การเข้าพบลูกค้าต้องเตรียมตัวอย่างไร

ว่าเขา ทำธุรกิจ เกี่ยวกับอะไร ตั้งอยู่แถวไหน เจ้าของธุรกิจ เป็นใคร มีลูกค้าเก่าของเรา ที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกับเขา หรือไม่ จะได้ยกตัวอย่าง ให้ลูกค้าดูว่า ” บริษัท…. ที่ทำธุรกิจ คล้ายๆกับของ คุณท่าน ยังใช้สินค้าของเราเลย เป็นลูกค้าเก่าแก่ด้วย ซื้อกันมาเป็น …..ปีแล้วครับ ” และหากมีข่าวสาร ที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินธุรกิจของเขา จะได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเอาไว้ พูดคุย แลกเปลี่ยนกัน ลูกค้าจะได้ประโยชน์จาก พนักงานขาย บ้าง ไม่ใช่จะเอาแต่ เสนอขายสินค้า อย่างเดียว และ ลูกค้า จะได้เห็นว่า เราสนใจ ในการทำธุรกิจของเขาอย่างจริงจัง และ อยากเชิญ ให้เขามาเป็น ลูกค้าของเรา และ ในส่วนของ ธุรกิจของเขา ปัจจุบันไปได้ดี หรือ ไม่ เพราะเป็นข้อมูล ในการนำเสนอ การพิจารณาเครดิตด้วย

  • ความสำคัญของ ผู้ที่เราจะเข้าพบ เป็นใคร มีตำแหน่งอะไร

เขาอาจไม่ใช่ เจ้าของกิจการ อาจเป็นมือขวาของเจ้าของ หรือเป็น ผู้จัดการหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ซึ่งเขาต้องเป็นคนชงเรื่องต่อ เพื่อนำเสนอให้ เจ้าของบริษัท หรือ ปล่าว เช่นนั้นแล้ว การนำเสนอสินค้าที่ดี ควรจัดทำเอกสารประกอบการขายให้ดี มีรูปประกอบชัดเจน มีจุดเด่น ที่แตกต่าง จากสินค้ายี่ห้ออื่น จัดเรียงลำดับการนำเสนอ ให้อ่านง่าย เริ่มตั้งแต่เรื่อง บริษัท รายละเอียดสินค้า และ การบริการหลังการขาย ทำเอกสารให้ละเอียด เพราะ คนที่เราเข้าพบคนนี้ อาจต้องเข้าไปนำเสนอต่อ ให้กับ เจ้าของกิจการ หรือ คณะกรรมการ จัดซื้อของ บริษัท อีกทีหนึ่ง ถ้าเราเตรียมเอกสารให้เขาดี อ่านง่าย เขาก็จะยินดี ที่จะสรุปนำเสนอ สินค้า แทนเราได้ เพราะเขาเข้าใจ ในเบื้องต้นมาแล้ว โอกาสที่เราจะได้งาน ก็จะมีสูงขึ้นด้วย

  • เดิมเขาเคยซื้อ หรือ ใช้สินค้านี้ ของ บริษัทอะไร ใช้มากแค่ไหน

อาจสอบถามข้อมูลนี้จาก พนักงานแผนกจัดซื้อ ตั้งแต่ครั้งแรก ที่เข้าไปติดต่อ ขอเสนอขายแล้ว ว่าเขาเคยซื้อ หรือ เคยใช้สินค้านี้ ของบริษัทอะไร และ ใช้มากแค่ไหน เพื่อให้ทราบข้อมูลรายละเอียด ต่างๆเกี่ยวกับ ทางบริษัท ลูกค้า เบื้องต้น และ ขอให้เขาช่วยนัด วัน ที่เราจะเข้ามา นำเสนอขาย ในรายละเอียด ที่เป็นทางการ อีกครั้ง กับ ทางผู้บริหาร เอกสารนำเสนอขาย เบื้องต้นที่เตรียมมา ก็มอบให้ พนักงานแผนกจัดซื้อ ไปเลย เพื่อให้เข้าได้รับทราบ รายละเอียดล่วงหน้า เผื่อมีข้อสงสัย ในวันที่นำเสนอขายกับ ทางผู้บริหาร ลูกค้า จะได้รวบรวมคำถาม เพื่อสอบถามในวันนั้น

  • เงื่อนไขอะไรที่ดีที่สุด ที่คุณสามารถเสนอให้เขาได้

เตรียมขอส่วนลดพิเศษจาก ผู้จัดการฝ่ายขาย ของเรามาเลย ว่าสามารถลดได้สูงสุดเท่าไร หากต้องการส่วนลด ที่มากกว่าที่บริษัทกำหนดไว้ ต้องมีข้อมูลของ คู่แข่ง ชัดเจน ว่าราคาขาย หรือ ส่วนลด ที่คู่แข่งให้กับลูกค้า ของเรามากกว่า ถ้าเราไม่ปรับใหม่ ให้ใกล้เคียงกัน ลูกค้า อาจไปซื้อกับ คู่แข่ง ได้ ถ้าเราสร้างความสัมพันธ์ได้ดีกับ ลูกค้า และ ลูกค้า ต้องการซื้อกับเรา เพราะถูกใจคนขาย ขอแอบถ่ายรูป ใบเสนอราคา เฉพาะส่วนที่ ให้เห็นว่าราคาขาย และ ส่วนลด ที่คู่แข่งเสนอมาเป็นเท่าไร ไม่ต้องให้เห็นชื่อที่อยู่ลูกค้าก็ได้ อันนั้นเรายืนยันเองได้ว่าเห็นมาแล้ว เป็นใบเสนอราคามาจากคู่แข่งจริง และ ถ่ายไม่ต้องให้เห็นเลขที่ใบเสนอราคา มาเป็นหลักฐาน ขออนุมัติส่วนลดเพิ่มพิเศษได้ เพื่อให้เราปิดการขายได้ 100% แน่นอน ถ้าลดไม่ได้อีกแล้ว อาจเตรียมให้เป็นของ แถมพิเศษ ให้แทน

  • เราได้ทราบข้อมูล ส่วนตัว, ความสนใจ หรือ ทัศนคติของลูกค้า มาบ้าง หรือไม่

อาจถามข้อมูลจาก พนักงาน ในครั้งที่ติดต่อ ตอนแรก หรือ ค้นหาข้อมูล จากทางอินเทอร์เน็ท เพื่อให้ทราบล่วงหน้าก่อนว่า เขาเป็นอย่างไร เช่น ค้นหาข้อมูล ชื่อ นามสกุล เขาแล้ว เขาเคย แข่งเทนนิส ชนะได้รางวัลมา เก็บข้อมูลนี้ ไว้เวลาพูดคุย สร้างความสัมพันธ์ จะได้มีประโยค ที่พูดคุย และ ชื่นชมเขาว่า เขาเคยไปเรียนเทนนิสที่ไหน หรือ ตีอยู่คอร์ทไหน ไปทุกสัปดาห์ หรือ ปล่าว ลงแข่งบ่อยมั้ย ฯลฯ เป็นการคุยเรื่องที่เขาชอบ และ ชื่นชม ในความสำเร็จ

  • เวลาที่เหมาะสม ในการเข้าพบ

เป็นเวลาที่ทาง ลูกค้า แจ้งว่า สะดวกในการให้เข้าพบ แต่ถ้าให้ทางเราแจ้ง เวลา 10.00 น. น่าจะเป็นเวลาที่ดี เพราะช่วงเช้า จะมีการทำงาน ที่กระตือรือร้นกว่าช่วงบ่าย

  • ขั้นตอน การนำเสนอขาย และ การสาธิตสินค้า สำหรับลูกค้ารายนี้ 

หากสามารถ ร่างขั้นตอน การนำเสนอขาย ไว้ก่อน ว่าเราจะทำ ขั้นตอนไหนก่อนหลัง จะพูด เรื่องใดบ้าง เพื่อให้การนำเสนอขาย และ การสาธิตสินค้า ครบสมบูรณ์แบบที่สุด ก็จะทำให้มีโอกาส ในการนำเสนอขาย สำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้น

  • เราต้องการ ความสำเร็จอะไร ในการเข้าพบ ลูกค้า ครั้งนี้

ถ้าเราต้องการ สร้างความพึงพอใจ ในการสาธิตสินค้า เพื่อให้ลูกค้า ประทับใจ และ พอใจมากที่สุด ก็ต้อง เตรียมการล่วงหน้าให้ดี มีเทคนิคอะไร ที่จะสร้างความประทับใจ ก็นำออกมาใช้ทั้งหมด เพื่อความสำเร็จ เพราะ การสาธิตสินค้าครั้งนี้ ลูกค้าอาจมีตัวเลือกอื่นๆด้วย โดยให้ คู่แข่ง มาสาธิตสินค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นการเตรียมการ ของเรา เพื่อสร้างความประทับใจ กับ ผลทดสอบสินค้าของเรา จึงต้องทำให้ได้ดีที่สุด อย่างเต็มที่

หรือจะตั้งเป้าหมายว่า จะให้ ลูกค้า ตกลงใจซื้อ และ เซ็นใบสั่งซื้อ ในครั้งนี้เลย หรือไม่  ก็จะต้องเตรียม พิมพ์ใบสั่งซื้อ ลงวันที่ มีลายเซ็น ของ ผู้มีอำนาจลงนาม ในบริษัท พร้อมประทับตรายาง ไปด้วยเลย สินค้าพร้อมส่ง อีกกี่วัน ก็ดูไปด้วย จะได้แจ้ง ลูกค้า ได้ทันที่ที่เซ็นใบสั่งซื้อ.

การเข้าพบลูกค้าระดับ CEO เจ้าของกิจการ เอ็มดี (Managing Director) ย่อมเป็นลูกค้า "ระดับสูงสุด" ที่ทำให้หัวใจผมกระชุ่มกระชวย ตื่นเต้นเร้าใจอยู่เสมอ เพราะเป็นที่แน่นอนแล้วว่าผมกำลังได้เข้าพบลูกค้าระดับผู้มีอำนาจตัดสินใจ (Decision Maker) 

นอกจากพวกเขาจะเป็นบุคคลระดับผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อคุณแล้ว พวกเขายังเป็นบุคคลที่ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับสูง หลายๆ ท่านเป็นระดับประธานบริษัทหรือผู้ก่อตั้งที่มีชื่อเสียงเลยทีเดียว ถ้านึกไม่ออกก็คงอารมณ์ประมานคุณกำลังได้ขายของให้คุณตันหรือเจ้าสัวซีพี อะไรทำนองนี้เลยล่ะครับ

ผมเองยังจำวันแรกของการเข้าพบลูกค้าระดับ CEO ได้อยู่เลย ตอนนั้นผมยังเด็กมาก แต่ก็ได้รับการต้อนรับจากบุคคลระดับผู้บริหารสูงสุดเป็นอย่างดี ได้เข้าไปนำเสนอในห้องทำงานระดับ VIP ซึ่งตอนนั้นก็แทบไม่อยากจะเชื่อเลยว่าคนอย่างผมก็มีโอกาสขายของให้กับบุคคลระดับนั้นได้ นึกแล้วก็ยังตื่นเต้นเสมอ

หมายความว่าถ้าคุณมีโอกาสอันยิ่งใหญ่แบบนี้ คุณเองจะปล่อยให้มันหลุดลอยไปไม่ได้เป็นอันขาด พูดง่ายๆ ก็คือ "พลาดไม่ได้" เพราะมีผลต่อการซื้อขายของคุณเลยด้วยซ้ำไป การเตรียมตัวจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำมากที่สุด ผมจึงขอแชรวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้าพบลูกค้าระดับ CEO กันเลยครับ

-----------------------------------------------------------------

1. ทำการบ้านเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้า

เป็นพื้นฐานที่คุณต้องเตรียมตัวก่อนเข้าพบลูกค้าเสมอ โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้าที่มีให้หาอ่านได้ตามแหล่งข่าวอินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไป มันคงไม่เหนือบ่ากว่าแรงคุณไปนัก ข้อมูลที่ดีควรเป็นข้อมูลที่อัพเดทล่าสุด ไม่ว่าจะเป็นข่าวดีหรือข่าวร้าย หรือแม้แต่ผลงานที่บริษัทลูกค้ากำลังทำอยู่ เช่น งานโฆษณา ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวเกี่ยวกับตัว CEO เอง ล้วนเป็นสิ่งที่คุณต้องเตรียมตัวก่อนเสมอ เรื่องราวควรเป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอทางธุรกิจของคุณที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับธุรกิจของลูกค้าได้

2. ทำการบ้านเกี่ยวกับตัวของ CEO เอง

นอกจากธุรกิจของลูกค้า คุณยังต้องเตรียมตัวทำการบ้านเกี่ยวกับพวกเขาอีกด้วย บุคคลระดับ CEO มักมีข้อมูลให้สืบค้นตามข่าวในหลายๆ แวดวงอยู่แล้ว คุณจะได้รู้จักพวกเขาได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณงามความดีต่างๆ ความสำเร็จเชิงธุรกิจ บทสัมภาษณ์ตามสื่อต่างๆ หรือแม้แต่รายการธุรกิจที่พวกเขาเคยออกงาน คุณจะได้พบแง่มุมความคิดและเข้าใจนิสัยใจคอของพวกเขาเป็นอย่างดี จริงๆ แล้วมีวิธีที่ง่ายกว่านั้นคือการเอาชื่อจริงของพวกเขาไปสืบค้นในกูเกิ้ลและเฟซบุ้ค คุณจะเห็นโปรไฟล์ของพวกเขาพร้อมกับไลฟ์สไตล์ รสนิยม สิ่งที่ทำ ฯลฯ จนรู้ตัวตนของ CEO ได้อย่างง่ายได้ สิ่งที่ทำไปสามารถเอาไว้ใช้ทักลูกค้าระดับ CEO เช่น คุณเป็นลูกค้าของพวกเขา ชอบสินค้า ใช้สินค้าของพวกเขา มีประสบการณ์ที่ดีกับสิ่งที่พวกเขาทำ ทำให้ลูกค้าเปิดใจมากขึ้น เป็นต้น

3. เตรียมทำสไลด์นำเสนอแบบ Tailor-Made

Tailor-Made แปลว่าการสร้างหรือออกแบบที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก เช่น สูทเฉพาะรูปร่างของคุณเท่านั้น รองเท้าที่สร้างมาเพื่อคุณ ทำให้มีความเหมาะสมกับคุณมากที่สุด เป็นต้น ลูกค้าเองก็เช่นกัน คุณควรทำสไลด์นำเสนอโดยมีเนื้อหาที่ถูกสร้างมาเพื่อลูกค้าเท่านั้น เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขต่างๆ ที่ได้มาจากลูกค้าโดยเฉพาะ รูปภาพประกอบที่เกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้า ผลงานออกแบบที่เข้ากับความต้องการของลูกค้า โซลูชั่นที่นำเสนอตามความต้องการของลูกค้า เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ CEO ประหยัดเวลาและเข้าใจประโยชน์ของข้อเสนอของคุณได้ดีมากขึ้น สร้างความต้องการในการซื้อแบบใช้เวลาไม่นานซึ่งเหมาะสมกับเวลาอันจำกัดของลูกค้า

4. การแต่งกายและทรงผมจะต้องจัดเต็มที่สุด

บุคคลระดับ CEO ส่วนใหญ่มีความพิถีพิถันในการแต่งตัวมาทำงานทุกวัน เพราะพวกเขาต้องพร้อมเสมอในการติดต่อพบปะทางธุรกิจ หรือต้องออกงานสังคมอยู่บ่อยๆ การแต่งตัวของพวกเขาจะเป็นแบบมาตรฐานสากล คุณจึงต้องให้เกียรติพวกเขาด้วยการแต่งกายที่แสดงออกถึงความเป็นมืออาชีพ ทรงผมต้องจัดทรงให้ดูดี เสื้อผ้าต้องเป็นแบบมาตรฐานและต้อง "ใส่สูท" ทุกครั้งที่เข้าพบลูกค้า นอกจากนี้อาจเสริมบุคลิกให้ดูน่าเชื่อถือด้วยนาฬิกาข้อมือสายเหล็ก กระเป๋าหนังสำหรับใส่เอกสาร เนกไทสีสุภาพ ตัดเล็บให้สะอาด ทุกอย่างทำไปเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือกับบุคคลระดับ CEO ให้มากที่สุด

5. นอนให้เร็วขึ้นและวางแผนการเดินทางล่วงหน้าเสมอ

ทำเป็นเล่นไปสำหรับคนที่คิดว่าปกติก็ไม่ได้สายอยู่แล้ว เรื่องนี้อย่าประมาทเด็ดขาดนะครับ อุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันสามารถเกิดได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะวันเวลาสำคัญแบบนี้นี่แหละครับ อย่ามาสายเด็ดขาด จงศึกษาเส้นทางการเดินทางให้พร้อมอยู่เสมอ ทางที่ดีควรตื่นให้เร็วขึ้นกว่าเดิม 1 ชั่วโมงหรือออกจากออฟฟิศไปหาลูกค้าโดยการเผื่อเวลาให้เยอะพอสมควร พยายามอย่าทำนัดที่ใกล้กับการเข้าพบ CEO มากเกินไป เพื่อทำให้คุณมาก่อนเวลา ลดความเสี่ยงเรื่องการมาสายซึ่งจะทำให้ CEO รู้สึกแย่มากๆ และหมดโอกาสในการขาย

-----------------------------------------------------------------

นี่คือคำแนะนำจากมืออาชีพอย่างผมครับ การเตรียมตัวให้ดีจะช่วยให้คุณมีโอกาสปิดการขายต่อหน้าลูกค้าได้สูงมากอย่างแน่นอน

-----------------------------------------------------------------

#เรียนเซลล์ร้อยล้านหลักผู้บริหารฝ่ายขายคลิก: https://www.eventpop.me/e/4877

#โปรดแอดไลน์เพื่อไม่ให้พลาดบทความดีๆทุกวันและสามารถปรึกษาการขายกับผมได้ทุกเรื่องคลิก: https://goo.gl/j6R4bO

การเข้าพบลูกค้าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร

สิ่งที่คุณต้องเตรียมตัวเสมอก่อนเข้าพบลูกค้า.
ศึกษาและทำความเข้าใจกับธุรกิจที่ลูกค้าทำก่อนเสมอ ... .
ทำการบ้านเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าที่จะเข้าพบก่อนเสมอ ... .
เตรียมหัวแปลง (Adaptor) สำหรับเสียบจอโปรเจ็คเตอร์ของลูกค้าทุกครั้ง ... .
เตรียมคำถามหรือข้อโต้แย้งที่พบบ่อยก่อนเข้าพบลูกค้าทุกครั้ง.

พนักงานขายก่อนเข้าพบลูกค้าควรเตรียมตัวอะไรบ้าง

การเตรียมตัวก่อนเข้าพบ หมายถึง ขั้นตอนของกระบวนการขายที่ ต่อเนื่องจากการแสวงหาผู้มุ่งหวัง พนักงานขายจะต้องเตรียมความพร้อม ในด้านต่าง ๆดังนี้ความรู้เกี่ยวกับบริษัทและสินค้า เอกสารประกอบการ เสนอขาย กลยุทธ์การขาย วิธีการเข้าพบเพื่อเสนอขาย การเตรียมการใน คาพูดเพื่อการเสนอขาย การตอบข้อโต้แย้ง การปิดการขาย พนักงานขาย จะต้อง ...

หลักสำคัญ 3 ประการในการเข้าพบลูกค้าให้ประสบความสำเร็จคืออะไรบ้าง

เมื่อพนักงานขายได้ทำการสาธิตต่างๆ และชี้แจงรายละเอียดของสนค้ามาเป็นเวลานานพอควร.
เมื่อพนักงานขายได้ตอบข้อโต้แย้งต่างๆ ของลูกค้าจนเป็นที่พอใจ.
เมื่อลูกค้าแสดงออกถึงความต้องการซื้อในผลิตภัณฑ์ หรือเมื่อมีสัญญาณซื้อจากลูกค้าเกิดขึ้นบ้างแล้ว.

กระบวนการขาย 7 ขั้นตอนมีอะไรบ้าง

ซึ่งสามารถแสดงขั้นตอนตามกระบวนการขาย 7 ขั้นตอน ดังนี้.
การแสวงหาลูกค้าและการพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้า.
การเตรียมตัวก่อนการเข้าพบ.
การเข้าพบลูกค้า.
การเสนอขายและการสาธิต.
การขจัดข้อโต้แย้ง.
การปิดการขาย.
การติดตามผลและการให้บริการ บทความแนะนำ: 4 เทคนิคโพสต์ Facebook ให้น่าสนใจ Related..