กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25

                                    เที่ยวเล่นเป็นเกษมสุข            แสนสิ่งสนุกปลุกใจหวัง
                        เร่ร่ายผายผาดผัง                              หัวริกรื่นชื่นชมไพร
                        

                                 สนุกเกษมเปรมหน้าเหลือบ         ลืมหลัง
                        แสนสนุกปลุกใจหวัง                          วิ่งหรี้
                        เดินร่ายผายผันยัง                             ชายป่า
                        หัวร่อรื่นชื่นชี้                                   ส่องนิ้วชวนแล

       คำศัพท์

                ปลุกใจ  หมายถึง รู้สึกตืื่นเต้น

              ผาดผัง, ผายผัน  หมายถึง เดินอย่างรวดเร็ว

                เปรมหน้าเหลือบ  ลืมหลัง หมายถึง มีความสุขจนลืมเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมา

              วิ่งหรี้ ที่ถูกต้องต้องเขียนว่า วิ่งรี่  แต่โคลงสี่สุภาพมีผังบังคับให้ใช้วรรณยุกต์โท (  ้ ) ตรงคำว่า รี่ จึงต้องใช้ คำโทโทษ คือ คำว่า หรี้ แทน (ศึกษาเพิ่มเติม หลักการทางภาษาไทย เรื่อง หลักการเขียนคำ เอกโทษ โทโทษ ในคำประพันธ์)  รี่ หมายถึง อาการที่เคลื่อนเข้าไปเรื่อยไม่รีรอ

               สองนิ้วคือ ชี้นิ้ว

        หมายเหตุ    แผนผังบังคับเอกโทของโคลงสี่สุภาพ

๐ ๐ ๐ เอก โท ๐ x (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ x เอก โท
๐ ๐ เอก ๐ x ๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โท เอก โท ๐ ๐

                          ให้สังเกต คำ เอก โท กวีสมัยโบราณบางครั้งหาคำที่ลงเอกโทตามแผนผังไม่ได้ ก็จะสลับคำเป็น โท เอก ดังที่เห็นจากโคลงด้านบนนี้ จากข้อความ "สนุกเกษมเปรมหน้าเหลือบ   ลืมหลัง" (เหลือบ เป็นคำเอกโทษ)

       ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 

           

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 การเที่ยวเล่นในครั้งนี้เป็นการเที่ยวที่มีความสุข สนุกสนานและตื่นเต้นมาก จนทำให้ลืมเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านมา ทุกคนเดินอย่างรวดเร็วไปยังชายป่า  ส่งเสียงหัวเราะต่อกระซิกกันอย่างรื่นเริง  และต่างก็ชี้ชวนให้ชมธรรมชาติอันสวยงาม 

 
                                    เลียงผาอยู่ภูเขา                   หนวดพรายเพราเขาแปล้ปลาย
                        รูปร่างอย่างแพะหมาย                        ขนเหม็นสาบหยาบเหมือนกัน
                        

                                 เลียงผาอยู่พ่างพื้น                   ภูเขา
                        หนวดพู่ดูเพราเขา                             ไปล่ท้าย
                        รูปร่างอย่างแพะเอา                           มาเปรียบ
                        ขนเหม็นสาบหยาบร้าย                       กลิ่นกล้าเหมือนกัน       

        คำศัพท์

               เพรา , พรายเพรา  หมายถึง  งาม

               แปล้    หมายถึง   แบนราบ

               ไปล่ท้าย  หมายถึง  ปลายโค้งไปข้างหน้า

            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 

            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 เลียงผาอยู่บนภูเขา มีรูปร่างคล้ายแพะ หนวดคล้ายพู่ดูงดงาม มีเขาแบนปลายเขาโค้งไปข้างหน้า ขนหยาบและมีกลิ่นเหม็นสาบอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับแพะ
 
                                    กระจงกระจิดเตี้ย                 วิ่งเรี่ยเรี่ยน่าเอ็นดู
                        เหมือนกวางอย่างตาหู                       มีเขี้ยวน้อยสร้อยแนมสอง
                        

                                กระจงกระจิดหน้า                      เอ็นดู
                        เดินร่อยเรี่ยงามตรู                             กระจ้อย
                        เหมือนกวางอย่างตาหู                        ตีนกีบ
                        มีเคี่ยวขาวน้อยช้อย                           แนบข้างเคียงสอง

        คำศัพท์

               กระจิด  หมายถึง เล็กน้อย

               แนม     หมายถึง แนบ

               หน้า     เป็นคำโทโทษของคำว่า น่า

               กระจ้อย  หมายถึง เล็กน้อย

               เคี่ยว  เป็นคำเอกโทโทษของ เขี้ยว

               ช้อย   หมายถึง อ่อนช้อย

            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 

            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 กระจงเป็นสัตว์ที่มีตัวขนาดเล็ก วิ่งไปมาดูน่ารักน่าเอ็นดู มีตาหูและตีนกีบเหมือนกวาง มีเขี้ยวน้อยสีขาว ๒ เขี้ยว แต่ไม่มีเขา
                
หมายเหตุ   คำว่า เคี่ยว ที่ถูกต้องต้องเขียนว่า เขี้ยว  แต่โคลงสี่สุภาพมีผังบังคับให้ใช้วรรณยุกต์โท (  ่ ) ตรงคำว่า เขี้ยว จึงต้องใช้ คำเอกโทษ คือ คำว่า เคี่ยว แทน (ศึกษาเพิ่มเติม หลักการทางภาษาไทย เรื่อง หลักการเขียนคำ เอกโทษ โทโทษ ในคำประพันธ์) 

                                    ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย              ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา
                        ฝูงค่างหว่างพฤกษา                            ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง
                        

                                         ฝูงลิงยวบยาบต้น                       พวาหนา
                        ฝูงชะนีมี่กู่หา                                     เปล่าข้าง
                        ฝูงค่างหว่างพฤกษา                            มาสู่
                        ครอกแครกไล่ไขว่คว้าง                        โลดเลี้ยวโจนปลิว

        คำศัพท์

               กระจุ้ย         หมายถึง  เล็กๆ

               ยวบยาบ       หมายถึง อาการที่ลิงขย่มต้นไม้ขึ้นลง

               พวา              หมายถึง  ต้นมะม่วง

               เปล่าข้าง      หมายถึง ไร้คู่

               ครอกแครก   หมายถึง เสียงขู่ตะคอกของลิง

            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 

            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 ฝูงลิงทั้งตัวเล็กตัวใหญ่พากันขย่มต้นมะม่วงอยู่ยวบยาบ  ฝูงชะนีร้องกู่หาคู่ของมัน  ฝูงค่างก็กระโดดไปมาระหว่างต้นไม้  ฝูงลิงต่างพากันร้องตะคอกเสียงครอกแครก พร้อมทั้งกระโดดไล่ไขว่คว้ากันบนปลายต้นยาง

     
                                    งูเขียวรัดตุ๊กแก                     ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน
                        กัดงูงูยิ่งพัน                                     อ้าปากง่วงล้วงตับกิน
                        

                                       งูเขียวแลเหลื้อมพ่น                    พิษพลัน
                        ตุ๊กแกคางแข็งขยัน                             คาบไว้
                        กัดงูงูเร่งพัน                                     ขนดเครียด
                        ปากอ้างูจึงได้                                   ลากล้วงตับกิน

        คำศัพท์

               เหลื้อม  เป็นรูปโทโทษของคำว่า เลื่อม หมายถึงเป็น เงามัน

               ขนด  หมายถึง ส่วนหางของงู

               พันขนดเครียด     หมายถึง รัดด้วยหางแน่นมาก

            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 งูเขียวตัวเป็นเงามันแสดงท่าเหมือนพ่นพิษ ถูกตุ๊กแกคาบไว้ ในขณะเดียวกันงูเขียวก็รัดตุ๊กแกจนต้องอ้าปาก และเข้าไปล้วงตับตุ๊กแกกินเป็นอาหาร
                 หมายเหตุ   ๑. แผนผังบังคับเอกโทของโคลงสี่สุภาพ

๐ ๐ ๐ เอก โท ๐ x (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ x เอก โท
๐ ๐ เอก ๐ x ๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โท เอก โท ๐ ๐

                                          ให้สังเกต คำ เอก โท กวีสมัยโบราณบางครั้งหาคำที่ลงเอกโทตามแผนผังไม่ได้ ก็จะสลับคำเป็น โท เอก ดังที่เห็นจากโคลงด้านบนนี้  

                                       ๒. คำว่า เหลื้อม ที่ถูกต้องต้องเขียนว่า เลื่อม  แต่โคลงสี่สุภาพมีผังบังคับให้ใช้วรรณยุกต์โท (  ้ ) ตรงคำว่า เลื่อม จึงต้องใช้ คำโทโทษ คือ คำว่า เหลื้อม แทน (ศึกษาเพิ่มเติม หลักการทางภาษาไทย เรื่อง หลักการเขียนคำ เอกโทษ โทโทษ ในคำประพันธ์)    

                                    ยูงทองย่องเยื้องย่าง                รำรางชางช่างฟ่ายหาง
                        ปากหงอนอ่อนสำอาง                           ช่างรำเล่นเต้นตามกัน
                        

                                ยูงทองย่องย่างเยื้อง                     รำฉวาง
                        รายร่ายฟ่ายเฟื่องหาง                            เฉิดหน้า
                        ปากหงอนอ่อนสำอาง                            ลายเลิศ
                        รำเล่นเต้นงามหง้า                                ปีกป้องเป็นเพลง

            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 นกยูงทองย่องเยื้องย่าง  แล้วรำแพนหางเชิดหน้าขึ้น  เห็นปากงอนอ่อนช้อย แสดงอาการรำเล่นด้วยการยกปีกขึ้นป้องตามเพลง
     
                                    ไก่ฟ้าอ้าสดแสง                       หัวสุกแดงแทงเดือยแนม
                        ปีกหางต่างสีแกม                                 สีแต้มต่างอย่างวาดเขียน
                        

                                ไก่ฟ้าหน้าก่ำกล้า                         ปากแหลม
                        หัวแดงเดือยแนม                                 เนื่องแข้ง
                        ปีกหางต่างสีแกม                                 ลายลวด
                        ตัวด่างอย่างคนแกล้ง                            แต่งแต้มขีดเขียน

            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 ไก่ฟ้าหน้าสุกใสมีปากแหลม หัวมีสีแดง กำลังแทงเดือยขึ้นมา ปีกหางและลำตัวมีลวดลายงามเหมือนอย่างคนแกล้งแต่งสีให้มัน
     
                                    ดูหนูสู่รูงู                               งูสุดสู้หนูสู้งู
                        หนูงูสู้ดูอยู่                                         รูปงูทู่หนูมูทู
                                        

                                ดูงูขู่ฝูดฝู้                                   พรูพรู
                        หนูสู่รูงูงู                                            สุดสู้
                        งูสู้หนูหนูสู้                                         งูอยู่
                        หนูรู้งูงูรู้                                            รูปถู้มูทู

        คำศัพท์

               มูทู  หมายถึง มูทู คือ มู่ทู่ หมายถึง ป้าน , ไม่แหลม (ในที่นี้ลดวรรณยุกต์เอก)

               ฝู้    เป็นรูปโทโทษของ ฟู่ หมายถึง เสียงดังเช่นนั้น คือ เสียงดังฟู่ เหมือนเสียงงูเวลาขู่

               ถู้    เป็นรูปโทโทษของ ทู่ หมายถึง ไม่แหลม

            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 มองเห็นหนูจะเข้าไปในรูงู งูจึงขู่หนูเสียงฟู่ ๆ งูจึงสู้กับหนู หนูก็สู้กับงู อย่างเต็มกำลัง สัตว์ทั้งสองต่างก็รู้เชิงซึ่งกันและกัน ขณะต่อสู้ต่างทำหน้ามู่ทู่ใส่กัน

                 หมายเหตุ   ๑. คำว่า ฝุด สุด เป็นคำเอกโทษ  

                                      ๒. คำว่า ฝู้  ถู้ ที่ถูกต้องต้องเขียนว่า ฟู่ ทู่  แต่โคลงสี่สุภาพมีผังบังคับให้ใช้วรรณยุกต์โท (  ้ ) ตรงคำว่า ฟู่ ทู่ จึงต้องใช้ คำโทโทษ คือ คำว่า ฝู้ ถู้ แทน (ศึกษาเพิ่มเติม หลักการทางภาษาไทย เรื่อง หลักการเขียนคำ เอกโทษ โทโทษ ในคำประพันธ์)   

                                   นกแก้วแจ้วเสียงใส                    คลอไคล้คู่หมู่สาลิกา
                        นกตั้วผัวเมียคลา                                   ฝ่าแขกเต้าเหล่าโนรี
                        

                        นกแก้วแจ้วรี่ร้อง                                    เร่หา
                        ใกล้คู่หมู่สาลิกา                                    แวดเคล้า
                        นกตั้วผัวเมียมา                                     สมสู่
                        สัตวาฝ่าแขกเต้า                                    พวกพ้องโนรี

            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 นกแก้วร้องแจ้ว ๆ  เร่หาคู่ โดยเข้าไปใกล้หมู่นกสาลิกา ส่วนนกกระตั้ว 2 ตัวผัวเมียกำลังสมสู่กันอยู่ ในขณะที่นกสัตวาจะต้องฝ่านกแขกเต้าเข้าไปหานกโนรี ซึ่งเป็นพวกพ้องของมัน
     
                                    กระจายสยายซร้องนาง               ผ้าสไบบางนางสีดา
                        ห่อห้อยย้อยลงมา                                  แต่ค่าไม้ใหญ่สูงงาม

                        กระจายสยายคลี่ซร้อง                             นงพงา
                        สไบบางนางสีดา                                    ห่อห้อย
                        ยื่นเลื้อยเฟื้อยลงมา                                โบยโบก
                        แต่ค่าไม้ใหญ่น้อย                                  แกว่งเยื้องไปมา

            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 ต้นซ้องนางคลี่ และสไบนางสีดา ต่างก็ยื่นเลื้อยห้อยลงมา แต่ค่าคบไม้น้อยใหญ่ เมื่อยามลมพัดจะแกว่งไปมาดูสวยงามนัก
     
                                    หัวลิงหมากลางลิง                    ต้นลางลิงแลหูลิง
                        ลิงไต่กระไดลิง                                    ลิงโลดคว้าประสาลิง

                                     หัวลิงหมากเรียกไม้                       ลางลิง
                        ลางลิงหูลิงลิง                                     หลอกขู้
                        ลิงไต่กระไดลิง                                    ลิงห่ม
                        ลิงโลดฉวยชมผู้                                   ฉีกคว้าประสาลิง

        คำศัพท์

              หัวลิง    หมายถึง ไม้เถาชนิดหนึ่ง ผลขนาดส้มจีน มีสันตรงกลางคล้ายหัวลิง

              หมากลางลิง  หมายถึง ชื่อปาล์มชนิดหนึ่ง

              ลางลิง , กระไดลิงหมายถึง ไม้เถาเนื้อแข็งชนิดหนึ่ง เถาแบนยาว - งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได

              หูลิง  หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง

              ขู้   เป็นคำโทโทษของคำว่า คู่

              ชมผู้   เป็นรูปโทโทษของคำว่า ชมพู่ หมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่ง

            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 เถาหัวลิง ต้นหมากลิง และลิงบางตัวก็ขั้นต้นหูลิงทำหน้าหลอกคู่ของมัน บ้างก็ขึ้นไต่กระไดลิงขย่มเล่น บ้างก็ตะโกนฉวยชมพู่คว้ามาฉีกเล่นตามภาษาลิง
     
                                    ธารไหลใสสะอาด                       มัจฉาชาติดาษนานา
                        หวั่นว่ายกินไคลคลา                                ตามกันมาให้เห็นตัว

                        ธารไหลใสสะอาดน้ำ                                รินมา
                        มัจฉาชาตินานา                                       หวั่นหว้าย
                        จอกสร่ายกินไคลคลา                               เชยหมู่
                        ตามคู่มาคล้ายคล้าย                                 ผุดให้เห็นตัว

        คำศัพท์

                มัจฉาชาติ   หมายถึง ปลา

              กินไคล       หมายถึง กินตะไคร่น้ำ

              หว้าย   เป็นคำโทโทษของคำว่า ว่าย



            ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
            

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 25
 น้ำในลำธารใสสะอาดไหลรินมา  หมู่ปลานานาชนิด  ต่างหากันว่ายไปมา  กินจอกและสาหร่าย  โดยว่ายตามกันมาเป็นหมู่ ๆ  และผุดให้เห็นตัวด้วย