นวัตกรรม Best Practice ปฐมวัย

การพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัย 

โดยใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ 

ชุดคำคล้องจอง

นวัตกรรม Best Practice ปฐมวัย

แบบเสนอผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best  Practice) 

**********************************

ประเภท  ครูผู้สอน                  สาขา  ปฐมวัย

ชื่อผลงาน   การพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานภาพ
               ประกอบการจัดประสบการณ์  ชุดคำคล้องจอง 
 

          
ชื่อผู้เสนอผลงาน  นางณณัท  ไทยประคอง          ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ                       

โรงเรียน  ชุมชนเลิศพินิจพิทยาคม 
สังกัด    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2   อำเภอลำลูกกา  จังหวัดปทุมธานี  

โทรศัพท์   02 -9292725                           มือถือ  086 -8809211
E-Mail     

1.ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ

          1.1  ความเป็นมาและสภาพปัญหา
              
จากการประเมินผลพัฒนาการ  ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช  2546 มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในมาตรฐานที่  9  ตัวบ่งชี้ที่  1  ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า เด็กอายุ ปี สามารถสนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องเป็นประโยคได้อย่างต่อเนื่อง  ฟังแล้วสามารถปฏิบัติตามคำสั่งที่ต่อเนื่องได้   ซึ่งผลจากการประเมินทักษะทางการพูดของเด็กปฐมวัยปีที่ โรงเรียนชุมชนเลิศพินิจพิทยาคม จำนวน 25 คน เด็กมีทักษะทางการพูดที่ไม่เหมาะสม คือ พูดไม่ชัด ไม่กล้าพูด  ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น  ไม่สามารถเล่าเป็นประโยคต่อเนื่องได้  อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง  คิดเป็นร้อยละ 48.00  ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข  นอกจากนี้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมเสริมประสบการณ์  กิจกรรมสร้างสรรค์  และกิจกรรมเสรี เด็กยังขาดความมั่นใจในการพูด ขาดทักษะในการสื่อสาร ไม่กล้าพูดหรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็น  พูดด้วยเสียงที่ขาดความชัดเจนต่อเนื่อง   มีจังหวะการพูดที่ไม่เหมาะสม พูดไม่ตรงประเด็น  ใช้คำศัพท์ที่เหมาะสมกับวัยได้น้อย  ใช้คำพูดเป็นประโยคเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวเพื่อสื่อความหมายให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ ได้ไม่ชัดเจน
         
1.2 แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา          

           จากเหตุผลดังที่ได้กล่าวมา  ข้าพเจ้าจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็ก โดยการใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ชุดคำคล้องจอง เป็นสื่อในการจัดประสบการณ์  เพื่อพัฒนาการสื่อสารด้านการพูด  การกล้าพูด  กล้าแสดงความคิดเห็น และมีทักษะในการสื่อสารที่เหมาะสมกับวัย   
2.จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
  
              
2.1 จุดประสงค์ของการดำเนินงาน
           
    2.1.1 เพื่อพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัยปีที่ 1  จำนวน  25 คน โดยการใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ ชุดคำคล้องจอง
           
2.1.2 เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในการพูด  พูดได้ชัดเจนและถูกต้อง

2.1.3เพื่อให้เด็กสามารถสร้างองค์ความรู้ได้  ฟังแล้วสามารถปฏิบัติตาม บอกและเล่าอย่างต่อเนื่องได้      
        2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน

             2.2.เด็กมีทักษะการพูด คือพูดได้ถูกต้อง  ขัดเจน  มีความมั่นใจในการพูด อยู่ในระดับดี –ดีมาก
            
2.2.เด็กสามารถสร้างองค์ความรู้จากคำคล้องจอง วาดภาพและเล่าเรื่องราวอย่างต่อเนื่องได้
3.กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
        
3.1 การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
           วิธีการและลำดับขั้นตอนในการสร้างหนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ ชุดคำคล้องจองมีดังนี้
            
3.1.1 ศึกษาแนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่
                - ความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัย
        
        - การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษา(การพูด)ของเด็กปฐมวัย
                - การพูด
        
        - นิทาน  / คำคล้องจอง
           
3.1.2 วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
           
3.1.ศึกษาหลักการ  จุดมุ่งหมาย คุณลักษณะตามวัย และโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546  เพื่อให้ทราบเนื้อหาการจัดประสบการณ์ วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างหนังสือนิทานภาพ  จัดทำแผนการจัดประสบการณ์
          
3.1.3 วิเคราะห์ผลการประเมินปัญหาทางการพูดของเด็กปฐมวัย  ปีการศึกษา 2554-2555  ผลการประเมินคุณภาพภายนอก (สมศ.) รอบ ปีการศึกษา 2555
          3.1.4 ออกแบบกิจกรรมการพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์  ชุดคำคล้องจอง  หน่วยตัวเรา  จำนวน  11 เรื่อง  ได้แก่
                    
1.ตัวเรา  2.ร่างกายของเรา   3ผิวหนังของเรา  4ผมของเรา  5.ตาของเรา  

                    6หูของเรา 7.จมูกของเรา  8.ปาก ฟัน ลิ้น ของเรา 9มือและเล็บของเรา 

                    10มือและแขนของเรา  11.เท้าและขาของเรา
      3.การดำเนินงานตามกิจกรรม ตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (
Deming Cycle หรือ PDCA )คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย
          
3.2.ขั้นวางแผน  ศึกษาหลักการ  จุดมุงหมาย คุณลักษณะตามวัย และโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546  เพื่อให้ทราบเนื้อหาการจัดประสบการณ์ วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างหนังสือนิทานภาพ  จัดทำแผนการจัดประสบการณ์  วิเคราะห์ผลการประเมินปัญหาทางการพูดของเด็กปฐมวัย  ปีการศึกษา 2554-2555  ผลการประเมินคุณภาพภายนอก (สมศ.) รอบ ปีการศึกษา 2555
              3.2.ขั้นดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ชุดคำคล้องจอง หน่วยตัวเรา จำนวน 11 เรื่อง 11 สัปดาห์ๆละ1เรื่อง ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยครูนำหนังสือนิทานภาพ ชุดคำคล้องจองมาให้เด็กดู  และครู
เปิดหนังสือไปทีละหน้า พร้อมกับอ่านให้เด็กฟังด้วยเสียงที่ชัดเจนมีจังหวะสม่ำเสมอจนจบเรื่อง 

              เด็กอ่าน / พูดคำคล้องจองตามครูทีละวรรคทีละภาพไปจนจบเรื่อง  
          
    - เด็กและครูร่วมกันสนทนาและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายของคำคล้องจอง 
              
เด็กอ่าน / พูดคำคล้องจองตามครูพร้อมทำท่าทางประกอบตามจินตนาการอย่างอิสระ

              3.3.ขั้นตรวจสอบประเมินผล  จากการจัดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์  ชุดคำคล้องจอง พบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรม โดยใช้หนังสือนิทานภาพ ประกอบการจัดประสบการณ์  ชุดคำคล้องจอง จากผลสรุปในแบบประเมินพฤติกรรมความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัย ตลอดทั้ง  11 สัปดาห์  มีความสามารถทางการพูดเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สูงขึ้นตลอดช่วงเวลาของการจัดกิจกรรม
               
3.3.ขั้นปรับปรุงและพัฒนา  ได้มีการศึกษาความสามารถทางการพูดโดยการใช้กิจกรรมอย่างอื่น เช่น การใช้ปริศนา คำทายประกอบภาพวาด การใช้เพลง การแสดงบทบาทสมมติ ควบคู่กับการศึกษา การใช้หนังสือนิทานภาพ ประกอบการจัดประสบการณ์ ชุดคำคล้องจองเพื่อพัฒนาหรือส่งเสริมพฤติกรรม ด้านอื่น ๆ เช่น  ความมีวินัยในตนเอง  ทักษะทางด้านการคิด หรือแม้กระทั้งการพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียนในระดับช่วงชั้นที่สูงขึ้น   
         3.3ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน

            
     จากการจัดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์  ชุดคำคล้องจอง  หน่วยตัวเรา  จำนวน  11 เรื่อง 11 สัปดาห์ เด็กมีพัฒนาการทางการพูดที่ดีขึ้น  กล่าวคือเด็กมีความกระตือรือร้นที่จะพูด  กล้าพูด  กล้านำเสนอความคิด  กล้าตอบคำถามและท่องคำคล้องจองด้วยความสนใจและตั้งใจ  พูดออกเสียงได้อย่างชัดถ้อยชัดคำ สามารถบอกหรือสรุปประเด็นที่เป็นองค์ความรู้จากภาพคำคล้องจอง  เข้าใจเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟัง  สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ อย่างต่อเนื่องและถูกต้อง สามารถพูดหรือนำเสนอเรื่องราวเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ และจากการจัดกิจกรรมพบว่าเด็กที่ขึ้นไปอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ ซึ่งเป็นตัวนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันกิจกรรมเล่านิทานประกอบสื่อ  กิจกรรมปั้นดินน้ำมัน  และกิจกรรมการสร้างภาพด้วยการฉีก  ตัด ปะกระดาษ   สามารถเล่าเรื่องราวประกอบสื่อ  ประกอบภาพได้อย่างมั่นใจ กล้าแสดงออก  และพูดด้วยน้ำเสียงที่ถูกต้องชัดเจนและมั่นใจในตัวเองสูง
         3.การใช้ทรัพยากร ในการจัดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์  ชุดคำคล้องจอง บางครั้งครูอาจจะใช้ของจริง  เช่นตัวเด็กเอง  เพื่อนๆ  หรือตัวครูเป็นสื่อในการทำกิจกรรมแทนหนังสือนิทานภาพ  ทั้งนี้เพื่อสร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ให้กับเด็กๆ         
                                        
4. ผลการดำเนินการ /ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
          
4.1ผลที่เกิดตามจุดประสงค์  เด็กมีทักษะทางภาษาการพูดที่ดีขึ้น  กล้าพูด  กล้าแสดงออก  มีความมั่นใจในการถาม-ตอบ  กล้าแสดงความคิดเห็น และมีทักษะในการสื่อสารที่เหมาะสมกับวัย  ส่งผลให้เด็กมีความมั่นใจ  ในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับผู้อื่นและสามารถเข้าร่วมแข่งขันในกิจกรรมเล่านิทานประกอบสื่อ  การปั้นดินน้ำมัน และการสร้างภาพด้วยการฉีก  ตัด ปะกระดาษ  ส่งผลให้ได้รับรางวัลดังต่อไปนี้
          
4.ผลสัมฤทธิ์ของงาน
               
1.ปีพ.ศ. .2556 ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศในการแข่งขันเล่านิทานประกอบสื่อ  รางวัลเหรียญทองชนะเลิศการสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะกระดาษ ซึ่งจะเป็นตัวแทนไปแข่งขันระดับภาค ณ จังหวัดเพชรบุรี  และรางวัลเหรียญเงิน การปั้นดินน้ำมัน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
              
2.ปีพ.ศ. 2554-2555  ได้รับรางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะกระดาษ    ระดับภาคตะวันออกงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 61 จังหวัดกาญจนบุรี  และครั้งที่ 62  จังหวัดระยอง
              
3. ปีพ.ศ. 2554-2556 ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ ปีซ้อน  ในการแข่งขันกิจกรรมการสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะกระดาษ  ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
            4.ประโยชน์ที่ได้รับ
               
4.3.1หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ ชุดคำคล้องจอง  สามารถกระตุ้นความสนใจ ให้เด็กเกิดสมาธิ  มีความสนใจในการเรียนรู้ในเวลาที่ยาวนานขึ้น  เด็กเกิดความสุขสนุกกับการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
               
4.3.2หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ ชุดคำคล้องจอง  ที่ได้จัดไว้ในมุมหนังสือ-นิทาน  เพื่อให้เด็กเกิดนิสัยรักการอ่านหนังสือ   สามารถส่งเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือแก่เด็กได้เป็นอย่างดี  ซึ่งประเมินได้จากพฤติกรรมการหยิบจับหนังสือนิทานภาพ ชุดคำคล้องจอง มาเปิดอ่านด้วยความสนใจ
               
4.3.3หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ ชุดคำคล้องจอง  จะกระตุ้นให้ผลงานศิลปะสร้างสรรค์ของเด็กโดยเฉพาะการวาดภาพระบายสีมีความสวยงามชัดเจนและมีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น   เด็กจะมีความพิถีพิถันในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างประณีต  ทำงานอย่างมีจุดมุ่งหมาย  และนำเสนอผลงาน ได้อย่างมั่นใจรวมถึงเด็กจะกล้าพูดมากขึ้นด้วย
5. ปัจจัยความสำเร็จ
              1.ได้รับการส่งเสริม  สนับสนุนด้านการจัดการศึกษา จากผู้บริหาร รองผู้บริหาร ฝ่ายการเงินจัดสรรงบประมาณให้อย่างเพียงพอ
              2.ด้านการจัดการเรียนการสอน  ได้รับการส่งเสริมจากเพื่อนร่วมงาน  เป็นที่ปรึกษา คอยให้กำลังใจ  และให้คำแนะนำในการออกแบบสื่อนวัตกรรม
              
3.ได้รับความร่วมมือจากเด็ก  ผู้ปกครอง  และชุมชนเป็นอย่างดี  เด็กสนใจและมีความสุขในขณะทำกิจกรรมโดยใช้หนังสือนิทานภาพคำคล้องจอง  ในด้านผู้ปกครองและชุมชนให้การสนับสนุนโดยการยืมหนังสือนิทานไปเล่าให้บุตรหลานฟังที่บ้าน  ซึ่งส่งผลให้มีการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน               
6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson  Learned)
            6.1. ผลที่เกิดจากการจัดประสบการณ์ทำให้พัฒนาการทางการพูดของเด็กดีขึ้นกล้าพูดกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในการถาม-ตอบ  กล้าแสดงความคิดเห็น และมีทักษะในการสื่อสารที่เหมาะสมกับวัย  
            6.เด็กสามารถพูดออกเสียงได้อย่างชัดถ้อยชัดคำ  พูดได้อย่างต่อเนื่องโดยมีจังหวะของการพูด ที่พอเหมาะไม่เร็วไม่ช้าจนเกินไป  ใช้ถ้อยคำได้อย่างเชื่อมโยงไม่ติดขัดและชัดเจน
             
6.สามารถแสดงออกในการเป็นผู้นำ –ผู้ตามที่ดี และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแนวทางในการพัฒนาเพิ่มเติมให้ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ครูผู้สอนมีบทบาทในการสนับสนุนส่งเสริม ให้เด็กพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ โดยอำนวยความสะดวก สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเอง กระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้  และเนื่องจากโรงเรียนชุมชนเลิศพินิจพิทยาคม มีห้องเรียนคู่ขนาน(เด็กพิเศษเรียนร่วม)จึงได้นำหนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ ชุดคำคล้องจอง  ไปทดลองใช้เพื่อพัฒนา ความสามารถทางการพูดของเด็กกลุ่มนี้ต่อไป
7. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ
       7.1 การเผยแพร่
           7.1.1.เผยแพร่ผลงานไปยังโรงเรียนต่างๆ ในเครือข่าย และโรงเรียนนอกเครือข่าย โดยเผยแพร่                เป็นเอกสารและซีดี
            7.1.2 การเผยแพร่ในเว็ปไซต์ของโรงเรียน
            
7.1.3 การเผยแพร่ในเว็ปไซต์ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
        
7.การได้รับการยอมรับ ผู้รายงานได้รับมอบหมายให้เป็นคณะกรรมการการดำเนินการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
             รางวัลที่ได้รับด้านนักเรียน
             
1. ปีพ.ศ. .2556 ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศในการแข่งขันเล่านิทานประกอบสื่อ  รางวัลเหรียญทองชนะเลิศการสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะกระดาษ  ซึ่งจะเป็นตัวแทนไปแข่งขันระดับภาค ณ จังหวัดเพชรบุรี  และรางวัลเหรียญเงิน การปั้นดินน้ำมัน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
             
2. ปีพ.ศ. 2554-2555  ได้รับรางวัลเหรียญเงินการแข่งขันการสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะกระดาษ    ระดับภาคตะวันออกงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 61 จังหวัดกาญจนบุรี  และครั้งที่ 62  จังหวัดระยอง
             
3.  ปีพ.ศ. 2554-2556 ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ ปีซ้อน  ในการแข่งขันกิจกรรม การสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะกระดาษ  ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
               รางวัลที่ได้รับด้านครู
             1.รับโล่รางวัลครูดีศรีลำลูกกาของอำเภอลำลูกกา  เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
             2.รับรางวัลครูดีในดวงใจ     

แบบเสนอผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best  Practice)

สาขา  ปฐมวัย

ชื่อผลงาน   การพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัย

โดยใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ ชุดคำคล้องจอง

นวัตกรรม Best Practice ปฐมวัย

ผู้เสนอผลงาน

นางณณัท  ไทยประคอง 

ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียน  ชุมชนเลิศพินิจพิทยาคม

สังกัด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

อำเภอลำลูกกา  จังหวัดปทุมธานี 

ตารางการวิเคราะห์ความสอดคล้องของคำคล้องจองกับหน่วยการเรียนรู้และสาระที่ควรเรียนรู้

ที่

คำคล้องจองเรื่อง

หน่วยการเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้

1

ตัวเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

2

ร่างกายของเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

3

ผิวหนังของเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

4

ผมของเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

5

ตาของเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

6

หูของเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

7

จมูกของเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

8

ปาก ฟัน ลิ้น ของเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

9

มือและเล็บของเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

10

มือและแขนของเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

11

เท้าและขาของเรา

ตัวเรา

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

 ประโยชน์ที่ได้จากการใช้นวัตกรรม

เด็กกิดทักษะพื้นฐานทางการพูดโดยการใช้หนังสือนิทานภาพประกอบการจัดประสบการณ์ชุดคำคล้องจอง   พูดออกเสียงคำง่ายๆได้ถูกต้องและชัดเจนขึ้น

             2. เด็กมีความพึงพอใจ สนุกสนาน เพลิดเพลินและสนใจในลักษณะรูปเล่มและภาพในหนังสือนิทานภาพประกอบคำคล้องจองที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น

            3.เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ฟังจากการเล่านิทาน และสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเองได้

           4. ครูได้แนวทางการพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทานภาพประกอบประกอบการจัดประสบการณ์  ชุดคำคล้องจอง