มหา โพธิ รีวิว เซอร์ เอ็ด วิน อา ร์ โน ล ด์

วันศุกร์ ที่ 07 กรกฎาคม พ.ศ. 2560, 02.16 น.

ชาวพุทธเศร้า!ต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยาหักโค่น

เป็นต้นที่เกิดจากหน่อคู่อยู่ทางทิศเหนือ ขณะที่องค์พระเจดีย์ปลอดภัย

เมื่อเวลาประมาณ 17.00น.ของวันที่ 6 ก.ค.2560 ได้รับแจ้งว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์คู่ที่อยู่ทางทิศเหนือของเจดีย์พุทธคยา  รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ขึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้หักโค่น กิ่งได้พาดเข้าในบริเวณรอบใน แต่องค์พระเจดีย์ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด หลังจากพระเจ้าหน้าที่ทำวัตรสวดมนต์ในพระเจดีย์เสร็จ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐและพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาลกำลังตรวจสอบอยู่

ต้นพระศรีมหาโพธิ์คู่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในสองหน่อที่แตกขึ้นมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สามที่ล้มตายไป โดยเซอร์คันนิ่งแฮมได้บำรุงดูแลหน่อที่เกิดขึ้นมานั้นเมื่อปี พ.ศ.2423 และนำอีกหน่อหนึ่งที่หักโค่นนี้ไปปลูกไว้ท้านทิศเหนือของพระเจดีย์พุทธคยาห่างจากต้นโพธิ์เดิมประมาณ 15 เมตร ปัจจุบันต้นพระศรีมหาโพธิ์ทั้งสองต้นยังคงอยู่มีอายุได้ถึงทุกวันนี้ 137 ปีเต็ม

มหา โพธิ รีวิว เซอร์ เอ็ด วิน อา ร์ โน ล ด์

มหา โพธิ รีวิว เซอร์ เอ็ด วิน อา ร์ โน ล ด์

มหา โพธิ รีวิว เซอร์ เอ็ด วิน อา ร์ โน ล ด์

มหา โพธิ รีวิว เซอร์ เอ็ด วิน อา ร์ โน ล ด์

มหา โพธิ รีวิว เซอร์ เอ็ด วิน อา ร์ โน ล ด์

มหา โพธิ รีวิว เซอร์ เอ็ด วิน อา ร์ โน ล ด์

มหา โพธิ รีวิว เซอร์ เอ็ด วิน อา ร์ โน ล ด์

มหา โพธิ รีวิว เซอร์ เอ็ด วิน อา ร์ โน ล ด์

มหา โพธิ รีวิว เซอร์ เอ็ด วิน อา ร์ โน ล ด์

อย่างไรก็ตามเฟซบุ๊กพระมหาบุญโฮม สุราษฎร์ธานี ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ไว้ดังนี้

“ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ประทับนั่งตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันเพ็ญ เดือน ๖ เมื่อ ๒,๖๐๓ ปีที่ผ่านมา ณ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม” ที่ชาวพุทธควรรู้ ควรไปดู ควรไปเห็น และควรได้ไปสักการะ

........... ผู้ที่เคยไปนมัสการสังเวชนียสถาน แสวงบุญ ไว้พระ สวดมนต์ เจริญจิตตภาวนาในแดนพุทธภูมิ ซึ่งเป็นสถานที่จริงเกี่ยวกับพระพุทธองค์ เพียงแค่ได้กราบลงที่ต้นโพธิ์ หรือเริ่มนั่งสมาธิเท่านั้นจะรู้สึกและสัมผัส “อะไรๆ” ได้ด้วยจิตของเราเองทันที ซึ่งยากยิ่งที่จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น.. คำ "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ พระธรรมเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงรู้ได้เฉพาะตน” คนที่เคยไปสัมผัสแล้วเท่านั้นจะเข้าใจ สัมผัส และรู้สึกได้ ... จะเข้าใจได้เลยทันทีถึงเหตผลที่พระพุทธองค์จึงตรัสสั่งก่อนปรินิพพานกระตุ้นเตือนให้เราชาวพุทธได้ไปนมัสการสังเวชนียสถาน …

........... พระพุทธเจ้าของพวกเราชาวพุทธ ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในวันเพ็ญ เดือน ๖ เมื่อ ๒,๖๐๓ ปีที่ผ่านมา ณ ใกล้ฝั่งแม่นำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม สถานที่ดังกล่าวปัจจุบันคือ ตำบลพุทธคยา (อังกฤษเรียกเพียนไปว่า โบธคยา) อ.คยา รัฐพิหาร ยังคงปรากฏต้นโพธิ์ หรือพระศรีมหาโพธิ์ อยู่ใกล้กับเจดีย์พุทธคยา นับเป็นอนุสรณ์สถานที่มีคุณค่า ของชาวพุทธและมวลมนุษยชาติทั่วโลก ซึ่งเจดีย์พุทธคยานี้ได้ถูกยกให้เป็นมรดกโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นปัจจุบันเป็นต้นที่ ๔ ซึ่งได้เจริญเติบโตทดแทนกันมาเรื่อยๆ ซึ่งมีประวัติทั้ง ๔ ต้น ดังต่อไปนี้

........... “ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑” เป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พระองค์ได้รับการถวายหญ้ากุสะจำนวน ๘ กำ จากโสตถิยะพราหมณ์เพื่อปูเป็นที่ประทับเมื่อใกล้รุ่งของวันเพ็ญ เดือน ๖ จึงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระองค์ตรัสว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้แทนพระพุทธองค์ หากใครได้ไหว้ได้สักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็เท่ากับว่าได้ไหว้สักการะพระพุทธองค์ และหลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากราบไหว้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นจำนวนมาก สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากเช่นทรงสร้างพระเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาจำนวนถึง ๘๔๐๐๐ องค์ ซึ่งทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชไม่สนพระทัยในความสุขส่วนพระองค์เหมือนเช่นเคย ว่างเว้นจากราชกิจก็มาปฎิบัติธรรมใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ไม่กลับวังที่ประทับ จึงเป็นเหตุให้เหล่านางสนมทั้งหลายต่างพากันโกรธแค้น อิจฉาต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระมเหสีองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าอโศกมหาราชนามว่า มหิสุนทรี ได้สั่งสาวใช้ให้นำยาพิษ และน้ำร้อนแอบไปรดที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์จนทำให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตายไปในที่สุด เมื่อ พ.ศ.๒๗๔ ต้นโพธิ์ต้นที่ ๑ นี้ สิริอายุได้ ๓๕๔ ปี (๒๗๔+๘๐) การตายของต้นพระศรีมหาโพธิ์ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเสียพระทัยมาก ทรงรับสั่งให้ใช้น้ำนมโค ๑๐๐ หม้อ ไปรดที่บริเวณรากของต้นโพธิ์ และทรงอฐิษฐานพร้อม กับการสักการะก้มกราบพระองค์ทรงมีพระราชปรารภว่า หากแม้ว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ไม่แตกหน่อ ขึ้นมาแล้วไซ้ร์จะไม่ยอมลุกขึ้นเป็นอันขาด ด้วยพุทธานุภาพและพระราชศรัทธาอันแรงกล้าแห่งพระเจ้าอโศกมหาราช ต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็แตกหน่อขึ้นมาใหม่ พระองค์ดีพระทัยเป็นอันมากจึงสั่งให้ก่อกำแพงล้อมรอบ เพื่อป้องกัน อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับต้นโพธิ์อีก

........... “ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๒” ถือเป็นต้นที่แตกหน่อมาจากต้นแรก และการที่พระเจ้าอโศกได้เผยแผ่ พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก จึงมีการนำต้นโพธิ์ไปปลูกในประเทศต่างๆ เช่น พระโสณะเถระและพระอุตตรเถระเดินทางมา ยังดินแดนสุวรรณภูมิ และพระมหินทเถระ สังฆมิตราเถรีเดินทางไปยังศรีลังกา โดยพระภิกษุเหล่านี้ได้นำต้นโพธิ์หรือกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ไปด้วย และแล้ว ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๒ นี้ก็ถูกทำลายอีกครั้ง ใน พ.ศ.๑๑๔๓ โดยพระเจ้าศศางกา กษัตริย์เบงกอล ซึ่งนับถือศาสนาแห่งฮินดู รับสั่งให้ตัดต้นและขุดรากต้นโพธิ์ใช้ฟางอ้อยสุม ใช้น้ำมันราด และเผาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีอายุรประมาณ ๘๗๑ ปี และ ๗ วันหลังจากนั้น พระเจ้าศศางกา ทรงอาเจียนเป็นพระโลหิตและสิ้นชีพตักษัยที่พุทธคยา ซึ่งพระเจ้าปูรณวรมา/ปูรณวรมัน ได้เสด็จมาพอดี จึงตีทัพของเบงกอลแตกพ่ายไป

........... “ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๓” ปลูกเมื่อ พ.ศ.๑๑๔๓ โดย พระเจ้าปูรณวรมา/ปูรณวรมัน กษัตริย์มคธ หลังจากจึงตีทัพของพระเจ้าศศางกา กษัตริย์เบงกอล แตกพ่ายไปแล้ว เมื่อทรงทราบว่าต้นโพธิ์ถูกโค่นทำลาย ทรงสลดพระทัยเป็นที่สุด จึงเสด็จมาที่พุทธคยา ทรงให้รีดนมโค ๑,๐๐๐ ตัว แล้วเทราดบริเวณต้นโพธิ์ที่ถูกเผา แล้ว ทรงนอนคว่ำหน้าลงกับพื้นพร้อมอฐิษฐานตามแบบพระเจ้าอโศกมหาราช ต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็แตกหน่อขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง หนังสือบางเล่มกล่าวว่าพระเจ้าปูรณวรมา/ปูรณวรมัน กษัตริย์มคธ ทรงนำหน่อต้นโพธิ์มาเพาะและปลูกลงในที่เดิม และแล้ว “ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๓” นี้ มีอายุยืนยาวนานถึง พ.ศ.๒๔๒๓ ก็ล้มลงด้วยความชราและชาวบ้านมาตัดกิ่งไปทำฟืนและถูกพายุพัดหักโค่นล้มลง ต้นนี้มีอายุ ๑,๒๘๐ ปี ซึ่งยาวนานมากกว่าทุกต้น

........... “ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๔ (ต้นปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ ท่านเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม หัวหน้าคณะสำรวจพุทธสถานในช่วงอังกฤษปกครองอินเดียได้เดินทางไปที่พุทธคยาเป็น ครั้งที่สอง พบว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ทรุดโทรมมาก ประชาชนชาวฮินดูในบริเวณนั้นได้ตัดกิ่งก้านไปทำเชื้อเพลิง และในปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ต้นพระศรีมหาโพธิ์เบียดกับเจดีย์พุทธคยาได้ถูกพายุพัดหักโค่นล้มลงไปทางทิศตะวันตกและตายไปเอง และเมื่อท่านกลับมาดูอีกครั้งใน พ.ศ.๒๔๒๓ ปรากฏว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๓ นั้น ได้หักโค่นล้มตายลงมาเสียแล้ว ท่านเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม จึงได้นำหน่อของต้นโพธิ์ที่ล้มไปมาปลูกในที่เดิม (เป็นหนึ่งในสองหน่อที่แตกขึ้นมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สามที่ล้มตายไป) และนำอีกหน่อหนึ่งไปปลูกไว้ด้านทิศเหนือของเจดีย์พุทธคยาห่างจากต้นเดิมประมาณ ๕๐ เมตร ปัจจุบันต้นพระศรีมหาโพธิ์ทั้ง ๒ ต้นยังคงอยู่ มีอายุได้ถึงทุกวันนี้ อายุได้ ๑๓๖ ปีเต็ม ผู้ศรัทธาสามารถเดินทางไปสักการะได้ด้วยตนเอง ปัจจุบันนี้มีสายการบินไทยบินตรงจากสุวรรณภูมิถึงพุทธคยาโดยใช้เวลาบินเพียง ๓ ชั่วโมง ๑๕ นาทีเท่านั้นท่านก็ได้สักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว


........... ผู้ที่เคยไปนมัสการสังเวชีนยสถาน จะได้ดู ได้เห็น ได้ชม ได้รับประสบการณ์ตรง และได้สัมผัสสถานที่จริงที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงถึงความมีอยู่จริงของพระพุทธเจ้าของพวกเราชาวพุทธ และเพื่อเป็นการดำเนินตามพระพุทธดำรัสซึ่งตรัสสั่งไว้ในราตรีที่จะปรินิพพานว่า “สังเวชนียสถาน คือ สถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใสควรจะดู ควรจะเห็น ควรจะให้เกิดสังเวช” มี ๔ สถานที่ ได้แก่ ๑.สถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ ๒.สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๓.สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ๔.สถานที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน... ดูก่อนพระอานนท์ ชนเหล่าใดเที่ยวจาริกไปยังสังเวชนียสถาน ๔ ตำบลนั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ”

......... ทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานที่ประจักษ์ชัด ที่แสดงให้เห็นถึงความมีอยู่จริงของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ฯลฯ อยู่ที่พวกเราชาวพุทธจะช่วยกันหาโอกาสไปเยี่ยมชม สัมผัส และเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงแล้วนำภาพมาโชว์ นำข้อมูลมาบอกเล่า มาเผยแพร่ให้สังคมโลกได้รับรู้ ครับ

........... อย่าเพียงแค่ฟังเขาเล่าให้ฟัง ลองพิสูจน์ รับประสบการณ์ตรง สัมผัสทุกอย่างเองสักครั้งดีไหม แล้วจะตอบคำถามได้ด้วยตนเองว่า “จริงหรือเท็จ” อาหารจะรู้คุณค่าก็ต่อเมื่อได้ชิมลิ้มรสเอง ดังนั้น หากต้องการ "สัมผัสกับความจริง โดยศึกษาพุทธประวัติเชิงลึกในสถานที่จริง .. เปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ"

......... ผู้ที่เคยไปนมัสการสังเวชนียสถาน ในประเทศอินเดียและเนปาล นอกจากจะได้ปฏิบัติตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งตรัสไว้ในคืนปรินิพพาน และได้ถวายสังฆทาน ทอดผ้าป่าสามัคคี ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย เจริญภาวนา ปฏิบัติธรรมแล้ว ยังได้รับททราบข้อมูลและสาระต่าง ๆ มากมาย

......... จึงใคร่ขอเชิญชวนชาวพุทธ “อย่างน้อยสักครั้งหนึ่งในชีวิต" ควรหาโอกาสที่ดีให้แก่ตัวเองเพื่อจะได้ไปแสวงบุญ ไปดู ไปรู้ ไปเห็น ไปสัมผัส ไปไหว้ ไปสักการะ นมัสการสังเวชนียสถาน ซึ่งเป็นหลักฐานความมีอยู่จริงของพระพุทธเจ้า เพิ่มศรัทธาและคุณค่าแห่งชีวิตแก่ตัวเองแล้ว ท่านจะถามตัวเองว่า "เราน่าจะมาตั้งนานแล้ว ทำไม เราจึงปล่อย วัน เวลา และโอกาสให้ล่วงเลยมายาวนานถึงเพียงนี้ "

......... หากต้องการ "ศึกษาพุทธประวัติเชิงลึกในสถานที่จริง .. เปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ" ว่าง ๆ และพอมีเงินเหลือก็จองทัวร์ไปทัศนศึกษา หากเกรงจะไม่ปลอดภัย และเกรงทัวร์จะหลอก ก็ออกค่าทริปให้แอดมิน ยินดีจะไปเป็นเพื่อน และยินดีติดต่อ ประสานงานกับทัวร์ให้ในราคาย่อมเยาว์ เรื่องแค่นี้ "จิ๊บๆๆ" ครับ

เหตุการณ์เกี่ยวกับ “เจดีย์พุทธคยา/มหาโพธิ์วิหาร” ภายหลังพุทธปรินิพพาน

......... พ.ศ.๒๒๘-๒๔๐ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จมาสักการะสถานที่ตรัสรู้ ได้สร้างพระสถูปขนาดย่อมเป็นพุทธบูชา และปักเสาหิน(เสาอโศก)ไว้เป็นเครื่องหมาย สร้างพระแท่นวัชรอาสน์ ล้อมรั้วหินรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ ฯลฯ

......... พ.ศ.๖๗๔-๖๙๔ พระเจ้าหุวิชกะ ทรงสร้างเสริมให้เป็นศิลปะต้นแบบเป็นสถูปใหญ่ ซึ่งหลวงจีนถังซัมจั๋ง เรียกว่า “มหาโพธิ์วิหาร” (เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมทรงกรวย ห่างจากต้นโพธิ์ ๒ เมตร มีพระแท่นวัชรอาสน์คั่นกลาง ขนาดสูง ๑๗๐ ฟุต วัดรอบฐานได้ ๘๕ เมตรเศษ มี ๒ ชั้น มีเจดีย์บริวารทรงเดียวกันอีก ๔ องค์ อยู่บนฐานชั้นที่ ๒ สูง ๔๕ ฟุต ชั้นล่างของเจดีย์พุทธคยาประดิษฐาน “พระพุทธรูปปางมารวิชัย” สร้างจากหินแกรนิตสีดำ สมัยปาละ อายุประมาณ ๑๔๐๐ ปี ชั้นบนประดิษฐาน “พระพุทธรูปปางประทานพร” สร้างในสมัยปาละเช่นเดียวกัน

......... พ.ศ.๙๔๕-๙๕๐ หลวงจีนปาเหียนเดินทางทาสักการะสถานที่ตรัสรู้ และได้พรรณนาถึงความงดงามของพระเจดีย์พุทธคยา เห็นพระสงฆ์เถรวาทและพุทธศาสนิกชนมาสักการะกันอย่างมิขาดสาย

......... พ.ศ.๑๑๔๓ พระเจ้าศศางกา กษัตริย์รัฐเบงกอล ซึ่งนับถือศาสนาฮินดู ได้ประกาศอิสรภาพจากมคธ และยกทัพมาทำลายพุทธสถานและต้นพระศรีมหาโพธิ์อย่างย่อยยับ

......... พ.ศ.๑๑๔๓ พระเจ้าปูรณวรมัน กษัตริย์มคธ ได้ยกทัพมาตีกองทัพเบงกอลแตก (พระเจ้าศศางกา กษัตริย์รัฐเบงกอล สิ้นพระชนม์ใกล้ต้นโพธิ์ก่อนทัพแตก) แล้วทำการบูรณะซ่อมแซม และปลูกต้นพนะศรีมหาโพธิ์ทดแทนในที่เดิม

......... พ.ศ. ๑๔๙๑ (ค.ศ.๙๔๘) อมรเทวพราหมณ์ ปุโรหิตของพระเจ้าวิกรมาทิตย์แห่งเมืองมัลวา แต่งหนังสือ อมรโฆษะ บอกว่าได้ออกแบบวิหารมหาโพธิ์ใหม่ โดยเอาเค้าเทวาลัยของศาสนาพราหมณ์ผสมกับเจดีย์มหาโพธิ์ของพุทธศาสนา คือยอดเป็นสถูป ตอนกลางเป็นปรางค์ ตอนล่างเป็นวิหาร แล้วดัดแปลงวิหารมหาโพธิ์ให้เป็นอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน ความมุ่งหมายเพื่อให้เห็นว่าพุทธกับพราหมณ์นั้นเป็นวัฒนธรรมอินเดีย

......... พ.ศ.๑๕๗๘ พม่าส่งคณะช่าง นำโดยธรรมราชครู เพื่อบูรณะมหาโพธิ์วิหาร แต่เกิดข้อพิพาทกับอินเดีย พม่าจึงต้องหยุดการบูรณะ

......... พ.ศ.๑๖๒๒ พม่าส่งช่างชุดที่ ๒ มาฟื้นฟูบูรณะ ใช้เวลา ๗ ปี จึงแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๑๖๒๙ มหาโพธิ์วิหารจึงสวยงามมีชีวิตชีวากลับมาอีกครั้งหนึ่ง

......... พ.ศ.๑๗๔๓ พระธัมมรักขิต รับทุนจากพระเจ้าอโศกมัลละ แห่งแคว้นสิวะสิกะ ของอินเดีย มาบูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น

......... พ.ศ.๑๗๖๐ กองทัพเติร์กอิสลามยึกครองมคธ ฆ่าพระสงฆ์และทำลายวิหารสังฆารามทั้งหมด แล้วยกมหาโพธิ์วิหารให้อยู่ในการดูแลของศาสนฮินดู นิกายมหันต์ โดยอ้างว่า “เมื่อ พ.ศ.๑๗๒๗ จักรพรรดิโมกุล พระนามมูฮัมหมัดซาร์ ได้มอบมหาโพธิ์วิหารทั้งหมดเป็นสมบัติของมหันต์องค์ที่ ๔ ชื่อ สาลคีรี” จากนั้นมหาโพธิ์วิหารก็ถูกทอดทิ้งหลายร้อยปี ไม่มีการบูรณะ และมีชาวพุทธมาสักการะเพียงเล็กน้อย

......... พ.ศ.๒๑๓๓ มหาโพธิ์วิหาร พุทธคยามหาสังฆาราม ถูกมุสลิมคุกคาม ถูกพราหมณ์(ฮินดู)รังแก ในที่สุดจึงหลุดจากมือชาวพุทธอย่างเด็ดขาด แล้วตกอยู่ในความคุ้มครองดูแลของนักบวชฮินดูนิกายทัสนามิสันยาสี ชื่อ “โคเสนฆมันด์คีรี” โดยเริ่มแรกนักบวชฮินดูชื่อ โคเสนฆมัณฑิคีร์ ได้เดินทางมาถึง ที่พุทธคยา และเกิดชอบใจในทำเลนี้ จึงได้ตั้งสำนักเล็กๆใกล้ๆกับ พระมหาเจดีย์พุทธคยา และพออยู่ไปนานๆ ก็คล้ายๆกับเป็นเจ้าของที่ไปโดยปริยาย และพวกมหันต์นี้ ก็คือนักธุรกิจการค้าที่มาในรูปนักบวชฮินดูนั่นเอง กล่าวกันว่า เป็นพวกที่ติดอันดับ มหาเศรษฐี ๑ ใน ๕ ของรัฐพิหาร ผู้นำของมหันต์ปัจจุบัน ก็มีการสืบทอดมาตั้งแต่ โคเสณฆมัณฑิคีร์ ตอนนี้เป็นองค์ที่ ๑๕ การที่พวกมหันต์ มาครอบครองพุทธคยานั้น ก็ไม่ได้ดูแลพุทธคยาแต่อย่างไรทั้งสิ้น เพียงใช้พื้นที่ เพื่อหาประโยชน์เท่านั้นเอง

......... พ.ศ.๒๑๓๕ อังกฤษเข้ายึดครองเมืองอินเดีย

......... พ.ศ.๒๓๕๔ พระเจ้าแผ่นดินพม่าเสด็จมาเห็น จึงได้ส่งทูตมาเจรจาขอทำการบูรณะตามบันทึกของ ดร.บุคนัน แฮมินตัน ซึ่งบันทึกไว้ว่า “มหาโพธิ์วิหารอยู่ในสภาพทรุดโทรม ไม่ได้รับการดูแล”

......... พ.ศ.๒๔๑๗ พระเจ้ามินดงมิน แห่งพม่า ได้ส่งคณะทูตมาเจรจาผ่านรัฐบาลอินเดียซึ่งเป็นของอังกฤษแล้ว เพื่อขอบูรณะปฏิสังขรณ์พระมหาโพธิ์วิหารและจัดการบางประการเพื่อดูแลรักษาพุทธสถานแห่งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากพวกมหันต์และรัฐบาลอินเดีย จึงได้เริ่มทำการบูรณะ ทางรัฐบาลอินเดีย ได้ส่ง เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม กับ ด.ร.ราเชนทรลาล มิตระ เข้าเป็นผู้ดูแลกำกับการบูรณะ หลังจากนั้นคณะผู้แทนจากพม่าจำเป็นต้องเดินทางกลับ ทางรัฐบาลอินเดียจึงรับงานบูรณะ ทั้งหมดมาทำแทน และเสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ จนเป็นดังที่เห็นในปัจจุบัน

......... พ.ศ.๒๔๑๙ พม่าเกิดสงครามกับอังกฤษ งานบูรณะปฏิสังขรณ์พระมหาโพธิ์วิหารจึงต้องหยุด

......... พ.ศ.๒๔๒๓ เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม, ดร.ราเชนทร, เซอร์อีแดน แต่งตั้งให้ นายเจ ดี เบคลาร์ ทำการปฏิสังขรณ์ ใช้เวลา ๔ ปีจึงเสร็จสิ้นใน พ.ศ.๒๔๒๗

......... พ.ศ.๒๔๓๓ ท่านเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ชาวพุทธอังกฤษ ได้เขียนหนังสือพุทธประวัติภาษาอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และกล่าวกันว่า เป็นพุทธประวัติฉบับภาษาอังกฤษ ที่มีความไพเราะ และน่าเลื่อมใสมาก คือ ประทีบแห่งเอเชีย (The Light of Asia) ซึ่งท่านได้เดินทางไปที่พุทธคยา ได้พบกับความน่าเศร้าสลดใจหลายประการ

......... พ.ศ.๒๔๓๔ ท่านอนาคาริก ธัมมปาละ ชาวศรีลังกา มากราบต้นโพธิ์และสักการะเจดีย์พุทธคยา เกิดศรัทธาปรารถนาเรียกร้องสิทธิของความเป็นเจ้าของพุทธคยามหาโพธิ์วิหาร และแล้ววันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๓๔ ได้ประชุมตัวแทนชาวพุทธสากลที่พุทธคยา มีพม่า ศรีลังกา จีน และญี่ปุ่น แล้วญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะหาเงินมาซื้อพุทธคยามหาโพธิ์วิหารคืน แต่อังกฤษระแวงญี่ปุ่นเพราะพิ่งจะรบชนะรัสเซีย จึงไม่ยอมให้ครอบครอง จึงเกิดขบวนการกอบกู้พุทธคยามหาโพธิ์วิหาร (แม็กมึน, เอ็ดวินฯ,วิเลี่ยม พ.อ.โอลคอตต์) ออกปราศรัยที่พม่า อังกฤษ สิงคโปร์ ไทย ศรีลังกา เพื่อหาผู้สนับสนุน และได้ตั้ง ”สมาคมมหาโพธิ์” ขึ้นเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๓๔ นี่เอง

......... พ.ศ.๒๔๓๕ สมาคมมหาโพธิ์ ก็ได้ย้ายจากโคลัมโบมาอยู่ที่กัลกัตตา ที่อินเดีย และได้ออกวารสารสมาคมมหาโพธิ (Mahabodhi Review) ซึ่งยังคงอยู่จนปัจจุบันนี้ ถึง 111 ปี แล้ว และเป็นวารสารที่โด่งดังในทั้งตะวันออก และตะวันตก ในช่วงแรกๆ ว่ากันว่าท่านธรรมปาละและทีมงานต้องอดมื้อกินมื้อเพื่อนำเงินไปซื้อแสตมป์มาส่งหนังสือกันทีเดียว

......... พ.ศ.๒๔๓๖ (๔ ก.พ.) ท่านธัมมปาละ MR.เอดซ์ ทักเทววิทยา และพันเอกโอลคอตต์ เดินทางจากศรีลังกามาที่พุทธคยา ก็ได้รับข่าวว่า พระภิกษุ ๔ รูปที่จำพรรษาประจำอยู่ที่พุทธคยา ขณะกำลังนั่งสนทนาธรรมกันอย่างสงบในที่พักวัดพม่า ก็ถูกพวกมหันต์ยกพวกมารุมทุบตี รูปหนึ่งอาการสาหัสต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล พันเอกโอลคอตต์เข้าพบมหันต์ทันทีเพื่อเจรจา และขอเหตุผลกับเรื่องที่เกิดขึ้น ปรากฏว่าพวกมหันต์ไม่ยอมเจรจาใดๆ และยังปฏิเสธไม่ยอมขายที่ ไม่ยอม ให้เช่า ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ไม่ยอมให้สร้างแม้แต่ที่พักสำหรับชาวพุทธผู้มาแสวงบุญ เป็นอันว่าเรื่องของพุทธคยา ก็ยังตก อยู่ในภาวะยุ่งยากลำบากเช่นเคย

......... พ.ศ.๒๔๓๘ ชาวพุทธขอนำพระพุทธรูปอายุ ๗๐๐ ปี เข้าไปประดิษฐานในพุทธคยามหาโพธิ์วิหาร แต่พวกมหันต์(นักบวชศาสนาฮินดู) ไม่ยินยอม โดยอ้างอย่างข้างๆคูๆว่า “พระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์ ดังนั้นพระวิหารพุทธคยาจึงเป็นของฮินดู ชาวพุทธไม่มีสิทธิในวิหาร และไม่ยอมให้นำพระพุทธรูปเข้าไปในวิหารพุทธคยาเป็นอันขาด และหากยังขืนดึงดันจะนำเข้ามา ก็จะจ้างคน ๕,๐๐๐ คนมาคอยดักฆ่า และได้เตรียมเงินไว้ถึงแสนรูปีเพื่อการนี้แล้วด้วย” (ในยุค พ.ศ.๑๓๐๐ ศังกราจารย์ นักปราชญ์ของฮินดูคนสำคัญ ซึ่งแต่งคัมภีร์ปุราณะขึ้นมาเพื่อกลืนพุทธศาสนา โดยเขียนว่าพระพุทธเจ้าเป็นนารายมณ์อวตารปางที่ ๙ (พุทธาวตาร) เขียนถึงสถานะของพระพุทธเจ้าและชาวพุทธในคัมภีร์ฮินดู “โดยถือว่าชาวพุทธเป็นอสูร การเกิดของพุทธศาสนา เป็นกลียุคทำให้คนออกนอกศาสนา จึงต้องส่งคนมาปราบปราม” จากบันทึกฉบับนี้ทำให้เราทราบว่าพุทธศาสนาเจริญมากจนผู้คนหนีออกจากศาสนาฮินดูเกือบหมด” ซึ่งท่าน Dr.R.C. Majumdar นักประวัติศาสตร์ชื่อดังของอินเดีย ได้วิเคราะห์เรื่องที่ฮินดูอุปโลกน์พระพุทธเจ้าให้เป็นอวตารปางที่ ๙ ของฮินดูไว้ออย่างน่าฟังว่า "การที่ศาสนาฮินดูอุปโลกน์พระพุทธเจ้าให้เป็นอวตารปางหนึ่งนับว่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ชาญฉลาดล้ำลึก เพราะเท่ากับเป็นการทำลายฐานยืนของพุทธศาสนาในอินเดีย และในที่สุดก็นำไปสู่การเสื่อมสลายของพุทธศาสนาไปจากแผ่นดินถิ่นกำเนิด" และต่อมานักธุรกิจอินเดียได้นำพุทธาวตารนี้มาทำเป็นภาพยนตร์ฉายและออกทีวี จนกระทั่งทีวีช่องหนึ่งในประเทศไทยได้ไปซื้อลิขสิทธิ์มาพากย์ไทยและออกอากาศในไทย โดยได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่า “พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก” ฉายออกอากาศให้ชาวพุทธและคนไทยได้ชมกัน และได้มีการจำหน่าย DVD อย่างเป็นล่ำเป็นสันกันอีกด้วย หากคนดูตอนที่ ๑ อย่างมีองค์ความรู้และวิจารณญาณย่อมได้ยินคำว่า “พระนารายมณ์อวตารได้มาเป็นพระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก”)

......... พ.ศ.๒๔๔๕ มีความเคลื่อนไหวทั่วโลก โดยเอดวินอาร์ โนลด์, ดร.ริดเดวิด, ศ.แม็กมีลเลอร์ จนชาวพุทธมีพลัง พวกมหันต์เพิ่มความรังเกียจชาวพุทธมากขึ้น

......... พ.ศ.๒๔๖๗ ชาวพุทธพม่า ศรีลังกา เนปาล ร้องเรียนต่อรัฐบาลพรรคคองเกรส ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณา โดยมี ดร.ราเชนทร์ ประสาท ประธานาธิบดี เป็นประธาน ตั้งกรรมการชาวพุทธ ๕ คน ฮินดู ๕ คน ดูแลพุทธคยามหาโพธิ์วิหาร โดยออกกฎหมายบังคับ

......... มหาตมคานธี ได้แสดงความคิดเห็นว่า “วิหารพุทธคยานี้ ควรเป็นสมบัติของชาวพุทธโดยชอบธรรม การนำสัตว์ไปฆ่าทำพลีกรรมในวิหารมหาโพธิ์ไม่สมควร เพราะล่วงเกินต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการประทุษร้ายต่อจิตใจของชาวพุทธทั่วไป”

......... ระพินทรนาถฐากูร ได้แสดงความคิดเห็นว่า “ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้จะตกอยู่ในความดูแลของศาสนาอื่นไม่ได้ เพราะศาสนาอื่นไม่เกี่ยวข้องอะไรและไม่มีเยื่อใยอะไรต่อพระพุทธศาสนา”

......... พ.ศ.๒๔๙๐ อินเดียเป็นเอกราชจากอังกฤษ มหาโพธิสมาคมรบเร้าสิทธิ์พุทธคยามหาโพธิ์วิหาร

......... พ.ศ.๒๔๙๑ ดร.ศรีกฤษณะ ซิงค์ ผู้ว่าการรัฐพิหาร ได้เสนอใช้ร่างรัฐบัญญัติวิหารพุทธคยา

......... พ.ศ.๒๔๙๒ เดือนพฤษภาคม จัดตั้งคณะกรรมการดูแล ๙ คน มีผู้ว่าจังหวัดคยาเป็นประธาน กรรมการ ๘ คนโดยมีชาวพุทธ ๔ คน ฮินดู ๔ คน

......... พ.ศ.๒๔๙๖ นายกรัฐมนตรีพม่ามาเยือนอินเดีย พวกมหันต์บอกว่าได้ยกพุทธคยาให้ชาวพุทธแล้ว (ประเด็นคำพูดเช่นนี้ ผู้ที่เคยไปอินเดียมาแล้วย่อมจะเข้าใจได้ว่าเชื่อได้หรือไม่)

......... พ.ศ.๒๕๓๐ พระภิกษุไซไซ ชาวญี่ปุ่นนำชาวพุทธจากเมืองนาคปูร์ รัฐมหารชตะ อินเดีย เรียกร้องให้นำศพมหันต์ที่ฝังไว้ และปัญจปาณฑปพร้อมศิวลึงค์ที่กลางมหาวิหารออกไปที่อื่น

......... พ.ศ.๒๔๙๙ มีการบูรณะเล็กน้อยเพื่อฉลองพุทธชยันตี พุทธศาสนาอายุ ๒,๕๐๐ ปี

......... พ.ศ.๒๕๑๒ พระสุเมธาธิบดี ได้นำพุทธบริษัทชาวไทยประดับไฟแสงจันทร์

......... พ.ศ.๒๕๑๙ พุทธบริษัทชาวไทย สร้างกำแพงแก้ว ๘๐ ช่อง ซุ้มประตูแบบอโศก ๒ ซุ้ม แล้วเสร็จในปี ๒๕๒๐

......... พ.ศ.๒๕๓๑ ชาวพุทธจากประเทศเนปาลปูหินอ่อน
ดังนั้น ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธทั่วโลก และเป็นสถานที่สำคัญที่สุดที่ครั้งหนึ่งในชีวิตของชาวพุทธควรจะได้ไปกราบสักการะบูชา

เครดิต : ภาพเจดีย์พุทธคยาเก่าๆ ได้จากอินเตอร์เนต เห็นว่าควรค่าที่เราชาวพุทธควรดู จึงนำมาให้ชม ขออนุโมทนาเจ้าของภาพไว้ ณ ที่นี้

.......... ปณิธาน/อนุญาตแชร์ได้ : ทุกข้อความ ทุกภาพประกอบที่ปรากฏในเฟชนี้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ข้าพเจ้า (พระมหาบุญโฮม สุราษฎร์ธานี) ขอมอบให้เป็นสมบัติสาธารณะ โดยทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน ท่านที่ต้องการแชร์ ขอเชิญตามอัธยาศัย โดยไม่ต้องขออนุญาตอีก.. ขออนุโมทนาบุญ ขอให้ได้รับบุญกุศลจากการเผยแพร่ธรรมะด้วยกัน ขอให้มีความสุข ความเจริญรุ่งเรือง ทั้งชาตินี้และชาติหน้าโดยทั่วกัน สาธุๆๆ