รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

รูปแบบของรายงาน

รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้

ส่วนประกอบตอนต้น

  1. หน้าปกรายงาน ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา
  2. คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้
  3. คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน
  4. สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน
  5. บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ

ส่วนเนื้อเรื่อง

  1. ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ
  2. ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่
    • อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง
    • เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง

ส่วนประกอบตอนท้าย

  1. บรรณานุกรม คือ รายชื่อสิ่งพิมพ์ตลอดจนวัสดุอ้างอิงทุกชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการทำรายงาน พิมพ์ไว้ ตอนท้ายสุดของรายงาน การเขียนบรรณานุกรม ต้องบอกชื่อสกุลผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์
    • เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า
  2. ภาคผนวกหรืออภิธานศัพท์ คือ ส่วนที่นำมาเพิ่มเติมท้ายรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

กระบวนการเขียนรายงาน

ขั้นตอนการเขียนรายงาน มีดังนี้

  1. การเลือกเรื่องและตั้งชื่อเรื่อง เรื่องที่เลือกมาศึกษา ควรเป็นเรื่องที่เสริมความรู้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง ขอบเขต ที่เลือกควรเหมาะสมกับเวลาในการค้นคว้าและการเขียนรายงาน
  2. การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง จะต้องมีจุดมุ่งหมายและเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เพื่ออะไร มีขอบเขตเพียงใด เช่น หากจะเขียนรายงานเรื่องพิธีมงคลโกนจุกอาจกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขต ดังนี้
    • จุดมุ่งหมาย : การศึกษาประเพณีไทยโบราณ
    • ขอบเขต : ความเป็นมาและงานพิธีโกนจุก
  3. การเขียนโครงเรื่อง โครงเรื่อง คือ กรอบ ของเรื่องที่ใช้เป็น แนว ในการเขียนรายงานโครงเรื่องประกอบด้วย
    • บทนำหรือความนำซึ่งมีหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย ควรตั้งชื่อให้กะทัดรัด ใจความครอบคลุมเนื้อหา
  4. การเขียนเนื้อหา ได้จากการค้นคว้า จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจากการอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ ที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ แต่ไม่ใช่การคัดลอกหรือตัดต่อ ผู้เขียนเรียบเรียงด้วยสำนวนของตนเอง สำนวนภาษาควรอ่านเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะสม ประโยคกะทัดรัด
  5. บทสรุป คือสรุปผลการศึกษาค้นคว้า มีการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะ ( ถ้ามี )
  6. การอ้างถึง หมายถึงการบอกให้ทราบว่าข้อความที่ใช้ในการเขียนรายงานมาจากแหล่งใด เพื่อผู้อ่านจะได้ตรวจสอบหรือติดตามอ่านเพิ่มเติม

การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน เรียงลำดับตามนี้

  1. หน้าปก
  2. หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
  3. หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
  4. คำนำ
  5. สารบัญ
  6. เนื้อเรื่อง
  7. บรรณานุกรม
  8. ภาคผนวก
  9. รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
  10. หน้าปกหลัง

การจัดหน้ากระดาษ ใช้กระดาษ A4 โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้

  • ซ้าย ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ขวา ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
  • บน ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ล่าง ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว

หมายเหตุ 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซนติเมตร

ตัวอย่างปกรายงาน

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

ตัวอย่างคำนำรายงาน

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….ชั้น…เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง……..และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย


ผู้จัดทำ
วันที่…………….

ตัวอย่างสารบัญ

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

ตัวอย่างบรรณานุกรม

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร


ภาคผนวก ภาคผนวกคือ ส่วนที่เพิ่มเติมจากรายงานเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีขึ้น เช่น สถิติ รูปภาพ แบบสอบถาม

1. ส่วนนำ ประกอบด้วย

         1.1 ปกนอก คือ ส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานทั้งหมด มีทั้งปกหน้า และปกหลังกระดาษที่ใช้เป็นปกควรเป็นกระดาษแข็งพอสมควร สีใดก็ได้ ข้อความที่ปรากฏบนปกนอกดูได้ตามตัวอย่างที่ได้แสดงไว้

         1.2 ใบรองปก คือ กระดาษเปล่า ๑ แผ่น อยู่ต่อจากปกนอก เพื่อความสวยงาม และเป็นเครื่องช่วยป้องกันไม่ให้เสียหายถึงปกใน หากปกฉีกขาดเสียหายไป

           1.3 ปกใน คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากปกนอก นิยมเขียนเหมือนปกนอก

          1.4  คำนำ คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากหน้าปกใน ผู้เขียนรายงานเป็นผู้เขียนเอง โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ และขอบเขตของรายงาน อาจรวมถึงปัญหา อุปสรรคในการศึกษาค้นคว้าทำรายงาน ตลอดจนคำขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูล หรือการเขียนรายงาน (ถ้ามี) ให้ลงท้ายด้วยชื่อผู้จัดทำรายงาน หากมีหลายคนให้ลงว่าคณะผู้จัดทำ และลงวันที่กำกับ

          1.5 สารบัญ คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากหน้าคำนำ ในหน้าสารบัญจะมีลักษณะคล้ายโครงเรื่องของรายงาน ทำให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ขอบเขตเนื้อหาของรายงานครอบคลุมเรื่องใดบ้าง ในหน้านี้ให้เขียนคำว่า สารบัญไว้กลางหน้า ข้อความในหน้าสารบัญจะเริ่มต้นจากคำนำ หัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง และหัวข้อย่อย ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญ ๆ ของรายงาน เรียงตามลำดังเรื่อง และท้ายสุดเป็นรายการอ้างอิงที่ใช้ประกอบการเรียบเรียงรายงาน ข้อความในหน้าสารบัญ ควรเขียนห่างจากขอบซ้ายของหน้ากระดาษประมาณ ๑.๕ นิ้ว และด้านขวาจะมีเลขหน้าแจ้งให้ทราบว่าแต่ละหัวข้อเริ่มจากหน้าใด หน้าสารบัญควรจัดทำเมื่อเขียนรายงานเสร็จแล้ว เพื่อจะได้ทราบว่าแต่ละหัวข้อเริ่มจากหน้าใดบ้าง

2. ส่วนเนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน ผลงานการศึกษาค้นคว้า จะนำมาเสนอตามโครงเรื่องที่ได้กำหนดไว้ โดยก่อนเริ่มต้น ควรมีการเกริ่นเรื่อง และจบเนื้อเรื่องด้วยบทสรุป เนื้อหาที่เขียนนั้นจะต้องเขียนอย่างมีหลัดเกณฑ์ หรืออ้างอิงหลักวิชา แสดงความคิดที่เฉียบแหลมและลึกซึ้ง

             ส่วนประกอบที่แทรกในเนื้อหานั้นอาจแบ่งได้ดังนี้

                2.1 อัญประภาษ (Quotation) คือ ข้อความที่คัดมาจากคำพูด หรือข้อเขียนของผู้อื่นมาไว้ในรายงานของตน หรืออีกอย่างหนึ่งว่า "อัญพจน์"

              2.2 การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnotes) เชิงอรรถเป็นข้อความซึ่งบอกที่มาของข้อความที่นำมาอ้างประกอบการเขียนรายงาน หรืออาจจะเป็นข้อความที่ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำ หรือข้อความในรายงานก็ได้ ถ้าแบ่งตามประโยชน์ที่ใช้ เชิงอรรถจะมี 3 ประเภทด้วยกันคือ

                            2.2.1 เชิงอรรถอ้างอิง หมายถึง เชิงอรรถที่ใช้บอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาเป็นหลักฐานประกอบการเขียน เพื่อแสดงว่า สิ่งที่นำมาอ้าง ในรายงานนั้น ไม่เลื่อนลอย และผู้อ่านรายงานจะตัดสินใจได้ว่า ข้อความที่นำมาอ้างนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด ดังตัวอย่าง

             พระยาอนุมานราชธน, แหลมอินโดจีนโบราณ (พระนคร : คลังวิทยา, ๒๔๗๙), หน้า ๓๐๕.

                             2.2.2 เชิงอรรถอธิบาย หมายถึง เชิงอรรถซึ่งอธิบายความที่ผู้เขียนรายงานคิดว่า จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน อาจจะเป็นคำนิยม หรือความหมายของศัพท์ที่ผู้ทำรายงานประสงค์จะให้ผู้อ่านทราบเพิ่มเติมก็ได้ ดังตัวอย่าง

             ลัทธิความน่าจะเป็น หมายถึง ลัทธิความเชื่อหนึ่งที่เชื่อว่า มีความเป็นไปได้ หรือมีทางเป็นไปได้ ที่จะทำนายลำดับก่อนหลัง ที่แน่นอนของ เหตุการณ์ โดยอาศัยประสบการณ์ในอดีตเป็นพื้นฐาน

                  การอ้างอิงเชิงอรรถของข้อความในหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งคัดลอกมาจากหนังสืออีกเล่มหนึ่ง มีวิธีเขียน 2 แบบ คือ

                     1. ถือเล่มเดิมเป็นหลักฐานที่สำคัญ ดังตัวอย่าง

                เจือ สตะเวทิน, สุนทรภู่ (กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์, ๒๕๑๖), หน้า ๑๒๑, อ้างถึงใน สมบัติ พลายน้ำ, "ประวัติชีวิตพรสุนทรโวหาร (ภู่)," อนุสรณ์สุนทรภู่ ๒๐๐ ปี, จัดพิมพ์โดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย (กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๙), หน้า ๔๙

                      2. ถือเอกสารใหม่เป็นหลักฐานที่สำคัญ ดังตัวอย่าง

                                สมบัติ พลายน้ำ "ประวัติชีวิตพระสุนทรโวหาร (ภู่)," อนุสรณ์สุนทรภู่ ๒๐๐ ปี, จัดพิมพ์โดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย (กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๙), หน้า ๔๙ อ้างจาก เจือ สตะเวทิน, สุนทรภู่ (กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์, ๒๕๑๖), หน้า ๑๒๑

         2.3 การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา การอ้างอิงแบบนี้เป็นอ้างอิงที่มาของข้อความแทรกไปในเนื้อหาของรายงาน การอ้างอิงแบบนี้ ได้รับความนิยมมากกว่า การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ เพราะสะดวกในการเขียนมี ๒ แบบ คือ

                                2.3.1 ระบบนามปี จะระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และหน้าที่อ้าง เช่น วรรณคดีเปรียบเสมือนเรื่องแสดงภาพชีวิต คามคิด จิตใจ อุดมคติ หรือความนิยม ความต้องการของมนุษย์ วรรณคดีในอดีตเป็นเครื่องบันทึกสภาพดังกว่า เช่นเดียวกับวรรณกรรมปัจจุบันเป็นส่วนบันทึกความเป็นไปในปัจจุบัน

                                (กุหลาบ มัลลิกะมาส. ๒๕๒๐ : ๑๕๒-๑๕๓)

                                2.3.2ระบบหมายเลข จะระบุหมายเลขตามลำดับเอกสารที่อ้างและหน้าที่อ้าง เช่น

                                อุปมาโวหาร คือ กระบวนความเปรียบเทียบ ใช้แทรกในพรรณนาโวหาร เพื่อช่วยให้ข้อความแจ่มชัดคมคาย (๑ : ๑๓๙-๑๔๐)

3. ส่วนท้าย เป็นส่วนที่ทำให้รายงานน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ ประกอบด้วย

            3.1 บรรณานุกรม (Bibiogecphy) หมายถึง รายชื่อเอกสารต่างที่ใช้ประกอบในการทำรายงาน โดยให้รายละเอียดต่างๆ เช่นเดียวกับเชิงอรรถ แต่มีวิธีเขียนที่แตกต่างกันเล็กน้อย บรรณานุกรมนี้จะเขียนไว้ท้ายเล่ม โดยแยกตามประเภทของเอกสารดังต่อไปนี้

1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง
                 1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

                1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

                 1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

             1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

                  1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

                  1.1.6  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

3. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต

3.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ

รายงานเชิงวิชาการควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับอย่างไร

                  หลักการเขียนบรรณานุกรมที่ดียังมีให้ศึกษาอีกมากมาย นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆน้อยๆที่นำมาฝากกันกับชาวสังคมศึกษา หาอ่านเพิ่มเติมที่ ลิงก์นี้  การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม

แหล่งที่มา

การเขียนบรรณานุกรม http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit5_part13.htm 

การเขียนบรรณานุกรม

การเขียนรายงานเชิงวิชาการ (2556). (ออนไลน์) แหล่งที่มา: http://203.172.198.146/other_web/Thai/Thai03/write4.html

ข้อใดเป็นลำดับขั้นตอนการทำรายงานเชิงวิชาการได้ถูกต้อง

ขั้นตอนในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ.
กำหนดเรื่อง ก่อนที่จะทำรายงานทุกคนจะต้องกำหนดก่อนว่าจะทำรายงานเรื่องอะไรการเลือกเรื่องควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ ... .
กำหนดชื่อเรื่องและขอบเขตของเรื่อง ... .
การวางโครงเรื่อง ... .
รวบรวมข้อมูล ... .
การจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูล ... .
เสนอผลรายงาน.

ข้อใดเป็นลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมในการเขียนรายงาน

17.ข้อใดเป็นลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมในการเขียนรายงานทางวิชาการ กำหนดหัวเรื่องและขอบเขต กำหนดโครงเรื่องที่แน่นอน สำรวจแหล่งข้อมูลรวบรวมและบันทึกข้อมูล เรียงเรียงรายงาน สำรวจแหล่งข้อมูล รวบรวมและบันทึกข้อมูล กำหนดหัวข้อเรื่องและขอบเขตกำหนดโครงเรื่องคร่าวๆ วางโครงเรื่องที่แน่นอน เรียบเรียงรายงาน

การเขียนรายงานเชิงวิชาการมีขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนการจัดทารายงานทางวิชาการ 1. การเลือกเรื่องหรือหัวข้อ 2. การค้นคว้าและรวบรวมแหล่งค้นคว้า 3. การวางโครงเรื่อง 4. การอ่านและจดบันทึกข้อมูล 5. การเรียบเรียงเนื้อเรื่อง 6. การเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง 7. การเขียนส่วนประกอบอื่นๆ (ปกนอก หน้าปกใน คานา สารบัญ)

ข้อใด คือ ส่วนประกอบตอนท้ายของรายงานทางวิชาการ

ส่วนประกอบตอนท้าย (back matter หรือ reference matter) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 1. หน้าบอกตอน (Half Title Page)​ คือหน้าที่พิมพ์ข้อความไว้กลางหน้ากระดาษเพื่อบอกว่าส่วนที่อยู่ถัดไปคืออะไร ส่วนใหญ่แล้ว หน้านี้จะปรากฏในส่วนประกอบตอนท้ายของรายงานการค้นคว้า เช่น หน้าบอกตอน “บรรณานุกรม” หน้าบอกตอน “ภาคผนวก”