วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต5ข้อ

ถามคำถาม

วิธีที่ดีที่สุดที่จะรู้ว่าบุตรของคุณทำอะไรในโลกออนไลน์บ้างคือการถาม ไม่ว่าคุณจะถามผู้ปกครองคนอื่นๆ เพื่อนที่มีความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต หรือบุตรของคุณเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของพวกเขา การถามคำถามที่ถูกต้องจะช่วยให้คุณเข้าใจว่าบุตรของคุณทำอะไรในโลกออนไลน์ เพื่อที่คุณจะได้มั่นใจว่าพวกเขามีการตัดสินใจออนไลน์ที่ถูกต้อง

คำถามสำหรับถามบุตรของคุณ

  • ดูเว็บไซต์อะไรบ้าง
  • ทำอะไรในเว็บไซต์เหล่านั้นบ้าง
  • ทำไมจึงไปที่เว็บไซต์นั้น
  • ใช้เวลากับเว็บไซต์นั้นนานเท่าใด
  • ต้องลงทะเบียนด้วยหรือไม่
  • เว็บไซต์ต้องการให้ระบุข้อมูลใดบ้าง
  • ให้ข้อมูลอะไรกับเว็บไซต์บ้าง

ข้อตกลงการใช้อินเทอร์เน็ตฉบับพิมพ์

คำแนะนำ 6 ข้อเกี่ยวกับความปลอดภัยฉบับพิมพ์

ใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ตกับบุตรของคุณ นี่เป็นวิธีที่ดีในการเรียนรู้ว่าบุตรของคุณมีปฏิสัมพันธ์แบบใดและกับใครเมื่อออนไลน์

พูดคุย

เมื่อคุณรู้ว่าบุตรของคุณใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรและพวกเขาเข้าถึงอะไรได้บ้าง คุณก็สามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติและกฎได้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่สามารถเข้าชมได้หรือสิ่งที่สามารถทำได้เมื่อออนไลน์ ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณจะต้องสื่อสารกฎนั้นกับบุตรของคุณอย่างชัดเจน

พูดคุยกับบุตรของคุณเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและสิ่งที่ควรทำในสถานการณ์ต่างๆ เป็นประจำ กระตุ้นให้บุตรของคุณถามคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ที่พวกเขาเผชิญ การเข้าใจถึงความเสี่ยงที่บุตรของคุณเผชิญอยู่ และการพูดคุยกับบุตรของคุณเกี่ยวกับความเสี่ยงเหล่านี้เป็นประจำ จะช่วยเสริมสร้างการตัดสินใจและความรับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของพวกเขา

กฎด้านความปลอดภัย

แม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะมอบโอกาสที่ยอดเยี่ยมในด้านความบันเทิง การศึกษา การเชื่อมต่อ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ใครก็ตามที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตควรมีความเข้าใจในความปลอดภัยออนไลน์ขั้นพื้นฐาน การสอนพื้นฐานเหล่านี้ให้กับบุตรของคุณถือเป็นเรื่องที่สำคัญ

  1. ไม่บอก ID บัญชีและรหัสผ่านเมื่อเพื่อนหรือคนแปลกหน้าถาม ไม่ว่าออนไลน์หรือออฟไลน์
  2. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น วันเกิด งานอดิเรก บ้านเกิด หรือโรงเรียนในชื่อผู้ใช้ของตน
  3. ไม่บอกข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตนเองหรือผู้อื่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น การส่งอีเมลหรือการแชท
  4. ไม่แชร์ภาพถ่ายของตนเอง ครอบครัว หรือบ้านกับผู้คนที่พบในโลกออนไลน์
  5. ไม่เปิดและลบอีเมลที่ส่งมาจากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จัก
  6. ไม่ตอบกลับหากได้รับข้อความออนไลน์ที่หยาบคายหรือเป็นการข่มขู่ ล็อกออฟและรายงานกิจกรรมให้ผู้ปกครองทราบ
  7. ไม่มีสิ่งใดที่เขียนลงในเว็บแล้วจะเป็นส่วนตัวอย่างแท้จริง ให้ใช้ความระมัดระวังกับสิ่งที่เขียนและบุคคลที่เขียนถึง
  8. อย่านัดพบกับ “เพื่อน” ออนไลน์ในความเป็นจริง
  9. เมื่อไม่แน่ใจ: ขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครองเสมอ หากไม่แน่ใจ ให้ล็อกออฟ

การกลั่นแกล้งผ่านอินเทอร์เน็ต

เช่นเดียวกับที่เด็กมีโอกาสพบกับการกลั่นแกล้งหรือพฤติกรรมก้าวร้าวจากนักเรียนคนอื่นๆ ในโรงเรียน พวกเขาก็อาจถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ได้เช่นกัน “นักเลงคีย์บอร์ด” เหล่านี้อาจส่งข้อความหรือรูปภาพที่มุ่งร้ายและโหดร้ายผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเช่นโทรศัพท์มือถือ เพื่อรังควาน ทำให้อับอาย ทำให้ขายหน้า และข่มขู่เป้าหมายของตน การกลั่นแกล้งในรูปแบบอื่นๆ อาจรวมถึงการแฮครหัสผ่าน การขโมยอัตลักษณ์ และการแบล็คเมล เด็กจำนวนมากมีโอกาสเท่ากันที่จะกลายเป็นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ แม้ว่าบางคนจะไม่เปิดเผยตัว นักเลงคีย์บอร์ดก็มักจะเป็นเด็กคนอื่นที่เด็กรู้จักจากโรงเรียน ค่าย กลุ่มชุมชน หรือละแวกบ้าน

เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพูดคุยกับเด็กอย่างเปิดอกเกี่ยวกับวิธีรับมือกับปัญหาการกลั่นแกล้งผ่านอินเทอร์เน็ต หากบุตรของคุณเผชิญกับการกลั่นแกล้งผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ให้จำไว้ว่าผู้ที่กลั่นแกล้งต้องการเห็นปฏิกิริยาตอบโต้จากเป้าหมายของตน เด็กควรหลีกเลี่ยงการยกระดับสถานการณ์ด้วยการไม่ตอบสนองต่อผู้ที่กลั่นแกล้ง ผู้ปกครองควรแจ้งเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นหากปัญหายังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้บันทึกข้อความทั้งหมด รวมถึงวันที่และเวลาด้วย

แหล่งข้อมูล

เด็กที่มีอายุแค่สองปีอาจปฏิสัมพันธ์กับอินเทอร์เน็ตได้ระหว่างที่นั่งอยู่บนตักของพ่อแม่ แต่เมื่อโตขึ้น พวกเขาอาจเริ่มท่องโลกออนไลน์ด้วยตัวเอง โดยอยู่ภายใต้การสนับสนุนและการชี้แนะเท่าที่คุณจะมอบให้พวกเขาได้ ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองว่าจะกำหนดมาตรการควบคุมใดบ้าง และจะผ่อนปรนลงเมื่อใดหากเด็กเติบโตขึ้นและสามารถตัดสินใจได้อย่างมีวุฒิภาวะแล้ว ต่อไปนี้เป็นแหล่งข้อมูลจำนวนหนึ่งที่คุณสามารถใช้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรได้

  • เว็บไซต์จำนวนมากมีคำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง อ่านดูเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจในแนวทางด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่บุตรของคุณเข้าชม
  • บางเว็บไซต์มีทางเลือกในการควบคุมโดยผู้ปกครอง ให้ใช้ประโยชน์จากการควบคุมโดยผู้ปกครองเพื่อกำหนดสิ่งที่บุตรของคุณสามารถเข้าถึงได้
  • เบราวเซอร์ส่วนใหญ่มีการตั้งค่าที่สามารถบล็อกเว็บไซต์หรือโดเมนทั้งหมดได้ ให้ใช้การควบคุมเหล่านี้เพื่อเลือกเว็บไซต์ที่เด็กสามารถหรือไม่สามารถเข้าชมได้ไว้ล่วงหน้า
  • ซอฟต์แวร์การวิจัยจำนวนหนึ่งสามารถสอดส่องการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กได้
  • ให้อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์ที่บุตรของคุณเข้าชมบ่อยๆ เพื่อให้ทราบว่ามีการเก็บข้อมูลประเภทใดเกี่ยวกับบุตรของคุณ และมีการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้อย่างไรบ้าง

ภัยจากอินเทอร์เน็ต

 

วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต5ข้อ

ภัยข้อแรก ภัยจากการแชท การแชท หมายถึง การพูดคุยกันทางอินเทอร์เน็ต เป็นภัยที่พบง่ายและบ่อยที่สุด บางครั้งเราอาจกำลังสนทนาอยู่กับคนที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากเราอยู่ก็ได้ ถ้าเราเผลอให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือนัดเจอคนที่รู้จักกันทางเน็ต เราอาจตกเป็นเหยื่อของคนเหล่านี้ได้ คนเหล่านี้เล่นแชท เพราะเป็นคนไม่ค่อยมีเพื่อน , มีปมด้อย , อยากหาแฟน , เพ้อฝันว่าอาจจะได้เจอสิ่งดีๆ ในเนต ,โรคจิต , แสวงหาผลประโยชน์จากคนที่ไม่รู้ , หาความรู้โดยไม่อยากเสียเงิน หรือเล่นไปงั้นๆ แหละ เพื่อนบอกให้ลอง

ภัยข้อที่ 2 ภัยจากการเล่นเกมส์ออนไลน์ เป็นเหมือนกับยาเสพติดดีๆ นี่เอง เพราะเมื่อเล่นแล้วทำให้ไม่อยากหยุดเล่น อยากทำคะแนนให้ได้เยอะๆ ได้ level ที่สูงขึ้น อยากอวด อยากเอาชนะคนอื่น ปัจจุบันเกมส์ออนไลน์มีมากมาย บางเกมส์ส่อไปในทางลามกอนาจาร มีการนำเสนอภาพที่รุนแรง บางเกมส์มีการขายของที่อยู่ในเกมส์ หลายคนเคยตกเป็นเหยื่อเพราะโดนหลอกซื้อของที่อยู่ในเกมส์ก็มี นักเรียนต้องรู้จักข่มใจตนเอง เลือกเล่นเฉพาะเกมที่สร้างสรรค์ กำหนดเวลาเล่นให้เป็น ไม่ใช่เล่นเอาเป็นเอาตาย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบั่นทอนทำให้เสียสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงเสียการเรียนด้วย

ภัยข้อสุดท้าย ภัยจากการท่องเวบ ภัยจากการท่องเว็บอันดับ 1 คือ การโฆษณาหลอกลวงขายสินค้า เช่น สั่งซื้อของจ่ายเงินแล้วแต่ไม่ได้ของก็มี 2. เว็บดาวน์โหลด ถ้าดาวน์โหลดสุ่มสี่สุ่มห้า อาจจะมีไวรัสแถมมาด้วย หรือบางเว็บแค่คลิกเข้าไปก็โดนไวรัสแล้ว 3. เว็บโป๊ อนาจาร 4. เว็บบอร์ด กระดานถามตอบ อาจมีการโพสต์ข้อความชวนเชื่อ โกหกบ้าง จริงบ้าง ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพเพื่อกลั่นแกล้งกันก็มี 4. ภัยจากอีเมล์ก็มีไวรัส หรือภาพโป๊ ฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ไร้สาระ ถ้ามีเมล์ที่เราไม่รู้จักเข้ามา ก็ควรลบทิ้ง

4 วิธีของเด็ก- 6 วิธีสำหรับผู้ใหญ่ ป้องกันอันตรายจากเน็ต

อินเตอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและอยู่ใกล้ชิดเยาวชนมากที่สุด ช่วยให้เยาวชนสามารถค้นคว้าหาความรู้และสาระได้อย่างเท่าเทียมกับอารยประเทศ แม้มีประโยชน์มากมายแต่ก็ยังมีอันตรายไม่น้อยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลายเป็นแหล่งก่อให้เกิดปัญหาการล่อลวงเด็ก และเกิดความเสียหายกับตัวเด็ก ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีข้อเสนอ 6 แนวทางสำหรับผู้ใหญ่ และ 4 แนวทางสำหรับเด็กในการป้องกันอันตรายจากอินเตอร์เน็ตที่มีกับเด็ก ลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี และสกัดกั้นความเสียหายต่ออนาคตของชาติ จากผู้ใช้ในเมืองไทย 4.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน

ส่วนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเตอร์เน็ตตามลำพัง
2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา
3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
4. แนะนำเด็กในการใช้อีเมล์ และให้ตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับการส่งอีเมล์ที่ส่งมาให้เด็กอยู่เสมอ
5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แชตรูม หรือห้องสนทนาเกี่ยวกับข้อมูลที่เด็กควรปกปิดไว้ ไม่ควรบอกให้คู่สนทนารู้ เช่น นามสกุล ที่อยู่
6. ควรวางคอมพิวเตอร์ที่เด็กใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัว

สำหรับเยาวชน มีข้อควรระวัง
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต
2. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันทีที่พบข้อมูลหรือรูปภาพใดๆ บนอินเตอร์เน็ตที่หยาบคายไม่เหมาะสม
3. ไม่ไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งของใดๆ ให้แก่ผู้อื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน

ข้อเสนอแนะว่าจะใช้ “ เน็ต ” อย่างไรให้ปลอดภัย

  1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่นชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน
    2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น
    3. ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้ จริงๆ
    4. ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ
    5. ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ
    6. ควรบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต เช่น ได้รับอีเมล์หยาบคาย
    หรือถูกนำรูปถ่ายไปตัดต่อสร้างความเสียหาย
    7. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์
    8. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับเว็บต่างๆ เพราะเราอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของ
    ผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองอยู่  
    9. ถ้าคนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำธุรกรรมผ่านทางเว็บ ให้คิดเสมอว่ารายได้ที่สูงเกินความจริง อาจตกอยู่
    กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย
    10. ไม่ควรเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง

ที่มา: http://www.sjt.ac.th/e_learning/internet.htm

ภัยจากอินเทอร์เน็ต

 

วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต5ข้อ

          อย่างไรก็ตามข้อยืนยันว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ต ยังตั้งอยู่ในฝั่งของสิ่งที่ดี เช่น ทางด้านการศึกษา ทางด้านการสื่อสาร ทางด้านการเผยแพร่ความรู้ ผลงาน และผลผลิต แต่เนื่องจากสังคมอินเทอร์เน็ต เป็นสังคมที่ไม่สามารถมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงมีทั้งคนดี และคนร้าย ดังนั้นการระวังป้องกันภัย ล่วงรู้ถึงภัยที่เคยมามาในอดีตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก

                ภัยทางอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. ภัยที่เกิดกับบุคคล

2. ภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ

               ภัยที่เกิดกับบุคคล

ภัยที่เกิดกับบุคคลมักเกิดจากการหลอกลวง การกลั่นแกล้ง โดยผลที่ได้รับอาจจะทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายเกิดความอาย เสียเงิน จนถึงขั้นเสียชีวิต ดั้งนั้นควรระมัดระวังในการใช้งาน

ตัวอย่างภัยที่เกิดกับบุคคล

1. การกลั่นแกล้งโดยผ่านทาง Webboard เช่น  นาย ก. มีความเกลียดชังนาย ข. จึงไปเขียนลงบน Webboard โดยกล่าวร้ายกับนาย ข. จึงทำให้นาย ข. เกิดความอับอาย

 2. การหลอกลวงผ่านทางโฆษณาขายสินค้าด้วยวิธีการประมูล โดยผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลต้องลงทะเบียนสมาชิกของเว็บไซต์ หลังจากนั้นผู้ซื้อจะต้องเสนอราคาซื้อแข่งขันกับผู้ซื้อรายอื่น เมื่อเสร็จสิ้นการประมูลถือว่ามีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประมูลและผู้เสนอขาย ในรายงานพบว่าเป็นการหลอกลวงมีหลายรูปแบบ เช่น ผู้ขายไม่ส่งมอบสินค้าเพราะไม่มีสินค้าอยู่จริง การปั่นราคาสินค้าสูงกว่าปกติ

3.การชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต มีทั้งฝ่ายผู้ซื้อหลอกลวงผู้ขาย และผู้ขายหลอกลวงผู้ซื้อ เช่น ผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าเมื่อมีการตัดบัตรเครดิต หรือการหลอกขายสินค้าแล้วขอเบอร์บัตรเครดิต และรหัสแล้วนำไปทำบัตรปลอมเพื่อซื้อสินค้าอีกต่อ

4. การล่อลวงไปกระทำมิดีมิร้ายกับผู้หญิง เช่นล่วงละเมิดทางเพศ ดังที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ ส่วนมากจะมาในรูปแบบของการใช้งานโปรแกรม Chartroom ต่างๆ

5. เด็กที่เข้าเว็บที่มีการเสนอในทางรุ่นแรงอาจทำให้เด็กมีนิสัยชอบความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ

1. การปล่อยโปรแกรม Virus มาทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับ Virus จะเกิดอาการใช้งานไม่ปกติ หรือบางอย่างอาจจะลบข้อมูลทั้งหมด

ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มีผู้เขียน เขียนขึ้นมาเพื่อขัดขวางการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำให้เสมือนว่าใช้งานกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้ จนกระทั่งทำลายแฟ้มข้อมูล หรือทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติไปจากเดิม ส่วนการติดไวรัสอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะทาง Internet นั่นแหละแหล่งรวมไวรัส

2. ใช้วิธีการเข้าควบคุมโมเ ด็มของบุคคลอื่น เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัส หลังจากที่เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วไวรัสกำหนดคำสั่งให้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตใหม่อีกครั้ง แต่คราวนี้จะเป็นการเชื่อมโยงไปยังคู่สายที่อยู่เมืองนอก ดังนั้นการเสียค่าโทรศัพท์จะต้องเสียในอัตราโทรต่างประเทศ

3. Trojan Horse เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมทั่วไป  เพื่อหลอกผู้ใช้ให้ทำการเรียกใช้งาน เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้ทันที

              จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจัน เพื่อที่จะล้วงความลับของระบบคอมพิวเตอร์บุคคลอื่น ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้น

                      การป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต

การป้องกันภัยที่เกิดกับบุคคล

1. ไม่ควรสนทนา (Chart) กับบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก หรือไว้ใจได้

2. ไม่ควรใส่ชื่อที่อยู่จริงกับเว็บที่ไม่น่าไว้ใจ

3. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์

4. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนกับเว็บต่างๆ เพราะท่านอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองท่านอยู่  

5. จงคิดไว้เสมอว่า ไม่มีใครยอมเสียผลประโยชน์ ถ้าไม่ได้อะไรตอบแทน

6. ทุกครั้งที่คนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำ ธุระกรรมผ่านทางเว็บจงคิดเสมอว่า รายได้ที่สูงเกินความจริงอาจตกอยู่กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย

7. การไปพบปะกับบุคคลที่ติดต่อผ่านทางเว็บไม่ควรไปอยู่ในที่ลับตา ควรอยู่ในที่รโหฐาน

8. ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้ลูกเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง

9. การตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับลูกควรอยู่ในสายตาของผู้ปกครอง เช่นห้องรับแขก ห้องพักผ่อน

10. เมื่อเห็นบุคคลที่อยู่ไกล้ตัวท่านมีลักษณะการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปควรรีบเสาะหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อป้องกับเหตุร้ายที่จะตามมา

                      การป้องกันภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ทุกครั้งที่นำซอฟแวร์ที่ไม่ทราบแหล่งที่ผลิต หรือได้รับแจกฟรี ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ ว่ามีไวรัสหรือไม่ โดยใช้โปรแกรมประเภท สแกนไว้รัส

2. ควรตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

3. เตรียมแผ่นที่สะอาดไว้สำหรับบูตเครื่องเมื่อคราวจำเป็น

4. ควรสำรองข้อมูลไว้เพื่อเกิดความเสียหายจะได้มีไฟล์สำรองทุกครั้ง  

5. พยายามสังเกตุสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์ หน้าจอแสดงผลแปลก ๆ ไดรฟ์มีเสียงผิดปกติ

6. ไม่นำแผ่นดิสก์ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ถ้ายังไม่ได้ปิดแถบป้องกันการบันทึก (Write Protect) หรือถ้าจำเป็นต้องเปิด ควรมีการ สแกนไว้รัสก่อนใช้งานทุกครั้ง

7. ควรแยกแผ่นโปรแกรม และแผ่นข้อมูลออกจากกันโดยเด็ดขาด

8. ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่างใกล้ชิด

9. ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ใช้ตรวจสอบและป้องกัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันไวรัสรุ่นใหม่ ๆ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีขึ้นมาก

10. เมื่อมีการติดตั้ง โปรแกรม ป้องกันไวรัสแล้วมิได้จบเพียงแคนั้น ควรจะมีการ Update ไวรัสบ่อยๆ เพราะทุกๆ วันจะมีการสร้างไวรัสใหม่เสมอ

11. หมั่นติดตามข่าวด้าน Information Security และข่าวไวรัสใหม่ๆ ตลอดจนหมั่น Update Patch ให้กับระบบที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ  

12. หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์และไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ ถ้าไม่รู้แหล่งที่มาของ อี-เมล์

ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/page03_2.htm

 

วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต5ข้อ

ภัยจากอินเตอร์เน็ต

วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต5ข้อ

            ข่าวแขกปากีสถานใช้ “แชตรูม” เป็นเครื่องมือล่อลวงครูสาว วัย 28 ปีจากจังหวัดอุบลราชธานี มาขืนใจและฆ่าหั่นศพทิ้งไว้ริมถนนหัวหมากตัดใหม่ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตอกย้ำให้เห็นถึงภัยอันตรายที่เกิดขึ้นใน “โลกออนไลน์” อีกครั้งหนึ่ง

               แต่ในวันนี้ “แชตรูม” ไม่ได้เป็นสื่ออินเตอร์เน็ตชนิดเดียวที่คนร้ายใช้ล่าเหยื่อ แต่ยังมีอีกหลายชนิด ทั้งโปรแกรมไอเอ็ม เกมออนไลน์ อีเมล์ หรือแม้แต่มือถือที่อยู่ใกล้ตัวเราทุกคน การใช้งานสื่อไฮเทคเหล่านี้ยิ่งต้องรู้เท่าทันและเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น!
-แชตรูม
การป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากกลุ่มคนร้าย-โรคจิตที่ใช้ “แชตรูม” เป็นเครื่องมือล่าเหยื่อ ประกอบด้วย
1. ห้ามบอกข้อมูลส่วนตัวให้คนที่กำลังแชตอยู่ด้วยรู้เป็นอันขาด เช่น ข้อมูลอีเมล์ ชื่อ โรงเรียน อายุ หมายเลขโทรศัพท์
2. สำหรับนักแชตที่ยังเป็นเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเข้ามามีบทบาทสอนวิธีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ถูกต้องปลอดภัยให้กับลูกๆ และตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องส่วนกลางที่มองเห็นง่าย

3. ห้ามออกไปพบกับคู่แชต 2 ต่อ 2 เด็ดขาด ในกรณีที่ยังเป็นเยาวชน ถ้าคบหากันเป็นเพื่อนโดยบริสุทธิ์ใจ คู่แชตต้องยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งพาพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดไปด้วยเวลานัดพบสังสรรค์
4. ผู้ปกครองควรเปิดกว้างรับฟังเรื่องราวที่ลูกๆ พบเจอในโลกอินเตอร์เน็ต และไม่ควรปิดกั้นไม่ให้ลูกเล่น เพราะจะยิ่งกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น
5. ถ้าเข้าไปเล่นในแชตรูมที่ไม่เป็นที่รู้จักในสังคม หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อผู้เล่น หรือ “แฮนเดิ้ล” เป็นชื่อผู้หญิงหรือชื่อที่ส่อไปทางกามารมณ์ เพราะจะตกเป็นเป้าหมายง่ายขึ้น
6. จำไว้ว่าคนที่อยู่ในแชตรูมจะโกหกอะไรก็ได้ โดยสิ่งที่คนร้ายมักโกหกมากที่สุดคือเรื่องของชื่อ อายุ เพศ เชื้อชาติ
7. เมื่อมีคนเข้ามาแชตด้วยถ้อยคำล่วงละเมิดทางเพศ หยาบคาย ให้ออกจากการสนทนาทันที คนร้ายกลุ่มนี้ต้องการยั่วให้ฝ่ายตรงข้ามตอบโต้จะได้ยื้อเวลาเปิดบทสนทนาต่อไป

-อีเมล์
              ที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล์ แอดเดรส) ไม่ใช่ของหายากอีกต่อไปสำหรับคนร้าย เพราะคนจำนวนมากทั่วโลกนิยมใส่อีเมล์ของตนเองไว้ในเว็บไซต์ส่วนตัว บล็อก เว็บไซต์หาเพื่อน เว็บโรงเรียน ฯลฯ
คนร้ายที่มีความสามารถเขียนโปรแกรมถึงกับจัดทำเว็บไซต์ปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกเอาอีเมล์ของเหยื่อ วิธีป้องกันตัวจากภัยอีเมล์ ได้แก่
1. บอกอีเมล์ แอดเดรส กับคนรู้จักและไว้ใจเท่านั้น อย่าบอกอีเมล์กับคนที่เพิ่งรู้จักกันออนไลน์
2. อย่าบอกอีเมล์ของเพื่อน หรือ คนใกล้ชิด ให้กับคนแปลกหน้ารู้
3. ถ้าได้รับอีเมล์ที่มีเนื้อหา-รูปภาพคุกคามสิทธิส่วนบุคคลอย่าลบอีเมล์ดังกล่าว ให้บันทึกข้อมูลเอาไว้เป็นหลักฐาน การเก็บข้อมูลมีหลายวิธี เช่น จัดเก็บใส่โฟลเดอร์ หรือ คัดลอกข้อความมาเก็บไว้ในรูปแบบของเวิร์ดไฟล์
4. ถ้าได้รับอีเมล์คุกคามไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม ให้บอกกับผู้ปกครอง ครู เพื่อน หรือครอบครัว และไปแจ้งความไว้ด้วย
5. ศึกษาวิธีใช้คำสั่ง “บล็อก-กรอง” อีเมล์ที่ไม่ต้องการรับ
6. ถ้าบล็อกแล้วแต่ยังได้รับอีเมล์ประหลาดๆ อีเมล์ขยะๆ ให้เลิกใช้ และเปิดอีเมล์ แอดเดรสใหม่
7. เปิดอีเมล์หลายๆ ชื่อ เพื่อแยกแยะการรับส่งออกเป็นหมวดหมู่ อาทิ อีเมล์ครอบครัว อีเมล์เพื่อน
8. ห้ามเปิดไฟล์แนบ (attachment) หรือคลิ๊กลิงก์ที่มากับอีเมล์ที่ไม่รู้จักเด็ดขาด เพื่อป้องกันไวรัส
9. อย่า “ฟอร์เวิร์ด” อีเมล์ที่น่าสงสัยไปให้คนอื่น

-ไอเอ็ม
“ไอเอ็ม” เป็นชื่อเรียกย่อๆ ของโปรแกรมสนทนาทางอินเตอร์เน็ต เช่น “แมสเซ็นเจอร์” ของเว็บไซต์เอ็มเอสเอ็นและยาฮู รวมถึงโปรแกรม “ไอซีคิว” โดยสมาชิกสามารถค้นหาผู้เล่นคนอื่นๆ ที่ใช้โปรแกรมเดียวกันจากทั่วโลกและเพิ่มรายชื่อเข้าไปในลิสต์เพื่อน ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องระวังตัวเช่นกัน
1. อย่ากรอกข้อมูลส่วนบุคคลที่แท้จริงลงไปเวลาสมัครสมาชิกและตั้งข้อมูลโปรไฟล์ส่วนตัว
2. ถ้ามีคนขอเพิ่มรายชื่อใหม่เพื่อเป็นเพื่อนคุยไอเอ็มด้วย ให้พิจารณาให้ดีก่อนรับเพิ่มรายชื่อ
3. เก็บข้อมูลการสนทนาทุกครั้งไว้ในคอมพิวเตอร์
4. ใช้ “นามแฝง” เวลาคุยเพื่อความปลอดภัย
5. เก็บรหัสลับกับชื่อยู่สเซอร์เนมการเข้าโปรแกรมไว้ในที่ปลอดภัย
6. เมื่อมีข้อความไอเอ็มหยาบคาย อนาจารส่งเข้ามาอย่าตอบกลับ
7. การนัดพบกันตัวต่อตัวเป็นอันตรายเสมอ ถ้าคิดว่ามั่นใจอยากจะพบให้นัดเจอในที่สาธารณะ ในตอนกลางวัน

-มือถือ
            โทรศัพท์มือถือยุคปัจจุบัน มีประสิทธิภาพพอๆ กับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ่ายรูปภาพและถ่ายวิดีโอ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การใช้งานและแจกจ่ายเบอร์ให้ใครพึงทำด้วยความระมัดระวัง
1. บอกหมายเลขมือถือแก่คนรู้จัก และคนสนิทที่ไว้ใจเท่านั้น
2. อย่าบอกเบอร์มือถือของเพื่อนให้กับผู้อื่น โดยที่เพื่อนยังไม่ได้อนุญาต
3. ถ้ามีข้อความเอสเอ็มเอสแปลกๆ ส่งเข้ามา อย่าพิมพ์ข้อความตอบกลับ
4. การเก็บบันทึกข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรเครดิต รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ เอาไว้ในมือถืออาจทำให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง ถ้ามือถือหายหรือต้องนำไปซ่อม

-เกมออนไลน์
              เกมคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้สามารถเล่นผ่านเว็บไซต์อินเตอร์เน็ตแบบฟรีๆ มากมายจนนับไม่ถ้วน เช่น หมากรุก หมากฮอท ไพ่ เกมต่อสู้ ฯลฯ ภายในเกมแต่ละเกมยังมีระบบพิมพ์ข้อความ หรือ พูดสนทนากันสดๆ ระหว่างเล่นไปได้ด้วย ส่งผลให้มีผู้เล่นจำนวนหนึ่งเมื่อพูดคุยกันถูกคอก็นัดแนะวันเวลาเล่นกันครั้งหน้าด้วยเหตุนี้เว็บไซต์เกมออนไลน์จึงเป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ซึ่งนักล่าเหยื่อออนไลน์เข้ามาสอดส่องเสาะแสวงหาเหยื่อ วิธีป้องกันตัวเบื้องต้นจากอาชญากรกลุ่มนี้ ได้แก่
1. ท่องให้ขึ้นใจว่าคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ไว้ใจได้ยาก ไม่ว่าจะเคยพูดคุยผ่านเว็บกันมานานเท่าไหร่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นเป็นคนดี
2. การนัดพบกันคนแปลกหน้าที่รู้จักกันทางเว็บมีอันตรายมาก ถ้าจำเป็นหรืออยากพบจริงๆ ต้องบอกให้พ่อแม่ผู้ปกครองทราบ หรือ ชวนเพื่อนไปด้วย
3. ไม่ควรเปิดเผยชื่อและข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ
4. คนร้ายอาจหลอกล่อขอข้อมูลส่วนบุคคลของเพื่อนเรา ฉะนั้นห้ามให้เด็ดขาดเช่นกัน
5. ให้สังเกตบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะมีปุ่มคำสั่ง “ไล่” (Kick) คนที่เข้ามาเล่นและมีพฤติกรรมไม่ดีออกจากเกม

ที่มา: http://nakhon019.blogspot.com/p/blog-page_4420.html

10 ภัย อินเตอร์เน็ต

 

วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต5ข้อ

1.ภัยมัลแวร์และเทคนิควิศวกรรมสังคม

จัดได้ว่าเป็นภัยอันดับหนึ่งของวันนี้ เนื่องจากปัญหามัลแวร์ ประกอบด้วยปัญหาไวรัส, วอร์มและสปายแวร์ ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันทั่วโลกจนกลายเป็นเรื่องที่คนไอทีหลายคนมองว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว 

ปัญหาใหญ่คือ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสรุ่นเก่าไม่สามารถตรวจพบสปายแวร์ได้ ทำให้ต้องใช้โปรแกรมประเภทแอนตี้สปายแวร์เพิ่มเติม ในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิต โปรแกรมแอนตี้ไวรัสได้พยายามรวมคุณสมบัติในการปราบไวรัส, วอร์ม และสปายแวร์เข้าด้วยกัน เรียกว่า converged desktop security เพื่อให้สามารถตรวจจับมัลแวร์ได้มากขึ้น วิธีการป้องกันมัลแวร์ที่ได้ผลควรใช้โปรแกรมตรวจจับมัลแวร์มากกว่า 1 โปรแกรม เรียกเทคนิคนี้ว่า “multiple anti-Malware technique”    

2. ภัยสแปมเมล์

เป็นภัยอันดับสองรองจากภัยมัลแวร์ เนื่องจากต้องติดต่อกันผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เมล์กันเป็นประจำ จนเรียกได้ว่ากลายเป็นเรื่องปกติเหมือนกับการใช้โทรศัพท์มือถือไปแล้ว ถ้าหากเราไม่มีเทคโนโลยีในการป้องกันสแปมเมล์ที่ดี เราอาจได้รับสแปมเมล์ถึงวันละ 50-100 ฉบับต่อวัน ซึ่งทำให้ต้องเสียเวลาในการกำจัดเมล์เหล่านั้น ตลอดจนสแปมเมล์ยังเป็นตัวการหลักในการพาโปรแกรมมัลแวร์ต่างๆ เข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอย่างง่ายดาย ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เมล์ ทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องก็คือ การติดตั้งระบบป้องกัน สแปมเมล์ที่บริเวณ E-mail gateway

           สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ไม่ควรเปิดเผย E-mail address ขององค์กรสู่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศในเว็บไซต์ขององค์กรเอง หรือประกาศตามเว็บบอร์ดทั่วไป ซึ่งอาจนำมาสู่การขโมยอีเมล์โดยใช้โปรแกรมประเภท E-mail harvester ทำงานโดยการ E-mail address จากเว็บไซต์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต

3. ภัยจากการใช้โปรแกรมประเภท IM และ P2P โปรแกรมประเภท IM หรือ instant messaging

            เช่น MSN เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างสูง หลายคนใช้ MSN แทนการคุยผ่านโทรศัพท์ แต่เปลี่ยนเป็นการ “chat” แทน ทำให้เกิดสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ขึ้น มีประโยชน์ช่วยให้หลายคนประหยัดค่าโทรศัพท์ได้ แต่ปัญหาของโปรแกรมประเภท IM ก็คือโปรแกรมมัลแวร์หรือไวรัสต่างๆ นิยมใช้โปรแกรม IM เป็นช่องทางในการกระจายไฟล์มัลแวร์โดยผ่านทางการดาวน์โหลดโดยใช้โปรแกรม IM

4. ภัยกับดักหลอกลวงผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เมล์ และการโจมตีผู้เล่นเกมออนไลน์

เป็นปัญหาการหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ตโดยวิธีการใหม่ของแฮกเกอร์ ที่เรียกว่า phishing กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มแฮกเกอร์ที่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางด้านการเงิน เช่น ขโมยเงินจากการใช้งานธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ลักษณะ การโจมตีแบบ phishing คือการแกล้งส่งอิเล็กทรอนิกส์เมล์มาหลอกผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หรือการซื้อสินค้าจากอินเทอร์เน็ต เช่น Amazon, eBay และ PAYPAL ก็ล้วนเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้ไม่หวังดีทั้งสิ้น 
5. ภัยการโจมตีระบบด้วยวิธี DoS หรือ DDoS
 

เป็นการโจมตีเว็บไซต์หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายขององค์กรให้เกิดความเสียหายจนไม่สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ เป็นวัตถุประสงค์ของแฮกเกอร์ที่ต้องการ “ล่ม” เว็บไซต์ หรือ “ล่ม” ระบบของเป้าหมาย ทำให้เกิดปัญหากับลูกค้าขององค์กรในกรณีที่องค์กรเน้นการให้บริการลูกค้าออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต 
6. ภัยการโจมตี web server และ web application

เป็นการโจมตีเว็บไซต์โดยโจมตีผ่านทางช่องโหว่ของ web server หรือ web application ที่เขียนโปรแกรมโดยไม่มี “security awareness” ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้ามาแก้ไขข้อมูลในเว็บไซต์ เช่น เปลี่ยนหน้า web page ที่เรานิยมเรียกว่า “web defacement” หรือการเข้ามาแอบขโมยไฟล์ข้อมูลที่สำคัญๆ ในเว็บไซต์เพื่อนำไปทำประโยชน์ในทางมิชอบ โดยการโจมตี web server และ web application ดังกล่าวสามารถทำได้ทั้งหมด 10 วิธีตามคำแนะนำของ OWASP (open web application security project) top 10 web hacking
7. ภัยเครือข่ายหุ่นยนต์  การโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังออนไลน์กับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

เช่น cable modem หรือ ADSL โดยไม่ได้มีการป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยเพียงพอ ทำให้แฮกเกอร์สามารถยึดเครื่องเหล่านั้นเป็นสมบัติส่วนตัวของแฮกเกอร์ โดยเครื่องที่ถูกยึดเรียกว่า “BOT” หรือ “zombie” เมื่อแฮกเกอร์สามารถยึดเครื่องได้หลายๆ เครื่องพร้อมกันเลยเรียกว่า “BOTNET” หรือ “RoBOT network” ซึ่งแฮกเกอร์สามารถควบคุมได้จากหลายร้อยเครื่องไปจนถึงเป็นหลักแสนเครื่อง เพื่อให้เหล่าสแปมเมอร์เช่าใช้ในการส่งสแปมเมล์หรือส่งโปรแกรมโฆษณา (adward) ในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางสแปมเมล์
8.  ภัยแฝงแอบซ่อนเร้น ปัญหาภัย BOTNET

ดูเหมือนจะมีความเชื่อมโยงกับปัญหาภัย ROOTKITS เพราะหลังจากแฮกเกอร์ได้ยึดเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายแล้ว แฮกเกอร์มักจะติดตั้งโปรแกรมพิเศษที่เรียกว่า “ROOTKITS” ลงในเครื่องดังกล่าว เพื่อให้แฮกเกอร์สามารถเข้ามาใช้เครื่องนั้นได้อีกครั้งหนึ่ง ตลอดจนติดตั้งโปรแกรมพรางตาผู้ใช้คอมพิวเตอร์ให้รู้สึกว่าเครื่องยังเป็นเครื่องของตนเองอยู่ โดยไม่สามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพราะโปรแกรม ROOTKITS จะแอบซ่อนโปรแกรมต่างๆ ของแฮกเกอร์เอาไว้

9. ภัยการโจมตีระบบไร้สาย

ปัจจุบันระบบไร้สายเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการใช้งานระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือเทคโนโลยีเครือข่าย LAN ไร้สาย (wireless LAN) ซึ่งกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของแฮกเกอร์ โดยมุ่งการโจมตีโทรศัพท์มือถือไปที่ช่องโหว่ bluetooth บนระบบ symbian หรือ Windows mobile ในโทรศัพท์มือถือ และการโจมตีเครือข่าย LAN ไร้สายด้วยวิธี war driving และ war chalking ที่นิยมเจาะระบบ Wi-Fi ในเมืองหลวงใหญ่ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในย่านธุรกิจ แล้วสร้างแผนที่ Wi-Fi map ไว้ให้แฮกเกอร์ด้วยกันเข้ามาโจมตีระบบต่อ (เรียกว่าทำงานเป็นทีม) 
10. ภัยการโจมตีโดยใช้ Google
 

เป็นภัยที่เกิดจากการประยุกต์ใช้งาน Google search engine ในแบบแฮกเกอร์ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของผู้สร้าง Google ที่ต้องการให้ทุกคนใช้งาน Google ให้เกิดประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ทำให้โลกไร้พรมแดน โดยทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันทั่วโลก

แต่ด้วยความสามารถพิเศษของโปรแกรมค้นหาข้อมูลของ Google ทำให้ข้อมูลบางอย่างที่ต่อเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตโดยเก็บข้อมูลไว้ใน web server องค์กรอาจถูกโปรแกรมค้นหาข้อมูลอันชาญฉลาดของ Google เข้ามาตรวจพบเจอ แล้วนำไปแสดงเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของ Google เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้โดยทาง Google เองก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของ website เหล่านั้น

ทั้งนี้ 10 ภัยที่กำลังมาแรงตามยุคสมัยที่โลกไร้พรมแดน ถึงแม้ว่าจะค่อนข้างน่ากลัวและมีผลกระทบต่อภัยชีวิตประจำวันของเรา แต่เราก็สามารถป้องกันได้ ถ้าเรามีความเข้าใจภัยดังกล่าวอย่างเพียงพอ การฝึกอบรมให้ความเข้าใจกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ตลอดจนผู้บริหารระดับสูง ที่เรียกว่า “information security awareness training” จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกองค์กรต้องนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตในองค์กรมีความปลอดภัยมากขึ้น

ที่มา: http://www.clipmass.com/story/2892

 

วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต5ข้อ
วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต5ข้อ

วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต5ข้อ
วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต5ข้อ

ข้อใดเป็นวิธีป้องกันอันตรายจากการใช้อินเทอร์เน็ต

1. ตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่ใช้งานปลอดภัยหรือยัง 2. การแชร์ไฟล์และการรับ-ส่งไฟล์ต่างๆ 3. การสํารองข้อมูล ๔. ติดตามข่าวสารต่างๆ 4. เช็คที่มาที่ไปของไฟล์ที่จะดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต และควรทําการแสกนไวรัส ทุกครั้ง 5. หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งที่มาที่ไม่ใช่เว็บไซต์ที่เราไม่รู้จัก

อันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นการสื่อสารที่อิสระ บุคคลทั่วไปสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ถึงแม้จะมีกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ก็เป็นเพียงการลงโทษ ผู้ใช้งานจึงควรเข้าใจถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการโดนโจรกรรมข้อมูล การโจมตีจากไวรัสแฮกเกอร์ และจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มัลแวร์ การถูกหลอกลวง โจมตี ...

ข้อควรระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

ข้อควรระวังในการใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ไม่ควรบอกข้อมูลส่วนตัว แก่คนไม่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นชื่อที่อยู่ เบอร์โทร เลขบัญชี หรือแม้แต่โรงเรียน เพื่อป้องกันอันตรายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน แจ้งผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่ทันทีกรณีที่เจอรูปภาพ คลิปวิดีโอ ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

นักเรียนมีวิธีการป้องกันการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ได้อย่างไร

จัดการความปลอดภัยผ่านระบบออนไลน์.
หมั่น Back Up ข้อมูล ... .
ป้องกันระบบการเชื่อมต่อกับสัญญาณ Wifi. ... .
ติดตั้งระบบจัดการตรวจสอบไวรัส ... .
เปลี่ยนพาสเวิร์ตเป็นประจำ ... .
ระวังการใช้อีเมล์ ... .
คอยระวังสอดส่องดูไวรัส ... .
อย่าเปิดเผยข้อมูลบนโซเชียลมีเดียมากเกินไป ... .
เก็บสำเนาเอกสารสำคัญ.