ประมาทร่วม คู่กรณี เสียชีวิต พรบ

ไขข้อสงสัย? โดนข้อหาประมาทร่วม ใครเป็นผู้รับผิดชอบ

อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะ “รถชนรถ” เมื่อรถชนกันทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะทำให้รถเสียหาย บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต อย่างกรณีที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ ณ ตอนนี้ หนุ่มแกร็บขี่รถจักรยานยนต์บนท้องถนนแล้วเจอรถอีกคันแทรกจนล้มได้รับความเสียหาย ในกรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจไกลเกลี่ยแล้วสรุปว่าเป็นการ “ประมาทร่วม”

เมื่อได้ยินเช่นนี้ผู้ขับขี่หลายคนอาจไม่เคยประสบเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดความสงสัยที่ว่า “ประมาทร่วม” คืออะไร ใครจ่าย ใครรับผิดชอบ ทางบริษัทประกันมีส่วนคุ้มครองความเสียหายตรงนี้ไหม บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับขับรถประมาทร่วม รวมถึงความคุ้มครองที่ผู้เสียหายจะได้รับ ดังนี้


ประมาทร่วมคืออะไร? ผู้ใช้รถทุกคนควรรู้

คำว่า  “ประมาทร่วม”  ในทางกฎหมายจะใช้คำว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” หมายถึง ความประมาทที่ไม่มีตัวการร่วมหรือไม่มีการร่วมกันประมาทใด ๆ ทั้งสิ้น การตัดสินจะต้องดูว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายประมาทมากกว่ากัน ดังนั้นจะ “ไม่มีคำว่าประมาทร่วมในกฎหมาย” จะมีแค่ใครประมาทมากกว่ากัน และฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบมากน้อยตามความประมาทที่ทำให้เกิดความเสียหาย

ประมาทร่วม คู่กรณี เสียชีวิต พรบ
อุบัติเหตุที่เกิดจากการประมาทร่วม

“ประมาทร่วม” ประกันภัยจ่ายไหม?

เมื่อกลายเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากการประมาทร่วม ต่างฝ่ายต่างมีความประมาทไม่น้อยไปกว่ากัน นั่นแปลว่าทั้งคู่มีส่วนผิดเท่ากัน ดังนั้นต่างฝ่ายต่างซ่อมแซมค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเอง สำหรับผู้ที่ทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้ถือว่าโชคดีมาก ๆ เพราะไม่จำเป็นต้องเสียเงินค่าซ่อมเอง เนื่องจากทางประกันภัยรถยนต์จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แทนคุณ ซึ่งทางบริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันซื้อไว้ว่าประเภทไหน คุ้มครองอะไรแบบไหนบ้าง

ยกตัวอย่าง การเรียกค่าเสียหายกรณีประมาทร่วม

ประมาทร่วม คู่กรณี เสียชีวิต พรบ

นาย A ขับรถบนถนนย้อนศรไปชนกับรถนาย B ที่มีแสงไฟหน้ารถไม่เพียงพอ เมื่อเกิเหตุการณ์ขึ้นทางเจ้าหน้าที่จะตัดสินให้เป็นประมาทร่วม ดังนั้น นาย A และ นาย B จะต้องจ่ายค่าซ่อมที่เกิดขึ้นทั้งหมดด้วยตัวเอง

ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท

  • ประกันชั้น 1 คุณสามารถเคลมประกันได้ปกติ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประกันจัดการเคลมค่าความเสียหาย แต่ในบางกรณีอาจจะไม่ครอบคลุมค่าซ่อมเต็มจำนวน เนื่องจากเป็นการประมาทร่วมผิดด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นควรเช็คกับทางบริษัทประกันที่คุณเลือกทำไว้
  • ประกันชั้น 2+ หรือ 3+ คุณสามารถเคลมได้ปกติ เพียงนำใบบันทึกประจำวัน หรือใบแจ้งความไปแจ้งเคลมกับบริษัทประกันได้เลย ทางประกันภัยรถยนต์จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทั้งกรณีบาดเจ็บและเสียชีวิต ตามจำนวนทุนที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ เช่นเดียวกับประกันชั้น 1
  • ประกันชั้น 2 หรือ 3 ประกันจะไม่จ่ายอะไรเลย คุณต้องซ่อมรถเองเท่านั้น เนื่องจากเงื่อนไขของประกันชั้น 2 และ 3 จะซ่อมรถของคู่กรณีเท่านั้น

ในกรณีที่รถของผู้เสียหายไม่มีประกันภัยหรือไม่ได้ทำประกันเอาไว้เลย คุณยังได้รับความคุ้มครองเพียงแต่เป็นความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. คุณจะได้รับในส่วนของค่ารักษาพยาบาลของตัวผู้ขับขี่และผู้โดยสารเพียงเท่านั้น ส่วนค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถต้องออกค่าใช้จ่ายเอง

ข้อควรรู้ในการขับรถบนท้องถนน

  • มารยาทในการขับขี่นั้นสำคัญและสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ อาทิ เมื่อขับรถอยู่ในทางโทต้องให้ทางเอกไปก่อน หรือ เมื่ออยู่เลนขวา หากมีรถเร็วกว่าขับมาควรหลบให้แซง
  • ควรเว้นระยะห่างจากรถคันข้างหน้าอย่างน้อย 5 เมตรต่ออัตราเร็ว 10 กม. / ชม. หรือหมายความว่า ขณะคุณขับรถที่อัตราเร็ว 50 กม. / ชม. ควรเว้นเอาไว้อย่างน้อย 25 เมตร
  • ควรเปิดไฟเลี้ยวก่อนที่จะเริ่มเลี้ยวอย่างน้อย 30 เมตร
  • ขณะขับรถให้พยายามมองกระจกบ่อย ๆ ทำให้ความปลอดภัยในการขับรถของเราเพิ่มขึ้น
  • มุมอับสายตาต้องระวัง วิธีที่ดีที่สุดคือการเปิดไฟเลี้ยวและขับช้า ๆ
  • ฝึกใช้สัญญาณเตือนให้เป็น เช่น การขอทาง เพื่อเป็นสัญญาณเตือนในมุมอับให้รถอีกคันที่มองไม่เห็นเรา

สุดท้ายนี้คงได้คำตอบกันไปแล้วว่าประมาทร่วมคืออะไร ใครจ่าย มีประกันชั้น 1 คุ้มครองอะไรบ้าง รวมถึงประกันอื่นๆ จะได้รับความคุ้มครองอย่างไร หากคุณไม่แน่ใจว่าความเสียหายและแผนประกันภัยที่คุณเลือกซื้อไว้จะได้รับความคุ้มครองในส่วนใดบ้าง แนะนำสอบถามกับบริษัทที่ทำประกันให้ดี เพื่อให้เข้าใจรายละเอียด แต่หากทำประกันภัยชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพราะไม่ว่าจะโดนประมาทร่วมแค่ไหน คุณจะความคุ้มครองครอบคลุม สามารถทำเรื่องเคลมประกันรถได้ทันที

อ่านเพิ่มเติม

  • ประกันอะไหล่รถยนต์ คืออะไร? ทำที่ไหนดีถึงคุ้มค่าเบี้ย
  • กรมขนส่ง ร่วมกับ ภาคเอกชน จัดอบรมความรู้ให้กับผู้ขับขี่หน้าใหม่ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
  • เล็งปลดล็อคเงินชราภาพประกันสังคม กู้ได้ หรือยืมก่อนได้

ประมาทร่วม คู่กรณี เสียชีวิต พรบ

ประมาทร่วม คู่กรณี เสียชีวิต พรบ