เบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้กี่บาท

นางญาณี แสงศรีจันทร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมีการส่งต่อข้อความทางแชทไลน์ ดังนี้ “บังคับใช้วันนี้แล้ว 13/6/62 เป็นต้นไป เบิกได้ตามที่เสียค่าเล่าเรียนจริง ถ้าค่าเล่าเรียนลูกเทอมละ 3 หมื่นก็เบิกได้ 3 หมื่นครับ เบิกได้จนลูกจบ ป.ตรี ข้าราชการที่เกษียณอายุแล้วก็ยังเบิกค่าเล่าเรียนลูกได้เต็มจำนวน”

กรมบัญชีกลางขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติบางประการเพื่อให้มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับการจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันเท่านั้น และไม่มีการปรับอัตราการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรแต่อย่างใด ยังคงใช้อัตราการเบิกตามหนังสือเวียนกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 257 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2559 และด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5/ว 22 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561 ตามเดิม อาทิเช่น ประเภทและอัตราในการเบิกค่าบำรุงการศึกษา

ประเภทสามัญศึกษา

1. อนุบาล สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 5,800 บาท ส่วนสถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 4,800 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 13,600 บาท

2. ประถมศึกษา สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 4,000 บาท ส่วนสถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 4,200 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 13,200 บาท

3. มัธยมศึกษาตอนต้น สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 4,800 บาท ส่วนสถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 3,300 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 15,800 บาท

4. มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 4,800 บาท ส่วนสถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 3,200 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 16,200 บาท

5. อนุปริญญา สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 13,700 บาท

6. ปริญญาตรี สถานศึกษาของทางราชการบำรุงการศึกษาต่อปีการศึกษา 25,000 บาท

ประเภทอาชีวศึกษา

สถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา

1. คหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 3,400 บาท 
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 16,500 บาท

2. พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 5,100 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 19,900 บาท

3. ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 7,200 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 24,400 บาท

4. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 5,100 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 19,900 บาท

5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 

  • สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน 7,200 บาท
  • สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 24,400 บาท

สำหรับสถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 – 30,000 บาท ตามประเภทวิชาหรือสายวิชา และหลักสูตรปริญญาตรี ให้เบิกจ่ายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 บาท ค่าเล่าเรียนที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการหรือมหาวิทยาลัย

เบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้กี่บาท

นางญาณี แสงศรีจันทร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมีการส่งต่อข้อความทางแชตไลน์ ดังนี้ “บังคับใช้วันนี้แล้ว 13/6/62 เป็นต้นไป เบิกได้ตามที่เสียค่าเล่าเรียนจริง ถ้าค่าเล่าเรียนลูกเทอมละ 3 หมื่นก็เบิกได้ 3 หมื่นครับ เบิกได้จนลูกจบ ป.ตรี ข้าราชการที่เกษียณอายุแล้วก็ยังเบิกค่าเล่าเรียนลูกได้เต็มจำนวน”

นางญาณีกล่าวว่า ทั้งนี้กรมบัญชีกลางขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติบางประการเพื่อให้มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับการจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันเท่านั้น และไม่มีการปรับอัตราการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรแต่อย่างใด ยังคงใช้อัตราการเบิกตามหนังสือเวียนกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 257 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2559 และด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5/ว 22 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561 ตามเดิม เช่น ระดับอนุบาลสถานศึกษาของราชการเบิกได้ 5,800 บาทต่อปีการศึกษา สถานศึกษาเอกชนแยกเป็นสถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุนเบิกได้ 4,800 บาทต่อปีการศึกษา ถ้าเป็นสถานศึกษาที่ไม่ได้รับเงินอุดหนุนเบิกได้ 13,600 บาทต่อปีการศึกษา ระดับประถมศึกษา สถานศึกษาของราชการเบิกได้ 4,000 บาทต่อปีการศึกษา สถานศึกษาเอกชนแยกเป็นสถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุนเบิกได้ 4,200 บาทต่อปีการศึกษา ถ้าเป็นสถานศึกษาที่ไม่ได้รับเงินอุดหนุนเบิกได้ 13,200 บาทต่อปีการศึกษา

นางญาณีกล่าวว่า ส่วน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สถานศึกษารัฐบาล 4,800 บาทต่อปีการศึกษา สถานศึกษาเอกชนที่รับเงินอุดหนุน 3,300 บาทต่อปีการศึกษา สถานศึกษาเอกชนไม่ได้รับเงินอุดหนุน 15,800 บาทต่อปีการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. สถานศึกษารัฐบาล 4,800 บาทต่อปีการศึกษา สถานศึกษาเอกชรับเงินอุดหนุน 3,200 บาทต่อปีการศึกษา ส่วนสถานศึกษาเอกชนไม่ได้รับเงินอุดหนุน 16,200 บาทต่อปีการศึกษา ส่วนปริญญาตรี สถานศึกษารัฐบาล 25,000 บาทต่อปีการศึกษา

นางญาณีกล่าวว่า สำหรับสถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 – 30,000 บาท ตามประเภทวิชาหรือสายวิชา และหลักสูตรปริญญาตรี ให้เบิกจ่ายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 บาท ค่าเล่าเรียนที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการหรือมหาวิทยาลัย

เบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ปีละกี่บาท

ให้เบิกจ่ายได้ครึ่งหนึ่งของจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 บาท ค่าเล่าเรียน ที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่ง สถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือมหาวิทยาลัย

ค่าเทอมประถมเบิกได้เท่าไร

1. อนุบาล หรือเทียบเท่า ไม่เกินปีละ 13,600 บาท 2. ประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ไม่เกินปีละ 13,200 บาท 3. มัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ไม่เกินปีละ 15,800 บาท 4. มัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่เกินปีละ 16,200 บาท 5. หลักสูตรประกาศวิชาชีพ ปวช. หรือเทียบเท่า ฯ – ไม่เกินประเภทวิชาหรือสายวิชา

มัธยมเบิกได้กี่บาท

๓. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน ๔,๘๐๐ บาท คู่มือการตรวจสอบการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร หน้า ๓ Page 7 ๔. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน ๔,๘๐๐ บาท ๕. ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ปีการศึกษาละไม่เกิน

ค่าเล่าเรียนบุตรเบิกอะไรได้บ้าง

คำตอบ ได้แก่ ค่าปรับพื้นฐาน ค่าธรรมเนียมพิเศษ ค่าสนับสนุน/อุดหนุนการศึกษา ค่าพัฒนาด้านวิชาการ ค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิต/ปริญญา ค่าคู่มือนักศึกษาค่าจ้างบุคลากรของ สถานศึกษา ค่าเอกสาร/วารสาร/ใบรับรอง/ค่าปรับต่างๆ การลงทะเบียนเรียน เพื่อปรับ ผลการเรียน (เกรด) ค่าขอย้าย ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าห้องเรียนปรับอากาศ ค่าบำรุงสถานศึกษา/ ...