เงินหมุนเวียนในบัญชี เสียภาษีไหม

มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 เปลี่ยนแปลงบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90,91 ภายในเดือนมีนาคม 2557 จากเดิม 5 ขั้น เป็น 7 ขั้น ดังนี้

เงินได้สุทธิตั้งแต่ 1 บาท ถึง 300,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ  5 (ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก)

เงินได้สุทธิเกินกว่า 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 10

เงินได้สุทธิเกินกว่า 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 750,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 15

เงินได้สุทธิเกินกว่า 750,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 20

เงินได้สุทธิเกินกว่า 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 25

เงินได้สุทธิเกินกว่า 2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 4,000,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 30

เงินได้สุทธิเกินกว่า 4,000,000 บาท ขึ้นไป เสียภาษีอัตราร้อยละ 35

ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.rd.go.th

RD Call Center 1161

บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี

เริ่มแล้ว “ภาษีออนไลน์” โอนบ่อย โอนเยอะ อาจโดนตรวจสอบ


เผยแพร่ 25 ธ.ค. 2562 ,11:26น.




ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกฎกระทรวง ให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลธุรกรรมการเงินลูกค้าให้กรมสรรพากร โอนเกินปีละ 3,000 ครั้ง หรือ 2 ล้านขึ้นไปอาจเข้าข่ายต้องเสียภาษี

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 355 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะของกระทรวงการคลัง มีสาระสำคัญกำหนดให้สถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีมันนี่ มีหน้าที่....

คลังเปิดถามความเห็น “ฝาก-โอนเงิน"บ่อย ต้องเสียภาษี

“รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะในปีที่ล่วงมา ต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 31 มี.ค.ของทุกปี เริ่มครั้งแรก มี.ค.2563 เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร”

ฝากโอนแบบไหนเข้าข่าย...

เงินหมุนเวียนในบัญชี เสียภาษีไหม

สำหรับบุคคลที่เข้าข่ายมีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ธนาคารต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ตามประกาศ ได้แก่ 1. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน ตั้งแต่ 3,000 ครั้ง ขึ้นไปต่อปีต่อธนาคาร และ 2. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินรวม 2,000,000 บาทขึ้นไปต่อปี

สิ่งที่ธนาคารต้องรายงานกรมสรรพากร คือ

1. เลขประจำตัวประชาชน เลขที่หนังสือเดินทาง เลขทะเบียนนิติบุคคล เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสิ่งอื่นที่ใช้ในการระบุตัวบุคคลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ

2. ชื่อ-สกุลของบุคคลธรรมดา ชื่อของห้างหุ้นส่วนสามัญ ชื่อของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือชื่อนิติบุคคล

3. จำนวนครั้งของการฝาก หรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน

4. จำนวนเงินที่ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน และ

5. เลขที่บัญชีทุกบัญชีที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน

คลังยันเดินหน้าเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15% ตัดช่องทางผู้มีเงินฝากเกิน 4 ล้าน เลี่ยงภาษี

เริ่มแล้วตั้งแต่ 24 ธ.ค.2562

และ ตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลต้องรายงานข้อมูลการฝากหรือรับโอนเงินของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะของปี 2562 เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 24-31 ธ.ค. 2562 ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2563

โดยกำหนดให้นำส่งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะข้างต้นตามรูปแบบข้อมูล (Format) และมีฟิลด์ข้อมูล (Data Field) ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และอาจดำเนินการจัดทำและนำส่งเป็นภาษาอังกฤษ หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

“ลดพกเงินสด” ชีวิตแสนง่ายกับธุรกรรมการเงินยุคใหม่

เงินหมุนเวียนในบัญชี เสียภาษีไหม

ภาษี e-Payment หรือ ภาษีอีเพย์เมนต์ ได้ประกาศบังคับใช้แล้วกับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะร้านขายออนไลน์ โดยสถาบันการเงินจะต้องส่งข้อมูลบัญชีที่เข้าเงื่อนไขให้กับกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป เงื่อนไขของการส่งข้อมูล คือทุกบัญชีที่มีธุรกรรมภายในบัญชี ฝาก/รับโอนเงิน 3,000 ครั้งขึ้นไปต่อปี หรือจำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไปต่อปี และมียอดรวมมากกว่า 2,000,000 บาทต่อปี เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดกฎหมายอีเพย์เมนต์เพื่อเตรียมตัวรับมือกันค่ะ

สถาบันที่ต้องนำส่งข้อมูลบัญชีให้กรมสรรพากร

  1. ธนาคาร

  2. สถาบันการเงินต่างๆ

  3. Payment Gateway รวมถึง E-Wallet ต่างๆ ด้วยค่ะ

เงื่อนไขของการส่งข้อมูลบัญชีให้กรมสรรพากร

สถาบันจะนับจำนวนธุรกรรมรวมกันทุกบัญชีที่เกิดขึ้นภายใน 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปี นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. จำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน ตั้งแต่ 3000 ครั้งขึ้นไปต่อปี

  2. จำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป และต้องมียอดรวมมากกว่า 2,000,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างการนับธุรกรรมทางการเงิน

น้องพิมเพลิน มีบัญชีเงินฝากทั้งหมด 4 บัญชี ดังต่อไปนี้

บัญชี 001 มียอดรับโอนเงินทั้งปีจำนวน 2500 ครั้ง = ไม่ถูกนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

บัญชี 002 มียอดรับโอนเงินทั้งปีจำนวน 3500 ครั้ง = ถูกนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

บัญชี 003 มียอดรับโอนเงินทั้งปีจำนวน 365 ครั้ง รวมยอด 2,700,000 บาท = ไม่ถูกนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

บัญชี 004 มียอดรับโอนเงินทั้งปีจำนวน 450 ครั้ง รวมยอด 2,700,000 บาท = ถูกนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

รายการฝาก/รับโอนเข้าบัญชีแบบไหนบ้าง ?

  1. ยอดเงินฝากเข้าบัญชี

  2. ยอดรับโอนเงิน

  3. ยอดเงินฝากเช็คเข้าบัญชี

  4. ยอดจากดอกเบี้ย

  5. ยอดจากเงินปันผล

กรมสรรพากรจะได้รับข้อมูลอะไรบ้างจากสถาบัน?

  1. เลขประจำตัวประชาชน / เลขนิติบุคคล

  2. ชื่อ-สกุล เจ้าของบัญชี / ชื่อนิติบุคคล

  3. จำนวนครั้งของการฝากหรือรับโอนเงิน

  4. ยอดรวมของการฝากหรือรับโอนเงิน

  5. เลขที่บัญชีที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน

เริ่มบังคับใช้กฎหมายเมื่อไหร่?

ประกาศกฎหมายเริ่มบังคับใช้เมื่อมกราคมปี 2562 และบังคับให้ส่งรายงานข้อมูลบัญชีที่มีธุรกรรมพิเศษให้แก่กรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคม ปี 2563 เป็นต้นไป และเริ่มใช้จริง โดยสถาบันไม่ต้องนำส่งข้อมูลบัญชีย้อนหลังให้กรมสรรพากร

อัพเดทล่าสุด (10 ม.ค.2564)

ปี 2563 เป็นต้นไป สถาบันจะส่งข้อมูลบัญชีที่เข้าเงื่อนไขให้กับกรมสรรพากร โดยการนับธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงิน ทางธนาคารนับธุรกรรมแบบปีต่อปีตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปีค่ะ

ข้อแนะนำสำหรับร้านค้าออนไลน์

  1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อแจกแจงรายละเอียดในแต่ละธุรกรรมของธุรกิจ

  2. ขอใบกำกับภาษีในการซื้อมาขายไปทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานเมื่อทำการยื่นภาษี

  3. จดเทียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย

  4. แยกบัญชีส่วนตัว กับบัญชีที่ใช้ทำธุรกิจ

  5. ศึกษาข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับภาษีออนไลน์

ภาษีอีเพย์เมนต์ถูกบังคับใช้กับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะร้านค้าออนไลน์เท่านั้น จะดีกว่าไหมถ้าเราเตรียมพร้อมรับมือโดยจดทะเบียนร้านค้าออนไลน์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และหาตัวช่วยดีๆ เพื่อดูสถิติยอดขายรายเดือนหรือเลือกช่วงเวลาที่ต้องการได้ พร้อมทั้งบอกยอดรับโอนของแต่ละบัญชีได้ด้วย เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลแล้ว :)

เงินหมุนเวียนเยอะโดนภาษีไหม

รู้หรือไม่ รับเงินโอนเงินเข้าบัญชีเกิน 3,000 ครั้งต่อปี อาจโดนตรวจสอบภาษี Last updated: 25 พ.ย. 2565 | 76550 จำนวนผู้เข้าชม |

เงินเข้าแล้วออกต้องเสียภาษีไหม

กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ เริ่มบังคับใช้แล้ว มีผลให้สถาบันทางการเงินต้องรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมเฉพาะให้แก่กรมสรรพากร โดยบัญชีจะต้องมีเงื่อนไขคือ มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป หรือมียอดฝากหรือโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป

มีเงินในบัญชีเท่าไรต้องเสียภาษี

วางแผน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” มาถึงบรรทัดนี้ เชื่อว่าหลายคนคงได้คำตอบที่ว่า รายได้เท่าไร ต้องเสียภาษี กันแล้วนะคะ ดังนั้น ถ้าหากรู้ตัวว่ามีเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาท อย่าลืมยื่นและเสียภาษีให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อความปลอดภัย ไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังค่ะ

สรรพากร รู้ได้ ยัง ไง เงินเข้าบัญชี ไหน

สรรพากรรู้ข้อมูลรายได้ของประชาชนไทยได้จากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นผ่านข้อมูลที่ธนาคาร หรือสถาบันการเงินเป็นผู้ส่งให้ ใช้ระบบ Data analytics รู้ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ที่มีผู้มาแจ้งเบาะแส เจ้าหน้าที่เข้าสุ่มตรวจสอบ ข้อมูลจาก Web Scraping หรือแม้แต่รับรู้รายได้ของเราผ่านทางลูกค้าหรือผู้จ่ายเงินให้เรา