อาชีพหลักของประเทศมาเลเซีย

อาชีพหลักของประเทศมาเลเซีย

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          กระทรวงแรงงาน เผย 7 อาชีพที่มีความต้องการใน AEC ชูคนไทยมีความถนัด ด้านอาชีพนวดแผนไทย - เชฟ เป็นโอกาสสำคัญได้ทำงานในมาเลเซีย

          วันที่ 30 เมษายน 2557 นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากผลการศึกษาวิเคราะห์และแนวโน้มแรงงานในโครงการเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงานสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) พบว่า หากไทยมีความต้องการขยายผลการทางด้านแรงงานใน AEC นั้น อาชีพที่มีความเหมาะสมและมีความพร้อม มี 7 อาชีพที่คนไทยถนัดและได้รับการยอมรับในเรื่องฝีมือจากนานาประเทศ รวมทั้งโอกาสในการเคลื่อนย้ายแรงงานมีความต้องการในประเทศอาเซียน อาทิ ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย

โดย 7 อาชีพ ที่มีความต้องการใน AEC ได้แก่

          1. ช่างเชื่อมแม็ก คือ การเชื่อมด้วยมือหรือระบบกึ่งอัตโนมัติ

          2. ช่างเชื่อมทิก การเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนหรือสเตนเลส ด้วยมือหรือกึ่งอัตโนมัติ

          3. ช่างเชื่อมท่อโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE)

          4. ช่างประกอบท่อ การประกอบ ติดตั้งท่อเหล็กกล้าภายใต้มาตรฐานที่กำหนด

          5. ช่างไม้ก่อสร้าง

          6. พนักงานนวดไทย

          7. ผู้ประกอบอาหารไทย

          นายสุเมธ กล่าวว่า อาชีพผู้ประกอบการอาหาร พนักงานบริการในร้านอาหาร และการนวดแผนไทย แรงงานด้านนี้มีโอกาสเคลื่อนย้ายไปทำงานในประเทศมาเลเซีย โดยรัฐบาลและสมาคมกายภาพบำบัด (Malaysian Society of Complementary Therapist : MSCT) กำหนดอาชีพนวดแผนไทย ผู้ที่จะเข้าไปทำงานต้องผ่านการฝึกอบรม 772 ชั่วโมง และผ่านการทดสอบมาตรฐานของไทย ในระดับ 2 จากสถาบันหรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน หรือหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน จึงเป็นโอกาสสำหรับแรงงานไทยอีกด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

อาชีพหลักของประเทศมาเลเซีย

นักลงทุนในมาเลเซียจะตระหนักได้ทันทีว่า ชาวมาเลเซียมีทักษะความสามารถในการทำงานในระดับสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่สร้างธุรกิจใหม่ออนไลน์ที่มีอยู่มากมาย ไปจนถึงผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเพลง วัฒนธรรมและกีฬา อย่างไรก็ดี ยังมีข้อกังวลที่ว่า มาเลเซียไม่ได้ใช้ประโยชน์จากทุนมนุษย์ที่มีอยู่อย่างสูงสุดเต็มศักยภาพ แม้ว่าจะมีการลงทุนด้านการศึกษาและสุขภาพอย่างมาก แต่ผลตอบแทนที่ได้รับกลับไม่สูงเท่าที่ควรจะเป็น และชาวมาเลเซียกลุ่มใหญ่ยังคงอยู่รั้งท้ายในแง่ของการพัฒนาทุนมนุษย์

การเพิ่มศักยภาพของทุนมนุษย์

เนื่องจากมาเลเซียต้องการก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงและพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาอยู่ในระดับที่สูงกว่า GDP อย่างมาก และเพื่อให้มั่นใจว่าทุนมนุษย์ได้รับการหล่อหลอมและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีที่สร้างความพลิกผันที่เกิดขึ้น ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะวิธีการทำงาน ความท้าทายนี้จึงกลายเป็นศูนย์กลางสู่ความก้าวหน้าในการพัฒนาในอนาคตของมาเลเซีย ซึ่งส่งผลให้มีความต้องการทักษะทางปัญญาความรู้คิดขั้นสูง เช่น การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน ทักษะพฤติกรรมการเข้าสังคม ความมีเหตุผลและการรับรู้ความสามารถของตนเอง เพิ่มมากขึ้น การสร้างทักษะเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มาเลเซียต้องลงทุนในทุนมนุษย์อย่างจริงจังมากขึ้น

ทุนมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยความรู้ ทักษะและสุขภาพที่บุคลากรสั่งสมมาตลอดชีวิตของพวกเขา กลายเป็นปัจจัยหลักที่มีส่วนช่วยส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและอัตราความยากจนที่ลดลงในหลายประเทศตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก การศึกษา สุขภาพและการคุ้มครองทางสังคม ล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญและบทบาทเสริมซึ่งกันและกันในการพัฒนาทุนมนุษย์

Human Capital Index ใหม่ที่จัดทำโดยธนาคารโลก เป็นเครื่องมือชี้วัดเพื่อเปรียบเทียบแต่ละประเทศ ที่ออกแบบมาเพื่อคาดการณ์ทุนมนุษย์ในแต่ละประเทศโดยการติดตามวิถีทางตั้งแต่เกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ของเด็กที่เกิดในปัจจุบัน นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังริเริ่มโครงการ Human Capital Project ซึ่งเป็นความพยายามของทั่วโลกในการเร่งการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้นและอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อยกระดับความเสมอภาคเป็นธรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ในรายงานฉบับล่าสุดของ  Malaysia Economic Monitor เราตรวจสอบว่ามาเลเซียใช้วิธีการนี้ได้ดีในระดับใด เราพบว่าโดยรวม มาเลเซียทำคะแนนได้ 0.62 ซึ่งหมายความว่า เด็กในมาเลเซียจะมีความสามารถในการทำงานเทียบเท่ากับเมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ที่อัตรา 62% เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพและการศึกษาที่ดีที่สุด โดยรวม มาเลเซียอยู่ในอันดับ 55 จาก 157 ประเทศ และแม้ว่าจะทำคะแนนได้ดีในหลายองค์ประกอบของดัชนี แต่ยังคงขาดประสิทธิภาพในส่วนอื่นๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ มาเลเซียทำได้ดีในแง่ของความอยู่รอดของเด็ก จำนวนปีที่คาดหวังในการเข้าโรงเรียน และสภาวะด้านสุขภาพโดยรวม ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงอย่างมากในด้านโภชนาการเด็กและผลลัพธ์ของการเรียนรู้

การยกระดับความสามารถในการทำงานที่สูงขึ้น

เมื่อมองไปในอนาคต มาเลเซียจะ  ปรับปรุงทุนมนุษย์ของตน และยกระดับความสามารถในการทำงานที่สูงขึ้นได้อย่างไร

การจัดหาการดูแลและการศึกษาที่ครอบคลุมสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพสูง

จุดด้อยของมาเลเซียในแง่ของทุนมนุษย์อยู่ที่ประสิทธิผลทางการศึกษาซึ่งมีช่องว่างการเรียนรู้เฉลี่ยอยู่ที่ 3.1 ปี นี่คือผลต่างของจำนวนปีที่คาดหวังในการเข้าโรงเรียน เทียบกับจำนวนปีที่ปรับตามการเรียนรู้ในโรงเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้ มาตรการสำคัญที่ต้องมีคือ จัดหาการดูแลและการศึกษาที่ครอบคลุมสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพสูงเพื่อให้มั่นใจว่าเด็กพร้อมที่จะเข้าสู่รั้วโรงเรียน หลักฐานจากทั่วโลกพบว่า คุณภาพของโปรแกรมการศึกษาของเด็กปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียนมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการพัฒนาทักษะทางปัญญาการรู้คิดและทักษะทางสังคมของเด็กที่ดีขึ้น

ความพยายามในการดำเนินการให้มั่นใจว่า มีการจัดหาการดูแลและการศึกษาที่ครอบคลุมสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพสูง มีส่วนช่วยให้ประสิทธิผลทางการศึกษาในหลายประเทศอย่าง เกาหลีและญี่ปุ่นอยู่ในอัตราที่สูงมาก การปรับปรุงระบบการประเมินการเรียนรู้อาจช่วยเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้เช่นกัน เช่นเดียวกัน หลักฐานจากทั่วโลกพบว่า คุณภาพของระบบการศึกษาสามารถวัดผลได้อย่างถูกต้องก็ต่อเมื่อมีกรอบการประเมินที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการประเมินเชิงเปรียบเทียบชั้นเรียนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ฟินแลนด์และสิงคโปร์คือตัวอย่างที่ดีของการมีระบบการศึกษาที่ดี เมื่อมีการดำเนินการอย่างถูกต้อง การประเมินเช่นนี้อย่างต่อเนื่องสามารถสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

การจัดการภาวะแคระแกร็นในเด็ก

ต้องมีการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านโภชนาการเพื่อแก้ไขปัญหา ภาวะแคระแกร็นในเด็ก  เนื่องจากเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการเรียนรู้และการพัฒนาทุนมนุษย์ เด็กมาเลเซียหนึ่งในห้าคน (20.7 เปอร์เซ็นต์) ประสบภาวะแคระแกร็นในเด็ก ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีระดับรายได้ใกล้เคียงกัน อัตราเฉลี่ยของภาวะแคระแกร็นในเด็กในประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงอยู่ที่เพียง 7% นอกจากนี้ ภาวะแคระแกร็นในเด็กไม่เพียงพบมากในครัวเรือนที่มีสถานะสังคมเศรษฐกิจในระดับต่ำ หากแต่ยังพบในอัตราที่สูงในครัวเรือนที่มีสถานะที่ดีกว่าด้วย อัตราภาวะแคระแกร็นในเด็กระดับปานกลางถึงสูงพบได้ในชุมชนในเมืองและในชนบทในทั่วทุกรัฐของมาเลเซียในทุกกลุ่มชาติพันธุ์และทุกระดับรายได้ มีหลักฐานจากทั่วโลกมากมายที่บ่งชี้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในช่วงแรกของชีวิตของเด็กสัมพันธ์กับผลสืบเนื่องด้านลบที่รุนแรงที่ตามมาต่อสุขภาพ ปัญญาการรู้คิดและความสามารถในการทำงานตลอดการดำเนินชีวิตของบุคคลนั้น ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุใดภาวะการขาดโภชนาการที่ดีจึงยังคงเป็นปัญหาในมาเลเซียในทุกรัฐ ทุกชาติพันธุ์และทุกระดับรายได้.

โปรแกรมการขยายและปฏิรูปการคุ้มครองทางสังคม

การคุ้มครองทุนมนุษย์จากผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน เช่น การสูญเสียการจ้างงาน หรือการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บของครอบครัว ผ่านโปรแกรมสวัสดิการทางสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่ง มีหลักฐานที่ชัดเจนจากทั่วโลกที่บ่งชี้ว่า โปรแกรมการคุ้มครองทางสังคมมีบทบาทสำคัญในการจัดหาการสนับสนุนด้านรายได้แก่ครัวเรือนที่ยากไร้ที่เพื่อต่อสู้กับความยากจนเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ ระบบการคุ้มครองทางสังคมในปัจจุบันของมาเลเซียสามารถขยายให้ครอบคลุมและปฏิรูปใหม่เพื่อผนวกรวมทั้งในแง่ของมาตรการและแรงจูงใจ เพื่อช่วยให้ครัวเรือนลงทุนในทุนมนุษย์มากขึ้น

การเร่งการพัฒนาทุนมนุษย์มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้มาเลเซียสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศรายได้สูงและพัฒนาแล้วได้อย่างประสบความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาทุนมนุษย์ มาเลเซียจะสามารถเพิ่มผลผลิตงานเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศดำเนินตามครรลองของการพัฒนาอย่างเหมาะสม และชาวมาเลเซียทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการสู่การเติบโต

ผู้เขียน:  Richard Record หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ ส่วนเศรษฐกิจมหภาค กลุ่มแนวปฏิบัติการค้าและการลงทุนทั่วโลก ธนาคารโลก

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน Brink, ผู้ให้บริการข่าวสารทางดิจิทัลของ Marsh & McLennan Insights

อาชีพหลักของประเทศมาเลเซียคืออะไร

5. มาเลเซีย (Malaysia) มาเลเซีย เป็นอีกประเทศที่พึ่งพาเหมืองแร่ และการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ซุง และดีบุก และมีรายได้หลักมาจากการผลิตสินค้าและบริการ โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้ภายในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์

อาชีพของคนไทยมีอะไรบ้าง

อาชีพของประชากรไทยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่อาชีพเกษตรกรรม อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของชนชาวไทย รองลงมาคือ อาชีพด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม นอกจากนี้ก็ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ การเมือง แพทย์ ทนายความ และอีกหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ใช้ฝีมือแรงงาน

อาชีพหลักของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คืออะไร *

1. การเพาะปลูก เป็นอาชีพหลักที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การเพาะปลูกเพื่อยังชีพ การเพาะปลูกเพื่อการค้า

มาเลเซีย มีทรัพยากรประเภทใดที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศจำนวนมาก

GDP per Capita : 10,502 USD (ประมาณการ) เงินทุนสำรอง : 138 พันล้าน USD (สถานะ 31 ต.ค. พ.ศ. 2555) Real GDP Growth: ร้อยละ 5.2 (ประมาณการ) อัตราเงินเฟ้อ : ร้อยละ 1.7 (สถานะ ธ.ค. พ.ศ. 2555) ทรัพยากรสำคัญ : ยางพารา น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ อุตสาหกรรมหลัก : อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร