การตรวจ สอบ คุณภาพ Inspection

                         สรุป : ISO ถือเป็่นสัญลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์/บริการ นั้น ๆ  ซึ่งถูกรับรองว่ามีมาตรฐานสากล และมีคุณภาพอย่างสูงต่อลูกค้า, แสดงถึงศักยภาพการบริหารงาน/การผลิตสินค้าขององค์กร ที่มีต่อบุคคลภายนอก, และยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะซื้อสินค้า หรือ บริการ พวกเราควรศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้นว่าผลิตภายใต้คุณภาพของ ISO หรือไม่

การตรวจสอบระหว่างกระบวนการการตั้งค่าเงื่อนไขเครื่องมือวัดที่แม่นยำรุ่นที่ใช้งานง่ายการปฏิบัติงานที่มีการจัดการที่ดี รวมถึงการตรวจสอบ

กระบวนการที่ตามมา
การตรวจ สอบ คุณภาพ Inspection

ในโรงงานผลิตนั้น การวัดที่แม่นยำถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผ่านกระบวนการ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาและอุปกรณ์การขนส่งที่เพิ่มขึ้นได้ทำให้ความต้องการที่จะให้การประมวลผลด้วยเครื่องจักรมีความแม่นยำสูงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย การวัดในเลขหลักที่สูงกว่าวิธีทั่วไปก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการระบบตรวจสอบที่จะสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้
ในทุกๆ กระบวนการนั้น การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอตามข้อมูลจำเพาะที่กำหนดไว้ล่วงหน้าคือสิ่งที่จำเป็น ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดเงื่อนไขสำหรับเครื่องมือวัดในกระบวนการตรวจสอบ และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะมีสภาพแวดล้อมที่จะทำการวัดได้ถูกต้องระหว่างการทำงานของสายการผลิต

  • เวอร์เนียคาลิปเปอร์
  • ไมโครมิเตอร์
  • ไดอัลเกจ
  • เกจบล็อค
  • จิ๊กแบบเฉพาะ
  • อุปกรณ์ต้องใช้งานได้ง่ายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้งานในพื้นที่ทำงานได้อย่างเหมาะสม
  • ยิ่งการตรวจสอบใช้เวลานานเท่าใด ผลกระทบในการทำงานของสายการผลิตก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ประสิทธิภาพในการผลิตก็จะลดลงไปด้วย ด้วยเหตุนี้ การเลือกเครื่องมือวัดที่สามารถวัดได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ
  • ในบางครั้งก็มีการผลิตจิ๊กแบบเฉพาะขึ้นมาใช้ล่วงหน้าในโรงงานผลิตเป็นจำนวนมาก หากใช้งานจิ๊กเหล่านี้เป็นเวลานาน ต้องมีความระมัดระวังในการป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการสึกหรอและการปนเปื้อนของจิ๊ก สิ่งสำคัญคือต้องมีการตรวจสอบตามช่วงเวลาและวิธีการจัดการในแบบต่างๆ
  • สวมถุงมือทุกครั้งที่ใช้งานเกจบล็อค การสัมผัสเกจด้วยมือเปล่าอาจทำให้เกิดการขยายตัวจากความร้อนหรือการปนเปื้อนได้ นอกจากนี้ ยังต้องให้เวลาเกจบล็อคในการปรับเข้ากับอุณหภูมิห้อง เนื่องจากเกจบล็อคไม่สามารถปรับอุณหภูมิให้สมดุลได้อย่างรวดเร็ว
  • ข้อมูลการวัดระหว่างกระบวนการไม่ได้ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นข้อมูลเชิงสถิติเพื่ออธิบายความแปรผันของค่าที่วัดได้ และเพื่อระบุสาเหตุของความแปรผันเหล่านี้อีกด้วย

ดัชนี

ทุกคนหรือทุกองค์กรต้องการที่จะผลิตงานที่มีคุณภาพให้ได้มากที่สุด เราสามารถช่วยคุณตรวจสอบว่างานต้นแบบที่ผลิตออกมาได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือแม้กระทั่งการตรวจสอบคุณภาพตลอดทั้งกระบวนการผลิต เรามีเครื่องสแกน 3 มิติ ที่มีความแม่นยำสูงสุดที่ 0.005 มม. ซึ่งเหมาะสำหรับงานตรวจสอบที่ฉับไว พร้อมรองรับงานนอกสถานที่ และเครื่อง CMM ที่ สามารถใช้กับงานที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 20 เมตร ซึ่งมีความแม่นยำสูงสุดอยู่ที่ 0.025 มม Learn more

ในการส่งออกสินค้ามีกระบวนการพัฒนาคุณภาพสินค้าที่ สำคัญ คือ การตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (Inspection) ซึ่งเป็น ขั้นตอนสุดท้ายก่อนการส่งออก เพื่อยืนยันความถูกต้องทั้ง คุณภาพและจำนวนสินค้าที่มีการสั่งซื้อและส่งมอบถึงมือลูกค้า การตรวจสอบมาตรฐานสินค้า เป็นหน้าที่ของ “คนกลาง” ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย มีฐานะเป็นผู้ตรวจสอบอิสระ (independent inspecter) ที่จะต้องดำเนินงานด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ (professional ethics) เพื่อสร้างความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย มีขอบ เขตการดำเนินงานโดยสรุป คือ
 1. ตรวจสอบสินค้าจากผู้ส่งออกในประเทศให้ได้มาตรฐาน ตามความต้องการของผู้ซื้อ และข้อตกลงส่งมอบสินค้าที่กำหนด ไว้ใน LC ระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย
 2. ควบคุมสินค้าที่ตรวจสอบแล้วขึ้นเรือใหญ่ เพื่อการ ส่งออกโดยสมบูรณ์ให้ได้น้ำหนักและคุณภาพตามข้อตกลง ระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย วิธีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ส่วนใหญ่ทำในห้องปฏิบัติ การ ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบสินค้าจึงมีห้องปฏิบัติการ ตรวจวิเคราะห์สินค้า (testing service) ให้บริการได้ครบวงจรใน ระดับสากล ปัจจุบันธุรกิจตรวจสอบสินค้าในประเทศไทยมี ประมาณ 50 ราย บริษัทที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุด เช่น SGS, BUREAU VERITAS, ITS (Intertex Testing Services) ซึ่งมี ชื่อเสียงด้านการตรวจสอบสินค้ามานานกว่า 100 ปี ก่อนจะพัฒนา บริการให้การรับรอง “มาตรฐานระบบงาน” จนมีชื่อเสียงในเวลา ต่อมา
 ผู้ตรวจสอบสินค้าคือใคร
 กฎหมายที่กล่าวถึงการตรวจสอบสินค้าที่ชัดเจนที่สุดคือ พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 กำกับดูแล โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้สินค้า เกษตร 10 ชนิด (ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว ปอฟอก ปล่าป่น ปุยนุ่น เมล็ดละหุ่ง ไม้สัก แปรรูป) เป็น “สินค้ามาตรฐาน” ผู้ส่งออกต้องจดทะเบียนแจ้ง การส่งออกรวมทั้งกำหนดมาตรฐานสินค้า และตรวจสอบสินค้า ก่อนการส่งออก โดย ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบสินค้า (Inspection) ต้องส่งเจ้าที่มาสอบเป็น “ผู้ตรวจสอบสินค้า” (Inspecter) ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้า (กองตรวจสอลและ มาตรฐานสินค้ากรมการค้าต่างประเทศ) สินค้าทั่วไปไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องตรวจสอบสินค้า แต่ จะเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย ที่ระบุไว้ใน LC (Letter of Credit) ซึ่งผู้ซื้อกำหนดเงื่อนไขไว้ ให้มีการตรวจสอบสินค้าโดย บริษัทตรวจสอบสินค้า เพื่อนำใบรายงานผลการตรวจสอบ คุณภาพ (quality inspection report) เป็นหลักฐานเบิกค่าสินค้า จากธนาคารและทำฝบขนส่งสินค้าลงเรือ และเป็นเอกสารสำคัญ ในการนำสินค้าเข้าประเทศ
 กล่าวโดยสรุป ความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบสินค้าคือ รักษามาตรฐานขั้นต่ำ (minimum requirement) ตามกฎหมาย กำหนด และตามข้อกำหนดสินค้าใน LC รวมทั้งมีอำนาจในการ ปฏิเสธไม่รับสินค้า (reject) ของผู้ส่งออกและสั่งให้ปรับปรุงสินค้า จนกว่าจะได้คุณภาพตามมาตรฐานกำหนด
 เขาตรวจสอบสินค้ากันอย่างไร
 ประเภทสินค้าที่ต้องทำการตรวจสอบหมายถึง สินค้าส่งออก ทุกรายการ แบ่งเป็นหมวดใหญ่ได้ 3 หมวด คือ
 • สินค้าอาหาร (food)
 • สินค้าอุตสาหกรรม (nonfood)
 • สินค้าทั่วไป เช่น แร่ น้ำมัน ปูนซีเมนต์
 วิธีการตรวจสอบส่วนใหญ่เป็นไปตามข้อกำหนดสินค้าใน LC ได้แก่ น้ำหนักคุณภาพและคุณสมบัติ ของสินค้า ตัวอย่างวิธีตรวจ สอบน้ำหนัก เช่น การใช้เครื่องชั่งน้ำหนักบนบก หรือการชั่งใน น้ำ (draft survey) คือ วัดระดับน้ำรอบเรือบรรทุกสินค้า 6 จุด ก่อนบรรทุกและหลังบรรทุกสินค้า แล้วนำมาคำนวณหาน้ำหนัก สินค้า หรือการคำนวณจากปริมาตร (volume) กรณีสินค้าเป็น ของเหลว เช่น น้ำมัน ส่วนการตรวจสอบคุณภาพสินค้าจะทำใน ห้องปฏิบัติการ แบ่งการตรวจสอบเป็น 2 ประเภท คือ
 1. การตรวจสอบคุณภาพทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการค้า ได้แก่ คุณสมบัติตามธรรมชาติของสินค้า เช่น สินค้าข้าว มี ข้าวเม็ดเต็ม เม็ดหัก เม็ดเสีย กี่เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำตาล มีความหวานความชื้น เท่าไร แบ่งการตรวจสอบออกเป็นการรับรองคุณภาพด้าน Physical, Chemical, Biological รวมทั้งตรวจสอบรังสีปนเปื้อน
 2. การตรวจสอบคุณภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้า ได้แก่ มาตรฐานและเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนดขึ้น เพื่อปก ป้องการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศ รวมทั้ง มาตรการกีดกัน ทางการค้าที่มิใช้ภาษี หรือ NTB (Non Tariff Barriers) เช่น การตรวจสอบว่าผู้ผลิตสินค้านั้นได้มาตรฐานระบบ ISO 9001, ISO 14001, มอก.18001, HACCP ฯลฯ หรือไม่ การตรวจ รับรอง Plant Warranty การตรวจหาโลหะหนัก 10 ชนิด เช่น เหล็ก และแคดเมี่ยมในอาหารทะเล ทำให้ผู้ส่งออกเสียค่าใช้จ่าย ในการตรวจสอบและส่งออกสูงมากจนไม่สามารถส่งออกได้ การรับคำสั่งให้บริการตรวจสอบสินค้าของบริษัทผู้ตรวจสอบ เกิดขึ้นได้ทั้งจากผู้ส่งออกในประเทศและผู้ซื้อในต่างประเทศ ตามความต้องการของลูกค้า โดยใช้เครือข่ายสำนักงานสาขาทั่ว โลกของแต่ละบริษัทให้บริการในระดับโลก แบ่งการดำเนินงาน ออกเป็น การตรวจสอบสินค้าในพื้นที่ ได้แก่ การส่งผู้ตรวจสอบสินค้า (Inspecter) พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือวัดเข้าไปดูสินค้าจริงในโรง งาน เช่น ผ้าม้วนความยาวม้วนละ 100 หลา ยืนยันความยาวจริง ก่อนการบรรจุหีบห่อ นำตัวอย่างกลับมาทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ โดยใช้วิธีสุ่ม ตัวอย่างตามหลักสถิติ
 การให้ผู้บริการด้านผู้ซื้อ เช่น ห้างสรรพสินค้าในอเมริกา สั่ง ให้ตรวจสอบสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตในประเทศไทยก่อนส่งออก ไปขายอเมริกา หรือโรงงานในประเทศไทยต้องการวัตถุดิบจาก ประเทศจีน สั่งให้ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบจากโรงงานใน ประเทศจีน
 อนาคตการตรวจสอบสินค้าไทย
 ปัจจุบันผู้ส่งออกสินค้าส่วนใหญ่ได้รับการรับรอง “มาตรฐาน ระบบงาน” หลายระบบได้แก่ ISO, HACCP, GMP แต่จำเป็น ต้องตรวจสินค้าเพื่อรับรอง “มาตรฐานสินค้า” ก่อนการส่งออก สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศอีกมาตรฐานหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบสินค้าเป็นการแก้ปัญหาปลาย ทาง ที่อาจสร้างปัญหาและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ส่งออกกรณีสินค้าไม่ ได้คุณภาพ (non quality cost) ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดใหม่ในการ ตรวจสอบสินค้าคือ การกลับไปแก้ปัญหาต้นทาง หมายถึง การควบคุมคุณภาพสินค้าตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงมือผู้ซื้อตรงตาม มาตรฐาน และจำนวนที่ผู้ซื้อต้องการด้วยหลักการ “Do It Right At First Time” กรณีสินค้าเกษตรจะเริ่มต้นตั้งแต่การเลือกพื้นที่ และพันธ์ุที่ดีที่สุด ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีการปลูกก่อนและหลัง การเก็บเกี่ยวแก่เกษตรกร เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรระดับ คุณภาพส่งออก กรณีสินค้าอุตสาหกรรม การควบคุมคุณภาพเริ่ม ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบและควบคุมกระบวนการผลิต ตามข้อ กำหนดมาตรฐานสินค้าระดับ Premium Grade
 ทัศนะจากผู้ตรวจสอบสินค้า ต่างให้ความเห็นตรงกันว่า ผู้ตรวจสอบสินค้าไม่ใช่ตำรวจหรือผู้จับผิดสินค้าปลอมปนไม่ได้ คุณภาพ แต่เป็นผู้ให้บริการด้านการส่งออก ที่มีเป้าหมายร่วมกัน คือ พัฒนาสินค้าไทยให้มีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐานจนไม่ต้องตรวจ สอบคุณภาพสินค้าหลายครั้ง มากกว่าที่จะได้รับค่าบริการตรวจ สอบ จากการที่ผู้ส่งออกเสียเวลาปรับปรุงคุณภาพสินค้า เนื่องจาก การทำสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจึงจำเป็นอย่าง ยิ่งในการทำสินค้าให้ได้คุณภาพมาตรฐาน

การตรวจสอบคุณภาพคืออะไร

2. การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) หมายถึง การตรวจสอบผลการดำเนินการของระบบและกลไกควบคุมคุณภาพภายในที่สถาบันอุดมศึกษาได้จัดให้มีขึ้น โดยจะเป็นการตรวจสอบเชิงระบบ มุ่งเน้นการพิจารณาว่า สถาบันได้มีระบบการควบคุมคุณภาพหรือไม่ ได้ใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นเพียงใด และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่า การจัดการ ...

QC Inspector คืออะไร

Quality Control Officer, Quality Control Inspector. รหัสอาชีพ 3152.90 (TSCO) นิยามอาชีพ การควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการของสถานประกอบกิจการ โดยตรวจสอบทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตตามมาตรฐานที่

การทำ QC เป็นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์แบบใด

ส่วนการควบคุมคุณภาพ หรือ Quality Control: QC เป็นการตรวจสอบสินค้าและบริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Standard) ซึ่งถูกต้องหรือสอดคล้องตรงตามแผนที่ได้วางไว้ ทั้งในด้านคุณภาพ (Quality) และปริมาณ (Quantity) โดยการควบคุมคุณภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพ (QA) และการประกันคุณภาพก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริการคุณภาพ (QMS) ...

การตรวจสอบคุณภาพสินค้ามีกี่ขั้นตอน

การควบคุมคุณภาพไม่ได้จากัดอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น จะต้องทาเป็นระบบทั้งองค์การตั้งแต่การ ควบคุมระดับนโยบายการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามที่ก าหนด ตลอดทั้งการควบคุมคุณภาพในการ ผลิต ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1) การตรวจสอบ คุณภาพวัตถุดิบ (2) การควบคุมการผลิตในกระบวนการ ผลิต และ (3) การตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ ...