ถ้าเว็บขายของออนไลน์

ขายของออนไลน์ ต้องทำเว็บไซต์ไหม

อาจจะเป็นคำถามของพ่อค้าแม่ค้าหลายๆคน ที่มีธุรกิจขายของในยุคปัจจุบันซึ่งใช้ช่องทาง Social Media ต่างๆ ในการโปรโมทร้านค้า ว่า “ต้องมีเว็บด้วยไหม” หรือ “เว็บไซต์จำเป็นหรือเปล่า” เพราะว่าการใช้ Facebook, IG, หรือ Line ในการโปรโมทก็สามารถหาลูกค้าให้มาซื้อสินค้าหรือบริการของเราได้อยู่แล้ว. พ่อค้า แม่ค้า บางคน อาจจะมีความเชื่อว่าการทำเว็บไซต์ส่วนใหญ่ ราคาแพง เราเอาเงินที่ทำเว็บไซต์มาใช้โปรโมทเพจของเราแทนดีกว่า

แล้วสรุปเว็บไซต์จำเป็นหรือเปล่า การทำเว็บไซต์ช่วยได้ขนาดไหน เว็บวันนี้ Fastwork อยากจะมาอธิบายเรื่องของการทำเว็บไซต์ที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ รวมไปถึงความสำคัญของการทำเว็บไซต์

1.เว็บไซต์ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์

การมีเว็บไซด์ เป็นของตัวเอง จริงๆแล้ว เป็นสิ่งที่ต้องมีเป็นลำดับแรกๆ ครับ เว็บไซด์ อาจจะไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนยอดขาย  แต่เป็นตัวให้ข้อมูลรายละเอียดสินค้าที่ดีกว่า Platform Social Media นอกจากนี้ ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ อีกด้วยครับ

เว็บไซต์ที่สวยเลิศ หรือ มี feature ที่ advance มากๆบางทีอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ซักทีเดียว เพียงแค่มีระบบตะกร้าสามารถใส่สินค้าได้ หรือถ้าตะกร้าซับซ้อนเกิน เริ่มจากการเพิ่มช่องทางการติดต่อหรือวิธีการสั่งซื้อไปทาง Facebook หรือ Line เพิ่มก็ได้ครับ เพียงแต่อาจจะต้องมีการหา admin page มาคอยตอบเวลาที่ลูกค้าทักมาเยอะๆ จะได้ให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า

2.เว็บไซต์มีหลายขนาด และขนาดเริ่มต้นราคาเพียงแค่หลักพันเท่านั้น

ขนาดและราคาของการทำเว็บไซต์ขึ้นอยู่กับความซับซ้อน ซึ่งปัจจุบันการทำเว็บไซต์ในสามารถทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นเพราะมี เทคโนโลยี เข้ามาช่วย. การทำเว็บสำเร็จรูป มีราคาไม่แพงและสามารถทำได้ด้วยตัวเองได้เช่น wix หรือ duda หรือแม้การใช้ wordpress ซึ่งเป็น option ที่นิยมเพราะสามารถตอบโจทย์ของเว็บไซต์ได้ทุกรูปแบบ.

แต่ wordpress นั้นมีความซับซ้อนอยู่พอสมควร และอาจจะใช้เวลาศึกษาระบบอยู่พอสมควร ถ้าใครกังวลเรื่องนี้ ลองปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของเราได้นะครับ >> ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ >>  ฟรีแลนซ์มืออาชีพด้านการทำและออกแบบเว็บไซต์

3.SEO สำคัญมากในปัจจุบัน เพราะคนหาข้อมูลกันมากขึ้น

เราไม่สามารถทำ SEO ได้เลยถ้าหากเราไม่มีเว็บไซต์ เพราะ Google จะ ให้ rank การติดหน้าหนึ่งของ Google จาก content บนเว็บไซต์ของเรา รวมไปถึงการแสดงผลบนมือถืิอและความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์  

การมีเว็บไซต์จะเหมือนกับการมีหน้าร้านเพราะเราสามารถแสดงสินค้าและบริการของเราได้เพียงแต่การใช้เว็บไซต์จะ scale ได้ดีกว่าเพราะเราสามารถรองรับ Traffic ได้หลายร้อยหรือหลายพันคนภายในเวลาเดียวกัน

สรุป ถ้าจะขายของ ออนไลน์ Fastwork แนะนำว่าควรทำทั้งสองอย่าง ทั้งการสร้างเพจ เพื่อให้เข้าถึงคนบน Social เพื่อการโปรโมท และ การสร้างเว็บไซต์เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือพร้อมการใส่รายละเอัียดของสินค้า เพื่อ Support การทำ SEO

หากใครที่กำลังต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์สามารถติดต่อพูดคุยกับมืออาชีพของเราได้ที่ : https://fastwork.co/web-development

ขายของออนไลน์ที่ไหนดี? คุณกำลังมองหาลู่ทางขายของออนไลน์ฟรีอยู่ใช่ไหม? ถ้าใช่คุณมาถูกที่แล้ว! เพราะวันนี้เรามี 10 เว็บและแพลตฟอร์มฟรีที่จะช่วยให้คุณขายของออนไลน์ได้แบบฟรี ๆ และถ้าคุณโปรโมทเป็นล่ะก็ รับรองขายดีแน่นอน ส่วนจะมีเว็บหรือแพลตฟอร์มไหนบ้าง ไปดูกันได้เลย!

1. Zaapi

Zaapi คือแพลตฟอร์มน้องใหม่ที่มาพร้อมฟีเจอร์การขายทรงพลัง เหมาะกับการขายของออนไลน์ทุกรูปแบบ แค่เพียงดาวน์โหลดแอป Zaapi ก็สร้างร้านค้าออนไลน์ของคุณได้ในไม่กี่วินาที และข้อดีของ Zaapi ก็คือ เหมาะกับร้านค้าและสินค้าทุกประเภท ไม่ว่าคุณจะขายเสื้อผ้า เบเกอรี่ ร้านอาหาร หรือธุรกิจประเภทไหนก็สร้างหน้าร้านออนไลน์ได้ง่าย ๆ ในแอป Zaapi

นอกจากนี้ Zaapi ยังมีฟีเจอร์สำคัญอีกมากมายที่ช่วยให้การขายออนไลน์ของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น เช่น 

  • เปิดเว็บฟรี
  • ไม่จำกัดจำนวนสินค้า
  • สร้างส่วนลดหรือโปรโมชั่นได้
  • เก็บข้อมูลลูกค้าได้
  • เช็คยอดขายได้
  • ฯลฯ
ดาวน์โหลดแอป Zaapi ไว้เปิดร้านขายของออนไลน์ ฟรี!

2. Lazada

ถ้าจะพูดถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เรารู้จักกันดี เชื่อว่าใคร ๆ ก็ต้องยกให้ Lazada หรือ ลาซาด้า เพราะมาร์เก็ตเพลสอีคอมเมิร์ซแห่งนี้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ข้อดีคือเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าและขายได้ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น ตัวแพลตฟอร์มมีความน่าเชื่อถือสูง นอกจากนี้ Lazada ยังมีระบบการจัดส่ง การจัดเก็บสินค้าและการจ่ายเงินที่ปลอดภัยเป็นอย่างมาก แล้วก็ยังมีการจัดโปรโมชั่นอย่างสม่ำเสมอ

แต่ข้อเสียก็คือมีการแข่งขันสูง คือต้องแข่งกับทั้งร้านค้ารายย่อยและแบรนด์ดัง ๆ แถมยังต้องเสียเงินโปรโมทเพื่อให้สินค้าขึ้นบนหน้าค้นหาในตัวแพลตฟอร์มด้วย

3. Shopee

เมื่อพูดถึง Lazada แล้ว อีกหนึ่งเว็บขายออนไลน์ฟรีที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ Shopee เพราะนอกจากจะได้รับความนิยมจากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์แล้ว Shopee ยังเป็นที่นิยมสำหรับขาช้อปออนไลน์อีกด้วย และหากจะพูดถึงจุดเด่นของ Shopee ก็คล้ายกับ Lazada คือ มีระบบการโอนเงินที่ปลอดภัย มีการช่วยออกค่าส่งให้คนขาย และมีการจัดโปรเพื่อดึงดูดลูกค้าขาช้อปอยู่เรื่อย ๆ 

แต่หากจะพูดถึงข้อเสีย ก็คือ มีคู่แข่งเยอะ ต้องจ่ายเงินโปรโมทร้านหรือสินค้าเพื่อให้ขึ้นหน้าการค้นหาในเว็บและแอปช้อปปี้ และถ้าหากขายใน Shopee Mall ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมด้วย

4. KAIDEE

ในวงการขายของออนไลน์คงไม่มีใครไม่รู้จักเว็บ KAIDEE หรือ ขายดี เพราะเว็บนี้เป็นที่นิยมมากสำหรับการขายสินค้าทั่วไปและขายของมือสอง ข้อดีคือขายสินค้าได้ทุกประเภททั้งรถ บ้าน นาฬิกา และอื่น ๆ อีกมากมาย และนอกจากจะลงขายสินค้าได้ฟรีแล้ว ขั้นตอนการลงสินค้าก็ง่ายมาก ๆ แค่ล็อกอิน อัพรูปสินค้าและรายละเอียดก็ขายได้แล้ว เรียกว่าไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถทำเงินได้ทันที

และที่เจ๋งไปกว่านั้นคือ ผู้ขายสามารถทิ้งข้อมูลไว้เพื่อให้ลูกค้าติดต่อนอกรอบได้ด้วย แต่ข้อเสียก็คือต้องซื้อไข่เพื่อโปรโมทสินค้าที่ขายในแพลตฟอร์ม และส่วนใหญ่จะเป็นการลงขายของมือสองมากกว่า ดังนั้นหากคุณจะขายสินค้าทั่ว ๆ ไปหรือสินค้าแบรนด์คุณเอง แพลตฟอร์มนี้ก็อาจจะไม่เหมาะสักเท่าไหร่

5. PantipMarket

รู้หรือไม่ว่า Pantip ที่เราเอาไว้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันก็มีแพลตฟอร์มให้ขายของออนไลน์กันแบบฟรี ๆ ด้วย? และแพลตฟอร์มนั้นเรียกว่า PantipMarket มีทั้งเว็บไซต์และแอปให้ขายสินค้า วางขายได้ตั้งแต่อสังหาฯ, พระเครื่อง, รถยนต์, สัตว์เลี้ยง ฯลฯ ข้อดีคือหากไม่เก่งเรื่องลงขายสินค้า ทางตัวแพลตฟอร์มจะมีทีมงานช่วยจัดการให้และสามารถสมัครใช้งานได้ง่าย ๆ ด้วยบัญชี Facebook, Google และ Twitter

ทั้งนี้ข้อเสียก็คือ อาจจะไม่เหมาะกับคนที่อยากลงขายสินค้ามือหนึ่ง เพราะ PantipMarket เป็นพื้นที่สำหรับลงขายลงขายสินค้ามือสอง ถ้าหากอยากขายสินค้าใหม่ ก็อาจจะต้องพิจารณาเว็บขายของออนไลน์ฟรีอื่น ๆ ดู

6. WELOVESHOPPING

WELOVESHOPPING อีกหนึ่งเว็บไซต์ขายออนไลน์ฟรีที่เป็นที่นิมกันมาเป็นเวลานานระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ข้อดีคือ สามารถฝากขายสินค้าได้หลายประเภท ฝากขายได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ มีระบบ We Trust Guarantee ที่ช่วยการันตีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของร้านได้ เพราะลูกค้าสามารถเรตและให้คะแนนร้านที่ซื้อสินค้าด้วยได้

นอกจากนี้ยังสามารถเลือกขายได้ 2 แบบคือ แบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ข้อเสียคือค่อนข้างใช้เวลาในการอนุมัติ เพราะเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบข้อมูลของคนสมัครขายอย่างละเอียด แต่ก็ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน

7. TARAD

TARAD คือเว็บขายของออนไลน์ฟรีที่หลายคนชื่นชอบ ข้อดีคือเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้เจ้าของร้านและเจ้าของแบรนด์มีพื้นที่ขายสินค้า ทั้งยังมีคอร์สหลากหลายที่ช่วยให้พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่เข้าใจการขายออนไลน์มากขึ้นไม่ว่าคุณจะเริ่มจากศูนย์หรือเก่งแล้วก็ทำการตลาดให้ร้านค้าออนไลน์ของคุณเองได้ง่าย ๆ นอกจากนี้คุณยังเลือกเปิดหน้าร้านออนไลน์ได้แบบฟรี ๆ หรือจะเลือกเปิดแบบมีค่าใช้จ่ายก็ได้

หากจะพูดถึงข้อเสียของแพลตฟอร์มนี้ก็คงจะเป็นเรื่องของการแข่งขัน เพราะ TARAD.com เป็นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างใหญ่และเป็นที่นิยม คู่แข่งในการขายของคุณจึงเยอะตามไปด้วย

ถ้าเว็บขายของออนไลน์

Photo by Ketut Subiyanto from Pexels

8. MyShop

MyShop หรือ LINE MyShop เกิดจากแอพแชท LINE ที่เรานิยมใช้กัน โดย MyShop เป็นแอพมาร์เก็ตเพลสที่สมัครขายได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก แค่มี LINE OA หรือ LINE Official Account อยู่แล้วก็เปิดหน้าร้านออนไลน์ได้ฟรีใน LINE MyShop โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ค่าบริการรายเดือน หรือรายปี นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์หลังบ้านช่วยจัดการสต๊อกและฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นหากคุณเป็นมือใหม่ที่ไม่เคยขายของออนไลน์บนช่องทางไหนมาก่อนก็อาจจะต้องศึกษาข้อมูลในเรื่องของฟีเจอร์เยอะหน่อย

9. eBay

หากพูดถึงเว็บขายของออนไลน์ที่เริ่มจากเว็บประมูลสินค้าสู่การขายสินค้า เชื่อว่าทุกคนต้องนึกถึง eBay โดยเว็บนี้ช่วยให้คุณขายสินค้ามือหนึ่งและมือสองได้ฟรี ทั้งยังมีระบบหลังบ้านที่ช่วยให้ผู้ขายเช่นคุณรู้ทันเทรนด์และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าด้วย

อย่างไรก็ตามแม้คุณจะขายของออนไลน์ได้ฟรีบน eBay แต่ข้อเสียคือ คุณจะต้องผูกบัตรเครดิตกับบัญชีผู้ใช้งานของคุณในการสมัครเป็นผู้ขาย และหากมีผู้ซื้อสินค้าของคุณ ทางเว็บไซต์จะเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งถ้าจะพูดง่าย ๆ ก็คือ ลงสินค้าฟรี แต่ถ้าขายได้ก็จะเสียค่าธรรมเนียมให้กับแพลตฟอร์ม

10. Amazon

ในยุคนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Amazon แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติอเมริกันรายยักษ์ใหญ่ของโลก ข้อดีคือคุณสามารถขายได้ทั้งในไทยและอีกหลาย ๆ ประเทศ และคุณสามารถเลือกได้ด้วยว่าจะงดขายสินค้าในประเทศไหน อีกทั้งทางเว็บไซต์ยังมีระบบสต๊อกสินค้าและจัดส่งสินค้าให้ฟรี 

แต่ข้อเสียคือ คุณอาจจะต้องแข่งขันกับร้านค้าที่อยู่นอกเหนือจากไทยด้วย ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจตลาดและรู้จักลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณให้ดี ไม่อย่างนั้นก็จะพลาดโอกาสในการขายได้

สรุป

นอกจากเว็บไซต์ขายของออนไลน์ฟรีต่าง ๆ นี้แล้ว ถ้าจะให้ดีที่สุดสำหรับการขายของออนไลน์ในยุคนี้ คุณจำเป็นต้องมีตัวตนและขายในหลาย ๆ แพลตฟอร์มควบคู่ไปกับการมีร้านออนไลน์ของคุณเองเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการขาย ยิ่งมีตัวตนในหลายแพลตฟอร์มมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสในการขายมากเท่านั้น 

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องลงขายทุกแพลตฟอร์ม เพราะคุณต้องคำนึงถึงเวลาและโอกาสในแต่ละแพลตฟอร์ม โดยแพลตฟอร์มที่คุณจะโฟกัสจะต้องมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณอยู่ด้วยและคุณจะต้องมีเวลาอัพเดตสินค้าและคอยตอบแชทลูกค้า คุณจึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ เพราะหากลูกค้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้า แต่ไม่ได้ข้อมูลที่ต้องการ คุณก็จะเสียโอกาสในการขายไปโดยปริยาย

ดังนั้นเราจึงขอแนะนำว่าคุณควรมีร้านค้าออนไลน์เป็นของตัวเอง และเริ่มขายในเว็บไซต์ฟรีที่คุณต้องการโฟกัสสัก 2 - 3 แพลตฟอร์ม เพื่อจะได้ควบคุมและจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเองทั้งหมด แถมยังไม่ต้องใช้งบในการโปรโมทร้านค้าออนไลน์ของคุณมากเกินไป และไม่ต้องโดนจำกัดอยู่แค่แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มขายออนไลน์ได้เลย!