คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด

แม้ กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองหลวง แต่ก็มีวันเกิดนั่นคือ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมการฉลองพระนครเสร็จแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา”

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแก้พระนามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” ครั้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า “บวร” เป็น “อมร” เปลี่ยนคำว่า “มหินทอยุธยา” เป็น “มหินทรายุธยา” โดยใช้วิธีสนธิศัพท์ เปลี่ยนการสะกดคำว่า “สินท์” เป็น “สินทร์” พร้อมเติมสร้อยนามต่อ ทำให้ กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก คือ “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

สำหรับความหมายของชื่อเต็ม กรุงเทพฯ มีดังนี้

กรุงเทพมหานคร : พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร

อมรรัตนโกสินทร์ : เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต

มหินทรายุธยา : เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะ

มหาดิลกภพ : มีความงามอันมั่งคงและเจริญยิ่ง

นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ : เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการน่ารื่นรมย์ยิ่ง

อุดมราชนิเวศมหาสถาน : มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย

อมรพิมานอวตารสถิต : เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา

สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ : ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด

Advertisement

มาจากนามพระราชทาน "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" มีความหมาย "เมืองของเทวดา มหานครอันเป็นอมตะ สง่างามด้วยแก้ว 9 ประการ และเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน เมืองที่มีพระราชวังหลายแห่ง ดุจเป็นวิมานของเทวดา ซึ่งพระวิษณุกรรมสร้างขึ้นตามบัญชาของพระอินทร์" ปัจจุบันภาษาราชการเรียก กรุงเทพมหานคร และอย่างย่อว่า กรุงเทพฯ

แต่เมื่อแรกสถาปนาราชธานีนั้น ตรงสร้อย "อมรรัตนโกสินทร์" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระราชทานว่า "บวรรัตนโกสินทร์" จวบจนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ และต่อมามักเรียกกันว่า กรุงรัตนโกสินทร์

ชื่อกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krung Thep Maha Nakhon แต่ต่างชาติส่วนใหญ่เรียกเมืองนี้ว่า Bangkok อันมาจากอดีตของเมืองซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ที่ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" แต่จะออกเสียงเป็น "แบงก์ค็อก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญในฐานะเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่างๆ ทั้งเป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีจากเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" (ฝรั่งเทียกับกรุงอัมสเตอร์ดัมของฮอลแลนด์ที่เมืองท่าสำคัญของยุโรป) มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

สำหรับที่มาของคำว่า บางกอก มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" แล้วเพี้ยนเป็นบางกอก บ้างก็ว่าเนื่องเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นมะกออก ข้อสันนิษฐานนี้อ้างอิงมาจากชื่อเดิมของวัดอรุณราชวราราม คือ วัดมะกอก (ก่อนจะเป็นวัดมะกอกนอก และวัดแจ้ง ตามลำดับ) และต่อมาบางมะกอกกร่อนคำเหลือแค่ บางกอก

เมื่อครั้งกอบกู้อิสรภาพจากพม่าหลังเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ คือ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2313 แต่ด้วยกรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก ตรงกลางมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เมื่อ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ขึ้นเสวยราชสมบัติ เฉลิมพระนาม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่า

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกนั้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ปีขาล จ.ศ.1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 6.54 น. พระราชทานนามก่อนมีการเปลี่ยนแปลงสร้อยในรัชกาลที่ 4 ดังกล่าว

วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2514 รัฐบาลได้รวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2515 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร

ที่มาข้อมูล : ข่าวสด
http://dek-d.com

ที่มาเว็บ : https://www.myfirstbrain.com

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


พระศิวะ
เปิดอ่าน 14,687 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


สุดทึ่ง นักโบราณคดีอึ้ง รูปปั้นนักรบเฝ้าสุสานจีน 7 พันตัว ถูกปั้น"ตามใบหน้าจริงแต่ละคน
เปิดอ่าน 14,370 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


ตำนานเมืองสุรินทร์
เปิดอ่าน 25,765 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


หนังตะลุง
เปิดอ่าน 28,414 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


กรุงศรีอยุธยา
เปิดอ่าน 14,905 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และทหารรักษาพระองค์
เปิดอ่าน 28,427 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


พระสยามเทวาธิราช
เปิดอ่าน 18,749 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


ธนบัตรไทยรุ่นแรก
เปิดอ่าน 29,355 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"
เปิดอ่าน 40,263 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่
เปิดอ่าน 12,569 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


เหรียญศานติมาลา
เปิดอ่าน 12,167 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


ทำไมต้องใส่ชุดดำไปงานศพ
เปิดอ่าน 51,203 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


เพลงประจำอาเซียน
เปิดอ่าน 14,508 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


หลักเกณฑ์ใหม่ในการตั้งชื่อวัด
เปิดอ่าน 15,061 ครั้ง

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด


หีบพระศพ
เปิดอ่าน 22,187 ครั้ง