คน ไทย ในสังคม เมืองและ ชนบท มี ค้า นิยม ที่ สอดคล้อง กันในเรื่อง ใด

ความแตกต่างของสังคมเมืองกับสังคมชนบท

         สังคมเมือง (Urban Society)

                สังคมเมือง หมายถึง ที่อยู่ในเขตเทศบาลที่มีประชากรหนาแน่นตั้งแต่ 2,500 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นชุมชนที่มีศูนย์กลางของความเจริญด้านการปกครอง การเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของธรรมชาติโดยทั่วไปถือว่าเขตที่มีประชากรอยู่รวมกันประมาณ 20,000 คนขึ้นเป็นชุมชนเมือง

ลักษณะทางสังคมวิทยาของสังคมเมือง

                การใช้เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology) เนื่องจากการพัฒนาเครื่องยนต์กลไกเพื่อผลิตสินค้าจำนวนมาก จึงต้องการแรงงานด้านเทคนิคในการทำงานอุตสาหกรรม การประกอบอาชีพจะเป็นรูปของการแบ่งงานกันตามความชำนาญเฉพาะอาชีพลักษณะทั่วไปของสังคมเมือง

                คนเมืองถือตามเขตที่อยู่ในปกครองและการปรับปรุงของเทศบาลทั้งเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล สัดส่วนทางเพศของชาวเมือง คือ เป็นชายมากกว่าหญิง (เช่นเดียวกับประเทศด้อยพัฒนาทั่วไป) ประชากรวัยหนุ่มสาวมีมากกว่าเด็กและวัยชรา

          สังคมชนบท (Rural Society)

                สังคมชนบทมีลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ บุคคลมีความสำคัญแบบคุ้นเคยเห็นหน้ากันและกัน เป็นประจำ ผู้คนส่วนใหญ่มีชีวิตร่วมกันในสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา เป็นต้น ซึ่งเป็นแนวคิดและการปฏิบัติตนของคนทั่วไปในสังคม

ลักษณะทางสังคมวิทยาของสังคมชนบท

                  ขนาดของชุมชน โดยทั่วไปสังคมชนบทจะมีขนาดเล็ก ความหนาแน่นของประชาการน้อย อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มตามขนาดไร่นา ลักษณะ หมู่บ้านเป็นแบบดั้งเดิม กลุ่มของสังคมหรือสถาบันมีขนาดเล็ระบบเครือญาติ เป็นระบบพื้นฐานของสังคมชนบทซึ่งมีความผูกพันต่อกันในลักษณะครอบครัวและเครือญาติ บรรยากาศของความสัมพันธ์จะเต็มไปด้วยความเป็นกันเองและมั่นคง

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง

           ความแตกต่างของสังคมชนและกับสังคมเมือง จะเห็นความแตกต่างดังต่อไปนี้

                  ภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ( Natural Environment ) ผู้ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศหรือภูมิอากาศ ที่แตกต่างกันเช่น พวกที่อาศัยอยู่ในเขตอากาศร้อน  อากาศหนาว อยู่ที่ราบ หรือ แถบภูเขา มีอิทธิพลทำให้มนุษย์ชาวชนบทอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เช่นไร่  สวน ท้องนา ป่า ทะเล   ภูเขา ฯลฯ ส่วนเมืองแวดล้อมไปด้วย สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นประดิษฐ์ขึ้น เช่น ตึก อาคาร สถานที่ราชการ ฯลฯ

สรุป

                  สังคมเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์และได้วิวัฒนาการมาตามลำดับ  สังคมเป็นผลของสัญญาที่มนุษย์ตกลงจัดทำขึ้นด้วยความสมัครใจของมนุษย์เอง เพื่อความสุขสมบูรณ์และความเป็นระเบียบ วัตถูประสงค์ของการจัดตั้งสังคมขึ้น เพื่อขจัดความซึ่งโหดร้าย ความยุ่งยากซับซ้อน และความสับสนต่างๆ ตามสภาพธรรมชาติของมนุษย์ แนวความคิดของนักปราชญ์ กลุ่มนี้เรียกกลุ่ม “ ทฤษฏีสัญญาสังคม “  “ทฤษฏีเน้นถึงธรรมชาติ”  กล่าวคือ ทฤษฏีนี่เชื่อว่ามนุษย์ดั้งเดิมนั้นอยู่รวมกันสังคมเช่นปัจจุบัน คือมนุษย์ได้อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากความชั่วร้าย ความยุ่งยากสับสน การเพิ่มจำนวนมนุษย์ ตลอดจนอารยธรรม เป็นเหตุให้มนุษย์ต้องละทิ้งธรรมชาติและสัญญาด้วยความสมัครใจที่จะรวมกันในสังคม ทั้งนี้โดยมุ่งหวังที่จะได้รับความคุ้มครองและประโยชน์สุขเป็นการตอบแทน

 สังคมเมือง และสังคมชนบทของไทย

            ลักษณะสังคมไทย

                   1.เป็นสังคมที่มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ ผู้คนไม่เคร่งครัดต่อระเบียบ วินัย กฎเกณฑ์ ชอบความสะดวกสบาย สนุกสนาน การไม่เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเป็นผลให้เกิดความย่อหย่อนในการรักษา กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และกติกาของสังคม 

                  2. เป็นสังคมเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ประกอบอาชีพทางเกษตร 

                  3. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ยึดถือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ เช่น ทรัพย์สมบัติ ความร่ำรวย ตำแหน่งหน้าที่การงาน อำนาจ ชื่อเสียง ฯลฯ

                  4. เป็นสังคมที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายไปสู่ถิ่นอื่นสูง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ ยากจน อัตราการเกิดของประชาชนเพิ่มมากขึ้น อัตราการตายลดลง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าเมืองหรืออพยพไปชนบทอื่น ๆ สูง ส่วนใหญ่เป็นการอพยพย้ายถิ่นแบบชั่วคราว เช่น ชาวอีสานไปรับจ้างในเมือง หรือเดินทางไปขายแรงงานในต่างประเทศ ฯลฯ

                  5. เป็นสังคมเปิด สังคมไทยยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคิด วิถีดำเนินชีวิตไปจากเดิมเป็นอันมาก การพัฒนาประเทศจะให้ความสำคัญการพัฒนาวัตถุมากกว่าการพัฒนา จิตใจ สภาพวิถีชีวิตของบุคคลโดยเฉพาะสังคมเมืองเปลี่ยนแปลงไปโดยรวดเร็ว

สังคมเมืองและสังคมชนบทของไทย

             สังคมของเมืองไทย 

                   สังคมเมืองมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น มีการปกครองแบบเทศบาล บางแห่งมีการปกครองโดยเฉพาะ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา สังคมเมืองมีความเจริญทางด้านวัตถุ เป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ

             ลักษณะและโครงสร้างของสังคมเมืองไทย 

                   1. พึ่งพาอาศัยกัน สังคมเมืองจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยกันเหมือนเครื่องจักร หากสิ่งใดหยุดชะงักสังคมเมืองจะประสบความยุ่งยากทันที

                   2. มีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ สมาชิกของสังคมเมืองมีแบบแผน วิถีดำเนินชีวิตในแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิด ความเชื่อ ศาสนา และประสบการณ์ เพราะสมาชิกมาจากแหล่งต่าง ๆ กัน

                   3. มีลักษณะความแตกต่างทางเศรษฐกิจสูง คือ สังคมเมืองมีทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง มีคนที่ประกอบอาชีพที่หลากหลาย เช่น พ่อค้า ข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีระดับความแตกต่างของสมาชิกทางเศรษฐกิจสูง

                   4. การติดต่อสัมพันธ์กันมีลักษณะแบบทุติยภูมิ ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในสังคมเมืองมีมาก จึงมีการติดต่อกันตามสถานภาพ มากกว่าการติดต่อกันเป็นส่วนตัว หรือแบบปฐมภูมิ

                   5. การรวมกลุ่มเป็นองค์กรเป็นไปในรูปแบบทางการ คือเป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองหรือของ กลุ่มตนเองมากที่สุด

                   6. มีการแข่งขันกันสูง คือสังคมเมือง ผู้คนจะมีการแข่งขันกันสูง เป็นการแข่งขันเพื่อชัยชนะคู่แข่ง หรือเพื่อความอยู่รอดในสังคม คนในสังคมเมืองจึงเป็นโรคประสาทมากเมื่อเปรียบเทียบกับชาวชนบท 

              สังคมชนบทของไทย 

                     มีการรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนเล็ก ๆ เป็นการรวมตัวกันเป็นหมู่บ้าน ตำบล กระจัดกระจายไปทั่วประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ของสังคมไทยอาศัยอยู่ในชนบท 

              ลักษณะและโครงสร้างของสังคมชนบทของไทย 

                     1. มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น ทั้งนี้เพราะสังคมชนบทไทยมีความคล้ายคลึงกันของแบบแผนสังคมและ แบบแผน ของ วัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน สภาพความเป็นอยู่มีความคล้ายคลึงกันเป็นอันมาก การรวมตัวของสังคมชนบทจึงเป็นการรวมตัวอย่างเหนียวแน่น

                     2. มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมไม่แตกต่างกันมาก ชาวชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม แบบแผนของสังคมเป็นแบบแผนสังคมเกษตร พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมจึงไม่แตกต่างกันมาก

                     3. พึ่งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นใหญ่ ชีวิตของชาวชนบทผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทั้งอาชีพและความเป็นอยู่ ความทุกข์ มีผลจากภัยธรรมชาติ คือความแห้งแล้งน้ำท่วม และความหนาวเย็น หากปีใดไม่มีภัยธรรมชาติประกอบอาชีพได้ผลดี จะมีความสุข

                     4. การรวมกลุ่มของคนชนบทอยู่ในวงจำกัด และมีลักษณะไม่เป็นทางการ สังคมชนบทจะรู้จักหน้าค่าตากันดี มีการติดต่อสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัวในลักษณะกลุ่มปฐมภูมิมากกว่าสัมพันธ์ กันใน ลักษณะกลุ่มทุติยภูมิ

                     5. มีการแข่งขันกันน้อย ผู้คนในสังคมชนบท มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด ประกอบอาชีพคล้ายคลึงกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์เผชิญภัยธรรมชาติมาด้วยกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีความเคารพนับถือกันมาโดยตลอด ระบบการแข่งขันจึงมีน้อย 

               ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท 

                       สังคมเมืองกับสังคมชนบท มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต้องพึ่งพาอาศัยกัน สังคมชนบทผลิตและส่งอาหาร ตลอดทั้งผลิตผลทางการเกษตรให้แก่สังคมเมือง รวมทั้งขายแรงงานให้แก่สังคมเมือง ในขณะเดียวกัน สังคมเมืองก็เป็นตลาดขายผลิตผลทางการเกษตรเป็นแหล่งผลิตทางอุตสาหกรรม ส่งผลิตผลทางอุตสาหกรรมขายให้แก่สังคมชนบท เป็นแหล่งความรู้ทางเทคโนโลยีให้แก่สังคมชนบท เป็นต้น

               ปัญหาสังคมไทย 

                      1. ปัญหาความยากจน 

                               ความยากจน คือ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่สามารถจะหาสิ่งจำเป็นมาสนองความต้องการทางร่างกาย และจิตใจได้อย่างเพียงพอ จนทำให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่า

               ผลเสียของความยากจน

                      1. ผลเสียต่อบุคคลและครอบครัว ทำให้บุคคลสูญเสียบุคลิกภาพที่ดี ครอบครัวขาดเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ ไม่สามารถจะส่งบุตรหลานเล่าเรียนได้เท่าที่ควร

                     2. เป็นภาระแก่สังคม สังคมต้องอุ้มชู ดูแลคนยากจน ทำให้ประเทศชาติไม่สามารถจะทุ่มเทการพัฒนาได้

                     3. ทำให้เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไม่มั่นคง ประเทศที่มีคนยากจนมากก็ไม่สามารถจะพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้ ทำให้เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศไม่มั่นคง

        2. ปัญหายาเสพติด 

                   ยาเสพติด หมายถึง ยาเสพติดให้โทษ องค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามยาเสพติดให้โทษว่า “เมื่อเสพแล้วผู้เสพจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจในการที่จะได้ เสพต่อไป โดยไม่สามารถหยุดเสพได้ จำนวนการเสพก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจในภายหลัง ยาเสพติดในปัจจุบันมีมากมายที่ปรากฏแพร่หลาย เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามิน บาร์บิทูเรต สารระเหย ยาม้า

              ผลเสียของผู้ติดยาเสพติดให้โทษ 

                      1. ผลเสียทางร่างกายและจิตใจ ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย ฟุ้งซ่าน

                      2. ผลเสียทางสังคม ผู้ติดยาเสพติดไม่คำนึงถึงกฎระเบียบของสังคม ชอบละเมิดกฎระเบียบ ผู้ติดยาเสพติดเป็นที่รังเกียจของสังคม เป็นผู้ทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล

                      3. ผลเสียทางเศรษฐกิจ ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน ติดยาเสพติดแล้วไม่ชอบทำงาน อ่อนแอ ทำให้สูญเสียแรงงาน การผลิตของประเทศลดลง รายได้ของประเทศลดลง นอกจากนั้นรัฐยังต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการรักษาพยาบาลผู้ติด ยาเสพติด

       3. ปัญหาคอรัปชั่น 

                   คอรัปชั่น คือ การทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ อำนาจและอิทธิพลที่ตนมีอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและหรือผู้อื่น รวมถึงการเลือกที่รักมักที่ชัง การเห็นแก่ญาติพี่น้อง กินสินบน ฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้ระบบอุปถัมภ์และความไม่เป็นธรรมอื่น ๆ ที่ข้าราชการหรือบุคคลใดใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนความเป็นธรรมและ ความ ถูกต้องตามกฎหมายของสังคม

                ผลเสียของการคอรัปชั่น 

                        1. ด้านรัฐ ทำให้เกิดการผูกขาด ข้าราชการจะติดต่อซื้อขายกับพรรคพวกของตนหรือผู้ที่ให้ผลประโยชน์ต่อตนเอง เท่านั้น ทำให้สินค้าแพงกว่าความเป็นจริง วัสดุสิ่งของคุณภาพต่ำ ทำให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์ในวงราชการ ใช้สถานที่ราชการหากินในทางไม่สุจริต

                        2. ด้านข้าราชการ ทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์สุจริตหมดกำลังใจในการทำงาน ถ้าผู้บังคับบัญชาร่วมกับลูกน้องใกล้ชิดกระทำการคอรัปชั่นด้วยแล้ว ข้าราชการที่สุจริตย่อมอยู่ในวงราชการยากเพราะจะโดนกลั่นแกล้งตลอดเวลา

                        3. ด้านประชาชน ประชาชนเสื่อมศรัทธาข้าราชการ เพราะข้าราชการที่คอรัปชั่นจะทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์พลอยเสียชื่อเสียง เกียรติยศ ไปด้วย

        4. ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ 

                     สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เช่น อากาศ น้ำ เสียง เป็นต้น เป็นพิษจะโดยมนุษย์ทำให้เป็นพิษ หรือเป็นพิษด้วยตัวของมันเองก็ตาม ถือว่าสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ประเทศไทย สิ่งแวดล้อมเป็นพิษได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ อากาศเสียเต็มไปด้วยควันไอเสียจากรถยนต์ ฝุ่นละอองจากโรงงาน คนสูดอากาศเป็นพิษทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ น้ำในลำคลองเน่าเหม็น ใช้อุปโภคบริโภคไม่ได้ เพราะโรงงานต่าง ๆ ปล่อยน้ำเสียลงไปในแม่น้ำ ลำคลอง ประชาชนทิ้งเศษขยะเน่าเหม็นลงแม่น้ำ ฯลฯ

        5. ปัญหาโรคเอดส์ 

                      โรคเอดส์ (AIDS : Aequired Deficency Syndrome) แพร่มาสู่ประเทศไทยจากประเทศตะวันตก ประเทศไทยได้รับอันตรายจากโรคเอดส์รุนแรงขึ้น โรคเอดส์เกิดจากสาเหตุที่สำคัญ เช่น การสำส่อนทางเพศ การใช้ เข็มฉีดยาร่วมกัน การถ่ายเทเลือดที่ขาดความระมัดระวัง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ ผู้ป่วยจะต้องเสียชีวิตทุกราย ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งเป็นบุคคลที่สังคมรังเกียจ

วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย 

              1. ให้การศึกษาแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและสูงขึ้น การศึกษาเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้สูงขึ้น รัฐจึงควรทุ่มเทงบประมาณในการให้การศึกษาแก่ประชาชน

              2. รัฐต้องจัดสวัสดิการที่ดีให้แก่ประชาชน ต้องจัดให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดีและมีงานทำทุกคนเพื่อ เป็นหลักประกันของชีวิต ควรจัดให้มีการประกันสังคมโดยทั่วถึง

              3. พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมกับประเทศ โดยพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อส่วนรวม กระจายรายได้สู่ชนบทมากขึ้น พยายามลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยให้อยู่ในระดับเดียวกัน

              4. มีการพัฒนาสังคมให้เหมาะสม โดยเฉพาะระดับครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญต้องพัฒนาก่อนสถาบันอื่น ๆ ควรสร้างค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก เช่น ให้มีความซื่อสัตย์ ขยัน ใฝ่ศึกษา ไม่เห็นแก่เงิน ชอบศึกษาค้นคว้า ฯลฯ รัฐต้อง พัฒนาบุคคลให้มีคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตในครรลองแห่งจริยธรรม คุณธรรม หรือตามหลักพระศาสนาที่ตนเองยอมรับนับถือ

 สังคมไทย

             ความหมายศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน  ได้อธิบายความหมายของสังคมไทยไว้ว่า  สังคมไทย  หมายถึง   ชนทุกกลุ่มที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน  โดยมีวัฒนธรรมไทยเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต  สังคมไทยมิได้เน้นเฉพาะชนเชื้อชาติไทยเท่านั้น  แต่รวมถึงชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ  ซึ่งอาจมีเชื้อชาติ  ศาสนา  และวัฒนธรรมบางอย่างแตกต่างกัน  แต่ทุกกลุ่มยึดถือวัฒนธรรมไทยเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตร่วมกัน

                    ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย

                            1.ยึดถือพระมหากษัตริย์และนับถือพระพุทธศาสนา

                            2.มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ไม่ค่อยมีการรักษากฎเกณฑ์ระเบียบอย่างเคร่งครัด  มีการผ่อนปรนในเรื่องต่าง ๆ

                            3.เป็นสังคมเกษตรกรรม  ประชากรมีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ

                            4.ส่วนใหญ่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก

                            5.โครงสร้างของชนชั้นยึดสถานภาพ  ทรัพย์สมบัติ  อำนาจ  เกียรติยศ  คุณงามความดี  เป็นเกณฑ์การแบ่งชนชั้น

                            6.มีความรักในถิ่นฐานบ้านเกิดของตน

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดลักษณะของสังคมไทย

              1.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  ได้แก่  ลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ  ทรัพยากรและพืชพรรณธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินี้ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีต  มีขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเช่นลักษณะการสร้างบ้านเรือน ประเพณีแห่นางแมว  เป็นต้น

             2.สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม  ได้แก่  สิ่งประดิษฐ์  ศิลป  ภาษาและวรรณคดี  ความเชื่อ  ตลอดจน

ค่านิยมทางสังคม  อิทธิพลของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันยังรับเทคโนโลยีสมัยใหม่จากสังคมตะวันตกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของสังคมไทยไปจากอดีต

             3.สิ่งแวดล้อมทางสังคม  หมายถึง  แบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม  เช่น  ความเป็นไมตรีช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน  การให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่  การมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวอย่างใกล้ชิดสนิทสนม  เป็นต้น  สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ยกตัวอย่างมานี้  บางอย่างก็เปลี่ยนไปจากอดีตเนื่องจากโครงสร้างประชากรของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป  และเนื่องจากการที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กับสังคมอื่น ๆ โดยเฉพาะอิทธิพลจากสังคมตะวันตก  ทำให้สิ่งแวดล้อมทางสังคมได้ขยายกว้างออกไปกว่าเดิม  และมีผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์ในการดำเนินชีวิตของสังคมไทยปัจจุบัน          

โครงสร้างของสังคมไทย  

          โครงสร้างของสังคมไทย  หมายถึง  ส่วนต่าง ๆ  ที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมไทย  ที่สำคัญได้แก่  กลุ่มสังคมต่าง ๆ  ที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสถาบันสังคมไทย

                  1.กลุ่มต่าง ๆ  ที่อยู่ร่วมกันในสังคมไทย

                         - ครอบครัวไทย  มีลักษณะเป็นครอบครัวขยายประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นประชา

กรไทย  จำนวนครัวเรือนในสังคมไทยมีทั้งสิ้นประมาณ  11.3  ล้านครัวเรือน  มีจำนวนสมาชิกโดยเฉลี่ยครัวเรือนละ  4.99  คน  และมีแนวโน้มว่า  จำนวนสมาชิกเฉลี่ยในแต่ละครัวเรือนจะลดลง  ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายควบคุมขนาดประชากรของรัฐบาล  โดยการวางแผนครอบครัว

                         - ชุมชน หมายถึง  กลุ่มครอบครัวซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน  มีวัฒนธรรมและกิจกรรมบางประการร่วมกันเพื่อสนองความต้องการของสมาชิก และเพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันร่วมกัน ชุมชนในสังคมไทยมี  2  ประเภท  คือ  ชุมชนชนบทและชุมชนเมืองซึ่งมีลักษณะเปรียบเทียบได้ดังนี้

ชุมชนชนบทชุมชนเมือง

                  1.ประชากรมีจำนวนมากแต่อยู่กระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็ก ๆ

                  2.สถาบันการศึกษามีไม่มากนัก

                  3.รายได้ยังน้อย  มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

                  4.เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค  มีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย

                  5.สถาบันศาสนาสำคัญมากของชุมชนบทไทยมีศรัทธาในศาสนาเคร่งครัด

                  6.มีความสัมพันธ์เป็นแบบส่วนตัวและกันเอง เป็นไปตามประเพณี

                  7.มีการเปลี่ยนแปลงช้าและมีปัญหาสังคมน้อย

          1.ประชากรมีเป็นจำนวนมากและอยู่กันอย่างหนาแน่น

          2.มักเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่สำคัญ

          3.เศรษฐกิจดี  มีรายได้รายจ่ายสูง  เป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจและมีอาชีพหลากหลาย

          4.เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของประเทศ

          5.เป็นศูนย์รวมของศาสนาและความเชื่อ  แต่ระดับ ความศรัทธาในศาสนาไม่สูง

          6.มีความสัมพันธ์แบบทางการ  ยึดถือประโยชน์เป็นเกณฑ์

          7.มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีปัญหาสังคมมาก

เนื่องจากสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง  สังคมชนบทเดิมกับสังคมชนบทปัจจุบันจึงมีความแตกต่างที่ควรสังเกตดังนี้

ชุมชนชนบทปัจจุบันชุมชนชนบทเดิม

                   1.มีความโดดเดี่ยวลดลง  มีความสัมพันธ์กับชาวเมืองมากขึ้น

                  2.ทำการเกษตรเพื่อการค้า

                  3.มีการใช้เครื่องทุ่นแรงเพื่อการเกษตร

                  4.เศรษฐกิจเป็นแบบการค้ามากขึ้น

                        1.ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว

                       2.มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

                       3.มีการใช้แรงงานเพื่อการเกษตร

                       4.เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสังคมชนบท

                1.สาเหตุภายใน  เช่น  การเกิด  การตาย  การย้ายถิ่นฐาน

               2.สาเหตุภายนอก  เช่น  การคมนาคม  การผสมผสานทางวัฒนธรรม

ข้อแตกต่างระหว่างชุมชนไทยทั้ง  2  ประเภท  อาจเปรียบเทียบได้ดังนี้

ชุมชนชนบทชุมชนเมือง

         1.มีลักษณะครอบครัวขยาย  เป็นสังคมส่วนใหญ่ของไทย

        2.สมาชิกสัมพันธ์กันแบบปฐมภูมิ เคารพนับถือกันแบบเครือญาติ

        3.มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

        4.ลักษณะทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน

        5.เป็นสังคมแบบประเพณีนำ  ยึดถือในศาสนาขนบธรรมเนียมประเพณี

        6.คุณภาพชีวิตยังอยู่ในระดับต่ำ

        7.มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมช้า  แต่บางอย่างพัฒนาไปรวดเร็ว  เช่น  ชีวิตความเป็นอยู่

1.ลักษณะครอบครัวเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่

             2.สมาชิกสัมพันธ์กันตามสถานภาพ  มีการติดต่อกัน เป็นทางการ

             3.อาชีพหลากหลาย

             4.มีฐานะอาชีพแตกต่างกันมาก  ตั้งแต่ยากจนถึงเศรษฐี

             5.วัฒนธรรมผสมปนเป

             6.โดยเฉลี่ยคุณภาพชีวิตสูงกว่าชนบท

             7.การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นไปรวดเร็ว  ทั้งการศึกษา  เทคโนโลยี  ความเป็นอยู่

                 - ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในสังคมไทย  นอกจากสังคมไทยจะประกอบไปด้วยชนเชื้อชาติไทย  ซึ่ง

เป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมแล้ว  ยังประกอบไปด้วยชนชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ร่วมในสังคมไทยด้วยกัน  เช่น  ชาวไทยเชื้อชาติสายจีน  และเชื้อชาติต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป  นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยชนกลุ่มน้อย  ชาวไทยที่นับถือศาสนา  อิสลามและคริสต์ในภาคใต้  เป็นต้น  กลุ่มสังคมที่กล่าวมานี้แม้ว่าจะมีวัฒนธรรมย่อยในการดำเนินชีวิตในกลุ่มของตน  แต่ก็ยึดถือวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมหลัก  และร่วมสร้างความเจริญแก่สังคมไทยมาโดยตลอด

สถาบันสำคัญของสังคมไทย

                       1. สถาบันครอบครัว  ครอบครัวของชาวไทยปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวเดี่ยวประกอบด้วย สามี  ภรรยา  บุตรและอาจมีคนรับใช้อาศัยอยู่ด้วย  แต่ก็ยังมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นครอบครัวใหญ่  คือ  ครอบครัวที่มีสามี-ภรรยาอยู่หลายคู่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน  การแต่งงานของคนไทยจะเป็นแบบสามีเดียว  ภรรยาเดียว  ห้ามแต่งงานระหว่างผู้สืบสายโลหิต  การสืบสกุลถือผู้ชายเป็นหลัก  บิดาหรือฝ่ายชายเป็นหัวหน้าครอบครัว  ครอบครัวเป็นทั้งหน่วยผลิตและหน่วยบริโภค

                       2. สถาบันทางศาสนาและการศึกษา  คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา  96.4%  นับถือศาสนาอิสลาม  3.7%  ศาสนาคริสต์  0.6%  ศาสนาฮินดู  0.01%  และไม่ทราบว่าศาสนาใด  0.2%  ร่วมทำบุญกันที่วัด  รวมกลุ่มเพื่อฟังเทศน์  ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  เคารพ  สักการะพระภิกษุเจ้าถิ่น  เช่น  “เจ้าอาวาส”  และ  “พระลูกวัด”  พระซึ่งเป็นตัวแทนของวัด  มีบทบาทเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น  พระจึงเป็นหลักแห่งความยึดเหนี่ยว  พระมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นใจชนบท  เช่น  การสร้างโรงเรียน  สร้างบ่อน้ำสาธารณะ  สร้างถนน  เป็นต้น  วัดเป็นสถาบันสำคัญของหมู่บ้าน  เป็นศูนย์รวมของชาวชนบท  โรงเรียนเป็นสถาบันการศึกษาที่เด็ก ๆ ในชนบทไปเรียนหนังสือ  บางโรงเรียนก็ขาดเครื่องมืออุปกรณ์การสอน  ขาดครู  ขาดอาคารเรียน  ฯลฯ  โดยเฉพาะโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในถิ่นทุรกันดาร  การคมนาคมไม่สะดวก  ทำให้เด็ก ๆ ชนบทได้รับการศึกษาไม่ทั่วถึง  การศึกษาของเด็กชนบทต่ำ  อีกอย่างหนึ่งเพราะพ่อแม่ของเด็กชนบทส่วนใหญ่  มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจน  ไม่สามารถที่จะส่งบุตรหลานได้ศึกษาต่อขั้นสูงการเงินเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงในการศึกษาเล่าเรียนของเด็กชนบทไทย

               3. สถาบันทางเศรษฐกิจ  ชาวชนบทไทยร้อยละ  80  เป็นเกษตรกร  เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรม  เช่น  การทำนา  ทำไร่  ทำสวน  เลี้ยงสัตว์  เป็นต้น  สินค้าออกที่ช่วยผดุงเศรษฐกิจของประเทศประมาณ

ร้อยละ  90  เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรม  ได้แก่  ข้าว  ยางพารา  ข้าวโพด  ไม้สัก  ปอ  มันสำปะหลัง

               4.   สถาบันพระมหากษัตริย์  จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศไทยได้จารึกให้เป็นที่ประจักษ์ว่า  ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกมีลักษณะเป็นแบบพ่อปกครองลูกการเรียกพระมหากษัตริย์จึงมีคำขึ้นต้นว่า “พ่อขุน” ตลอดระยะเวลาที่ประเทศไทยสามารถรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้ามาอยู่รวมกันเป็นประเทศได้นั้น  ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อกันเรื่อยมา  ในปัจจุบันนี้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมน้ำใจของคนไทยทั้งชาติพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน คือพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมไปด้วยทศพิธราชธรรม  พระองค์ทรงปกครองพสกนิกรด้วยพระมหากรุณาธิคุณ  ประดุจดังบิดาปกครองบุตร  พระบารมีของพระองค์แผ่ไพศาล  ปกป้องภยันตรายแก่ผองไทยทั้งชาติ  พสกนิกรไทยทั่วหน้าต่างซาบซึ้งในพระราชกรณียกิจที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญแก่ประเทศชาติและแก่อาณาประชาราษฎร์  พระองค์จึงทรงเป็นเสมือนจุดรวมพลังแห่งความสามัคคีของคนไทยทั้งชาติ  นอกจากนี้บรรดาพสกนิกรชาวไทย  ต่างก็ได้ตระหนักเป็นอย่างดีว่า  สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนหลักชัยของประเทศ  และจะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยไปชั่วกาลนาน

ค่านิยมทางสังคมไทย

               ค่านิยม (Value)  หมายถึง  สิ่งที่มีคุณค่า  น่ายกย่อง  เป็นรูปแบบของความคิดที่ติดอยู่ในจิตใจของคนในสังคม  และเป็นแนวทางที่คนยึดถือไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติ  ค่านิยมแบ่งเป็น  2  ประเภท

                    1.ค่านิยมของบุคคล ซึ่งบุคคลจะแสดงออกให้เห็นได้จากการตัดสินใจของตนเองทั้งนี้ย่อมจะแตกต่างไปตามความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคล

                   2.ค่านิยมของกลุ่มหรือค่านิยมของสังคม  ซึ่งชี้ให้เป็นถึงการเลือกสรร  การยกย่อง  และสิ่งที่บุคคลทั่วไปในสังคมปรารถนาว่ามีอะไรบ้าง  สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นแนวทางให้บุคคลอื่น ๆ ในสังคมทราบว่าควรปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์หนึ่งสถานการณ์ใด

ลักษณะของค่านิยม  ค่านิยมมีลักษณะดังนี้

                       1.ค่านิยมมีทั้งค่านิยมที่ดี  และค่านิยมที่ไม่ดี

                       2. เป็นสิ่งที่สามารถปลูกฝังถ่ายทอดได้

                       3.สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้  แต่ก็ไม่อาจจะทำได้โดยง่ายนัก  อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงค่านิยมอาจจะทำได้ง่ายขึ้น  เมื่อบุคคลได้เรียนรู้และมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น

                       4. เป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งในการประเมินความประพฤติของบุคคล

ความสำคัญของค่านิยม

                       1.ค่านิยมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล

                      2.ค่านิยมเป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม

                      3.ค่านิยมมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ  และอุปนิสัยใจคอของคนส่วนมาก  เพราะบุคคลในสังคมย่อมได้รับอิทธิพลจากค่านิยมของสังคม

                      4.ค่านิยมจะช่วยให้คนในสังคมมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน  ทำให้มีความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ อย่างเดียวกัน  ดังนั้นค่านิยมของสังคมจึงจัดว่าเป็นกระบวนการทีเกิดขึ้นเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยให้แก่สังคม

ที่มาของค่านิยมของสังคมไทย

                      1.ได้จากการศาสนาพุทธ  ปะปนกับศาสนาพราหมณ์

                     2.ได้จากสังคมดั้งเดิม  คือระบบศักดินา  เช่น  ค่านิยมการนับถือเจ้านาย  ยศถาบรรดาศักดิ์  เป็นต้น

                     3.ได้จากระบบสังคมเกษตรกรรม  เช่น  ความเฉื่อย  ขาดความกระตือรือร้น  ยึดตัวบุคคล

                     4.ได้จากความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์โชคลาภ

ค่านิยมของชุนสังคมชนบทในสังคมไทย

                      1.ยอมรับเรื่องบุญวาสนา  กรรมเก่า  โดยไม่โต้แย้ง

                     2.เชื่อถือโชคลาภ  เพราะมีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ

                     3.นิยมเครื่องประดับประเภท  ทอง  เพชรนิลจินดา

                     4.ชอบเสี่ยงโชค

                     5.เชิดชูยกย่องผู้คุณความดี

                     6.นิยมทำบุญเกินกำลังและพิธีการต่าง ๆ 

                     7.ไม่นิยมโต้แย้ง  ขี้เกรงใจคน  เชื่อผู้สั่ง  เห็นแก่หน้า

                     8.พึ่งพาอาศัยกัน  ร่วมมือกัน  ช่วยเหลือจุนเจือกัน

                     9.สันโดษ  เรื่องที่เกี่ยวกับส่วนรวมไม่ค่อยกระตือรือร้น

                     10. หวังผลเฉพาะหน้า  เช่น  สนใจเฉพาะผลผลิตปีนี้  โดยไม่ค่อยสนใจอนาคต

ค่านิยมของสังคมเมืองในสังคมไทย

                     1.มีเหตุผล  จะไม่เชื่อเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้

                    2.มีกำหนดเวลาแต่ละวันชัดเจน  เช่น  ตื่นนอน  ไปทำงาน

                    3.มีการแข่งขันสูง  ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด  

                    4.นิยมตะวันตก  เช่น  การใช้เทคโนโลยี  การแต่งกาย  การนันทนาการ  มีความรับผิดชอบต่อสังคม

                    5. ชอบงานฟุ่มเฟือยหรูหรา  เช่น  ตกแต่งบ้านหรูหรา  การเลี้ยงรุ่น  เลื่อนยศ  วันเกิด  ฯลฯ

                    6.เห็นแก่ตัว  ไม่ค่อยไว้ใจใคร  เนื่องจากต้องแข่งขัน  และมีสมาชิกในสังคมมาก

ค่านิยมที่ควรปลูกฝังในสังคมไทย  ค่านิยมที่ดีงามควรปลูกฝังในสังคมไทยมีดังนี้

                                 1.การจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์

                                 2.ความซื่อสัตย์สุจริต

                                 3. ความขยันขันแข็งมีมานะอดทน

                                 4.การยกย่องผู้ที่ทำความดี

                                 5.ความกตัญญูกตเวที

                                 6.การเคารพผู้อาวุโส

                                 7.การไม่ผูกพยาบาท

                                 8.การนิยมของไทย

                                 9.การเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม

                                 10.ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

               ค่านิยมที่ควรแก้ไขในสังคมไทย  ค่านิยมในทางที่ไม่ถูกต้องจะเป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกันในสังคมไทย  ค่านิยมที่ควรแก้ไขมีดังนี้

                       1.การเห็นคุณค่าของเงินตรามากเกินไป

                       2.การชอบเสี่ยงโชคและถือโชคลาง

                       3.การขาดระเบียบวินัย

                       4.การนิยมใช้ของที่มาจากต่างประเทศ

                       5.การไม่รู้จักประมาณในการใช้จ่าย

                       6.การไม่ชอบเห็นใครดีเด่นกว่าตนเอง

ปัญหาสังคมไทย

                 ปัญหาสังคม (Social  Problem)  หมายถึง  สถานการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนหนึ่ง  ซึ่งมากพอควรและเกิดความรู้สึกกว่าควรมาร่วมกันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น

                          ลักษณะของปัญหาสังคม  ปัญหาสังคมโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือ

                              1.เป็นสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนบุคคลเป็นจำนวนมาก

                              2.เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม

                              3. รู้สึกว่าสามารถจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งได้

                              4.การแก้ไขมีลักษณะที่จะร่วมมือร่วมใจกัน

                 สาเหตุของปัญหาสังคม  มีปัจจัยหลายอย่าง  เช่น

                         1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ได้แก่

                                     -สมาชิกในสังคมสร้างระบบสังคมและค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้ระเบียบกฎเกณฑ์เดิมไม่อาจนำมาใช้ได้

                                     - การเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมือง  ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น  แหล่งเสื่อมโทรม  ความยากจน  ฯลฯ

                                     -การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม  ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น  การอพยพเข้าสู่ตัวเมืองเพื่อหางานทำ

                          2.เกิดจากสมาชิกในสังคมบางคนหรือบางกลุ่ม  ไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้  ทำให้เกิดการขาดระเบียบและก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมขึ้น  โดยมีสาเหตุเกิดจาก

                                      -ความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย  เช่น  นักเรียนขยันท่องหนังสือ  แต่สอบตกจึงต้องทุจริตในการสอบ

                                      -ความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม

                                      -สมาชิกในสังคมบางคนหรือบางกลุ่ม  มีบุคลิกภาพที่เป็นปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้สังคม  เช่น  ชอบก่อการวิวาท  เป็นต้น

                           3.เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการและผลประโยชน์ขัดกัน  ไม่ยอมร่วมมือกันแก้ไขปัญหาของสังคม  เช่น  นายจ้างเอารัดเอาเปรียบลูกจ้าง  เป็นต้น

                           4. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  ก่อให้เกิดปัญหา  2  ประการ  คือ

                                       -ปัญหาการว่างงานเพราะมีการนำเครื่องจักร  เครื่องทุ่นแรงมาใช้

                                       -ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ  เนื่องจากผลกระทบของเทคโนโลยีนั้น

                           5.การเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานของสังคม  เช่น  หากมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นประชาธิปไตย  อาจก่อให้เกิดการต่อต้านหรือการผูกขาดอำนาจทางการเมือง

                           6. ความล้าหลังทางวัฒนธรรม  ทั้งนี้เพราะความเจริญทางวัตถุกับจิตใจยังไม่มีความสัมพันธ์กัน

แนวทางแก้ปัญหาสังคมไทย

              1.แก้ปัญหาแบบระยะสั้น  หรือแบบย่อย  เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  ที่ไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน  เช่น  ปี  2538  น้ำท่วมกรุงเทพมหานครฉับพลัน  กรุงเทพมหานครวางแผนรับมือ  โดยการสร้างคันดินกั้นน้ำเป็นการด่วน

              2.แก้ปัญหาแบบระยะยาว  หรือแบบรวม  เพื่อหามาตราการมิให้เกิดปัญหานั้นอีก  เช่น  หลังจากสร้างคันดินแล้ว  กรุงเทพมหานครได้วางโครงการป้องกันน้ำท่วมระยะยาว  เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมตลอดไป

      ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทย

                      1. ปัญหาความยากจน  มีสาเหตุมาจาก

                              -การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว

                              -การขาดการศึกษา  ทำให้ต้องประกอบอาชีพที่มีรายได้ต่ำ

                              -ขาดความชำนาญหรือทักษะในการประกอบอาชีพ  จึงหางานทำยาก

                              -ครอบครัวแตกแยก  เช่น  หัวหน้าครอบครัวเล่นการพนัน  ดื่มสุรา  ทำให้เกิดความยากจน

                              -ได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพจากเครื่องจักรในโรงงาน  ทำให้ทำงานไม่ได้  หรือได้น้อยลง

                              -ลักษณะอาชีพมีรายได้สม่ำเสมอ  จะเห็นจากพวกเกษตรกร  และกรรมกรรับจ้าง

                              -ภัยจากธรรมชาติ  หรือโรคระบาด  เห็นได้ชัดเจนจากการเกษตร  ทำให้ผลผลิตเสียหายขายไม่ได้ราคา

                              -การมีบุตรมากเกินไป  รายได้ไม่พอกับรายจ่าย

                              -มีนิสัยเฉื่อยชาและเกียจคร้าน  เช่น  ไม่กระตือรือร้นที่จะพัฒนาอาชีพของตน  ไม่ชอบทำงาน  เป็นต้น

          แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา

                              -พัฒนาเศรษฐกิจ  เช่น  ปฏิรูปที่ดิน  ขยายการคมนาคมขนส่ง  เป็นต้น

                              -พัฒนาสังคม  เช่น  บริหารฝึกอาชีพให้ประชาชน  พัฒนาโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา

                              -พัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร  เช่น  ขยายโรงพยาบาล  เสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน  เป็นต้น

              2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมในสังคมไทย

      สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมี  2  ประการคือ

                    1.สภาวะทางธรรมชาติ  เช่น  ความร้อน  แสงแดด  ฝนลม  ทำให้สภาพภูมิประเทศถูกทำลายได้

เอง  ยากที่จะบรรเทารักษา  แต่การทำลายโดยวิธีนี้ใช้เวลานานมาก 

                  2.การกระทำของมนุษย์  ทำลายได้รวดเร็วและรุนแรงยิ่งกว่าธรรมชาติมากนัก  สาเหตุหลักมาจาก

                         -การเพิ่มประชากร

                         -การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  และเทคโนโลยี

           แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา

                         - แก้พฤติกรรมของคนอันเป็นสาเหตุของปัญหา  ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย  เช่น  ไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำไปถึงเรื่องใหญ่โตกว้างขวาง  โดยการสร้างจิตสำนึกให้รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม

                         - อนุรักษ์สภาพแวดล้อม  โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                         -พัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม  และสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ดีขึ้นมาเพิ่ม

เติม

             3. ปัญหาสิ่งเสพย์ติดยาเสพย์ติด  มีหลายชนิด  ได้แก่  ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน  กระท่อม แอมเฟตามีน    บาร์บิท-เรต  แอล.เอส.ดี.  และสารระเหย  ปัญหาสิ่งเสพย์ติดส่วนใหญ่มักจะพบในกรุงเทพมหานคร  และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น  นับเป็นปัญหาแก่สังคมไทยอย่างร้ายแรง

                 แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา

                         -ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่  ครู  ผู้ปกครอง  โรงเรียน  สื่อมวลชน  ต้องประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับรู้อันตรายจากสิ่งเสพย์ติด

                         -รัฐบาลจะต้องกำหนดมาตรฐานการลงโทษแก่ผู้ค้ายาเสพย์ติด  และจัดบริการบำบัดแก่ผู้ติดยาเสพย์ติดอย่างเพียงพอ

                         -สมาชิกในสังคมไทยโดยเฉพาะเยาวชน  และผู้ใช้แรงงาน  ต้องมีความรับผิดชอบตนเอง  มีเหตุผล  ไม่หลงเชื่อคำชักจูงของผู้อื่น

                         -ครอบครัวจะต้องให้การอบรมบุตร  ให้ความรักและความอบอุ่นทางด้านจิตใจ  แก่สมาชิกในครอบครัว

4.  ปัญหาโรคเอดส์

                    เกิดจากเชื้อไวรัสเอดส์  ชื่อภาษาอังกฤษว่า  Human  immunodeficiency  Virus  หรือ  เอชไอวี  (H.I.V.)  กลุ่มที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มาจากผู้ที่มีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ  และติดยาเสพย์ติด  ในปัจจุบันปัญหานี้เป็นภัยอย่างร้ายแรงของสังคมไทย  และนับวันจะทวีมากขึ้นหากไม่มีการวางแผนป้องกันที่ดี

แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา

                         -หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง  เช่น  กระทรวงสาธารณสุข  จะต้องวางแผนและโครงการป้องกันการแพร่ของโรคเอดส์  ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

                         - รัฐจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์

                         -สร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้สังคมไทย  เช่น  ผู้ชายไม่ควรเที่ยวหญิงบริการ  เพราะจะทำให้ภรรยาติดเชื้อได้

                         -แก้ปัญหาอื่น ๆ อันเป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับโรคเอดส์  เช่น  ปัญหาความยากจน  ปัญหายาเสพย์ติด  ปัญหาโสเภณี  ฯลฯ

          5.ปัญหาอาชญากรรม  เป็นปัญหาที่คุกคามต่อความสงบเรียบร้อยและความผาสุกของประชาชน

ในสังคม  สาเหตุของปัญหาอาชญากรรมมีหลายประการดังต่อไปนี้

                         - เกิดความบกพร่องทางร่างกาย

                         -เกิดจากความบกพร่องทางจิตใจ

                         -เกิดจากสิ่งแวดล้อม

                         - เกิดจากการไร้ระเบียบในสังคม

แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา

                         -การลงโทษผู้กระทำผิด

                         -การเข้าค่ายฝึกอบรมให้กลับประพฤติตนเป็นคนดี

                         -ให้คำแนะนำปรึกษาให้ประพฤติตนอย่างถูกต้อง

                         -การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ประชากรมีคุณภาพที่ดี

          6.ปัญหาสุขภาพอนามัย  เป็นปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยอันเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจ

เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย  โภชนาการ  การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  ฯลฯ  สาเหตุของปัญหาสุขภาพอนามัยมีดังนี้

                    1.ขาดความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย

                   2.ขาดแคลนหมอและอุปกรณ์การแพทย์

                   3. ข้อผิดพลาดและปัญหาด้านการบริการ

                   4.ปัญหาด้านการกระจายแพทย์ไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ

                   6.ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง  เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกสังคมรวมทั้งประเทศไทย  ก่อให้เกิดปัญหาที่บั่นทอนความก้าวหน้าของสังคมไทยมาโดยตลอด  ก่อให้เกิดผลเสียดังต่อไปนี้

                   1.ทำให้ชาติเสื่อมเสียชื่อเสียง

                  2.เกิดความแตกแยกและความไม่ยุติธรรมในสังคม

                  3.เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

                  4.ประชาชนขาดความศรัทธาในข้าราชการและรัฐบาล

                  5.เป็นข้ออ้างของฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล

สาเหตุของปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง

                  1.แรงจูงใจและโอกาสอำนวย

                 2. ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ

                 3.กฎหมายมีข้อบกพร่อง

                 4.การบริหารงานขาดประสิทธิภาพ

                 5.ค่านิยมในทางที่ไม่ถูกต้อง

       7.ปัญหาโสเภณี  นับเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญปัญหาหนึ่ง  แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมทางศีลธรรม

และส่งผลไปยังปัญหาโรคร้ายต่าง ๆ รวมทั้งโรคเอดส์

              สาเหตุที่สำคัญของปัญหาโสเภณี  คือ  ค่านิยมในด้านเงินตราและวัตถุ  รวมทั้งการแสวงหาผลประโยชน์จากสถานบริการและนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว

   แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย

     การแก้ไขปัญหาสังคมนั้นต้องแก้ตามปัญหาที่เกิดขึ้น  เพราะแต่ละปัญหามีสาเหตุแตกต่างกันออกไป  แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม  อาจสรุปได้ดังนี้

                          -รัฐบาลจะต้องวางระเบียบและออกกฎหมาย  เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดอย่างรัดกุม  เช่น  ออกกฎหมายลงโทษผู้ที่ค้ายาเสพย์ติด  หรือล่อลวงหญิงมาเป็นโสเภณี  เป็นต้น

                          -วางแผนและนโยบายแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น  ประสานการทำงานระหว่างรัฐกับเอกชน  เพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ เช่น  จัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  โครงการรณรงค์โรคเอดส์  เป็นต้น

                          -ให้การศึกษาแก่ประชาชนเพราะการศึกษาเป็นบ่อเกิดของเหตุผลและการมีความคิดที่ดี

                          -ปรับปรุงระบบสังคมให้มีประสิทธิภาพ  เช่น  ระบบการให้สวัสดิการแก่ผู้ยากไร้  การประกันสังคม  การวางแผนครอบครัว  เป็นต้น

                          -พัฒนาเศรษฐกิจทั้งทางเกษตรกรรม  อุตสาหกรรม  และการบริการ  ช่วยเหลือด้านต่าง ๆ  เช่น  การประกันราคาพืชผล  ส่งเสริมการลงทุน  พยายามให้บุคคลในท้องถิ่นมีงานทำตลอดปี

                          -พัฒนาสังคม  เช่น  สื่อมวลชนช่วยกันเผยแพร่สร้างค่านิยมที่ดีแก่สังคม  ครอบครัวพยายามสร้างค่านิยมที่ดีให้แก่บุตร  รณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น  เป็นต้น