การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า

�ѧ���  �ǡ��Ҫ�Ǿط��������   ����դ�����ѷ����������   �����繤س����ѹ����˭�ͧ��оط���ʹ�   ���������ִ�Ƿҧ����оط�ͧ����ç���Ѻ�ǡ������   ����׺�ʹ   ���·ʹ�ô��ѹ��Ӥ���ѹ���   ���¡���֡��  ��Ժѵ�   ����ظ��� ���Ǩ֧���¹������   ����������ö��оĵԻ�Ժѵ����ҧ���������  ��оط���ʹҡ������Ѻ�š�ͧ�����ա��ǹҹ �����������оĵԻ�ԺѵԵ�� ��ʹҢͧ��ҡ�Ф���˴���� 㹷���ش����������ʹ������������š����ա�����֧������ҹ������¨��������㹤���������ҷ  �������ǹ�����֡����л�оĵԻ�Ժѵ�����������ظ���  ���Ǩ֧�������  ���ͤ����آ ������ԭ  ���ѧ���š����    ����ʴ������������������  ���ص������§��ҹ��

      “ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาร่วมงานสัมมนาพระไตรปิฎกบาลี ที่รวบรวมมาจากพระไตรปิฎกใบลาน จากใบลานทั้งหมด ๔ จารีต จากอักษรต่าง ๆ คือ พม่า ขอม สิงหล และ   ล้านนา โดยมีการนำใบลานทั้งหลายมาถ่ายรูปเก็บไว้ในอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้คงอยู่ถาวรตลอดไป นอกจากนั้นยังสามารถที่จะเปรียบเทียบใน   จารีตต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีมากที่เราจะเก็บรวบรวมพระไตรปิฎกไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเล่าเรียนต่อไป  โดยไม่จำเป็นจะต้องไปค้นหาด้วยตัวเอง แต่เข้ามาที่ข้อมูลตรงนี้ก็สามารถดูได้ทั้งหมดทุกจารีตที่มี ขอชื่นชมคณะทำงาน และเชื่อมั่นว่า สิ่งที่ทำนี้จะเป็นประโยชน์กับพุทธศาสนิกชนทั่วไป และจะช่วยธำรงพระพุทธศาสนาด้วย” 

สืบทอดพุทธธรรม...จากพุทธกาลสู่โลกปัจจุบัน


เรื่อง : Tipitaka (DTP)
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๘

 

การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า


      ณ ดินแดนชมพูทวีป ย้อนไปเมื่อ ๒,๖๐๐ กว่าปีก่อน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมและทรงเผยแผ่พระสัทธรรมคำสอนโปรดเหล่าเวไนยสัตว์ แม้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แต่แสงแห่งธรรมยังคงสืบทอดและปักหลักในดินแดนต่าง ๆ จวบจนปัจจุบัน โดยเหล่าพุทธบริษัท ๔ ได้สืบทอดและเผยแผ่คำสอนของพระพุทธองค์ด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา จากวิธีสืบทรงจำ  แบบมุขปาฐะในสมัยพุทธกาลสู่การจารจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรและก้าวสู่ยุคเทคโนโลยีในปัจจุบัน

     คัมภีร์พระไตรปิฎกอักษรบาลีถือเป็นข้อมูลชั้นปฐมภูมิที่สืบทอดคำสอนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีมาตั้งแต่ราว ๆ พ.ศ. ๔๐๐ เศษ ณ ประเทศศรีลังกา และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนในยุคต่อมา ที่สร้างคัมภีร์ใบลานด้วยความเคารพศรัทธา เพื่อเผยแผ่หรือทดแทนของเดิมที่สูญหายหรือถูกทำลาย

 

การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า


     ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ปัจจุบันคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานส่วนใหญ่ถูกแทนที่ด้วยการพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือ หรือเก็บเป็นคลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งต่อได้ฉับไวไร้พรมแดนเพียงปลายนิ้วสัมผัส การศึกษาค้นคว้าคำสอนทางพระพุทธศาสนาจึงขยายวงกว้างจากโลกตะวันออกไปรุ่งเรืองยังดินแดนอื่นที่ห่างไกล ไม่ว่าจะเป็นทวีปยุโรป อเมริกา หรือออสเตรเลีย นักวิชาการต่างประเทศต่างให้ความสนใจในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามุ่งเรียนรู้และค้นคว้าเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง แต่ด้วยมุมมองวัฒนธรรมและความเข้าใจที่แตกต่างกันก่อให้เกิดการศึกษาวิจัยค้นคว้าที่น่าสนใจในหลากหลายแง่มุมเป็นการเปิดโลกทัศน์จากยุคพุทธกาลสู่ปัจจุบันในแง่วิชาการที่อิงอยู่บนพื้นฐานของคำสอนดั้งเดิม เป็นการผสานความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ากับหลักฐานปฐมภูมิอายุหลายร้อยปี เพื่อต่อยอดไปสู่อนาคต ก่อให้เกิดโครงการวิจัยต่าง ๆ มากมาย ด้วยเล็งเห็นคุณค่าของอักษรโบราณทุกตัวอักขระและเห็นถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ทุกช่วงตอน

     “โครงการพระไตรปิฎก ฉบับวิชาการ” (DTP) จัดตั้งขึ้นโดยดำริของ พม.ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่ออนุรักษ์และศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานของ ๔ สายจารีตหลักในพุทธศาสนาแบบเถรวาท ได้แก่ คัมภีร์ใบลานอักษรพม่า อักษรสิงหล อักษรขอม และอักษรธรรม โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการสำรวจรวบรวมและศึกษาค้นคว้าโดยมีเจ้าหน้าที่ทั้งภายในและต่างประเทศ ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเสาะแสวงหาคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลีเพื่ออนุรักษ์และศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันก็พัฒนาศักยภาพบุคลากรและเทคนิคต่าง ๆ จนผลงานเริ่มเป็นที่รู้จักและประจักษ์แก่สายตานักวิชาการและผู้สนใจ

 

การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า

การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานโดยโครงการพระไตรปิฎกฉบับวิชาการ

เริ่มจากการสำรวจ ทำความสะอาดและถ่ายภาพเก็บเป็นไฟล์ดิจิทัล


      ซึ่งการทำงานจะได้มาตรฐานและสามารถสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในระดับเวทีโลกได้ จำเป็นจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์อันเป็นที่ยอมรับในระดับแนวหน้าของวงการวิชาการพระไตรปิฎกบาลี ซึ่งโครงการฯได้รับความเมตตาจากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศและต่างประเทศคอยให้คำปรึกษาชี้แนะแนวทางในการดำเนินงานเรื่อยมา หนึ่งในคณะที่ปรึกษาจากต่างประเทศผู้มีความรู้ความสามารถระดับแนวหน้าของวงการวิชาการบาลีโลก คือ Prof. Dr. Oscar von Hinüber ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ด้านภาษาบาลีและคัมภีร์ใบลาน เป็นบุคคลหนึ่งที่คอยให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่ายิ่งต่อโครงการฯ มาโดยตลอด และในโอกาสที่โครงการฯ จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Intensive Workshop) เกี่ยวกับการศึกษาพระไตรปิฎกบาลีขึ้น ท่านได้ให้เกียรติเดินทางมาเป็นที่ปรึกษาหลักให้แก่นักวิชาการของโครงการฯ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายนักที่จะมีนักวิชาการระดับโลก ซึ่งมีผลงานเป็นที่รู้จักในวงการบาลีอย่างกว้างขวางเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องกับคณะนักวิชาการประจำของโครงการฯ ได้เช่นนี้

 

การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า

การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานโดยโครงการพระไตรปิฎกฉบับวิชาการ

เริ่มจากการสำรวจ ทำความสะอาดและถ่ายภาพเก็บเป็นไฟล์ดิจิทัล


     งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดขึ้น ณ ศูนย์บริการข้อมูลวิจัยพระไตรปิฎก ตั้งแต่วันที่ ๘-๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ รวมระยะเวลา ๑๐ วัน ซึ่งตลอดการสัมมนา นักวิชาการชาวอังกฤษเมียนมาร์ ศรีลังกา และไทย ได้รายงานความคืบหน้าการทำงานในแต่ละส่วนงาน เริ่มจากการบรรยายภาพรวมกว้าง ๆ จากนั้นจึงเจาะลึกในเนื้องานเป็นลำดับ ๆ อาทิเช่น การวิเคราะห์การจัดสายคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกบาลีในแต่ละสายอักษร ได้แก่ อักษรสิงหล พม่า ธรรมล้านนาธรรมอีสาน และอักษรมอญ โดยการศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอันถือเป็นข้อมูลปฐมภูมิประกอบกับความรู้ทางประวัติศาสตร์ภูมิหลังของอาณาจักรโบราณที่ใช้อักษรนั้น ๆ ด้วย

 

การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า


     ในช่วงวันท้าย ๆ ได้ลงลึกถึงประเด็นทางวิชาการและการวิเคราะห์ในระดับคำที่มีประเด็นถกกันในแง่สัทศาสตร์และอักษรศาสตร์บาลีไวยากรณ์ สันสกฤต ที่พบต่างกันในคัมภีร์ใบลานต่างจารีตกัน ซึ่งความเชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ของ Prof. Dr. Oscar von Hinüber และความรู้ที่ท่านสั่งสมในวงการเป็นเวลาหลายสิบปี รวมทั้งประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่งและการลงมือปฏิบัติภาคสนามในหลายประเทศ ทำให้นักวิชาการได้รับคำอธิบายที่กระจ่างชัดจากท่าน และสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานด้านวิชาการในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

 

การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า


     เจ้าหน้าที่โครงการพระไตรปิฎก ฉบับวิชาการ จะนำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ไปพัฒนาวิธีการอนุรักษ์และศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน เพื่อเผยแผ่พระสัทธรรมแห่งยุคพุทธกาลสู่โลกปัจจุบัน ให้หยั่งรากลึกต่อไปในอนาคต เพื่อยังประโยชน์ให้แก่วงการวิชาการพระพุทธศาสนาสืบไป

 

การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า


           ขณะนี้โครงการพระไตรปิฎก ฉบับวิชาการ ได้จัดนิทรรศการ “เล่าเรื่องใบลาน สืบสานพุทธธรรม” ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ ณ สภาธรรมกายสากล เสา ฒ๒๔ (N24) ทุกวันอาทิตย์

 

การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า

ตัวอย่างการวิเคราะห์ระดับคำที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรสิงหล


การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า

คัมภีร์ใบลานอักษรพม่า


การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า

ตัวอย่างการศึกษาวิวัฒนาการอักษรพม่าโดยใช้อักขระบนจารึกมาศึกษาประกอบ


การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า

ตัวอย่างการศึกษาวิวัฒนาการอักษรพม่าโดยใช้อักขระบนจารึกมาศึกษาประกอบ

 

สัมภาษณ์ Prof. Dr. Oscar von Hinüüber


     “ผมมีโอกาสเดินทางมาร่วมงานกับโครงการพระไตรปิฎกเป็นครั้งที่ ๓ และได้เห็นความคืบหน้าของโครงการฯ ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ โดยเฉพาะช่วง ๒ ปีหลังนี้ เห็นได้ชัดว่างานหลายด้านก้าวหน้าไปอย่างมาก ไม่ใช่แค่เพียงการจัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกฉบับทีฆนิกายเท่านั้น แต่ผมได้เห็นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก ซึ่งออกจะเป็นเรื่องที่ยาก รวมถึงแนวทางในการคัดเลือกคัมภีร์ใบลานที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาภาษาบาลีต่อไปในอนาคต”

 

การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า

Prof. Dr. Oscar von Hinüüber


การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า

Prof. Dr. Oscar von Hinüüber

 

อ่านบทความ >> คัมภีร์ใบลาน "ผ้าห่อถักทอด้วยศรัทธา"

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก ตอน ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

คัมภีร์ใบลาน ร้อยเรียงลาน...สืบสานพุทธธรรม

คัมภีร์ใบลานราษฎร์ ร่วมสืบศาสน์และชาติไทย

คัมภีร์แห่งกษัตริย์...สมบัติแห่งแผ่นดิน

คัมภีร์ใบลาน มรดกธรรมจากพุทธกาล

โครงการพระไตรปิฎก วัดพระธรรมกาย

พระไตรปิฎก

 

นิทรรศการพระไตรปิฎกบาลีครั้งประวัติศาสตร์ "การสืบทอดพุทธธรรม : จากพุทธกาลสู่โลกปัจจุบัน"

เปิดตัวพระไตรปิฎกฉบับธรรมชัย เล่มสาธิต

การสืบทอดคําสอนของ พระพุทธเจ้า