มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย

     7.5  โดยที่ประเทศบรูไนมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนน้อยมากและปราศจากแหล่งบันเทิง ประชาชนบรูไนและชาวต่างชาติที่พำนักในบรูไนมักจะเดินทางออกไปนอกประเทศในช่วงวันหยุด เช่น สิงคโปร์ และเมืองโกตา คินาบารู รัฐซาบาห์ ของมาเลเซีย (เดินทางโดยรถยนต์ 6 ชั่วโมง ) ตลอดจนเส้นทางระยะสั้นผ่านด่านสุไหงตุโจห์ ไปเที่ยวเมืองมีรี (Miri) หรือผ่านด่านด่านกัวลา ลูลาร์ ไปยังเมืองลิมบัง รัฐซาราวัก เพื่อท่องเที่ยว จับจ่ายซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่า รับประทานอาหารที่มีหลากหลาย และแหล่งบันเทิงต่างๆ ภายในเมือง

                        ขณะที่สิงคโปร์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียนปฏิบัติดั้งเดิม ทำให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษและความเชือในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป ชาวจีนส่วนมากบูชาเจ้าแม่กวนอิม กวนอูเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่น ๆ ขณะที่ชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น

การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะสถาบันการศึกษาเป็นกระบวนการหล่อหลอม และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศชาติ ตัวอย่างเช่น กลุ่มประเทศ BIM (ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน) ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาและบรรจุประเด็นพหุวัฒนธรรมเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนผ่านรายวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน สำหรับประเทศไทย การเปิดพื้นที่ในเชิงนโยบายจากภาครัฐด้านความหลากหลายของคนในชาติ เน้นความสำคัญของชนกลุ่มต่าง ๆ มีส่วนสำคัญสำหรับการสร้างชาติในการทำเป็นแนวนโยบายหลักหรือเป็นปรัชญาของชาติ ผ่านการขับเคลื่อนในกระทรวงต่าง ๆ โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีภาระหน้าที่โดยตรงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ

โครงการ “การพัฒนารูปแบบของการบูรณาการในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม: ประสบการณ์จากประเทศ BIM (Brunei, Indonesia, Malaysia)” จึงเกิดขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการบูรณาการการศึกษาในสังคม พหุวัฒนธรรมของประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไนดารุสซาลาม เพื่อเป็นแนวทางให้กับการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

การบริหารจัดการหลักสูตรที่สอดรับกับสังคมพหุวัฒนธรรมของมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน

มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย

มาเลเซีย

มีกลุ่มเชื้อชาติหลักอยู่ 3 กลุ่มสำคัญคือ มาเลย์ จีน และอินเดีย ระบบและการจัดการศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กลุ่มเชื้อชาติดังกล่าวอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พหุวัฒนธรรมศึกษา เป็นแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา การเรียนการสอนของประเทศมาเลเซียที่วางอยู่บนพื้นฐานค่านิยม และความเชื่อในระบอบประชาธิปไตย และการรองรับความเป็นพหุวัฒนธรรมจากแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาดังกล่าว นำมาสู่เนื้อหาที่บูรณาการเข้าไปในหลักสูตร ผ่านรายวิชาพลเมืองและหน้าที่ความเป็นพลเมือง (‘Sivik dan Kewarganegaraan’/Civics and Citizenship) ที่มุ่งเน้นสู่มาตรฐานการเรียนรู้ในการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ มีความรู้ความเข้าใจทางการเมือง มีความตื่นตัว และมีส่วนร่วมทางการเมืองในสังคมระบอบประชาธิปไตย

แนวคิดที่สำคัญของเนื้อหาเน้นการพัฒนาสู่การเป็นพลเมืองที่ดีที่พัฒนาผู้เรียนผ่านทักษะการคิด ความสามารถหรือสมรรถนะทางการเงิน สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงาน และการศึกษาต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย ความยุติธรรม ความรับผิดชอบและสิทธิต่าง ๆ ตลอดจนอัตลักษณ์และความหลากหลาย เป็นต้น

อินโดนีเซีย 

วิชาปัญจศีลจะศึกษาและหน้าที่พลเมือง (Pancasila  education and civics) ซึ่งกำหนดให้เป็นพื้นฐานของการศึกษาชาติที่ผู้เรียนต้องเรียนอย่างน้อย 2 – 3 คาบต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมหาวิทยาลัย เนื้อหาในรายวิชาปัญจศีลศึกษาและหน้าที่พลเมือง (Pancasila  education and civics) จะเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมือง (civic responsibilities) ความยุติธรรมในสังคม ชาติและประชาธิปไตย รวมถึงทัศนคติทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอินโดนีเซียกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งรายวิชานี้ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดมาตรฐานการเรียนรู้ (learning outcomes) 2 ประการสำคัญคือ (1) การพัฒนาอัตลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรม (Cultural identity) ซึ่งเป็นสมรรถนะของนักเรียนในการปรับตัวและอยู่ร่วมกันกับกลุ่มคนที่ต่างวัฒนธรรมได้ เพิ่มองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรมเพื่อลดอคติต่าง ๆ และ (2) การพัฒนามนุษยสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคมผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน

บรูไน

มีความแตกต่างหลากหลายน้อยที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การจัดการศึกษาของประเทศอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการที่นำเอาหลักปรัชญา Malayu Islam Beraja (MIB) ซึ่งเป็นอุดมการณ์แห่งรัฐ ประกอบด้วยภาษาและวัฒนธรรมมลายู ศาสนาอิสลามและการเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และนำอุดมการณ์ดังกล่าวมาบูรณาการสู่หลักสูตรการจัดการศึกษาในทุกระดับของประเทศที่มุ่งให้เกิดมาตรฐานการเรียนรู้ ที่เน้นความรักชาติ และระบอบการปกครอง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการธำรงรักษาวัฒนธรรมอิสลามมลายู

การบริหารจัดการหลักสูตรที่สอดรับกับสังคมพหุวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ในบริบทของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย รูปแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และหลักสูตรอิสลามศึกษา ต้องสามารถจัดแบบบูรณาการเนื้อหาอิสลามศึกษาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือจัดควบคู่ระหว่างหลักสูตรอิสลามศึกษาและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย

การนำแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษามาใช้ในพื้นที่เป็นประเด็นใหม่ และยังมิได้นำไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ในด้านหลักสูตรการจัดการศึกษาต้องเน้นเนื้อหาความแตกต่างทางวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนาบรรจุไว้ในหลักสูตร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย ตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน รวมถึงมีแนวทางจัดการกับความท้าทายเกี่ยวกับอคติที่มีต่อวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ให้โอกาสกับทุกกลุ่มได้แสดงอัตลักษณ์ของตนเอง เคารพซึ่งกันและกัน อยู่บนวิถีของคุณธรรมร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ เนื้อหาของหลักสูตรจึงต้องมุ่งให้ความสำคัญกับสิทธิและความเสมอภาค และความเป็นพลเมืองตามแบบประชาธิปไตย ทั้งนี้ ต้องส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นและมีความภาคภูมิใจในตนเอง และยอมรับความหลากหลายได้

กิจกรรมเสริมหลักสูตรและการส่งเสริมความเข้าใจในพหุวัฒนธรรม 

ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในสถานศึกษาได้แพร่ขยายกว้างขึ้น มีการเรียกร้องสิทธิความเป็นมนุษย์ของตนเองเพิ่มขึ้น หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันในมุมมองด้านมนุษยธรรมและตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา และเศรษฐกิจสังคม การพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศย่อมเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ทั้งยังสามารถช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของคนในชาติมากขึ้น ซึ่งในประเทศมาเลเซีย ครูจะมีบทบาทที่สำคัญ เนื่องจากสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับการพัฒนาทางปัญญา สังคม และบุคคลของนักเรียนทุกคนให้มีศักยภาพสูงสุด นักเรียนเหล่านี้ต่างมีความหลากหลายมากขึ้นในด้านของเชื้อชาติ  พื้นเพทางวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ส่วนบุคคล

ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำเป็นต้องพัฒนาทักษะรอบด้านของผู้เรียนควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อที่จะสามารถพัฒนาผู้เรียนให้ก้าวไปพร้อมกับวิวัฒนาการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาผู้เรียนในด้านวิชาการแต่เพียงอย่างเดียวไม่อาจสร้างพลเมืองของประเทศที่แข็งแกร่งได้ สถาบันการศึกษาต้องเน้นหนักในการพัฒนาทักษะสังคม ทักษะชีวิต และทักษะในการคิดคำนวณให้กับผู้เรียน กิจกรรมเสริมหลักสูตรสามารถส่งเสริมคุณภาพของระบบการศึกษาได้ดังนี้  (1) ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning)  (2) นักเรียนที่เข้าร่วมในกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีแนวโน้มที่จะลาออกจากโรงเรียนน้อยลง อีกทั้งยังทำให้มีผลสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาที่สูงขึ้น (3) นักเรียนที่เข้าร่วมในกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีปัญหาด้านพฤติกรรมลดลง และยังเป็นการเพิ่มความเป็นระเบียบวินัยให้กับตัวนักเรียน (4) การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในกิจกรรมเสริมหลักสูตร นักเรียนจะได้ฝึกทักษะความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม การทำงานในองค์กร การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การบริหารเวลา ซึ่งจะช่วยให้ค้นพบความถนัดของตนเอง (5) การทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร นักเรียนสามารถมองเห็นลู่ทางในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการค้นพบความถนัดของตนเองในการประกอบอาชีพ ทำให้นักเรียนได้รับคัดเลือกให้ทำงานในสถานประกอบการหรือการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ได้