ความ หมาย และความ สำคัญ เศรษฐกิจ พอ เพียง และ เกษตรทฤษฎีใหม่

นโยบายการใช้คุกกี้ของสำนักงานประมงจังหวัดเลย

เมื่อท่านได้เข้าสู่เว็บไซต์สำนักงานประมงจังหวัดเลย https://www4.fisheries.go.th/fpo-loei ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็บไซต์ของท่านจะถูกเก็บเอาไว้ในรูปแบบของคุกกี้ โดยนโยบายคุกกี้นี้จะอธิบายถึงความหมาย การทำงาน วัตถุประสงค์ รวมถึงการลบและการปฏิเสธการเก็บคุกกี้เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยการเข้าสู่เว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้หน่วยงานราชการใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. คุกกี้คืออะไร

คุกกี้ คือ ไฟล์ข้อความขนาดเล็กที่ถูกดาวน์โหลดไปยังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์มือถือของท่าน ซึ่งทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและการตั้งค่าต่าง ๆ เช่น บันทึกข้อมูลการตั้งค่าภาษาในอุปกรณ์บนอุปกรณ์ของท่าน บันทึกสถานะการเข้าใช้งานในปัจจุบันของท่าน เพื่อช่วยให้ท่านสามารถเข้าใช้งานเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน (รวมเรียกว่า “บริการ”) ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการเข้าใช้งานบริการที่ท่านชื่นชอบในรูปแบบไฟล์ โดยคุกกี้ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่ออุปกรณ์ของท่าน และเนื้อหาในคุกกี้จะถูกเรียกออกมาดูหรืออ่านได้โดยบริการที่สร้างคุกกี้ดังกล่าวเท่านั้น

2. ประโยชน์ของคุกกี้

คุกกี้จะบอกให้ทราบว่าท่านเข้าใช้งานส่วนใดในบริการของสำนักงานประมงจังหวัดเลย เพื่อที่สำนักงานประมงจังหวัดเลยจะสามารถมอบประสบการณ์การใช้บริการที่ดีขึ้นและตรงกับความต้องการของท่านได้ นอกจากนี้ การบันทึกการตั้งค่าแรกของบริการด้วยคุกกี้จะช่วยให้ท่านเข้าถึงบริการด้วยค่าที่ตั้งไว้ทุกครั้งที่ใช้งาน ยกเว้นในกรณีที่คุกกี้ถูกลบซึ่งจะทำให้การตั้งค่าทุกอย่างจะกลับไปที่ค่าเริ่มต้น

3. การใช้งานคุกกี้

สำนักงานประมงจังหวัดเลย ใช้คุกกี้และเทคโนโลยีอื่น เช่น พิกเซลแท็ก (Pixel-tags) บนบริการของสำนักงานประมงจังหวัดเลย (รวมเรียกว่า “บริการที่อ้างอิงนโยบายการใช้คุกกี้”) ดังนั้น บริการใดก็ตามที่ท่านใช้เพื่อเข้าถึงบริการที่อ้างอิงนโยบายการใช้คุกกี้จะได้รับคุกกี้จากสำนักงานประมงจังหวัดเลย

เมื่อท่านเข้าถึงบริการที่อ้างอิงนโยบายการใช้คุกกี้ คุกกี้ของสำนักงานประมงจังหวัดเลย จะถูกดาวน์โหลดไปยังอุปกรณ์ของท่านเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการใช้และประวัติการใช้บริการ ข้อมูลหรือบริการที่ท่านสนใจ รวมถึงหมายเลขอ้างอิงการเข้าใช้บริการล่าสุดของท่าน เป็นต้น

นอกจากนั้น สำนักงานประมงจังหวัดเลย มีการใช้งานคุกกี้ร่วมกับเทคโนโลยีประเภทพิกเซลแท็ก เพื่อทราบถึงรูปแบบการใช้และประวัติการใช้บริการ ข้อมูลหรือบริการที่ท่านสนใจ และนำไปวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาการให้บริการ แสดงเนื้อหา โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เหมาะสมรวมถึงการบริการต่าง ๆ ที่ตรงกับความสนใจของท่าน เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ท่านได้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สำนักงานประมงจังหวัดเลย จะใช้งานคุกกี้ภายใต้รายละเอียดที่ระบุในคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว

สำหรับประเภทคุกกี้ที่สำนักงานประมงจังหวัดเลย ใช้งาน สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

3.1 คุกกี้เพื่อการให้บริการ คุกกี้เพื่อการให้บริการจะช่วยให้ท่านสามารถใช้บริการ และ/หรือเข้าถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ได้ เช่น คุกกี้ที่จัดการเรื่องการเข้าสู่ระบบ (Login) และสถานะการเข้าสู่ระบบของท่าน

3.2 คุกกี้ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการใช้บริการ คุกกี้ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการใช้บริการจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ท่านในการใช้บริการ รวมทั้งช่วยให้สำนักงานประมงจังหวัดเลย รู้จักท่านมากยิ่งขึ้น โดยสำนักงานประมงจังหวัดเลย จะใช้ข้อมูลดังกล่าวนี้ในการนำเสนอและพัฒนาระบบเว็บไซต์สำนักงานประมงจังหวัดเลย ให้ตรงกับความสนใจของท่านต่อไป

ตัวอย่างการอำนวยความสะดวกแก่ท่านในการใช้บริการด้วยคุกกี้ประเภทนี้ คือ

1. ช่วยจำสถานะของการใช้บริการ เช่น ภาษาที่เลือกใช้
2. ช่วยจำคำตอบที่ท่านเคยตอบไปแล้ว ซึ่งจะช่วยให้ท่านไม่ต้องตอบคำถามเดิมซ้ำอีก
3. ให้บริการ Live Bot บนเว็บไซต์ของสำนักงานประมงจังหวัดเลย
4. ให้บริการฟังก์ชัน Social Media Sharing ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถแบ่งปันเนื้อหาที่สนใจบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)

ทั้งนี้ เพื่อการให้บริการและเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ท่านในการใช้บริการตามตัวอย่างข้างต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการใช้งานโปรแสำนักงานประมงจังหวัดเลยเสริม (Plugin) และบริการของบุคคลที่สาม เช่น Google Analytics, Facebook Analytics, Truehits, Hotjars, Facebook, Line, Twitter, และ Add This

4. วิธีปิดการทำงานของคุกกี้

ท่านสามารถปิดการทำงานของคุกกี้ได้ โดยการตั้งค่าเบราว์เซอร์ของท่าน และตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเพื่อระงับการรวบรวมข้อมูลโดยคุกกี้ในอนาคต (รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จาก AboutCookies.org)

อย่างไรก็ตาม บริการบางอย่างบนเว็บไซต์ของสำนักงานประมงจังหวัดเลยจำเป็นต้องมีการใช้คุกกี้ หากท่านปิดการทำงานคุกกี้อาจทำให้ท่านไม่สามารถที่จะใช้งานบางฟังก์ชันหรือทั้งหมดของเว็บไซต์ได้

5. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายฯ

สำนักงานประมงจังหวัดเลยขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขนโยบายฯฉบับนี้ เพื่อให้เป็นไปตามกฏระเบียบรวมถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยนโยบายเวอร์ชันล่าสุดจะประกาศบนเว็บไซต์สำนักงานประมงจังหวัดเลย ที่ https://www4.fisheries.go.th/fpo-loei เพื่อให้ท่านทราบแนวทางที่สำนักงานประมงจังหวัดเลยใช้ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

          ประมวลพระราชดำรัส "เศรษฐกิจพอเพียง" และ "ทฤษฎีใหม่"  "...มีพอเพียงพอกินนี้ ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้...              

          พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ก็ทำให้มีความสุขถ้าทำได้ ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจหรือระบบพอเพียง ได้แปลพอเพียงนี้ คือ ตอนที่พูดพอเพียง แปลในใจแล้วก็ได้พูดออกมาด้วยว่าจะแปลเป็น Self-sufficiency ถึงได้บอกว่าพอเพียงแก่ตนเอง แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า  Self-sufficiency  ซึ่ง Self-sufficiency  นี้ หมายความว่าผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง ที่อื่นเขาแปลจากภาษาฝรั่งกันว่าให้ยืนบนขาตัวเอง คำว่ายืนบนขาตัวเองนี้ มีคนบางคนเขาพูดว่า ชอบกล ใครจะมายืนบนขา คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธแต่ตัวเอง ยืนบนขาตัวเองก็หกล้มอันนี้ก็เป็นความคิดที่มันอาจจะเฟื่องไปหน่อย แต่ว่าเป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง หมายความว่า ๒ ขาของเรานี่ยืนบนพื้นให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืมขาคนอื่นมาใช้เพื่อที่จะยืนอยู่ แต่ว่าพอเพียงนี้มีความหมายกว้างกว่า ยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่า พอก็เพียง พอเพียงนี่ก็พอ คนเราถ้าพอในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ไม่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ......พูดเหมือนว่าจะอวดตัวว่าเก่ง แต่ว่าตกใจตัวเอง ว่าที่พูดไปใช้งานได้ จึงมาสรุปเป็นทฤษฎีใหม่ และเมื่อเป็นทฤษฎีใหม่ก็ให้ไปที่มูลนิธิชัยพัฒนา แล้วเขียนข้างใต้ว่าเป็นทฤษฎีใหม่ เป็นของมูลนิธิชัยพัฒนานั้น ต่อมาคนก็ได้เห็นอันนี้ว่าใช้ได้ แล้วก็ไปปฏิบัติที่ที่แห้งแล้ง นี่ก็เคยเล่าให้ฟังแล้วที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ก็ได้ผลดี ที่ตรงนั้น ๑๒ ไร่ ปีหนึ่งเขาก็มีข้าวกิน ที่ไปเยี่ยมไม่มีข้าวกิน มีเพียงไม่กี่เม็ดต่อรวง เมื่อชาวบ้านแถวนั้นเห็นว่าดี ก็ขอให้ช่วย ปีต่อไปก็เป็น ๑๐ ไร่ ปีต่อๆ ไปก็เป็น ๑๐๐ เป็น ๒๐๐ และขยายออกไปในภาคอื่น ก็ด้วยเป็นการปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่ก็ได้ผล แล้วก็เมื่อเป็นทฤษฎีใหม่นี้ ก็มาเข้าเป็นเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คนที่ทำนี้ต้องไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ฟุ้งเฟ้อ แล้วเขียนไว้ในทฤษฎีนั้นว่า ลำบากเพราะว่าผู้ปฏิบัตินี้ต้องมีความเพียร และต้องอดทนไม่ใช่ว่าทำได้ทุกแห่ง ต้องเลือกที่และค่อยๆ ทำไปก็จะสามารถที่จะขยายความคิดของทฤษฎีใหม่นี้ ไปได้โดยดัดแหลงทฤษฎีนี้ แล้วแต่สถานที่แล้วแต่สภาพของภูมิประเทศ...        

          ...อันนี้ถึงบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง หรือ ทฤษฎีใหม่ นี้ ๒ อย่างนี้จะนำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำได้โดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้..."   พระราชดำรัส พระราชทานแด่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต ๔ ธันวาคม  ๒๕๔๑      “ทฤษฎีใหม่” ขั้นที่หนึ่ง     (๑)  ถ้าพูดอย่างสรุปที่สุด เป็นวิธีปฏิบัติของเกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็ก (ประมาณ ๑๕ ไร่).   (๒)  หลักสำคัญ : ให้เกษตรกรมีความพอเพียง โดยเลี้ยงตัวได้ (Self sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน. ทั้งนี้ต้องมีความสามัคคีในท้องถิ่น.   (๓)  มีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี โดยถือว่าครอบครัวหนึ่งทำนาห้าไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี ข้อนี้เป็นหลักสำคัญของทฤษฎีนี้.   (๔)  เพื่อการนี้ จะต้องใช้หลักว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ฉะนั้น ๕ ไร่ ต้องมี ๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร แต่ละแปลง (๑๕ ไร่) ทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่หรือไม้ผล ๕ ไร่ (= ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี. จึงได้สูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย นา ๕ ไร่ และพืชไร่และสวน ๕ ไร่ สระน้ำ ๓ ไร่ ลึก ๔ เมตร จุประมาณ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร (๑๙,๒๐๐) ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ ๒ ไร่ รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่   (๕)  อุปสรรคสำคัญที่สุดคือ : อ่างเก็บน้ำ หรือสระ ที่ได้รับให้เต็ม เพียงปีละครั้ง จะมีการระเหยวันละ ๑ เซนติเมตร โดยเฉลี่ย ในวันที่ฝนไม่ตก หมายความว่า ในปีหนึ่งถ้านับว่าแห้ง ๓๐๐ วัน ระดับน้ำของสระจะลดลง ๓ เมตร (ในกรณีนี้ ๓/๔ ของ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร น้ำที่ใช้ได้เหลือ ๔,๗๕๐ ลูกบาศก์เมตร) จึงจะต้องมีการเติมน้ำเพื่อให้เพียงพอ.   (๖)  มีความจำเป็นที่จะมีแหล่งน้ำเพิ่มเติม สำหรับโครงการวัดมงคลชัยพัฒนา ได้สร้างอ่างเก็บน้ำจุ ๘๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร สำหรับเลี้ยง ๓,๐๐๐ ไร่.   (๗)  ลำพังอ่างเก็บน้ำจุ ๘๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร จะเลี้ยงได้ ๘๐๐ ไร่ (โครงการวัดมงคลฯ มีพื้นที่ ๓,๐๐๐ ไร่ แบ่งเป็น ๒๐๐ แปลง) อ่างนี้จึงเลี้ยงได้ ๔ ไร่ต่อแปลง ลำพังสระในแปลงเลี้ยงได้ ๔.๗๕ ไร่ จึงเห็นได้ว่า หมิ่นเหม่มาก (๔.๗๕ ไร่ + ๔.๐๐ ไร่ = ๘.๗๕ ไร่) ถ้าคำนึงว่า ๘.๗๕ ไร่นั้น จะทำเกษตรกรรมอย่างสมบูรณ์ได้อีก ๖.๒๕ ไร่ จะต้องอาศัยเทวดาเลี้ยง แต่ถ้าคำนึงว่า ในระยะที่ไม่มีความจำเป็นที่จะใช้น้ำหรือมีฝนตก น้ำฝนที่ตกมาจะเก็บไว้ได้ในอ่างและสระ สำรองไว้สำหรับเมื่อต้องการอ่างและสระจะทำหน้าที่เฉลี่ยน้ำฝน (regulator) จึงเข้าใจว่าในระบบนี้น้ำจะพอ.   (๘)  ปัญหาใหญ่อีกข้อหนึ่ง คือราคาการลงทุนค่อนข้างสูง เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก (ทางราชการ ทางมูลนิธิ และทางเอกชน) แต่ค่าดำเนินการไม่สิ้นเปลืองสำหรับเกษตรกร.  ทฤษฎีใหม่  มูลนิธิชัยพัฒนา วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๗  “ทฤษฎีใหม่” ขั้นที่สอง เมื่อตั้งศูนย์บริการวัดมงคลชัยพัฒนา และแปลงตัวอย่างที่ “ทางดิสโก” สำเร็จแล้ว เกษตรก็เข้าใจวิธีการ จึงขอให้ดำเนินการในที่ดินของตน. เมื่อได้ผลก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์.  ร่วมแรงใน (๑) การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ) (๒) การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่าย ผลผลิต) (๓) การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ) (๔) สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้) (๕) การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา) (๖) สังคมและศาสนา ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการ มูลนิธิ และเอกชน ทฤษฎีใหม่ มูลนิธิชัยพัฒนา วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ “ทฤษฎีใหม่” ขั้นที่สาม              

          ติดต่อร่วมมือกับแหล่งเงิน (ธนาคาร) และ กับแหล่งพลังงาน (บริษัทน้ำมัน) ตั้งและบริหารโรงสี (๒) ตั้งและบริหารร้านสหกรณ์ (๑,๓) ช่วยกันลงทุน (๑,๒) ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต (๔,๕,๖)              ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกร และฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้ประโยชน์  : เกษตรกรขายข้าวในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) ธนาคารกับบริษัทซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) : (๒) : เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคาต่ำ (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง) : (๑, ๓) : ธนาคารกับบริษัท จะสามารถกระจายบุคลากร                ทฤษฎีใหม่         มูลนิธิชัยพัฒนา วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๗