ถ้าในปัจจุบันประเทศไทยยังใช้ระบบศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศกปีพุทธศักราช 2560 จะตรงกับรัตนโกสินทร์ศกใด

ความสับสนของศักราช ไทยเคยใช้ทั้ง จ.ศ.- ร.ศ.ก่อนเป็น พ.ศ.!แต่ พ.ศ.ของไทยก็ไม่ตรงกับ พ.ศ.ของหลายชาติ!!

เผยแพร่: 19 ก.พ. 2564 09:11   ปรับปรุง: 19 ก.พ. 2564 09:11   โดย: โรม บุนนาค

ถ้าในปัจจุบันประเทศไทยยังใช้ระบบศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศกปีพุทธศักราช 2560 จะตรงกับรัตนโกสินทร์ศกใด

“ศักราช” ก็คือสิ่งที่กำหนดขึ้นหรือสมมุติขึ้นตามแต่ที่มา โดยนับเวลาเป็นปี เป็นภูมิปัญญาของมนุษย์เพื่อให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด และเกิดก่อนหลังกันนานแค่ไหน

ในสมัยกรุงสุโขทัย เราใช้มหาศักราช (ม.ศ.) ซึ่งเป็นศักราชที่กำหนดขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะ แห่งอินเดีย โดยเริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระองค์มีชัยต่อแว่นแคว้นโดยรอบใน พ.ศ.๖๒๒ เป็นมหาศักราชที่ ๑ มหาศักราชจึงมีขึ้นหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี และได้แพร่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิพร้อมกับอารยธรรมอินเดีย ใช้ในย่านนี้มาก่อนกรุงสุโขทัย ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกต่างๆ

ส่วนจุลศักราช (จ.ศ.) ตั้งขึ้นโดยสังฆราชบุตุโสระหัน แห่งพม่า หลังจากที่สึกออกมาชิงราชบัลลังก์ได้ใน พ.ศ.๑๑๘๒ จากนั้นได้แพร่เข้าในล้านนา เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ มีการติดต่อกับพม่าอย่างใกล้ชิดในฐานะประเทศราช จุลศักราชจึงถูกนำมาใช้ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี ๒๑๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้รัตนโกสินทร์ศกแทนจุลศักราช

รัตนโกสินศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๒ โดยยึดถือเอาปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ.๒๓๒๕ เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ ๑ และปีที่ประกาศใช้เป็นปี ร.ศ.๑๐๘ แต่ใช้อยู่ถึง ร.ศ.๑๓๑ แค่๒๔ ปีก็สิ้นสุด เปลี่ยนมาใช้ พ.ศ.ในต้นรัชกาลที่ ๖

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในเรื่องเปลี่ยนศักราชนี้ไว้ในจดหมายเหตุรายวันว่า

“...ศักราชรัตนโกสินทร์ ซึ่งใช้อยู่ในราชการเดี๋ยวนี้ มีข้อบกพร่องสำคัญอยู่ คือเป็นศักราชที่สั้นนัก จะกล่าวถึงเหตุการณ์ใดๆในอดีตภาคก็ขัดข้อง ด้วยว่าพอกล่าวถึงเรื่องราวก่อนสร้างกรุงขึ้นไปแล้ว ก็ต้องหันไปใช้จุลศักราชบ้าง มหาศักราชบ้าง และในข้างวัดใช้พุทธศักราช ฝ่ายคนไทยสมัยใหม่ที่อยากจะกล่าวถึงเหตุการณ์อันมีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ก็มักหันไปใช้คฤศตศักราช ซึ่งดูเป็นการเสียรัศมีอยู่ จึ่งเห็นว่าควรใช้พุทธศักราชจะเหมาะดีด้วยประการทั้งปวง เปนศักราชที่คนไทยเรารู้จักซึมทราบดีอยู่แล้ว ทั้งในประกาศใช้พุทธศักราชอยู่แล้ว และอีกประการ ๑ ในเวลานี้ก็มีแต่เมืองไทยเมืองเดียวที่มีพระเจ้าแผ่นดินถือพระพุทธศาสนา...”

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เริ่มใช้พุทธศักราชเป็นศักราชในราชการมาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖
พุทธศักราช เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยก็มีการใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่นิยมใช้ในทางศาสนาเท่านั้น แต่เมื่อมีการประกาศใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้แล้ว พ.ศ.ของไทยที่ใช้ในลาวและเขมรด้วย ก็ไม่ตรงกับ พ.ศ.ในแบบของลังกาที่นิยมใช้ในอินเดียและพม่า คือพุทธศักราชแบบไทย ลาว เขมร เริ่มนับพุทธศักราชในวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาครบ ๑ ปี เป็น พ.ศ. ๑ แต่แบบลังกา อินเดีย พม่า นับตั้งแต่พระพุทธเจ้านิพพานเป็นพุทธศักราช ๑ จึงเร็วกว่าไทย ๑ ปี อย่างในปีนี้ของเราเป็น พ.ศ.๒๕๖๔ แต่ของลังกา อินเดีย พม่า เป็น พ.ศ.๒๕๖๕ แล้ว

การเริ่มนับศักราช จะเริ่มนับจากจุดใดจุดหนึ่งที่เห็นว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญ อย่าง คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับในปีที่พระเยซูประสูติ ส่วนฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มนับในปีที่นบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลาม เริ่มอพยพชาวมุสลิมออกจากนครเมกกะใน พ.ศ.๑๑๖๕ ไปตั้งฐานใหม่ที่เมืองเมดินะห์ ซึ่งเป็นการอพยพครั้งสำคัญของศาสนาอิสลาม

ปัจจุบัน มีประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ใช้พุทธศักราชในราชการ โดยเปลี่ยนพุทธศักราชในวันแรกของเดือนมกราคม

ศรีลังกา ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราชในทางพุทธศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชา

เมียนม่า ใช้จุลศักราชเป็นปีราชกาล และใช้พุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชาเช่นกัน

กัมพูชา ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์
ส่วนลาว ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และพุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์
แต่อย่าลืมว่า ถ้าไปเจอคนลังกา อินเดีย หรือพม่า เขาบอกว่าเกิดใน พ.ศ.เดียวกับเรา ไม่ใช่เขาอายุเท่าเรานะ แต่แก่กว่าเรา ๑ ปี

ข้อสอบ สาระประวัติศาสตร์ เรื่องประวัติศาสตร์ จำนวน 55 ข้อ

ปีการศึกษา 2557 (พร้อมเฉลย)

1 ถ้าปัจจุบันประเทศไทยยังใช้ระบบศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ปีพุทธศักราช 2555 จะตรงกับรัตนโกสินทร์ศกใด

1 ร.ศ. 224

2 ร.ศ. 225

3 ร.ศ. 227

4 ร.ศ. 231

 2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใดที่บ่งบอกพัฒนาการอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยก่อนสมัยสุโขทัย

1 ตำนาน

2 ศิลาจารึก

3 พงศาวดาร

4 โบราณสถาน

 3 ข้อใดเป็นจุดเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์

1 การรู้จักใช้ไฟ

2 รู้จักตั้งถิ่นฐาน

3 รู้จักการเพาะปลูก

4 รู้จักบันทึกข้อความ

4 ผลการศึกษาทางประวัติศาสตร์ในอดีตอาจเปลี่ยนแปลงไปได้จากปัจจัยใด

1 การตั้งประเด็นคำถามของผู้ศึกษา และการค้นพบหลักฐานใหม่

2 การสังเคราะห์ผลการศึกษาเดิม และการนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบใหม่

3 การบูรณะแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และการตีความในมุมมองใหม่ของผู้ศึกษา

4 การขึ้นทะเบียนโบราณสถานเป็นมรดกโลก และการศึกษาแนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

 5 พระราชพงศาวดารสมัยอยุธยาฉบับใดที่นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่ามีข้อมูลถูกต้องที่สุด

1 ฉบับบริติชมิวเซียม

2 ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)

3 ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์

4 ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์

6 การใช้หลักฐานที่บันทึกโดยชาวต่างชาติในการศึกษาประวัติศาสตร์มีข้อจำกัดในเรื่องใด

1 การมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันของชนชาติต่างๆ

2 ความรู้ความเข้าใจลักษณะทางสังคมของผู้บันทึก

3 การบันทึกในลักษณะตำนานหรือนิทานของชาติตะวันตก

4 ความคิดเห็นที่น่าสนใจจากผู้บันทึกที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน

7 ข้อมูลใดเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน

1 ภาษา

2 กายวิภาค

3 กลุ่มเลือด

4 หลักฐานจีน

 8 แนวคิดที่ว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณหมู่เกาะแถบเส้นศูนย์สูตรของภูมิภาคขัดกับหลักการทางมานุษยวิทยาในข้อใด

1 การตั้งถิ่นฐานและการอพยพ

2 การรวมกลุ่มและการแบ่งชนชั้น

3 ความเป็นมาทางภาษาพูดและการประดิษฐ์ตัวอักษร

4 ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและการจัดการทรัพยากร

9 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

1 การมีแนวคิดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของคณะราษฎร

2 ความร่วมมือของราษฎรส่วนใหญ่ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง

3 การเรียกร้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญของพลเมือง

4 ความพร้อมของประชาชนที่มีในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

10 พระราชนิพนธ์ เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดใดเป็นหลัก

1 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

2 พระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน

3 พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์

4 พระพุทธศาสนาลัทธิสยามวงศ์

11 กฎหมายตราสามดวงเกิดจากการตรวจชำระและรวบรวมกฎหมายขึ้นใหม่ในรัชกาลใด

1 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

2 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

3 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

12 การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ยกเว้น ข้อใด

1 รูปแบบของรัฐ

2 ผู้บริหารประเทศ

3 ระบอบการปกครอง

4 เจ้าของอำนาจอธิปไตย

13 กิจกรรมในข้อใดเป็นการผสานภูมิปัญญาไทยกับสถานการณ์ปัจจุบัน

1 การประกวดนักออกแบบผ้าไทยร่วมสมัย

2 การจัดนิทรรศการภูมิปัญญาด้านการดำรงชีวิตของท้องถิ่น

3 การส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรค

4 การศึกษาค้นคว้าด้านนาฏศิลป์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์

 14 ความนิยมงานศิลปะปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑประดับหน้าบันโบสถ์วิหารในสมัยอยุธยาสะท้อนคติความเชื่อในเรื่องใด

1 ความเชื่อเรื่องภพ-ภูมิต่างๆ

2 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ

3 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอิทธิพลเหนือพระพุทธศาสนา

4 พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เหนือเมืองประเทศราชทั้งปวง

     15 “…ถ้าเราขาดสุโขทัยอยุธยา และกรุงเทพฯ แล้วประเทศไทยก็คงไม่มีความหมาย…” พระราชดำรัสดังกล่าวส่งเสริมแนวคิดในเรื่องใด

1 ความเป็นมาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ไทย

2 การมีจิตสำนึกรักชาติจากการศึกษาประวัติศาสตร์

3 ความสำคัญของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกับความเป็นชาติ

4การมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของรัฐไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

16 ศักราชแบบใดที่นิยมใช้กันแพร่หลายมากที่สุด

1 จุลศักราช

2 พุทธศักราช

3 คริสต์ศักราช

4 ฮิจเราะห์ศักราช

17 สมัยประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกเริ่มที่แหล่งอารยธรรมใด

1 อารยธรรมกรีก

2 อารยธรรมโรมัน

3 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

4 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส

18 เริ่มสมัยอาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893 ตรงกับการเกิดเหตุการณ์ใดในยุโรป

1 การสำรวจทางทะเล

2 การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

3 โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา

4 การสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันตะวันตก

 19 ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากวิธีการทางประวัติศาสตร์

1 ได้องค์ความรู้ใหม่ที่น่าเชื่อถือกว่าเดิม

2 ได้องค์ความรู้ใหม่ที่โดดเด่นไม่เหมือนคนอื่น

3 ประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์

4 ประเมินคุณค่าของข้อมูลเดิมว่าถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่

 20 เพราะเหตุใดนักประวัติศาสตร์มักตีความข้อมูลจากหลักฐานชิ้นเดียวกันแตกต่างกัน

1 มีความเชื่อต่างกัน

2 มีความสนใจต่างกัน

3 มีจุดประสงค์ที่ต่างกัน

4 มีความรู้ความสามารถต่างกัน

21 ข้อจำกัดสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์สากลคืออะไร

1 มีหลักฐานจำนวนมาก

2 หลักฐานอยู่ที่ต่างประเทศ

3 ขาดเพื่อนร่วมศึกษาด้วยกัน

4 ศึกษายากเพราะมีความรู้น้อย

22 เพราะเหตุใดจึงถือว่าประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบีเป็นมรดกทางอารยธรรมชิ้นสำคัญของโลก

1 เป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก

2 มีบทลงโทษที่รุนแรงซึ่งช่วยลดจำนวนผู้เป็นภัยต่อสังคม

3 เป็นเครื่องแสดงว่าอำนาจรัฐเข้มแข็งพอที่จะบังคับพลเมืองได้แล้ว

4 เป็นแบบอย่างของความพยายามที่จะให้เกิดความยุติธรรมในการปกครอง

 23 สาเหตุสำคัญที่ทำให้อารยธรรมอียิปต์พัฒนาอย่างมีเอกภาพคือข้อใด

1 มีการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว

2 ยึดถืออารยธรรมเดิมตามบรรพบุรุษ

3 ไม่มีชนชาติอื่นมาปะปนในอาณาจักร

4 มีสภาพภูมิศาสตร์ที่ป้องกันการรุกรานจากภายนอก

 24 สิ่งก่อสร้างของอารยธรรมโรมันให้ความสำคัญต่อเรื่องใด

1 ความสวยงาม

2 ประโยชน์ใช้สอย

3 ความเชื่อทางศาสนา

4 ใช้วัสดุที่ประหยัดค่าใช้จ่าย

 25 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในเรื่องใดส่งผลให้เกิดโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน

1 การสื่อสาร

2 การผลิตสินค้า

3 การคมนาคม

4 การบริโภคสินค้า

26 แม้ว่าความขัดแย้งจะก่อให้เกิดการสูญเสียมากมายแต่มีประโยชน์ในเรื่องใด

1 ช่วยลดประชากรโลก

2 กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิทยาการ

3 ทำลายอารยธรรมเก่าๆ ที่ล้าสมัย

4 เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

27 เหตุการณ์ 11 กันยายน เป็นตัวอย่างหนึ่งของการก่อการร้ายที่มีจุดประสงค์ใด

1 เรียกค่าคุ้มครองจากสหรัฐอเมริกา

2 ต่อต้านการใช้อำนาจของสหรัฐอเมริกา

3 ต้องการทำสงครามศาสนากับสหรัฐอเมริกา

4 ตอบโต้ที่สหรัฐอเมริกาปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย

 28 ข้อใดคือปัญหาความร่วมมือในอาเซียน

1 แข่งขันกันพัฒนา

2 นับถือศาสนาต่างกัน

3 เป็นศัตรูกันมาก่อน

4 มีระบอบการปกครองต่างกัน

29 ข้อใดคือวิธีแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่มีประสิทธิภาพที่สุด

1 ร่วมกันปลูกต้นไม้สร้างความร่มรื่น

2 ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างประหยัดและคุ้มค่า

3 ติดตั้งกระจกเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไป

4 เปิดเครื่องทำความเย็นเพื่อคลายความร้อนให้โลก

 30 ข้อใด ไม่ใช่ แนวโน้มของสถานการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21

1 เกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน

2 การก่อการร้ายจะมีมากขึ้น

3 ค่าครองชีพของมนุษย์จะสูงขึ้น

4 เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงบ่อยครั้งขึ้น

 31 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษรข้อใดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์น้อย

1 ศิลาจารึก

2 หนังสือราชการ

3 เอกสารส่วนบุคคล

4 ตำนาน

32 พระราชพงศาวดารสมัยอยุธยาฉบับใดที่นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่ามีข้อมูลถูกต้องที่สุด

1 ฉบับบริติชมิวเซียม

2 ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)

3 ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์

4 ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์

33 ธรรมจักรและกวางหมอบ เป็นโบราณวัตถุในยุคใด

1 ฟูนัน

2 ละโว้

3 ศรีวิชัย

4 ทวารวดี

 34 กุศโลบายทางการเมืองใดที่พระมหากษัตริย์สุโขทัยทรงใช้ในการดำเนินนโยบายเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักร

1 การควบคุมกำลังคนให้เป็นหมวดหมู่

2 การสร้างความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ

3 การสถาปนารูปแบบการปกครองตามระบบศักดินา

4 การส่งพระโอรสไปปกครองหัวเมืองประเทศราช

 35 ระบบใดสะท้อนให้เห็นว่ากำลังคนเป็นทรัพยากรสำคัญในดินแดนไทยสมัยโบราณ

1 ระบบไพร่

2 ระบบผูกขาด

3 ระบบอุปถัมภ์

4 ระบบศักดินา

 36 ภายหลังไทยทำสัญญาเบาริงกับอังกฤษในพ.ศ.2398 แล้วก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยอย่างไร

1 ไทยต้องการยกเลิกระบบผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้ากับสินค้าบางประเภท

2 มีการปรับปรุงภาษีสินค้าขาเข้าบางประเภทเป็นร้อยละ ๓

3 เงินตราได้เข้ามามีความสำคัญมากในทุกระดับของสังคมและทุกกิจกรรม

4 ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์และทรัพย์สินเงินตราเริ่มลดน้อยลง

 37 ข้อใดไม่ใได้เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

1 การปฏิรูปการศึกษา

2 การจัดตั้งกระทรวง

3 การปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย

4 การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 38 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองการปกครองที่มีแนวคิดที่จะให้ประชาชนชาวไทยรู้จักการปกครองตนเองมากที่สุดได้แก่เรื่องใด

1 การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

2 การจัดตั้งเสนาบดี กระทรวง กรม แบบชาติตะวันตก

3 การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล

4 การจัดตั้งสุขาภิบาล

 39 ประเทศไทยได้เผชิญปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรกในช่วงเวลาใด

1 หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑

2 หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒

3 หลังวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒

4 หลังการลงนามในสนธิสัญญานายกรัฐมนตรี

 40 ข้อใดเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงให้เห็นการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษย์ยุคหินใหม่ได้ชัดเจนที่สุด

1 ขวานหินขัด

2 เครื่องดนตรีสำริด

3 ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา

4 การใช้กระดุกสัตว์เขาสัตว์เป็นอาวุธ

   41 ถ้าต้องการวิจัยเรื่องเรือกับวิถีชีวิตชาวเล จะต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนใดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์

1 การตั้งประเด็นคำถามเรื่องราวที่อยากรู้

2 การค้นหาและรวบรวมหลักฐาน

3 การวิพากษ์และตีความหลักฐาน

4 การสรุปข้อเท็จจริง

42 ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของจดหมายเหตุ

1 เป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา

2 เป็นบันทึกจากการบอกเล่าต่อๆ กันมา

3 เป็นข้อมูลที่ปราศจากความคิดเห็นของผู้บันทึก

4 เป็นบันทึกที่มีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง

 43 การศึกษาประวัติศาสตร์แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุต้องศึกษาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ข้อใด

1 ศึกษาพระเวท

2 เมืองโบราณโมเฮนโจดาโและฮารัปปา

3 มหากาพย์รามายณะ และมหาภารตะ

4 เสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช

 44 ภูมิภาคใดได้รับอิทธิพลด้านการเมืองการปกครองจากอารยธรรมอินเดีย

1 เอเซียกลาง

2 เอเซียตะวันออก

3 เอเซียตะวันตกเฉียงใต้

4 เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

     45 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูศิลปวิทยา

1 การยกย่องความสามารถมนุษย์

2 การเน้นความเป็นปัจเจกชน

3 การรื้อฟื้นความเชื่อทางศาสนา

4 การคืนกลับมาของอารยธรรมกรีก

     46 สมัยสุโขทัยสามารถเทียบกับสมัยประวัติศาสตร์สากลในข้อใด

1 สมัยแห่งการค้นพบและสำรวจ

2 สมัยแห่งสงครามเพโลพอนนีเซียน

3 สมัยจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย

4 สมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินแห่งโรมัน

   47 ประวัติศาสตร์ตะวันตกร่วมสมัยเริ่มต้นเมื่อใด

1 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

2 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

3 ภายหลังสงครามเย็น

4 ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

 48 ไพร่ ในสังคมอยุธยามีฐานะใกล้เคียงกับบุคคลกลุ่มใดในปัจจุบัน

1 แรงงานรับจ้าง

2 สามัญชน

3 ทหารเกณฑ์

4 กระฏุมพี

49 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับต่างชาติเรื่องใดที่รัฐต้องตัดสินใจใช้วิธีการทางทหารในการแก้ปัญหา

1 กรณีหัวเมืองมลายูกับอังกฤษสมัยรัชกาลที่ 5

2 วิกฤตการณ์ ร.ศ 112 กับฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ 5

3 ญี่ปุ่นเคลื่อนกองทัพเข้าไทยช่วงสงครามโลกครังที่ 2

4 กรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหารในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

50 วัตถุประสงค์ทีแท้จริงของการก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ตรงกับข้อใด

1 เพื่อต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น

2 เพื่อแสดงออกถึงความรักชาติ

3 เพื่อแสดงตนเป็นฝ่ายพันธมิตร

4 เพื่อช่วยเหลือคนไทยในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

 51 บุคคลใดมีบทบาทสำคัญในการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาเบาริง

1 ดร.ฟรานซิส บี แซร์

2 ดร.แดน บีช บรัดเลย์

3 วิลเลี่ยม คลิปตัน คอด์ด

4 สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ

52 ภายหลังสนธิสัญญาเบาริ่งที่ไทยตกลงกับอังกฤษแล้ว ปรากฏว่าไทยมีรายได้แผ่นดินลดลงเป็นเพราะเหตุใด

1 จีนซึ่งเป็นตลาดการค้าสำคัญของไทยเกิดสงครามกับต่างชาติ

2 ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ ๓ ของราคาสินค้าเท่านั้น

3 ชาติตะวันตกส่งเรือมาค้าขายในจำนวนน้อยลงกว่าเดิม

4 การค้ากับต่างชาติตกอยู่ในกำมือของชาวจีนเป็นส่วนใหญ่

53 ข้อใดเป็นผลที่เกิดขึ้นที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริง พ.ศ.๒๓๙๘

1 ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และเรียกเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ ๓

2 ไทยถูกยกเลิกการค้าผูกขาดของพระคลังสินค้า

3 ไทยได้ชื่อว่ารักษาเอกราชของชาติไว้ได้จากการยอมเสียดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่

4 ไทยกลายเป็นประเทศผลิตสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายนอก เช่น ข้าว

54 หลังจากไทยทำสัญญาเบาริงได้ไม่นานก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโดยส่วนรวมข้อใดที่เห็นเด่นชัดที่สุด

1 มีการขยายพื้นที่การทำเป็นอย่างมาก และข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุดของไทย

2 เกิดการขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนคนจีนให้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในประเทศ

3 คนไทยทุกภาคจะทิ้งงานหัตถกรรมหันไปซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ

4 รายได้ของรัฐบาลลดลงอย่างมากเพราะถูกจำกัดด้วยภาษีร้อยชักสาม

55 ข้อความใดที่แสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะทางเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

1 การค้าขายกับประเทศจีน

2 การผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า

3 การค้าขายกับประเทศตะวันตก

4 การประมูลผูกขาดการเก็บภาษีอากร

อ้างอิง:https://jiab007.wordpress.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A1-6/

เหตุใดจึงมีการยกเลิกการใช้รัตนโกสินทร์ศกแล้วมาใช้พุทธศักราชแทน

วันนี้ เมื่อ ๑๐๙ ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงมีพระราชดำริให้ใช้ "พุทธศักราช" (พ.ศ.) เป็นศักราชประจำชาติ แทน "รัตนโกสินทร์ศก" (ร.ศ.) เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา และเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการประกาศเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๑ (พ. ...

เราทราบได้อย่างไรว่า พ.ศ. 2560 ตรงกับ ค.ศ. 2017

พุทธศักราช 2560 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2017 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น ปีระกา นพศก จุลศักราช 1379 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสากล

มหาศักราชที่1ตรงกับพ.ศ.อะไร

สำหรับมหาศักราชนี้มีที่มาจากพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะในประเทศอินเดีย ก่อนจะเผยแพร่มายังประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในศิลาจารึกยุคก่อนสุโขทัยและสมัยสุโขทัย มหาศักราชที่ 1 ตรงกับ พ.. 622.

ให้ใช้ “พุทธศักราช” ในราชการทั่วไป แทน “รัตนโกสินทร์ศก” เมื่อใด

WorkpointTODAY. วันนี้ในอดีต 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455. รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้ "พุทธศักราช" (พ.ศ.) เป็นศักราชประจำชาติ แทน "รัตนโกสินทร์ศก" (ร.ศ.)