การบริหารจัดการภาครัฐบริหารงานในลักษณะใด ข้อสอบ

แนวข้อสอบการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลภาครัฐ

1. ข้อใดคือทรัพยากรมนุษย์
ก. Human Capital             ค. Core Competency
ข. Human Resource        ง.  Human Resource Management


ตอบ ข. Human   Resource


2. ข้อใดคือความหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ก. กระบวนการเพิ่มความรู้ ความสามารถ โดยรวมของประชากรในสังคม
ข. กระบวนการเพิ่มความรู้ ความชำนาญ และความสามารถโดยรวมของประชากรในสังคม
ค. ผลรวมของความรู้ ความชำนาญ ความถนัดของประชากรทั้งหมดในประเทศ
ง. กิจกรรมต่างๆ หรือพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งจะมีผลต่อระดับรายได้ที่เป็นเงิน

ตอบ ข. กระบวนการเพิ่มความรู้ ความชำนาญ และความสามารถโดยรวมของประชากรในสังคม

3. ข้อใดเป็นขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ก. การได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์                       ค. การพ้นจากองค์การหรือการทำงาน
ข. การรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์         ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

4. การบริหารทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ก. ยึดกฎระเบียบเป็นที่ตั้ง
ข. มุ่งเน้นงานธุรการบุคคลและยึดติดกับกิจกรรมที่ทำ
ค. จัดโครงสร้างการบริหารโดยยึดกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นหลัก
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

5. เทคโนโลยีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะซึ่งติดตัวคนในองค์กรและมีความจำเป็นในการปฏิบัติงาน เรียกว่าอะไร
ก. ทุนมนุษย์                              ค. สมรรถนะ
ข. ทรัพยากรมนุษย์                  ง. ความสามารถหลัก

ตอบ ก. ทุนมนุษย์

6. ข้อใด ไม่ใช่ กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล
ก. วางแผนกำลังคน          ค. การให้รางวัล
ข. การเลื่อนตำแหน่ง         ง. การบรรจุแต่งตั้ง

ตอบ ค. การให้รางวัล

7. ข้อใดคือลักษณะการบริหารสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์
ก. ต้องรู้และเข้าใจในงานองค์กร
ข. ต้องสร้างความเชื่อมั่น เชื่อถือ และซื่อสัตย์
ค. ต้องรู้และเข้าใจในคนขององค์การ
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

8. ข้อใดคือประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ก. ปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงาน
ข. สร้างความรอบคอบเกี่ยวกับกำลังคนได้ล่วงหน้า
ค. เตรียมมาตรการรับมือปัญหากำลังคนได้แต่เนิ่นๆ
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

9. Human Resource Scorecard คืออะไร
ก. กระบวนการวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนขององค์การ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงกิจกรรม    

ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข. ตัวชี้วัดทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ การทำงาน ประสบการณ์ คุณลักษณะของแต่ละบุคคล มาวัด
ค. ตัวชี้วัดทั้งองค์การ และกระจายความสำคัญของปัญหาในการวัดผลการดำเนินงานโดยใช้ 4  ด้าน
ง. คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ / ความสามารถ ตลอดจนทัศนคติที่จำเป็นในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ตอบ ข. ตัวชี้วัดทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ การทำงาน ประสบการณ์ คุณลักษณะของแต่ละบุคคล มาวัด

10. หลักการบริหารงานบุคคลภาครัฐแนวใหม่ คือ
ก. MPM              ค. NPM
ข. PMN               ง. NMP

ตอบ ค. NPM

11. NPM หมายถึง
ก. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาระบบบริหารราชการแบบดั้งเดิมไปเป็นการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐแนวใหม่
ข. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาระบบบริหารราชการแบบใหม่ไปเป็นการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐแนวเก่า
ค. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาระบบบริหารราชการไปใช้ทั้งแบบเก่าและแบบใหม่
ง. ไม่มีข้อถูก

ตอบ ก. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาระบบบริหารราชการแบบดั้งเดิมไปเป็นการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐแนวใหม่

12. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการปรับเปลี่ยนระบบราชการ
ก. ปรับระบบวิธีการบริหารงานจากเดิมที่ต่างคนต่างทำ เป็นแบบบูรณาการเชื่อมโยง
ข. ปรับระบบวิธีการทำงานจากเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก มาเป็นการใช้คน
ค. เปลี่ยนการทำงานเพื่อระบบและตามระเบียบ เป็นการทำงานเพื่อผู้รับบริการ
ง. ปรับเปลี่ยนการติดต่อสื่อสารสั่งการ เป็นวงจรเครือข่ายและประสานงานในแนวราบมากขึ้น สร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วม

ตอบ ข. ปรับระบบวิธีการทำงานจากเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก มาเป็นการใช้คน

รัฐบาลได้มุ่งพัฒนาระบบราชการเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐปรับปรุงการทำงาน ยกระดับการบริหารจัดการ และมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามหลักการใด
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีรัฐบาลได้มุ่งพัฒนาระบบราชการ โดยนำแนวคิดและเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ามาในภาคราชการ เช่น
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ การลดขั้นตอนการทำงาน การประเมินความพึงพอใจ คำรับรองการปฏิบัติราชการ ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง การบริหารความเสี่ยง การพัฒนาระบบสนเทศคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้นำเกณฑ์ใดมาเป็น เครื่องมือในการพัฒนาระบบราชการ
คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เริ่มดำเนินการตามระบบคำรับรองการปฏิบัติราชการในปีใด
พ.ศ. ๒๕๔๙PMQA เป็นเครื่องมือใช้ในการใด
การพัฒนาองค์การตามยุทธศาสตร์หลักในการยกระดับคุณภาพระบบราชการไทยให้มีศักยภาพและขีดความสามารถเทียบเท่าระดับสากลPMQA เป็นคำย่อมาจากข้อใด
Public Sector Management Quality AwardPMQA แปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐหน่วยงานใดได้นำ“การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)”มาส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการนำไปใช้ในการประเมินองค์การ
สำนักงาน ก.พ.ร.PMQA โดย ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้ประยุกต์นำมาจากข้อใด
MBNQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา) และ TQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศไทย)วัตถุประสงค์ของการพัฒนาเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของภาครัฐให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของหน่วยสู่ระดับมาตรฐานสากล
เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการประเมินตนเอง และเป็นบรรทัดฐานการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการของหน่วยงานภายในSelf-Assessment มีความหมายว่าอย่างไร
การประเมินองค์กรด้วยต้นเอง“การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)”โดยมุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการปรับปรุงองค์การอย่างรอบด้านและอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้งหมดกี่ด้าน
7 ด้าน
(1)การนำองค์การ
(2)การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
(3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(4)การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
(5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
(6)การจัดการกระบวนการ
(7) ผลลัพธ์การดำเนินการ” I AM READY ” ตามยุทธศาสตร์ภาครัฐ มีความหมายว่าอย่างไร
ข้าราชการใหม่ที่พร้อมทำงานเพื่อประชาชน และพร้อมทำงานเพื่อแผ่นดินข้าราชการใหม่ที่พร้อมทำงานเพื่อประชาชน และพร้อมทำงานเพื่อแผ่นดิน มีคุณสมบัติ
ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี Integrity
ขยันตั้งใจทำงาน Activeness
มีศีลธรรม คุณธรรม Morality
รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก ทันสังคม Relevancy
มุ่งเน้นประสิทธิภาพ Efficiency
รับผิดชอบต่อผลงาน ต่อสังคม Accountability
มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย มีส่วนร่วม โปร่งใส Democracy
มีผลงาน มุ่งเน้นผลงาน Yieldแผนปฏิบัติราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มีกี่ประเภท
2 ประเภท คือ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี มีลักษณะอย่างไร
แผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ
(กระทรวง/กรม) แปลงมาจากแผนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เพื่อแสดง
ภารกิจที่ส่วนราชการจะดำเนินการตลอดระยะเวลา 4 ปี เพื่อสนับสนุนการบริหาร
ประเทศของรัฐบาลให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายแผนปฏิบัติราชการประจำปี มีลักษณะอย่างไร
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วน
ราชการ (กระทรวง/กรม) ที่แสดงให้เห็นถึงภารกิจที่จะดำเนินการในปีใดปีหนึ่งที่
กำหนด ภายใต้แผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของส่วนราชการนั้นการกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ต้องมีรายละเอียดอย่างไร
ขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการ
เป้าหมายของภารกิจ
ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ
ตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตาม
แผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับ
มาตรฐานที่หน่วยงานใดกำหนด
สำนักงาน ก.พ.ร.ในแต่ละปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยให้เสนอต่อบุคคลใดเพื่อให้ความเห็นชอบ
รัฐมนตรีเมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดแล้ว
ให้หน่วยงานใดดำเนินการจัดสรรงบประมาณ
สำนักงบประมาณการโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตามที่กำหนดใน
แผนปฏิบัติราชการไปดำเนินการอย่างอื่น จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติ
จากบุคคลใด
คณะรัฐมนตรีแผนปฏิบัติราชการ4 ปี ให้จัดทำให้แล้วเสร็จภายในกี่วันนับแต่วันที่
แผนการบริหารราชการแผ่นดินประกาศในราชกิจจานุเบกษา
60 วันแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้จัดทำและเสนอบุคคลใดให้ความ
เห็นชอบก่อนเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีงบประมาณต่อไป
รัฐมนตรีถ้าคณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการปรับแผนการบริหารราชการแผ่นดินหน่วยงานใดมีหน้าที่แจ้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการแก้ไขแผนนิติบัญญัติและแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับแผนการบริหาร
ราชการแผ่นดินที่ได้มีการแก้ไข
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและในแต่ละปีงบประมาณให้จัดทำ
แผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ
1) นโยบายในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
2) กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ตัวชี้วัดผลสำเร็จ
3) ขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณที่ต้องใช้ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน
4) ประมาณการรายได้ รายจ่าย และทรัพยากรอื่นที่ต้องใช้หน่วยงานใดกำหนดแนวทาง การจัดทำแผนปฏิบัติราชการตามมาตรา16 ให้สามารถใช้ได้กับ
แผนปฏิบัติราชการที่ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร.การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการใด
แผนการบริหารราชการแผ่นดินการจัดทำแผนการปฏิบัติราชการให้ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คือ
มิติงานตามยุทธศาสตร์เฉพาะของรัฐบาล (Agenda)
มิติงานตามยุทธศาสตร์กระทรวงและหน่วยงาน(Function)
มิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ (Area)โครงการริเริ่มใหม่ ให้ระบุและดำเนินการจัดทำ
รายละเอียดให้ครบถ้วน โดยใช้แนวทางการพิจารณา 7 ข้อ
1) ได้ผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อเป้าหมายนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554 และ
นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
2) มีผลผลิตที่สามารถเชื่อมโยงให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
3) มีกระบวนการจัดทำ ผลผลิต/กิจกรรมที่นำ ไปสู่ผลผลิต ตาม
เป้าหมายที่กำหนดไว้
4) หน่วยงานที่รับผิดชอบ มีความพร้อมในการดำเนินงานทั้งด้าน
ระบบ ด้านการจัดการ และด้านกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
5) มีวงเงินค่าใช้จ่าย และแหล่งที่มาของเงินที่เหมาะสม
6) มีความสอดคล้องระหว่างแผนการดำเนินงาน กลยุทธ์ กับแผนการ
ใช้จ่ายงบประมาณ
7) นำรายงานผลการวิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินงานจากการ
ใช้จ่ายงบประมาณ (PART) มาใช้เป็นเครื่องมือ ประกอบการการ
ตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย และปรับทิศทางการดำเนินงาน
รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการปรับแผนปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถ
นำ ส่งผลผลิตไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ของรัฐบาลได้อย่างมี
ประสิทธิภาพการจัดลำดับความสำคัญของโครงการควรพิจารณาในประเด็นใด
ความจำเป็น ความเร่งด่วน และผลที่คาดว่าจะได้รับการพิจารณาความคุ้มค่าที่จะได้รับจากโครงการในมิติต่างๆ เช่นด้านใด
ประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ความจำเป็นตามกฎหมาย และความสอดคล้องกับทิศทางของนโยบายรัฐส่วนราชการพิจารณาแหล่งเงินควรหารือกับหน่วยงานใดเพื่อให้เกิดความรอบคอบ
กระทรวงการคลังส่วนราชการพิจารณาแหล่งเงิน ที่นำมาใช้ในการดำเนินภารกิจตาม
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ข้อใด
เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
เงินจากแหล่งอื่น /เงินนอกงบประมาณ คือ
– เงินรายได้ของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ
– เงินช่วยเหลือ
– เงินกู้ใน – ต่างประเทศ
– นวัตกรรมทางการเงิน (ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือการจัดทำคำขอ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี)การจัดทำ Phasing หมายความว่าอย่างไร
การจัดการทรัพยากร/งบประมาณตามข้อเท็จจริงว่าจะ
ใช้จ่ายจริงในปีใดตามแผนการดำเนินงาน ภายใต้นโยบาย กลยุทธ์ / วิธีการ
ตามที่กำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน“Public Private Partnership (PPP)” หมายความว่าอย่างไร
การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ส่วนราชการสามารถขอคำปรึกษา แนะนำ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ข้อใด
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงบประมาณ
สำนักงาน ก.พ.ร.
กระทรวงการคลังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้คำแนะนำเรื่องใด
ความเชื่อมโยงแผนปฏิบัติราชการกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินสำนักงบประมาณ ให้คำแนะนำเรื่องใด
ความเชื่อมโยงในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการกับการจัดทำงบประมาณ
การจัดลำดับความสำคัญ ระดับแผนงาน โครงการในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและประจำปี
ประมาณการงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง
จัดทำ Phasingในการจัดการทรัพยากร/งบประมาณตามข้อเท็จจริง(Medium   Term  Expenditure  Framework : MTEF)  หมายความว่าอย่างไร
การจัดทำกรอบประมาณ การงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะ  3 – 5  ปี  ซึ่งจะแสดงภาพรวมของภาระ งบประมาณที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ภายใต้การดำเนินงานตามนโยบาย / ยุทธศาสตร์ที่ดำเนินการในปัจจุบันการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (Medium   Term  Expenditure  Framework : MTEF)  ประกอบด้วย
งบประมาณรายจ่ายประจำปี  และ ประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าสำนักงาน ก.พ.ร. ให้คำแนะนำเรื่องใด
ด้านความสัมพันธ์กับการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการกระทรวงการคลัง ให้คำแนะนำเรื่องใด
หารือ/ ขอคำปรึกษาแนะนำ เรื่องการจัดหาแหล่งเงินในการดำเนินการตามประเด็นนโยบายเงินนอกงบประมาณ คือ
เงินกู้
เงินช่วยเหลือ (เงินที่รัฐบาลและองค์การ
หรือสถาบันระหว่างประเทศมอบให้รัฐบาลหรือส่วนราชการ
เพื่อดำเนินงานตามโครงการใด ๆ)
เงินรายได้ของส่วนราชการ (เงินที่ส่วนราชการได้รับโดยไม่ต้องนำส่งคลัง
ตามมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ)
เงินและทรัพย์สินช่วยราชการ (เงินหรือทรัพย์สินที่บุคคล
บริษัท ห้างร้าน หรือสถาบัน บริจาคช่วยเหลือแก่ส่วน
ราชการตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ)
นวัตกรรมทางการเงิน
การร่วมลงทุนกับภาคเอกชนขั้นตอนแรกของการพิจารณาวางแผนและบริหารโครงการสำหรับส่วนราชการ คือ
การทบทวน/ตรวจสอบสถานภาพของข้อมูลความก้าวหน้าของโครงการตามลักษณะของแต่ละ
โครงการในมิติต่างๆที่ผ่านมาขั้นตอนการพิจารณาในขั้นตอนที่ 1 ประกอบด้วย
(1) ทบทวน/ตรวจสอบสถานภาพของโครงการ
(2) ทบทวน/ตรวจสอบผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
(3) ทบทวน/ตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(4) ทบทวน/ตรวจสอบปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
(5) พิจารณาตัดสินใจขั้นตอนการวางแผนและบริหารโครงการสำหรับส่วนราชการ
ขั้นตอนที่ 1 ทบทวน/ตรวจสอบผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา (Review Phase)
ขั้นตอนที่ 2 การริเริ่มโครงการใหม่และวิเคราะห์เบื้องต้น (Conceptual Phase)
ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์และวางแผนรายละเอียดโครงการ (Project Planning Phase)
ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์และจัดทำคำของบประมาณ (Budget Allocation Phase)
ขั้นตอนที่ 5 การติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ (Implementation Monitoring Phase)
ขั้นตอนที่ 6 ประเมินผลการใช้งาน และติดตาม/ปรับปรุง/แก้ไข (Utilization Phase)(Performance Assessment Rating Tool : PART) หมายความว่าอย่างไร
การวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณการจัดสรรงบประมาณให้เชื่อมโยงและสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และต้องจัดสรร
งบประมาณให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อใด
ผลงาน (Performance)(Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) หมายความว่าอย่างไร
ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ (PART)
2.1 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้น
ผลงานตามยุทธศาสตร์ โดยตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.2 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถวัดระดับความสำเร็จในเชิงประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล และความคุ้มค่า
2.3 เพื่อให้มีข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญประกอบการตัดสินใจในกระบวนการ
จัดการงบประมาณของสำนักงบประมาณ หน่วยงานภาครัฐ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ ประกอบด้วย
ชุด ก) จุดมุ่งหมายและรูปแบบ
ชุด ข) การวางแผนกลยุทธ์
ชุด ค) การเชื่อมโยงงบประมาณ
ชุด ง) การบริหารจัดการ
ชุด จ) การประเมินผลผลิต/ผลลัพธ์การติดตามและประเมินผล มีความสำคัญอย่างไร
เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการดำเนินงานตลอดจนผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีความสำคัญอย่างไร
เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายนิติบัญญัติในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีประโยชน์ของการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อการปรับนโยบายและกำหนดทิศทางการทำงานให้สามารถนำส่งผลผลิตไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
เพื่อใช้ตรวจสอบและวัดความสำเร็จของการดำเนินงานให้มีความครบถ้วนถูกต้องและสมบูรณ์
เพื่อให้การจัดทำคำของบประมาณอยู่บนพื้นฐานของผลงาน(Performance) ตามหลักการของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
ใช้เป็นข้อมูลในการปรับแผนการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มผลงาน (Performance) ให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพการพิจารณาจัดทำคำของบประมาณต้องยึดหลักตามข้อใด
สมเหตุสมผลบนพื้นฐานของความถูกต้องและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณเป็นสำคัญข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อใด
ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรงข้อมูลทุติยภูมิ คือข้อใด
ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ได้จากผู้ที่เก็บรวบรวมไว้แล้ว

การบริหารจัดการภาครัฐบริหารงานในลักษณะใด

สรุปการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ หมายถึง การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐ โดยนาหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยการน าเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้ กับการบริหารงานภาครัฐ เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การบริหารงานแบบมือ ...

การบริหารงานสมัยใหม่มุ่งเน้นเรื่องใดได้บ้าง

การบริหารจัดการสมัยใหม่มีองค์ประกอบที่ส าคัญ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก การมุ่งเน้นประสิทธิผล หรือผลสัมฤทธิ์ (Effectiveness) ประการที่สอง การมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ (Quality) หรือความพึงพอใจของ ผู้รับบริการ (Customer Satisfaction) และประการสุดท้าย การมุ่งเน้นหลักความรับผิดชอบ (Accountability) ซึ่ง องค์ประกอบนี้สอดประสานกับ ...

ข้อใดคือความหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Resource Development.  คือการวางอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อจัดให้มีการพัฒนาระดับขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร โดยใช้วิธีการฝึกอบรม การให้ความรู้ และจัดโปรแกรมการพัฒนาเจ้าหน้าที่ ให้มีโอกาสได้รับความก้าวหน้าในอาชีพสำหรับอนาคต

การจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีอะไรบ้าง

การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่.
การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน.
การคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก.
รัฐพึงทำบทบาทเฉพาะที่รัฐทำได้ดีเท่านั้น.
การลดการควบคุมจากส่วนกลาง เพิ่มความอิสระแก่หน่วยงาน.
ระบบการบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์.
การมีระบบสนับสนุนทางด้านบุคลากรและเทคโนโลยี.