วิธีการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส

Synchronous คืออะไร
        การซิงโครโครไนซ์บิตและการซิงโครไนซ์บล็อก
        เมื่อสัญญาณข้อมูลถูกส่งผ่านไปตามสายส่งสัญาญาณ  เข้าสู่  DTE  ปลายทาง  สิ่งที่สำคัญก่อนอื่นก็คือ
อุปกรณ์ปลายทางจะต้องสามารถสัญญาณไบนารีหรือบิตซึ่งเป็นสัญญาณพื้นฐานที่สุดนี้ให้ได้อย่างถูกต้องตาม
จังหวะที่ส่งมา เสียก่อน  การที่อุปกรณ์ปลายทางสามารถรับส่งอุปกรณืไบนารีได้ถูกต้องตามจัหวะนี้เรียกว่า  การ
ซิงโครไนซ์บิต
       เมื่ออุปกรณ์ปลายทางสามารถรับส่งบิตต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องแล้ว  อุปกรณ์ปลายทางก็ยังจำเป็นต้องรู้ว่าสัญญาณที่รับมานั้น  สำหรับสหัสแต่ละตัวมีการเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ใหนเรียกว่าการซิงโครไนซ์บล็อก
       วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้มีการซิงโครไนซ์บิต และการซิงโครไนซ์บล็อกนั้น  ทำได้โดยการส่งสัญญาณไทมิ่งไปยังสายอีกเส้นหนึ่งขนานไปกับสายที่ส่งสัญญาณข้อมูล  แต่วิธีนี้จะไม่สามารถทำได้กรณีที่ติดต่อกัน  เป็นระยะไกล ๆ เพระค่าใช้จ่ายสูงมาก

Asynchronous คืออะไร
         โดยทั่วไป asynchronous (ออกเสียง ay-SIHN-kro-nuhs จากภาษากรีก asyn- หมายถึง ไม่ และ chronos, หมายถึง เวลา) เป็นคุณศัพท์อธิบายวัตถุหรือเหตุการณ์ที่ไม่มีพิกัดด้านเวลา ในเทคโนโลยีสารสนเทศ ศัพท์นี้มีการใช้หลายความหมาย
           1) ในสัญญาณการสื่อสารภายในเครือข่าย หรือระหว่างเครือข่าย สัญญาณ asynchronous เป็นหนึ่งที่ส่งผ่านตามอัตรานาฬิกาต่างจากอีกสัญญาณ (สัญญาณ plesiochronous เกือบทั้งหมด แต่ไม่ synchronization และวิธีนี้ได้รับการปรับปรุงตัว และสัญญาณ synchronous ทำงานในอัตรานาฬิกาเดียวกัน
           2) ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ปฏิบัติการ asynchronous หมายถึง กระบวนการปฏิบัติงานอย่างอิสระของอีกกระบวนการ ขณะที่ ปฏิบัติการ synchronous หมายถึง กระบวนการทำงานเฉพาะผลลัพธ์ของอีกกระบวนการที่เสร็จสิ้นหรือหยุดปฏิบัติการ กิจกรรมแบบแผนอาจจะใช้โปรโตคอล synchronous ที่จะส่งไฟล์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่ละการส่งผ่านได้รับ การตอบสนองได้รับการส่งออกชี้ถึงความสำเร็จหรือต้องส่งใหม่ แต่การส่งผ่านสำเร็จของข้อมูลต้องการตอบสนองไปยังการส่งผ่านก่อนหน้านี้ก่อน อีกเริ่มต้นอีกกระบวนการ

การทำงานของ Synchronous และ Asynchronous
การส่งแบบซิงโครนัสและการส่งแบบอะซิงโครนัส
           วิธีส่งข้อมูลในทางปฏิบัตินั้น  เมื่อแบ่งตามลักษณะการซิงโครไนซ์แล้วจะแบ่งได้เป็นการส่งแบบซิงโครนัส  และการส่งแบบอะซิงโครนัส  ซึ่งทั้งสองแบบนี้จะใช้วิธีแยกสัญญาณไทมิ่งจากสัญญาณข้อมูลที่รับมา
          การส่งแบบอะซิงโครนัสซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับระบบที่มีการส่งข้อมูลอัตราต่ำนั้น  DTE  ทางด้านส่งเมื่อต้องการส่งสัญญาณรหัสออกไป  ก็จะจัดสัญญาณนั้นให้อยู่ในรูปอนุกรมแล้วเติมบิตเริ่มต้น  ( start bit  )  ไว้ที่ด้านหน้า  และเติมบิตสิ้ดสุด  ( stop bit )  ไว้ที่ด้านหลัง  แล้วส่งออกไปตามจัหวะของสัญญาณนาริกาทางด้านส่ง  ส่วน  DTE  ทางปลายทางนั้น  เมื่อรับบิตเริ่มต้นได้ก็จะทำการรับสัญญาณข้อมูลที่ส่งตามมา  โดยใช้จังหวะของสัญญาณนาฬิกาของสถานีตัวเอง  และจะรับสัญญาณจนกว่าจะถึงบิตสิ้นสุดแล้วจึงหยุดรับ  ดังนั้นวิธีการนี้  DTE  ก็จะทำการซิงโครไนซ์บิตและซิงโครไนซ์บล็อกพร้อมกันไป  แต่วิธีนี้จะมีปัญหา  เกิดขึ้นได้ถ้าสัญญาณรหัสที่ส่งมามีความยาวมากขึ้น  เพราะนั้นหมายถึงจังหวะสัญญาณนาฬิการทางด้านส่งและด้านรับจะ
มีโอกาศเบี่ยง เบนกันไปได้มากขึ้น  เพราะฉะนั้นจึงมักจะใช้ส่งสัญญาณรหัสเป็นหน่วยสั้น ๆ

     

     การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส 

อะซิงโครนัส และไอโซโครนัส

      

       1. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (Synchronous Transmission) 

        เป็นการส่งกลุ่มข้อมูลแบบต่อเนื่องกันไป โดยบิตที่ทยอยส่งเข้ามาจะมีการรวมกันให้มี ขนาดใหญ่ขึ้น เรียกว่า เฟรม หรือบล็อกข้อมูล ซึ่งอาจมีจำนวนมากกว่า 1 พันบิต เมื่อข้อมูลส่งมาถึงปลายทาง ฝั่งรับจะทำหน้าที่นับจำนวนบิต และจับกลุ่มเป็นไบต์ ซึ่ง การส่งวิธีนี้จะไม่มีช่องว่าง และไม่มีบิตเริ่มและบิตจบ การไม่มีช่องว่าง บิตเริ่ม บิตจบ ทำให้ฝ่ายรับไม่สามารถทราบได้เลยว่าข้อมูลที่ส่งมา ครบหรือยัง ดังนั้น การควบคุมจังหวะเวลาให้สอดคล้องกันระหว่างอุปกรณ์จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ คือ ทั้งฝั่งส่งและฝั่งรับจะต้องทำงานสอดคล้องกันตามจังหวะสัญญาณนาฬิกา ฝั่งรับ จะได้รับสัญญาณนาฬิกามาจากฝั่งส่ง โดยฝั่งส่งสามารถส่งสัญญาณนาฬิกาได้ 2 วิธี วิธีแรกคือ ส่งสัญญาณนาฬิกาแยกออกมาจากการส่งข้อมูล (ใช้งานได้ดีเมื่อส่งข้อมูล ระยะใกล้) หรือวิธีที่สองคือ ส่งสัญญาณนาฬิการวมเข้ากับสัญญาณข้อมูล



วิธีการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส


     ป็นการส่งกลุ่มข้อมูลแบบต่อเนื่องกันไป

          - การรวมกลุ่มข้อมูลให้มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เฟรม” หรือ บล็อกข้อมูล

          - มีจำนวนมากกว่า 1000 บิต

          - ฝั่งรับมีหน้าที่นับจำนวนบิตแล้วแปลงเป็นจำนวนไบต์เอง

          - ไม่มีช่องว่าง ไม่มีบิตเริ่มต้น ไม่มีบิตจบ

          - การควบคุมจงัหวะจึงมีความสำคัญมาก


          ข้อดี

            - มีความเร็วสูง เพราะส่งอย่างต่อเนื่อง

            - เหมาะกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูง เช่น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น



       2. การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Transmission) 

        เป็นวิธีที่หลีกเลี่ยงปัญหาด้านเวลา ที่ฝั่งรับไม่ทราบเวลาที่แน่ชัดของข้อมูลที่ส่งมาจากฝั่ง ส่ง ฝั่งส่งและฝั่งรับไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันในการควบคุมจังหวะการรับส่งข้อมูล โดยเริ่มต้นที่ไม่มีการส่งข้อมูลใด จะอยู่ในสภาวะนิ่งเฉย (Idle State) และกำหนดให้ สัญญาณมีค่าเป็น 1 เมื่อมีการส่งข้อมูล ระดับสัญญาณจะถูกกำหนดให้มีค่าเป็น 0 ทำให้เกิดเป็นบิตขึ้นมา เรียกว่า บิตเริ่ม (Start Bit) เพื่อบอกให้ทราบว่า ต่อไปจะมีข้อมูลส่งมา เมื่อฝั่งส่งได้ส่งบิตข้อมูลจนครบแล้ว (5-8 บิต) ก็จะส่งข้อมูลอีกหนึ่งบิตที่มีระดับ สัญญาณมีค่าเป็น 1 เป็นตัวปิดท้าย เรียกว่า บิตจบ (Stop Bit) เพื่อบอกให้รู้ว่า ได้ส่ง ข้อมูลครบตามจำนวนไบต์แล้ว ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้สื่อสารด้วยวิธีนี้ คือ คีย์บอร์ด ซึ่งจะพบว่า แต่ละตัวอักษรที่พิมพ์ จะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และเมื่อไม่มีการพิมพ์ข้อมูลใดๆ ก็จะอยู่ในสภาวะ Idle 




วิธีการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส


ข้อดี

   - ความคล่องตัวสูง

   - ส่งข้อมูลโดยไม่ต้องรอจังหวะสัญญาณนาฬิกา

   - ต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง กับอุปกรณ์ความเร็วต่ำ

  ข้อเสีย

   - ต้องมีบิตมากมายพ่วงไปกับข้อมูล

   - ฝั่งรับต้องสูญเสียเวลาในการถอดบิต



       3. การส่งข้อมูลแบบไอโซโครนัส (Isochronous Transmission) 

        มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือคำว่า iso หมายถึง เท่ากัน และคำว่า chronous ที่หมายถึง เวลา เมื่อนำมารวมกันจึงหมายความว่า เวลาที่เท่ากัน สำหรับ คุณสมบัติสำคัญของการส่งข้อมูลแบบไอโซโครนัส คือ การส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูงใน อัตราคงที่ และรับประกันเวลาในการส่ง เนื่องจากการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น ระบบออดิโอและวิดีโอ จำเป็นต้องส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง ซึ่งการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (มีการหน่วงเวลาเกิดขึ้นจากช่องว่างระหว่าง เฟรม) และซิงโครนัสก็ยังไม่สามารถรองรับได้ จึงเกิดการส่งข้อมูลแบบไอโซโครนัสขึ้นมา เพื่อ ใช้งานเรียลไทม์ ที่รับประกันข้อมูลที่จะส่งมาถึงด้วยอัตราเร็วคงที่ โดยจะน าการส่งข้อมูลแบบไอโซโครนัสมาใช้เพื่อส่งผ่านข้อมูลบนบัส 1394 หรือ เรียกว่า ไฟร์ไวร์ (FireWire) การส่งผ่านข้อมูลของไอโซโครนัสจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของแพ็ก เก็ต โดยขนาดของแพ็กเก็ตจะส่งผ่านอยู่บนแชนเนลที่ให้ไว้ และสามารถแปรผันจากเฟรมไปยัง เฟรมได้ ส่วนขนาดของแพ็กเก็ตจะถูกจำกัดโดยแบนด์วิดธ์เท่าที่มีอยู่