความพอประมาณ ในชีวิตประจําวัน

ขอขอบคุณ uknowledge.org/author/knowlageteam/page/11

ตัวอย่างการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 ด้านการใช้จ่ายเงินในครอบครัว คือ ในครอบครัวจะมีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวัน รวมถึงตัวของเราเองก็จะมีการวางแผนหรือจดบันทึกเพื่อที่จะได้ทราบว่าในแต่ละวันเราใช้จ่ายไปเท่าไหร่ ครอบครัวเราใช้จ่ายอะไรบ้างในแต่ละวัน ซึ่งเราจะได้รู้ถึงหลักการในการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมภายในครอบครัว

 ด้านการใช้เงิน คือ ตั้งแต่เราได้เงินมาโรงเรียนจากพ่อแม่เราก็เริ่มวางแผนการใช้จ่ายเงินในวันนั้นว่าจะ ต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง และ เงินส่วนที่เหลือก็ให้เป็นส่วน ของเงินเก็บ เพื่อนำไปฝากธนาคาร หรือ นำไปใช้ในยามที่จำเป็นจริงๆ

– ด้านการเลือกซื้อของ คือ เวลาเราจะเลือกซื้อของชิ้นใดชิ้นหนึ่งนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมว่าของสิ่งนั้นเหมาะสมกับเราหรือเปล่า ราคาเหมาะกับสินค้าหรือไม่และการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และต้องเข้ากับหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงด้วย คือไม่ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย และซื้อของที่จำเป็นจริงๆ เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล https://thkingblog.wordpress.com/

นำหลักความพอประมาณไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มที่ตัวเอง.
- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้.
- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ.
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต.
- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย.
- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง.
- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย.

ความพอประมาณเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองอย่างไร

ความพอประมาณ คือ การทางสายกลาง ทั้งชีวิต การเงิน และความเป็นอยู่ ถ้าขาด ความพอประมาณ ชีวิตก็จะได้รับผลกระทบ คือ เกินพอดี เกิดความไม่รู้จักพอ เกินความ ต้องการ อยากได้อยากมี กระทบการเงิน คือ การใช้จ่ายเกินตัว ไม่รู้จักพอ เกินประมาณ ใช้ เงินเกินความพอดี ความเป็นอยู่ที่เกินพอดี จะ ใช้แบบหรูหรา ฟุ่มเฟือย ทั้งอาหาร เครื่อง ...

หลักธรรมความพอประมาณ 5 ประการได้แก่อะไรบ้าง

1.พอดีด้านจิตใจ 2.พอดีด้านสังคม 3.พอดีด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.พอดีด้านเทคโนโลยี 5.พอดีด้านเศรษฐกิจ

นักเรียนนําหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป เช่น ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อที่จะจัดการการใช้จ่ายเงินได้อย่างเป็นระบบ ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง มีจิตสํานึกที่ดี เอื้ออาทร เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตัว