ถ้ามีกฎหมายสังคมจะเป็นอย่างไร

คอลัมนิสต์

กฎหมายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจจริงหรือไม่

ประเทศไทยมีการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการบังคับใช้กฎหมายมาเป็นเวลาช้านาน เริ่มต้นจากในสมัยโบราณจนกระทั่งเข้าสู่ยุคทันสมัยปัจจุบัน

ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปแต่ความหมายของกฎหมายก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก กฎหมายหมายถึงกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบที่ได้ตราขึ้นมีสภาพบังคับใช้กับสมาชิกภายในสังคม เพื่อเป้าหมายการมีสังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสงบสุขและมีเป้าหมายอื่นๆ ที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและความต้องการของสังคม

ดังนั้นลักษณะพิเศษประการหนึ่งของกฎหมายคือการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบให้สอดรับกับสภาพของยุคสมัยและสังคม ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี หรือแม้กระทั่งฝ่ายตุลาการหรือศาล ต่างมีส่วนร่วมในกระบวนการเสนอและร่างกฎหมายฉบับใหม่ขึ้นมาบังคับใช้ รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับเก่าให้มีความก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ผู้เขียนจึงเสนอประเด็นเพื่อนำมาเป็นข้อขบคิดว่า กฎหมายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจจริงหรือไม่

จากประเด็นกฎหมายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจจริงหรือไม่นั้น ถ้าหากนำปัจจัยการมีส่วนร่วมในกระบวนการเสนอและร่างกฎหมายฉบับใหม่ขึ้นมาบังคับใช้ รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับเก่าให้มีความก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการแล้วจะพบว่า กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจอย่างเสมอ เช่น

1) เหตุผลของการบังคับใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 (ฉบับที่ 2) เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 (ฉบับที่ 2) ในเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่องได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ประกอบกับการกำหนดหน้าที่ของผู้นำร่องยังไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของผู้นำร่องในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่องสอดคล้องกับคุณวุฒิทางการศึกษาของประเทศไทยที่มีเพิ่มมากขึ้นและหน้าที่ของผู้นำร่องสอดคล้องกับการนำร่องในระดับสากล

2) เหตุผลของการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2563 เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักลง สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีและอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์นั่งสามล้อแบบพลังงานไฟฟ้า กิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ สนามแข่งม้า และสนามกอล์ฟ รวมทั้งขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ายาสูบ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม

จากตัวอย่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จะเห็นได้ว่า การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายแต่ละฉบับ ในแต่ละครั้งย่อมมีสาเหตุความเป็นมาและความจำเป็นของการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายทั้งสิ้น ซึ่งความเป็นมาและความจำเป็นดังกล่าวนั้นย่อมแสดงหรือสื่อให้เห็นได้จากข้อความที่เป็นเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวง ดังนั้นจึงเป็นเครื่องยืนยันในระดับหนึ่งได้ว่ากฎหมายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจอย่างเสมอ

นอกจากนี้ยังเคยมีการตรากฎหมายเป็นการเฉพาะเพื่อยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบันอีกเช่นเดียวกัน คือ พ.ร.บ.ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. 2546 เนื่องจากตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาได้มีการประกาศใช้บังคับกฎหมายเป็นจำนวนมาก และไม่มีการยกเลิกอย่างเป็นระบบ โดยมีการตรากฎหมายใหม่และใช้กฎหมายใหม่โดยไม่ยกเลิกกฎหมายเก่า หรือกฎหมายบางฉบับไม่มีการใช้บังคับเพราะใช้ไม่ได้ผล หรือไม่มีกรณีที่จะใช้เพราะไม่เหมาะสมหรือสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเกิดข้อสงสัยว่ากฎหมายบางฉบับยังคงใช้บังคับอยู่หรือไม่ หรือยังควรมีกฎหมายเช่นนั้นอยู่หรือไม่

ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีการยกเลิกกฎหมายที่ล้าหลังบางฉบับ เช่น กฎหมายโปลิศ 53 ข้อ ซึ่งจะรักษาน่าที่ในพระนคร แลนอกพระนคร พ.ร.บ.ลักษณพยาน ปีรัตนโกสินทร์ศก 113 พ.ร.บ.ป้องกันโรคสัตว์พาหนะ รัตนโกสินทรศก 119 ประกาศเพิ่มเติม พ.ร.บ.สำหรับตรวจป้องกันโรคสัตว์พาหนะ รัตนโกสินทรศก 119 พ.ร.บ.สำหรับตรวจป้องกันโรคสัตว์พาหนะแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2474 พ.ร.บ.สำหรับตรวจป้องกันโรคสัตว์พาหนะแก้ไขเพิ่มเติม ฉะบับที่ 2 พุทธศักราช 2474 หรือ พ.ร.บ.รถลาก รัตนโกสินทรศก 120 เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม กฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับ ได้ตราขึ้นและบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว มิได้มีการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมให้มีความก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจแต่อย่างใด แม้ว่านักกฎหมายจะได้มีการศึกษาวิจัยอย่างหลากหลายและเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายก็ตาม เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก เรื่อง การสืบมรดกและการรับมรดกแทนที่ เป็นต้น

ท้ายที่สุดแล้ว การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันเป็นเครื่องยืนยันประการหนึ่งว่า กฎหมายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจ เพียงแต่อาจมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้ทันท่วงทีตามสถานการณ์เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรผู้ทำหน้าที่รักษาการตามกฎหมาย ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่หลักในการให้ความยินยอมในการตราและบังคับใช้กฎหมาย หรือสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ เป็นต้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกันเพื่อทำให้กฎหมายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อเป้าหมายการมีสังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อยและมีความสงบสุข.

ถ้ามีกฎหมายสังคมจะเป็นอย่างไร

กฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

        กฎหมาย คือข้อบังคับ กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุม ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้     
        กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด  
        กฎหมายอาญา จึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย 

กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล

        บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย 
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล  
        การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้
บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  
        1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด  
ส่วนประกอบของสภาพบุคคล  
                1. ชื่อตัว – ชื่อสกุล  
                2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ  
                3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล  
                4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า  
        2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ  เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น

ทรัพย์และทรัพย์สิน

        ทรัพย์ หมายถึง วัตถุ หรือสิ่งที่มีรูปร่าง  
        ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)  
        ประเภทของทรัพย์สิน  
                1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้  
                2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้

นิติกรรม

        นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์  หลักการทำนิติกรรม  
        1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย  
        2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ  
        3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย  

        นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ  
        1. นิติกรรมที่เป็น โมฆะ คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย  
        2. นิติกรรมที่เป็น โมฆียะ คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้ว โมฆียะกรรมจะกลายเป็นโมฆะ


สัญญาต่างๆ และประเภทของสัญญา

        สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ  
        1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย  
        2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย  
        3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว  

        สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ  
        1. สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน  
        2. สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ  
        3. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด  
        4. การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4 ฝ่าย คือ  
                – ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้  
                – ผู้ทอดตลาด  
                – ผู้สู้ราคา  
                – ผู้ซื้อ

        สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น  
        1. สัญญาเช่าทรัพย์  
                – ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ 
                – ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ  
        2. สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย

        สัญญากู้ยืมเงิน  
      เป็นสัญญาที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ได้ตกลงกันในการยืมเงินและจะคืนเงินให้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยมีการเสียดอกเบี้ย  การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ

กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว

        การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง  
        การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต  
        ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น  
                1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส  
                2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส  
        การสิ้นสุดการสมรส  
                1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ  
                2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม  
                3. การหย่า  

        – สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร  
        – สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน

กฎหมายเรื่องมรดก

        มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย  
        ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท  
                1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท  
                2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้  
        พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์

กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

        1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
                สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
                เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
                หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
        2. กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม
        3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์  
                – เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน  
                – เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.  
                – เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน
        4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน  
                – บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ ตั้งแต่   7 ปี จนถึงอายุ 70 ปี และนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาอีกครั้งในวันนี้ (7 เมษายน) นั้น ล่าสุด ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ตามที่วุฒิสภาแก้ไขด้วยคะแนนเสียง 304 ต่อ 2 
                – การเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น  
                – บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน  
                – บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70 ปี ขึ้นไป
        5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร  
                – ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน  
                – เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด  
                *บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้
        6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
                – พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น  
                – พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
                – พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522


ขอบคุณที่มา: ศิวะดล นิลสุข www.gotoknow.org/posts/502873