รายงานตัวว่างงานครบแล้ว ทําไงต่อ

สำนักงานประกันสังคม เผย เมื่อว่างงานต้องทำยังไง รายงานตัวว่างงาน กี่วันได้เงิน 2565 มาเช็กสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมกัน

 

รายงานตัวว่างงาน กี่วันได้เงิน 2565

 

ประกันสังคมเงินจะโอนเข้าบัญชีภายใน 5-7 วันทำการ ไม่รวมเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติและรายงานตัว ซึ่งหมายความว่ากว่าจะได้เงินชดเชยว่างงาน นอกจากต้องรายงานตัวว่างงานตามใบนัดหลังจากขึ้นทะเบียน 1 เดือนแล้ว เราจะต้องรอนายจ้างแจ้งยื่นเรื่องลาออก และเจ้าหน้าที่ได้บันทึกข้อมูลลาออก เจ้าหน้าที่ถึงจะอนุมัติได้

 

ใครมีสิทธิได้เงินทดแทนเมื่อว่างงาน

 

ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน คือ บุคคลที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน กรณีว่างงานจากการลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา ได้รับเงินทดแทน 45% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน/ปีปฏิทิน

 

 

ถูกเลิกจ้างได้เงินเท่าไหร่ 

กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทน 70% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน/ปีปฏิทิน โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

 

วิธีรายงานตัวกรณีลาออก สิ้นสุดสัญญา และถูกเลิกจ้าง

  1. ลงทะเบียนขอใช้ Digital ID ผ่านระบบ https://e-service.doe.go.th เพื่อพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล
  2. เข้าระบบ (Log-in) โดยใช้ User/Password ที่ลงทะเบียน Digital ID และกรอกข้อมูลตามระบบให้ครบถ้วน พร้อมแนบไฟล์ภาพหน้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน (Book Bank)
  3. รายงานตัวตามกำหนด โดยคลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อเป็นการยืนยันการรายงานตัว
  4. หมายเหตุ: ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานในอัตราเดิม ดังนี้
    - ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา ได้รับ 30% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน/ปีปฏิทิน
    - เลิกจ้าง ได้รับ 50% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน/ปีปฏิทิน

 

วิธีรายงานตัว ว่างงานจากการระบาดของโรคติดต่อ และนายจ้างหยุดประกอบกิจการ

กรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยจากการระบาดของโรคติดต่อ ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างหยุดประกอบกิจการ เนื่องจากรัฐสั่งปิด และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563)

สำนักงานประกันสังคม แนะผู้ตกงานหรือว่างงานอย่าตกใจ ประกันสังคมพร้อมให้ความคุ้มครองให้ได้รับสิทธิกรณีว่างงานนาน 6 เดือน

วันที่ 22 พ.ค. 2562 นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน ว่า ผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน จะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน (1 ปี 3 เดือน) ก่อนการว่างงาน จึงจะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ทั้งการถูกเลิกจ้างหรือลาออก และยังได้รับความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน แต่ต้องไปขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ทั่วประเทศภายใน 30 วันหลังถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน

ผู้ประกันตนสามารถขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และรายงานตัวผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน โดยเพียงใช้เลขบัตรประชาชนในการเข้าสู่ระบบ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานและลดขั้นตอน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาขึ้นทะเบียนและรายงานตัว ณ สำนักงานจัดหางาน

รายงานตัวว่างงานครบแล้ว ทําไงต่อ

การขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านอินเตอร์เน็ต

สำหรับขั้นตอนการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ผู้ประกันตนสามารถลงทะเบียนสมาชิกในเว็บไซต์ http://empui.doe.go.th/auth/index โดยใช้ข้อมูลจากบัตรประชาชนพร้อมกรอกเลขหลังบัตรประชาชน โดยจะได้รหัสผ่านเพื่อใช้งานระบบฯ เมื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ประกันตนมายื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สปส. 2-01/7 พร้อมเอกสารประกอบการยื่นแบบคำขอ ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ส่งสำเนาแบบคำขอ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศที่สะดวก ทั้งนี้ ผู้ขอรับสิทธิต้องรายงานตัวผ่านระบบเดือนละ 1 ครั้ง

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า กรณีที่ผู้ประกันตนว่างงานเพราะถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนในระหว่างว่างงาน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ส่วนกรณีที่ผู้ประกันตนลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

รายงานตัวว่างงานครบแล้ว ทําไงต่อ

หากผู้ประกันตนประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคมต่อไป สามารถที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตน โดยสมัครใจตามมาตรา 39 โดยยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 ด้วยตนเองภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคมต่อไปรวม 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย,ทุพพลภาพ,ตายไม่เนื่องจากการทำงาน,คลอดบุตร,สงเคราะห์บุตร,ชราภาพ โดยผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท ซึ่งปัจจุบันสามารถส่งเงินสมทบได้หลายช่องทาง หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 12 แห่ง/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือโทร 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

ทำไมต้องรายงานตัวว่างงาน

รายงานตัวว่างงานช่วยให้ลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมีเงินเข้าบัญชีตัวเองจากเงินประกันสังคมที่ส่งสมทบไว้จากเงินสมทบทุกเดือน ว่างงานเป็นสภาวะที่ลูกจ้างไม่อยากเจอ แต่หากคุณเป็นลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ควรศึกษาวิธีการขึ้นทะเบียนว่างงานไว้ ดังนี้

รายงานตัวว่างงานทำยังไง

เข้าเว็ปกรมการจัดหางาน empui.doe.go.th. -สามารถรายงานตัวออนไลน์ก่อนวันนัด 7 วัน หรือหลังวันนัด 7 วัน -ต้องยื่นสำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่ประกันสังคมแล้ว

รายงานตัวว่างงานก่อนกําหนดได้กี่วัน

เป็นคำถามพื้น ๆ แต่หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างมากสำหรับคำถามที่ว่าต้องลาออกจากงานกี่วันถึงจะรายงานตัวว่างงานประกันสังคม หรือแจ้งว่างงานประกันสังคมได้ โดยในเงื่อนไขของการรายงานตัวว่างงานประกันสังคมได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเราสามารถไปรายงานตัวว่างงานหรือลงทะเบียนรายงานตัวว่างงานได้ในตั้งแต่วันแรกที่ออกจากงานภายในระยะเวลา ...

ลาออกจากงานรายงานตัวกี่ครั้ง

***โดยกรณีลาออก ต้องรายงานตัว 3 ครั้ง และกรณีเลิกจ้าง ต้องรายงานตัว 6 ครั้ง ** ***เงินจะเข้าบัญชีหลังจากรายงานตัวไม่เกิน 7 – 15 วัน ***