รูป แบบ ของ ประสบการณ์ การเรียน รู้

รูป แบบ ของ ประสบการณ์ การเรียน รู้

Post Views: 30,982

หลาย ๆ ครั้งอาจจะเคยได้ยินคำว่า “Learning by doing” ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า “การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ” 
โดยจุดเด่นของการลงมือทำคือ การได้เจอกับความท้าทาย หรือ ประสบการณ์จริง
ยกตัวอย่าง การเรียนการต่อวงจรไฟฟ้า ถ้าเรียนแต่ทฤษฎี ก็อาจจะได้เห็นมุมมองไม่รอบด้าน ดังนั้นการลงมือทำก็จะช่วยให้เราได้เห็นรอบด้านมากขึ้น
ซึ่งหนึ่งในงานที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในปัจจุบัน เป็นงานของ เดวิด เอ. โคล์บ (David A. Kolb) นักทฤษฎีการศึกษา ได้ทำการพัฒนาและนำเสนอออกมาเป็น ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือ Experiential Learning Theory (ELT)

“การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) คือกระบวนการสร้างความรู้ ทักษะ และเจตคติด้วยการนำเอา ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาบูรณาการเพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่ ๆ ขึ้น” 

โดยมีจุดเด่นที่เพิ่มขึ้นมา คือการทบทวนประสบการณ์ หรือ นำสิ่งที่ลงมือทำมาตกผลึกความคิด เพื่อให้ได้รับรู้ถึงความรู้ใหม่ที่ได้รับ เป็นการนำไปต่อยอดความรู้เดิม หรือ สามารถนำไปปรับใช้ในบริบทอื่น ๆ สำหรับตัวเอง
การที่เรามีประสบการณ์ แต่ไม่ได้ตกผลึก ก็เหมือนกับการที่เรารู้เหมือนเดิม บางทีก็ลืมได้ง่าย หรือไม่รู้ว่าควรนำไปปรับใช้ต่อได้อย่างไร เพราะขาดสูตรสรุปประสบการณ์นั้น ๆ ให้กับตัวเอง เนื่องจาก เดวิด เอ. โคล์บ เชื่อว่าในแต่ละคนมีรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) ที่แตกต่างกันออกไป 

รูป แบบ ของ ประสบการณ์ การเรียน รู้

โดย เดวิด เอ. โคล์บ นำเสนอว่าการที่จะนำทฤษฎีนี้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้ จำเป็นต้องผ่านวงจรทั้ง 4 ขั้น (Experiential Learning Cycle : ELT Cycle) ซึ่งประกอบไปด้วย
  1. การนำตัวเองเข้าไปอยู่ในประสบการณ์ หรือ สถานการณ์ใหม่ หรือ การตีความประสบการณ์ที่เกิดขึ้นมาใหม่ (Concrete Experience) 
  2. เมื่อเราได้เข้าไปรับประสบการณ์ใหม่นั้น ก็มักทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างประสบการณ์และความเข้าใจ ในขั้นนี้เป็นการลองสะท้อน ลองทบทวนให้เกิดการตกผลึกความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ โดยอาศัยวิธีการตั้งคำถาม (Reflective Observation of the New Experience)
  3. แน่นอนว่าการสะท้อนมักก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ หรือ การดัดแปลงแนวคิดเชิงนามธรรมที่มีอยู่ ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองแล้ว (Abstract Conceptualization)
  4. การเรียนรู้จะไม่จบลงเพียงแค่การได้แนวคิดใหม่ ดังนั้นในขั้นนี้ผู้เรียนจะได้ลองใช้ความคิดกับบริบทรอบตัวของตัวเอง เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น (Active Experimentation) 
ซึ่งถ้าหากในอนาคต ผู้เรียนได้เข้าไปรับประสบการณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาอีก ก็ให้หมุนวงจรกลับไปที่ขั้นแรก และทำต่อไปจนขั้นที่ 4 อีกครั้ง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง
รูป แบบ ของ ประสบการณ์ การเรียน รู้
ซึ่งในการทำงานด้านจิตวิทยาเชิงบวก ก็ได้นำ ELT Cycle ไปปรับใช้ด้วยเช่นกัน 
ยกตัวอย่าง “การทำให้เด็กได้รู้จักกับอารมณ์เชิงบวก (Positive Emotions) ซึ่งมีด้วยกัน 10 อารมณ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ สนุกสนาน รู้สึกขอบคุณซาบซึ้ง รู้สึกสงบ มีแรงบันดาลใจ มีความหวัง รัก รู้สึกเคารพ รู้สึกเพลิดเพลิน มีความตื่นเต้นสนใจ รู้สึกภาคภูมิใจ (Fredrickson, (2010,2011))”
  1. ชวนให้เด็กได้ลองเข้าไปทำความรู้จักกับอารมณ์เชิงบวก ผ่านการพาเข้าไปเจอประสบการณ์ หรือ กิจกรรม ที่ส่งผลให้เกิดอารมณ์เหล่านั้น

“การชวนดูภาพยนตร์สร้างแรงบันดาลใจ”

  1. ชวนให้เด็กได้สะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก ผ่านการตั้งคำถาม

“จากภาพยนตร์ที่รับชมไปเมื่อสักครู่นี้ เราประทับใจฉากไหน ตัวละครไหน หรือประโยคไหนในภาพยนตร์บ้าง แล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง”

  1. เมื่อเขาเริ่มรับรู้ได้ถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น รับรู้ว่าอารมณ์นี้เรียกว่าอะไร ให้ลองชวนคิดต่อว่าเขาเองจะสามารถประสบกับอารมณ์แบบนี้ได้จากการเข้าไปอยู่ในประสบการณ์แบบไหนได้อีกบ้าง

“หลังจากการดูภาพยนตร์แล้ว เราคิดว่า เราจะสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นกับเพื่อนในห้องได้อีกด้วยวิธีการ หรือกิจกรรมอะไรบ้าง ให้ออกแบบกิจกรรมมากลุ่มละ 1 กิจกรรม”

  1. ให้เขาได้ลองปรับใช้สิ่งที่ได้รู้จักมา กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เขาคิดมาแล้วว่าน่าจะทำให้เกิดอารมณ์แบบนี้อีกครั้ง

“ให้ทุกคนได้ลองนำเสนอกิจกรรมที่คิดค้น และออกแบบมาเพื่อสร้างความรู้สึกนั้นมาพาให้เพื่อนในห้องได้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดประสบการณ์ และได้สะท้อนคิดต่อยอดต่อไป” โดยคนนำกิจกรรมจะได้เรียนรู้ สะท้อนคิดอารมณ์เชิงบวกนั้นตั้งแต่การออกแบบ และรับรู้ถึงขั้นตอนวิธีการในการสร้างอารมณ์เชิงบวกนั้นขึ้นมา เพราะเขาได้สามารถออกแบบขั้นตอนกิจกรรมสำหรับผู้อื่นได้แล้ว….”

“ความรู้นั้นสามารถเปลี่ยนแปลง และถูกขยายได้ตลอด ดังนั้นแล้วการพาตัวเองเข้าไปสู่ประสบการณ์ใหม่ ๆ ก็มักจะทำให้ได้เจอความรู้ที่สดใหม่ และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ”
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————-
สังเคราะห์และเรียบเรียงโดย
นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ร่วมด้วย
นางสาวชนันญา น้อยสันเทียะ
ภาพประกอบโดย
นางสาวรสรณ์รดี ภาคภากร
เอกสารอ้างอิง
Christy Visaggi and Jeffrey Young. (2020). Experiential Learning Theory. Senior Faculty Associates for Signature Experiences. Retrieved from  https://myexperience.gsu.edu/faculty/resources/theory/
Fredrickson, B. (2010(2011)). Positivity: Groundbreaking Research to Release Your Inner Optimist and Thrive. London: Oneworld Publications.
Saul McLeod. (2017). Kolb’s Learning Styles and Experiential Learning Cycle. SimplyPsychology. Retrieved from https://www.simplypsychology.org/learning-kolb.html