พระมหากัสสปะ การนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน

บุตรที่ดีต้องเคารพเชื่อฟังบิดามารดา พระมหากัสสปะขณะเป็นปิปผลิมาณพถึงแม้ยังไม่อยากแต่งงาน แต่เมื่อเป็นความประสงค์ของบิดามารดาก็พยายามปฏิบัติตาม

2.เป็นผู้มีสัจจะ
เมื่อได้ลั่นวาจาว่า ถ้าบิดามารดาสามารถหาสตรีที่สวยงามดุจรูปหล่อทองคำก็ยินยอมแต่งงานด้วย ครั้งเมื่อมีสตรีที่งดงามเช่นนั้นจริงท่านก็ปฏิบัติตามสัญญาไม่ยอมคืนคำ

3.เป็นผู้ที่ความกตัญญูกตเวทีอย่างยิ่ง
ข้อนี้ปรากฏชัดแจ้งเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านได้ยินพระหลวงตารูปหนึ่งกล่าวดูหมิ่นพระพุทธเจ้า ท่านนึกสลดใจว่าต่อไปภายหน้าจะเป็นเช่นไร เมื่อพระองค์นิพพานไปแล้วท่านจึงเป็นกำลังสำคัญในการสังคายนาพระธรรมวินัย จัดการชำระพระศาสนาให้บริสุทธิ์ เป็นการตอบแทนพระคุณพระพุทธเจ้า

4.มีชีวิตเรียบง่า
ท่านชอบปลีกตัวไปอยู่สงบตามลำพังในป่า ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร อยู่ป่าเป็นวัตร สมเป็น “สมณะ”(ผู้สงบ)อย่างแท้จริง การมีชีวิตเรียบง่าย ไม่หรูหราฟุ่มเฟือยเกินจำเป็นนี้ ชาวบ้านสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตจริงได้ตามเหมาะสม

5.เป็นตัวอย่างในทางที่ดีงาม
ความเป็นคนเคร่งครัดในระเบียบวินัย การประพฤติขัดเกลาตนเองด้วยการถือธุดงค์อย่างเคร่งครัด ซึ่งความจริงแล้วท่านไม่จำเป็นต้องประพฤติปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ เพราะท่านเป็นพระอรหันต์ ไม่จำเป็นต้องขัดเกลาตนเองอีกต่อไปแล้ว แต่ที่ท่านเน้นความเคร่งครัดเป็นพิเศษ ก็เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนภายหลังแบบอย่างอีกประการหนึ่งที่ท่านวางไว้ก็คือ “ความมีวิญญาณ” แห่งการสืบทอดพระศาสนาเมื่อคราวพระพุทธศาสนามัวหมองเพราะถูกหมิ่นหรือบิดเบือนความจริง แม้ท่านเป็นผู้สงบโดยนิสัยก็นิ่งดูดาย ได้ออกมาเคลื่อนไหวปกป้องทำความจริงให้ปรากฏและความเข้าใจให้กระจ่าง ดังได้เป็นการเป็นประธานในการสังคายนาพระธรรมวินัยดังกล่าวข้างต้น ซึ่งผลงานของท่านทำให้มีพระไตรปิฏกที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์สืบทอดต่อมาจนถึงทุกวันนี้

วาระสุดท้ายของพระมหากัสสปะ พระมหากัสสปะเป็นพระเถระผู้เป็นเลิศในด้านถือธุดงควัตร และยังเป็นพระมหาสาวกที่มีความสำคัญอีกรูปหนึ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่า วาระสุดท้ายของพระมหากัสสปะ เป็นอย่างไร หลังจากใช้เวลาร่วม 7 เดือน ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหาทำการสังคายนา รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็รหมวดหมู่ชัดเจนแล้ว พระมหากัสสปะได้พำนักอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร โดยยังคงสมาทานธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด แม้อายุขัยของท่านจะล่วงเข้าสู่วัยชรา ท่านก็ยังยินดีในการอยู่ป่า ฉันอาหารที่ได้จากการบิณฑบาต และห่มผ้าบังสุกุลเป็นประจำ จวบจนอายุของท่านดำเนินมาถึง 120 ปี พระมหากัสสปะได้ตรวจดูสังขารของตน ทราบว่าเหลือเวลาอีกเพียงหนึ่งวันก็จะถึงคราวที่ต้องสละทิ้งธาตุขันธ์เสียแล้ว ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์เพื่อให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย โดยเทศนาสั่งสอนภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามกระทำความเพียรมิให้ขาด ดำรงตนอยู่บนความไม่ประมาท และปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดาอยู่เสมอ     พระมหากัสสปะเข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรูจากนั้นท่านพาหมู่ภิกษุไปยังภูเขากุกฏสัมปาตบรรพต ท่านเข้าผลสมาบัติ ก่อนจะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ อธิษฐานจิตขอให้ภูเขาเวภาระสถานที่ทำปฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย ด้วยอานุภาพแห่งคุณธรรมที่ท่านน้อมนำปฏิบัติมาชั่วชีวิต พระมหากัสสปะอธิษฐานจิตขอให้สรีระร่างกายของท่านคงอยู่จนถึงศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย เมื่อกาลนั้นมาถึง พระพุทธเจ้าศรีอริยเมตไตรยจะทรงพาหมู่ภิกษุมายังภูเขากุกกกุฏสัมปาตบรรพตนี้ เพื่อประกาศสรรเสริญว่า พระมหากัสสปะเป็นผู้สมาทานธุดงค์เป็นเลิศ แล้วเตโชธาตุก็จะบังเกิดขึ้นเผาสรีระของท่าน ณ บัดนั้น ครั้นสิ้นการอธิษฐานจิต พระมหากัสสปะก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน คงเหลือเพียงคุณูปการที่ท่านทำให้แก่พระศาสนา พระมหากัสสปะเป็นบุคคลที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยว ละทิ้งความสุขทางกาย ใช้ชีวิตมักน้อย สมถะ เรียนรู้ความจริงอันสูงสุด กระทั่งหลุดพ้นจากวัฏวังวนแห่งทุกข์ ศาสนิกชนชาวพุทธจึงมีท่านเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการใช้ชีวิตอย่างสุขสงบ […]



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED

พระมหากัสสปเถระเป็นหนึ่งในพระอัครสาวกองค์สำคัญ ท่านได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ โดยสั่งสมบุญสมภารอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้น ๆ

ในชาติสุดท้าย เป็นบุตรของกบิลพราหมณ์ แห่งกัสสปโคตร ณ บ้านมหาติตถะ แคว้นมคธ มีนามเดิมว่า ปิปผลิมาณพ ต่อมาได้แต่งงานกับนางภัททกาปิลานี แห่งตระกูลโกลิยะ ทั้งสองไม่มีใจฝักใฝ่ในโลกียวิสัย จึงเป็นสามีภรรยากันแต่เพียงในนาม ไม่ได้ข้องเกี่ยวกันในทางกามคุณ

เมื่อบิดามารดาของทั้งสองฝ่ายเสียชีวิตแล้ว ทรัพย์สมบัติของสองตระกูลก็ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งสองได้ยกให้แก่ญาติ บริวาร และคนยากจน แล้วออกบวชอุทิศแด่พระศาสดา 

ด้วยกำลังแห่งคุณความดี จึงเกิดแผ่นดินไหวในที่ที่คนทั้งสองพรากจากกัน ทราบไปถึงพระผู้มีพระภาคซึ่งประทับอยู่ในพระเวฬุวันวิหาร ว่าทั้งสองบวชอุทิศพระองค์ พระองค์จึงทรงสงเคราะห์คนทั้งสอง

พระผู้มีพระภาคทรงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ทำการต้อนรับ ๓ คาวุต นั่งขัดสมาธิอยู่ที่ควงไม้พหุปุตตนิโครธ ในระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา ทรงถือเอาเพศของพระพุทธเจ้า ประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีประมาณ ๘๐ ศอก ทำให้ทั่วทั้งป่านั้นมีแสงสว่างเป็นอันเดียวกันด้วยสิริแห่งพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ  เมื่อเห็นดังนั้นท่านกัสสปะเถระประกาศว่าพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของตนและตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาคประทานอุปสมบทแก่พระกัสสป ด้วยโอวาท ๓ ข้อ ชื่อ โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา ได้แก่อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปเถระด้วยการรับโอวาทนี้ว่า

เราจักเข้าไปตั้งความละอาย และความเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหม่ ผู้ปานกลาง อย่างแรงกล้า

เราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกุศล เงี่ยหูฟังธรรมนั้นทั้งหมด ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ รวบรวมไว้ทั้งหมดด้วยใจ

สติที่เป็นไปในกายของเรา ซึ่งประกอบด้วยความรำคาญ จักไม่ละเราเสีย

จากนั้นทรงทำพระเถระให้เป็นปัจฉาสมณะแล้วทรงออกเดินทาง โดยพระกัสสปเดินตามรอยพระบาทไป ในระหว่างทางพระพุทธองค์ได้ทำการแลกเปลี่ยนจีวรกันกับพระเถระ ทำให้มหาปฐพีไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน เพราะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากจีวรของพระพุทธเจ้านั้น บุคคลผู้มีคุณน้อยนิดไม่สามารถครองได้ แต่ภิกษุผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรมาแต่เกิด ผู้ฉลาดสามารถในการบำเพ็ญปฏิบัติเท่านั้นที่ครองได้ ฝ่ายพระเถระไม่ได้ถือตัวว่าได้จีวรของพระพุทธเจ้า แต่ยิ่งทำความเพียรมากขึ้น ท่านได้สมาทานธุดงค์คุณ ๑๓ และถือมั่น ๓ ประการ คือ ถือบังสุกุลจีวร การเที่ยวบิณฑบาต และการอยู่ป่าเป็นวัตร

พระกัสสปะเป็นเสขบุคคลเพียง ๗ วัน ในวันที่ ๘ ได้บรรลุอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า ท่านเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์

ท่านพระมหากัสสปะระลึกถึงบุพกรรมของตนในชาติก่อน ได้กล่าวถึงผลแห่งการสร้างพุทธเจดีย์ไว้ว่า

ในสมัยเมื่อพระผู้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระนิพพานแล้ว ชนทั้งหลายทำการบูชาพระศาสดา ท่านได้ทำทานก่อสร้างบุญ โดยสร้างเจดีย์อันมีค่าสูงร้อยศอก ปราสาทร้อยห้าสิบศอก ยังจิตของตนให้เลื่อมใสได้เข้าถึงไตรทศ อยู่บนวิมานอันไพบูลย์ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครอบครองแผ่นดินในหกหมื่นกัลป์ ส่วนในภัทรกัลป์นี้ ท่านได้เป็นเหมือนอย่างนั้น ๓๓ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีกำลังมาก สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ มีความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ และได้เกิดเป็นเทวดาอีก ในภพที่สุดได้เกิดในสกุลพราหมณ์ ละเงินประมาณ ๘๐ โกฏิ แล้วออกบวช ทำให้แจ้งในคุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖

ส่วนนางภัททกาปิลานี หลังจากแยกทางกับพระมหากัสสปะแล้ว ได้เดินทางไปพักอยู่ที่สำนักของปริพาชกชื่อติตถิยาราม ใกล้กับเชตวันวิหารเป็นเวลา ๕ ปี ภายหลังเมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีอุปสมบทแล้ว นางภัททกาปิลานีจึงเข้ามาบวชในสำนักของภิกษุณี บำเพ็ญสมธรรมไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตตผล พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระภัททกาปิลานีเถรีว่า เป็นเลิศกว่าภิกษุณีทั้งปวงในฐานะผู้มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ