ชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ยังไง

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

23 มี.ค. 2565 เวลา 4:47 น. 3.9k

จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 ยังไง หลัง ครม. ลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนเช็ครายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่

จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี หรือ ครม.อนุมัติ ลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ พ่อค้าแม่ค้า โดยมีทางเลือกสิทธิประโยชน์และการจ่ายเงินสบทบกองทุนประกันสังคม 3 ทางเลือกด้วยกัน คือ 

ทางเลือกที่ 1

  •  รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วย  เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต (ค่าทำศพ) จากเดิมจ่ายเงิน 70 บาท/เดือน ลดเหลือ 42 บาท/เดือน

ทางเลือกที่ 2 

  • รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ กรณีชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จ กรณีเสียชีวิต (ค่าทำศพ) ปกติดจ่ายเงิน 100 บาท/เดือน ลดเหลือ 60 บาท/เดือน

ทางเลือกที่ 3

  •  รับสิทธิประโยชน์ 5 กรณี  เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ เงินสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จ กรณีเสียชีวิต (ค่าทำศพ) ปกติจ่ายเงิน 300 บาท/เดือน ลดเหลือ ลดเป็น 180 บาท/เดือน

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในระบบประกันสังคม ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • สัญชาติไทย
  • อายุ 15-65 ปีบริบูรณ์
  • ไม่เป็นลูกจ้างบริษัท หรือมีนายจ้าง
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39
  • ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ

ช่องทางการการชำระเงินสมทบ

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารออมสิน
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • ตู้บุญเติม
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคาร ธ.ก.ส.
  • เทสโก้โลตัส
  • ตู้บุญเติม
  • บิ๊กซี ซูปเปอร์เซ็นเตอร์
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารธนาชาต

ชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ยังไง

ช่องทางออนไลน์ 

  • ชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยการชำระผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่รองรับ เช่น ชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านแอปพลิเคชัน Shopee และ การชำระประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน AirPay.

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม

แรงงาน

10 พ.ค. 2565 เวลา 12:32 น.11.4k

ประกันสังคม แจ้ง ผู้ประกันตน ม. 40 ไม่ต้องกังวล ! จ่ายเงินสมทบเต็มจำนวน งวดเดือน ก.พ. – ก.ค.65 ขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระเกินได้

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่พระราชกฤษฎีกาประกาศลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบ ต่ออีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน ในงวดเดือน กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2565 เพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนผู้ประกันตน

3ทางเลือกจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก คือ

ทางเลือกที่ 1 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่ เป็น 42 บาท/เดือน

ทางเลือกที่ 2 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน

ชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ยังไง

ทางเลือกที่ 3 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมจ่ายในอัตรา 300 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน

ขั้นตอนการขอเงินสมทบคืน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า สำหรับ ผู้ประกันตนที่ได้ชำระเงินสมทบ เต็มจำนวนในอัตราเดิม ก่อนหน้าประกาศกฎกระทรวงลดอัตราเงินสมทบออก ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนได้

ขณะนี้ สำนักงานประกันสังคม กำลังดำเนินการจัดส่งเอกสารขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนทางไปรษณีย์ เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวน

หรือสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอรับเงินคืน (สปส.1-40/7) ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ประกันตน (ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน)

ส่งเอกสารทางไปรษณีย์มายังสำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยไม่ต้องเดินทางมา ณ สำนักงานประกันสังคม

ทั้งนี้ สํานักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตน หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ