ถ้าเดินทางจากเส้นเมริเดียนแรก 0 องศา ไปทางซ้ายมือ จะมีเวลาเปลี่ยนแปลงอย่างไร

3.2 เส้นเมริเดียนกับการกำหนดเขตเวลา 

         เมอริเดียน  คือเส้นสมมุติที่ลากผ่านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้  เมอริเดียนของแต่ละเส้นจะยาวเป็นครึ่งหนึ่งของวงกลม  และปลายของเมอริเดียนทุกเส้นจะบรรจบกันที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้  เส้นเมอริเดียนเริ่มแรก  ได้แก่  เส้น  0  องศา  ที่ลากผ่านตำบลกรีนิช  ใกล้กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ

            เส้นเขตวัน  คือ  เส้นเมอริเดียนที่  180  องศา  หรือเส้นตรงกันข้ามกับเส้นเมอริเดียนเริ่มแรกถือว่าเป็นเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ  เป็นเส้นที่เพิ่มวันใหม่และสิ้นสุดวันเก่า  ผู้เดินทางจะไปทางตะวันตก  โดยข้ามเส้นเขตวันจะต้องลดลงหนึ่งวัน  และถ้าข้ามเส้นวันไปทางตะวันออกก็ต้องเพิ่มวันอีกหนึ่งวัน

            เวลามาตรฐาน  คือ  เวลาที่คิดตามเส้นเมอริเดียนมาตรฐาน  เส้นเมอริเดียนทุก  15  องศา  เวลาจะต่างกัน  1 ชั่วโมง  เช่น  เที่ยงวันที่เมอริเดียนเริ่มแรกที่เส้นลองจิจูด  15,30,45  องศาตะวันออก  จะเป็นเวลา  13.00  น.  14.00 น.  15.00  น.  ตามลำดับ  ส่วนเส้นลองจิจูดที่  15 , 30,45  องศาตะวันตก  จะเป็นเวลา 11.00  น. , 10.00 น.และ  09.00  น.  เวลาท้องถิ่นคือเวลาที่เป็นจริงตามความแตกต่างกันของเส้นลองจิจูดแต่ละเส้นเวลาจะต่างกัน  4  นาที  ฉะนั้นเวลาของตำบลต่างๆ  ในโลกจะตรงกัน  เช่น  ไทยอยู่ลองจิจูดที่  105  องศา  เวลาของไทยจึงเร็วกว่าที่กรีนิช  7  ชั่วโมง  เพราะไทยกับกรีนิช  อยู่ห่างกัน  105  องศา  (15  องศาเวลาต่างกัน  1  ชั่วโมง)  สำหรับเวลาในประเทศไทย  เพื่อความสะดวกในการทำงาน  และการดำเนินชีวิตประจำวันถือว่าอยู่ในเขตเวลาเดียวกัน  เวลาแต่ละจังหวัดในประเทศไทย  จึงเป็นเวลาเดียวกัน

ถ้าเดินทางจากเส้นเมริเดียนแรก 0 องศา ไปทางซ้ายมือ จะมีเวลาเปลี่ยนแปลงอย่างไร

วิดีโอ YouTube

เส้นเมริเดียนแรก หรือ เส้นเมริเดียนปฐม ( Prime Meridian ) คือเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งหนึ่ง ตำบล กรีนิช

ใกล้กรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิงในการนับเส้นเมริเดียนอื่น ๆ ต่อไป

          เส้นเมริเดียนรอบโลก มี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศา ตะวันออก 180 เส้น และเส้นองศาตะวันตก 180 เส้น
          ความสำคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกันเส้นขนาน

 ( เส้นละติจูด ) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก
2. ชนิดของแผนที่ 

          โดยทั่วไปแบ่งแผนที่ได้เป็น 3 ชนิด ตามการใช้งาน ได้แก่ 
          1.) แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะความสูงต่ำของพื้นผิวโลก โดยใช้เส้นชั้น

ความสูง บอกค่าความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แผนที่ชนิดนี้ถือเป็นแผนที่มูลฐานที่จะนำไปทำข้อมูลอื่นๆ

 ที่เกี่ยวกับแผนที่

          2.) แผนที่เฉพาะเรื่อง(Thematic Map) เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะได้แก่ แผนที่รัฐกิจ

แสดงเขตการปกครองหรืออาณาเขต แผนที่แสดงอุณหภูมิของอากาศ แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝน แผนที่ประวัติสาสตร์

 เป็นต้น
          3.) แผนที่เล่ม (Atlas ) เป็นแผนที่ที่รวบรวมเรื่องต่างๆ ทั้งลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ

 ลักษณะทางสังคม แผนที่ภูมิอากาศ ไว้ในเล่มเดียวกัน
3.องค์ประกอบของแผนที่ 

          สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่างๆ ป่าไม้

 ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ

 ดังนี้ 
     3.1 ชื่อแผนที่ (map name)เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไร แสดงรายละเอียด

อะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น

แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ระเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น 
     3.2 ขอบระวาง (border) แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่

แผ่นนั้น มักจะแสดงด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดงตำแหน่งลองจิจูด และ

จะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่างๆ 
     3.3 พิกัด (coordinate) พิกัดเป็นตัวกำหนดตำแหน่งต่างๆ บนแผนที่ โดยทั่วไปนิยมใช้อยู่ 2 แบบ คือ
           3.3.1 พิกัดภูมิศาสตร์ (geographic coordinate)
          พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บ่งบอกตำแหน่งที่ตั้งของจุดตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยโครงข่ายของเส้น

โครงแผนที่ซึ่งประกอบด้วยเส้นเมริเดียนกับเส้นขนานตัดกันเป็น จุด

            1.) ละติจูด (Latitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้จนถึง

90 องศา ที่ขั้วโลกทั้งสอง

            2.) ลองจิจูด (Longitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นเมริเดียน ไปทางทิศตะวันออก

และทิศตะวันตก จนถึง 180 องศา

          ปัจจุบันการบ่งบอกจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก สามารถทราบได้ง่ายและถูกต้องโดยใช้จีพีเอสเครื่องมือกำ

หนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS: Global Positioning System) เครื่องมือชนิดนี้ มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก

 และให้ข้อมูลตำแหน่งบนพื้นผิวดลกได้ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีผู้นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้สะดวกสบายใน

กิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การเดินเรือ การเดินทางท่องเที่ยวป่า การเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น เมื่อกดปุ่มสวิตช์

 เครื่องจะรับ

          3.3.2 พิกัดกริด เป็นการกำหนดตำแหน่งที่ วัดเป็นระยะทาง ของค่าเหนือ(เส้นในแนวนอน(N= northing))

 กับค่าตะวันออก (เส้นในแนวตั้ง (E= easting)) เพื่อให้ทราบว่าตำแหน่งนั้นอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรเป็นระยะทางกี่เมตร

และห่างจากเส้นกึ่งกลางโซนแผนที่นั้นระยะทางกี่เมตร ในแผนที่ภูมิประเทศ 1: 50,000 จะมีระบบพิกัดกริดที่ตีเป็น

ตารางขนาด 2x2 เซนติเมตร(1 ช่อง 2x2 เซนติเมตร มีพื้นที่จริง 1 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งแต่ละเว้นจะมีตัวเลขกำกับบอก

ค่าระยะทางของค่าเหนือและค่าตะวันออก

     3.4 ทิศทาง (direction) มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการ

ขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ

ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่

ประกอบกับเข็มทิศ หรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่เราต้องการได้

ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้

ก็ให้ใจว่าด้านบานของแผนที่คือทิศเหนือ 
4. มาตราส่วน  (map scale) 
      มาตราส่วนหมายถึง สิ่งแสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางที่ปรากฏจริงบนผิวโลก

เนื่องจากแผนที่เป็นภาพย่อส่วนของพื้นโลก จึงจำเป็นต้องมีมาตราส่วนกำกับไว้ในแผนที่ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ทราบ

ว่ามาตราส่วนในแผนที่นั้นใช้แทนระยะทางบนพื้นผิวโลกมากน้อยเพียงใด มาตราส่วนที่นิยมใช้มีอยู่ 3 ขนิด ดังนี้

เส้นเมริเดียนแรก (0 องศา) มีความส าคัญอย่างไร

เส้นเมริเดียนแรกหรือเส้นเมริเดียน 0 องศาจะแบ่งโลกเป็น 2 ซีก คือ ซีกโลกตะวันออก(เอเชีย) และซีกโลกตะวันตก (ยุโรป) โดยมีเส้นลองจิจูดทางซีกโลกตะวันออก 180 เส้น ซีกโลกตะวันตก 180 เส้น เส้นลองจิจูดจะเป็นตัวกำหนดเวลาท้องถิ่นของบริเวณที่ลากผ่าน ( เส้นละติจูดจะบอกอากาศของบริเวณที่เส้นพาดผ่าน)

เส้นเมริเดียนแรก (0 องศา) ไปทางขวามือจะมีเวลาเปลี่ยนแปลงอย่างไร

สัญญาณจากคลื่นแม่เหล็ก ถ้าเอกชัยเดินทางจากเส้นเมริเดียนแรก (0 องศา) ไปทางขวามือจะมีเวลาเปลี่ยนแปลงอย่างไร เปลี่ยนแปลงโดยจะมีเวลาช้ากว่าที่เส้นเมริเดียน

เส้นเมริเดียนที่ 0 องศา เกี่ยวข้องกับเวลาอย่างไร

เส้นเมริเดียนเป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ เป็นแนวคิดทางดาราศาสตร์เพื่อช่วยกำหนดตำแหน่งดวงดาว เส้นเมริเดียนปฐมมีค่า 0 องศาลองจิจูด ทุก ๆ 15 องศาลองจิจูดมีค่าเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง

เส้นเมริเดียนแรกมีกี่องศา

โดยเส้นเมริเดียนแรกมีค่ามุมเท่ากับ 0 องศา เรียกว่า เส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) เป็นเส้นเมริเดียนแรกสำหรับกำหนดเวลามาตรฐานทั่วโลก ซึ่งวัดจากหอดูดาว ตำบลกรีนิซ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เส้นเมริเดียนที่ถัดจาก 0 องศาไปทางตะวันออก 180 เส้น