รายได้ 7 ล้านเสียภาษีเท่าไร

นั่นหมายถึง ต้องนำรายได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว มาคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบขั้นบันได (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป ที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด และไม่ได้มีการจดทะเบียนบริษัท) จึงจะทราบว่ามีค่าใช้จ่ายภาษีที่ต้องเสียเท่าไหร่นั่นเองค่ะ

 

เกณฑ์กำหนดที่ต้องเสียภาษี

ตอนนี้หลายคนน่าจะอยากหยิบเครื่องคิดเลขมาคำนวณกันอยู่ใช่ไหมคะ ว่ารายได้ที่มีนั้นต้องเสียภาษีเท่าไหร่ รายได้ที่คุณมีนั้นจะเกินเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เกินมากเกินน้อยเสียภาษีต่างกันอย่างไร สามารถนำมาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบขั้นบันไดได้ดังนี้

รายได้ 7 ล้านเสียภาษีเท่าไร

 

รายได้ของคุณต้องเสียภาษีเท่าไหร่

ยกตัวอย่างวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สมมุติรายได้สุทธิหลังจากหักลบด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว เหลืออยู่ที่ 400,000 บาท ให้นำมาคูณอัตราภาษีแต่ละขั้นตามตัวอย่างในภาพด้านล่าง

รายได้ 7 ล้านเสียภาษีเท่าไร

 

รายได้ของคุณต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ไม่เสียภาษีได้ไหม

ในทางกฎหมายแล้ว หากมีรายได้ถึงเกณฑ์กำหนดต้องเสียภาษี แต่ถ้าผู้มีรายได้ไม่ยอมเสียภาษี หรือทำการหลีกเลี่ยงภาษี ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดนระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท โดนเบี้ยปรับ 1-2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ และเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือน

 

แต่ก็มีผู้มีรายได้อยู่ไม่น้อย ที่ไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากเงินได้เมื่อคำนวณแล้วไม่เกิน 150,000 บาท ทำเพียงแค่ยื่นภาษีเท่านั้น โดยคิดง่ายๆ คือ

หากนำรายได้ประจำทั้งปีหักค่าใช่จ่าย 100,000 บาท และหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

 

ยังไม่นับรวมสิทธิ์อื่นๆ ที่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ เช่น ประกันสังคม เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามอัตราภาษีบุคคลธรรมดา หากมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท หรือคิดแบบง่ายว่า หากมีเงินเดือนไม่ถึง 25,833 บาท ก็ไม่ต้องเสียภาษีแล้วค่ะ ส่วนสำหรับบุคคลที่ไม่มีรายได้ประจำ หรือไม่มีเงินเดือน อาจไม่ง่ายนัก เพราะรายได้ตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไปต่อปี จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักได้แตกต่างกันไป สามารถติดตามอ่านแบบเจาะลึกได้จากบทความเรื่อง “เจาะลึก! วางแผน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”

 

มาถึงบรรทัดนี้ เชื่อว่าหลายคนคงได้คำตอบที่ว่า รายได้เท่าไร ต้องเสียภาษี กันแล้วนะคะ ดังนั้น ถ้าหากรู้ตัวว่ามีเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาท อย่าลืมยื่นและเสียภาษีให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อความปลอดภัย ไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังค่ะ

PrevPreviousรายได้เท่าไหร่ต้องยื่นภาษี & ถ้าไม่ยื่นจะเกิดอะไรขึ้น

Nextรายได้เกิน 1.8 ล้าน เพิ่งรู้ตัว… ทำไงดี?Next

รายได้ 7 ล้านเสียภาษีเท่าไร

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน

          หากทราบจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปีไว้ล่วงหน้าก็จะช่วยให้เราวางแผนภาษีได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมกับรายได้ของตัวเอง เพื่อเตรียมตัวยื่นภาษี หรือขอคืนภาษีต่อไป

รายได้รวมตลอดทั้งปี ตั้งแต่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม ทั้งรายได้จากงานประจำและรายได้เสริมอื่น ๆ เช่น ปล่อยค่าบ้าน

รายได้ 7 ล้านเสียภาษีเท่าไร

ต้นทุนในการทำธุรกิจ หรือหากรับเป็นเงินเดือนสามารถหักลดค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยไม่เกิน 100,000 บาท 

รายได้ 7 ล้านเสียภาษีเท่าไร

สิทธิขอลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนพื้นฐาน, ครอบครัว, การลงทุน, กองทุน หรือแม้แต่การทำประกัน 

รายได้ 7 ล้านเสียภาษีเท่าไร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได หรือแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับว่าแบบใดจะเสียภาษีมากกว่าให้ยึดจ่ายตามนั้น

คำนวณหาเงินได้สุทธิบุคคลธรรมดา

สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนเริ่มคำนวณภาษีคือการคำนวณรายได้สุทธิ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการลดภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี แถมยังช่วยให้เราได้เงินคืนหากเราถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งมีสูตรง่าย ๆ ดังนี้

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งปี-หักค่าใช้จ่าย-หักค่าลดหย่อน

สมมติว่า นาย A เป็นพนักงานเงินเดือนมีรายได้ทั้งปีรวมกัน 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท และมีรายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท ประกันสังคม 9,000 บาท ไม่มีกองทุนหรือประกันอื่น ๆ

เงินได้สุทธิ  = เงินได้ทั้งปี-หักค่าใช้จ่าย-หักค่าลดหย่อน

300,000-100,000-(60,000+9,000) = 131,000 บาท

เท่ากับว่า นาย A จะมีรายได้สุทธิ 131,000 บาทต่อปี ก็จะนำจำนวนดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับตารางภาษีขั้นบันไดแล้วดูว่าตัวเองต้องเสียภาษีถึงขั้นไหน ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าถ้าเรานำค่าเบี้ยประกัน หรือกองทุนที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะช่วยลดภาษีในแต่ละขั้นลงแล้ว จะช่วยลดภาษีที่ต้องจ่ายได้มากเลยทีเดียว เนื่องจากการคำนวณอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันไดจะคิดไล่จากปริมาณภาษีที่ละขั้น โดยไล่จากขั้นที่น้อยที่สุดไปหาขั้นที่สูงขึ้น สรุปก็คือยิ่งจำนวนขั้นภาษีที่ต้องจ่ายน้อยเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเสียภาษีน้อยเท่านั้น

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

โดยปกติการคำนวณภาษีจะใช้การคำนวณแบบอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันไดเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นผู้ที่เสียภาษีนั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่องทางอื่น ๆ เช่น ค่าปล่อยเช่าบ้าน ค่างานพิเศษ หรืองานเสริม จึงจะต้องคำนวณภาษีอีกแบบเพิ่มขึ้นมานั้นก็คือ การคำนวณภาษีแบบเหมา 

วิธีที่ 1 คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบขั้นบันได (ฉบับย่อ)

เนื่องจากการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดมีวิธีการคำนวณที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน อาจไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ เพราะต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจ อาจสับสนได้ยิ่งเวลามีตัวเลขเยอะ ๆ วันนี้จึงขอนำเสนอสูตรคำนวณภาษีง่าย ๆ ที่สามารถคำนวณได้ด้วยตัวเอง 

สูตรการคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย

[ (เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิสูงสุดในขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ] + ภาษีสะสมที่ต้องจ่ายในขั้นก่อนหน้า

เพียงหารายได้สุทธิที่ผ่านการหักลบค่าลดหย่อนภาษีเรียบร้อยแล้ว นำมาเปรียบเทียบตารางด้านล่างว่าอยู่ในช่วงไหน จากนั้นก็นำเงินได้สุทธิของตัวเองไปคำนวณในสูตรได้เลย เพียงเท่านี้เราก็จะรู้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในปีนั้นแล้ว

(เงินได้สุทธิ – 150,000) x 0.05

[ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x 0.10 ] + 7,500

[ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x 0.15 ] + 27,500

[ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x 0.20 ] + 65,000

[ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x 0.25 ] + 115,000

[ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x 0.30 ] + 365,000

[ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x 0.35 ] + 1,265,000

วิธีที่ 2 คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบเหมา 0.5%

หากผู้ที่มีเงินได้จากช่องทางอื่น ๆ นอกจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือน รวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป จะต้องคำนวณภาษีแบบเหมาในอัตราร้อยละ 0.5 ด้วยโดยนำรายได้ต่าง ๆ มารวมกันแล้วคูณด้วย 0.005 เพื่อที่จะหาค่าภาษีที่ต้องจ่าย และถ้าหากไม่เกิน 5,000 บาทจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าไม่มีรายได้อื่น ๆ สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย

ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.005

เมื่อคำนวณเสร็จแล้วให้นำภาษีที่ต้องจ่ายมาเปรียบเทียบกันดูว่าวิธีไหนต้องเสียภาษีมากกว่า ให้เลือกเสียภาษีตามวิธีนั้น