แอร์ 9000 btu กินไฟกี่วัตต์ ต่อ ชม.

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณอัตราการกินไฟ (Power Consumption) ของบริษัทผู้ผลิต ถ้ายิ่งสูง ค่าไฟจะมาก แต่ละยี่ห้อจะไม่เท่ากัน ดูได้จากแค๊ตตาล็อคสินค้า และการตั้งอุณหภมิแอร์ ยิ่งตั้งต่ำ จะยิ่งใช้ไฟมาก

วิธีการคำนวณ

ค่าไฟต่อเดือน = จำนวนวัตต์ Watt x จำนวนชั่วโมงที่ใช้จริง * ค่าไฟต่อหน่วย x อัตราการทำงาน 80%  x 30 วัน

1000

ตัวอย่างเช่น แอร์มิตซูบิชิ MS-SGH13VC

อัตราการกินไฟ (จำนวนวัตต์) = 1040

ค่าไฟต่อหน่วย = 3 บาท

ชั่วโมงที่ใช้งาน ประมาณ 8 ชั่วโมง

 

= (1040 * 8*3*80%*30)/1000

= 599 บาท/เดือน

ค่าไฟต่อเดือน = ขนาดทำความเย็น (kw) x จำนวนชั่วโมงที่ใช้จริง * ค่าไฟต่อหน่วย x อัตราการทำงาน 80%  x 30 วัน

ในโลกที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ชั้นบรรยากาศร้อนอบอ้าวมากขึ้น การมีแอร์หรือเครื่องปรับอากาศเป็นของตัวเองสักเครื่อง คงให้ความรู้สึกผ่อนคลายและเย็นกายสบายใจ แต่หลายคนก็มาพร้อมกับความหนักใจ เพราะกลัวว่าจะต้องเสียค่าไฟเพิ่มมากขึ้น โดยปกติแอร์ที่ขายกันในท้องตลาด จะเริ่มต้นกันที่ 9,000 BTU เป็นแอร์ขนาดกะทัดรัดที่สามารถให้ความเย็นได้ถึงใจหากถูกติดตั้งเอาไว้ในห้องที่เหมาะสม และทุกวันนี้แอร์ 9000 BTU ก็มีหลายรุ่น หลายราคาให้เลือกสรรกันอย่างมากมาย สำหรับใครที่กลัวเสียตังค่าไฟเพิ่ม วันนี้เรามีวิธีคำนวณจำนวนวัตต์ที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายไฟ แอร์ 9000 BTU กินไฟกี่วัตต์ แล้วห้องแบบไหนที่ควรใช้แอร์ 9000 BTU ไปดูกันค่ะ

บ้านอะไหล่ สนใจติดต่อสอบถาม ไลน์แอด

แอดไลน์สอบถาม

ดูสินค้าภายในเว็บ

  • ห้องขนาดไหนเหมาะกับแอร์ขนาด 9,000 BTU

  • แอร์ขนาด 9000 BTU กินไฟกี่วัตต์

  • มาคำนวณค่าไฟง่ายๆตาม BTU ของแอร์

แอร์ 9000 btu กินไฟกี่วัตต์ ต่อ ชม.

กลับสู่สารบัญ

ห้องขนาดไหนเหมาะกับแอร์ขนาด 9,000 BTU

แอร์ขนาด 9,000 BTU เป็นแอร์ขนาดเล็ก เหมาะกับห้องที่มีขนาดของพื้นที่ 12-15 ตารางเมตร และเป็นห้องที่ไม่ได้โดนแดด หรือเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศเฉพาะในเวลากลางคืนเท่านั้น เช่นห้องนอน เป็นต้น แต่ถ้าหากต้องการใช้ในห้องที่ต้องมีแสงแดดสาดส่องเข้ามาตลอดเวลาในช่วงกลางวัน อย่างเช่นห้องนั่งเล่น ห้องรับแขกหรือห้องทำงาน ขนาดของห้องที่เหมาะสมต่อการใช้แอร์ 9000 BTU ก็จะอยู่ที่ 11-14 ตารางเมตรค่ะ ถ้ากล่าวโดยสรุปก็คือ การเลือกใช้แอร์ 9000 BTU ในห้องใด ให้พิจารณาจากช่วงเวลาที่เปิดใช้งาน กลางวันหรือกลางคืนเป็นส่วนใหญ่ และลักษณะการส่องถึงของแสงแดดด้วย โดยดูว่าห้องนั้นๆโดนแดดมากขนาดไหน ถ้ามีโอกาสโดนแดดน้อย ขนาดห้องก็กว้างขึ้นมาหน่อยได้ แต่ถ้ามีแดดส่องถึงก็ควรใช้ในห้องที่เล็กลงมาหน่อยเท่านั้นเองค่ะ ซึ่งถ้าหากเลือกขนาด BTU ของแอร์ได้อย่างเหมาะสมก็จะสามารถเปิดแอร์แล้วได้ความเย็นอย่างที่ต้องการเลยล่ะค่ะ

กลับสู่สารบัญ

แอร์ขนาด 9000 BTU กินไฟกี่วัตต์

วัตต์(Watt) เป็นหน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่ใช้ในการทำงาน เช่นหลอดไฟ 100 วัตต์ หมายถึงหลอดไฟหลอดนั้นกินไฟ 100 วัตต์ต่อชั่วโมง เป็นต้นค่ะ ในกรณีของแอร์ซึ่งระบุขนาดเป็น BTU ถ้าเราต้องการคำนวณหาค่าไฟ จะต้องแปลงค่า BTU ให้เป็นวัตต์ก่อน โดย 1 BTU เท่ากับ 0.293071 วัตต์ ถ้าแอร์ขนาด 9,000 BTU ก็มีค่าเท่ากับ 2,637 Watt/ชม. โดยประมาณ

กลับสู่สารบัญ

มาคำนวณค่าไฟง่ายๆตาม BTU ของแอร์

ในการคำนวณค่าไฟจากขนาด BTU ของแอร์ มีหลายองค์ประกอบที่สำคัญที่ต้องพิจารณาถึงและหนึ่งในนั้นก็คือ แอร์ที่คุณใช้เป็นระบบอินเวอร์เตอร์(Inverter)หรือเป็นระบบธรรมดา(Non-Inverter)

แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์

การคำนวณค่าไฟต่อปีสามารถทำได้โดย = ค่าBTU / ค่า SEER / 1000 x ชั่วโมงการใช้งาน x จำนวนวันใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

**ซึ่งค่าCooling Capacity(BTU) และค่า SEER ซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพพลังงานตามฤดูกาลนั้น สามารถดูได้จากข้อมูลจำเพาะของสินค้าได้ค่ะ**

แอร์ระบบธรรมดา

การคำนวณค่าไฟต่อปีสามารถทำได้โดย = จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานมาตลอดทั้งปี x ค่ากำลังไฟ(วัตต์) x ค่าไฟต่อหน่วย จากนั้นนำผลลัพธ์ทั้งหมดมาหารด้วย 1,000

ตัวอย่าง :สมมติว่าแอร์ Inverter ประหยัดไฟ 3 ดาว ขนาดแอร์ 9,000 BTU/ ค่า SEER22.50/1000×8ชั่วโมงต่อวัน x 365วันxค่าไฟต่อหน่วย 3.96 บาท/หน่วย ค่าไฟฟ้าต่อปี =  4,625.28 บาท

ส่วนในการคำนวณเฉลี่ยค่าไฟของแอร์ในแต่ละเดือนนั้น ได้มีการคำนวณออกมาคร่าวๆเพื่อช่วยให้คุณประมาณการได้ง่ายขึ้นดังต่อไปนี้ค่ะ

แอร์ 9000 btu กินไฟกี่วัตต์ ต่อ ชม.

(ขอบคุณข้อมูลจาก www.thaiaircond.com)

จากตาราง เราจะพบว่าถ้าหากคุณใช้แอร์ขนาด 9000 BTU แบบธรรมดา คุณจะเสียค่าไฟอยู่ที่ 618-666 บาทต่อเดือน แต่ถ้าคุณใช้แอร์แบบอินเวอร์เตอร์(Inverter) ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ระดับ 3 ดาว คุณจะเสียค่าไฟอยู่ที่ 380 บาทต่อเดือน ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นแอร์รุ่นธรรมดาต้องเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า  แต่ย้ำอีกทีนะคะว่านี่เป็นการคำนวณแบบคร่าวๆเท่านั้น เพราะหน่วยค่าไฟสามารถเปลี่ยนไปตามอัตราค่าไฟของการไฟฟ้าได้ด้วย และสูตรนี้ก็ยังไม่รวมกับสภาพของแอร์แต่ะเครื่องด้วยค่ะ หากเป็นแอร์ที่ใช้มานานแล้ว ค่าไฟก็จะสูงขึ้นกว่านี้เล็กน้อยรวมถึงพวกปัญหาต่างๆที่เกิดกับแอร์ก็มีส่วนทำให้ค่าแอร์สูงขึ้นด้วยเหมือนกันค่ะ ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบและดูแลรักษาแอร์ให้ดีกันด้วยนะคะ

แอร์ 9000 btu กินไฟกี่วัตต์ ต่อ ชม.

นี่คือการคำนวณค่าไฟแบบคร่าวๆจากการใช้แอร์ที่เรานำมาฝากกันค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องรู้ว่าแอร์ที่เราจะซื้อมาติดตั้งนั้นเหมาะกับห้องแบบไหน และสภาพห้องนั้นเป็นอย่างไร โดนแสงแดดมากน้อยขนาดไหนด้วย และสิ่งที่จะนำมาใช้ในการคิดคำนวณค่าไฟนั้นก็จะเกี่ยวข้องกับหน่วยวัดกำลังไฟหรือวัตต์ เพื่อดูว่าแอร์ที่คุณเลือกนั้นกินไฟมากน้อยแค่ไหน สำหรับท่านใดที่ใช้ขนาดแอร์ 9000 BTU  ก็จะมีค่ากำลังไฟเท่ากับ 2,637 วัตต์/ชม. โดยประมาณ แต่การคำนวณนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้แอร์แบบระบบอินเวอร์เตอร์หรือแอร์ธรรมดาด้วยเหมือนกัน  อย่าลืมเลือกฉลากประหยัดไฟเบอร์5  ถ้าเลือกแบบที่มีดาวได้ยิ่งดีนะคะ เพราะยิ่งดาวมากก็ยิ่งประหยัดไฟมากเท่านั้น ที่สำคัญการตรวจสอบสภาพแอร์ให้ดีอยู่เสมอรวมถึงการล้างทำความสะอาดตามรอบ ก็สามารถทำให้แอร์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ทำงานเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่กินไฟมากเกินกว่าที่ควรจะเป็นด้วยค่ะ